Skip to content

กรณีศึกษา IoT เพื่อเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรม

จากบทความก่อนหน้านี้ ที่พวกเราโรงกลึงพีวัฒน์สาธยายเกี่ยวกับความดีงามของ Internet of Things ว่าดีอย่างไร มีบทบาทกับอุตสาหกรรมมากแค่ไหน รวมถึงมูลค่าการตลาดที่ได้เห็นแล้วต้องอ้าปากค้าง แถมจากการคาดการณ์ผ่านสื่อดังและองค์กรทั้งหลายแหล่ ต่างมองเหมือนกันว่าศักยภาพของสิ่งนี้คงไม่หยุดอยู่เท่านี้แน่ ๆ มีแต่จะพัฒนาต่อขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปทุกวัน ซึ่งเราก็เชื่อว่าใครที่ได้อ่าน อาจจะยังนึกภาพตามได้ไม่ชัดนัก หากมีตัวอย่างที่สามารถหยิบใช้ IoT ได้อย่างชัดเจน คงจะทำให้ถึงบางอ้อและอินกับนวัตกรรมนี้ได้ไม่ยาก

ย้อนกับไปอ่าน “5 เทรนด์ยอดนิยม ประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) กับอุตสาหกรรมการผลิต” คลิก

ด้วยเหตุนี้เอง เนื้อหาที่เราจะนำมาเสนอวันนี้ เป็นกรณีศึกษา IoT ของ Seeed ที่ได้ออกมาเล่าเรื่องรางการผสมผสาน IoT เข้ากับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมผ่านทางเว็บไซต์หลัก เป็นเนื้อหาที่มีความน่าสนใจมากและน่าจะทำให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มองเห็นประสิทธิภาพของ Internet of Things ได้เป็นรูปธรรมขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว

กรณีศึกษา iot

Seeed Studio คือใคร ?

อันดับแรกเลย.. อยากให้เรามาทำความรู้จักกับ “Seeed Studio” กันก่อนที่จะเริ่มไปติดตามกรณีศึกษา IoT ผ่านการใช้งานในอุตสาหกรรมของพวกเขา โดยบริษัทนี้เป็นสตาร์ทอัพที่ออกแบบเกี่ยวโครงสร้างของอุตสาหกรรมผลิตทางการเกษตร เรียกว่าเป็นการวางแผนเกี่ยวกับธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นจนเกิดเป็นโปรเจกต์ จบครบในที่เดียว เปรียบเสมือน “เมล็ดพันธุ์” ดังชื่อแบรนด์ของพวกเขา และให้บริการทางด้านนี้มานนับทศวรรษ 

จากสตาร์ทอัพ ณ เมืองเสินเจิ้น สู่การเป็นที่ยอมรับของหลากหลายบริษัท ทำให้พวกเขาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆ โปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ IoT ซึ่งก็ด้วยแนวคิดการพัฒนาธุรกิจของพวกเขาที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอนั่นเอง โรงกลึงพีวัฒน์เองก็ศึกษาโมเดลธุรกิจของ Seeed Studio ในด้านการทำดิจิตัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางการนำมาปรับใช้ในโรงงานของเราอีกด้วย

Seeed กับอุตสาหกรรมการผลิต

ที่ผ่านมานั้นพวกเขาได้มีการศึกษาเรื่องของการปรับใช้ IoT สู่อุตสาหกรรมการผลิตมาโดยตลอด เนื่องด้วยการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่สุดจากมุมมองของการหยิบใช้ IoT ซึ่งสามารถนำการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไปสู่การดำเนินงานด้านการผลิตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดการและบำรุงรักษา สินทรัพย์การผลิต รวมถึงบริการภาคสนาม นอกเหนือจากการอนุญาตให้ตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินเงินด้วยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว IIoT บนอุตสาหกรรมในการผลิตยังสามารถใช้เพื่อให้บริการจากระยะไกลได้อย่างเป็นอิสระที่สุด จนนำมาสู่การเกิดโปรเจกต์ของพวกเขาดังต่อไปนี้

กรณีศึกษา iot

การผลิตภาคสนามด้วย Odyssey x86J4105

Odyssey x86J4105 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) ที่ทรงพลังมาพร้อมกับอินเตอร์เฟซการสื่อสารที่หลากหลาย ซึ่งทำให้กลายเป็นตัวเลือกในอุดมคติสำหรับการใช้แอปพลิเคชั่นที่หลากหลายของระบบการประมวลผลขนาดเล็ก (Edge Computing) และสิ่งนี้แหละที่ Seeed ได้ช่วยลูกค้าของพวกเขาสร้างเครื่องทำน้ำผลไม้อัจฉริยะ

เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติอัจฉริยะที่พวกเขาได้เนรมิตขึ้น สามารถทำผลไม้คั้นสดให้กับลูกค้าแบบออโต้ได้ทันทีเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นตัวอย่างที่ดีของการผลิตภาคสนามที่เปิดใช้งาน IoT ทางอุตสาหกรรม โดยเครื่องจะมีแกนประมวลผลของตัวเองสำหรับใช้ควบคุมอินเตอร์เฟซและแอคทูเอเตอร์ (Actuators) ของเครื่องผลิต ทั้งหมดนี้เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์เพื่อให้ตรวจสอบและบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย

อุตสาหกรรมทางการเกษตร ร่วมกับ BeagleBone® Green

โปรเจกต์นี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Seeed กับ BeagleBoard.org ได้รับสิทธิพิเศษโดยมอบหมายให้ใช้งานตัวควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ IoT สำหรับอุตสาหรรมสัตว์ปีกและฟาร์มของลูกค้าของพวกเขาด้วย BeagleBone® Green สิ่งนี้เป็นการอิงจากการออกแบบโอเพนซอร์สของ BeagleBone Black มีตัวเชื่อมต่อกับ Grove สองตัวเพื่อการปรับใช้บนโมดูลเซ็นเซอร์และการเชื่อต่ออินเตอร์เนตผ่านอีเธอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย

ซึ่งโซลูชั่นที่ว่านี้ให้การเชื่อมต่อระหว่างระบบการเกษตรกับคลาวด์ ทำให้ตรวจสอบข้อมูลระยะไกลแบบเรียลไทม์ได้อยู่เสมอ ทั้งการวัดสภาพแวดล้อมที่ทำได้ดีและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ส่งผลด้านเทคนิคช่วยให้เงื่อนไขการปรับใช้ทางการเกษตรทำได้อย่างเหมาะสมเมื่อมีการใช้งานอยู่เรื่อย ๆ ตลอดจนการประมวลผลเพื่อปรับปรุงผลผลิต

ยกระดับการขนส่งด้วย BeagleBone® Green x IIoT

อย่างที่เคยกล่าวไว้เมื่อบทความก่อนว่า IoT นั้นสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี คาดการณ์ได้เกือบจะทุกสิ่งอย่างที่คุณต้องการให้ประเมิน และสิ่งนี้เองที่ Seeed นำมาปรับใช้เข้ากับ BeagleBone® Green ด้วยการปรับแต่งเล็กน้อยเพื่อใส่ฟังก์ชั่นการจ่ายพลังงานผ่านอีเธอร์เน็ต (PoE) และอินเตอร์เฟซ I/O เพิ่มเติม ทำให้พวกเขาสร้างโซลูชั่น IIoT แบบกำหนดเอง สำหรับรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นระหว่างการขนส่งผลิตภัณฑ์สด ทำให้สามารถติดตามเส้นทาง ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงคุณภาพของสินค้าได้ตลอดกระบวนการ

การทำงานของโซลูชั่นนี้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกอัพโหลดไปยังระบบคลาวด์เช่นเคย ทั้งนี้ก็เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ การทำเช่นนี้จะช่วยให้สามารถระบบช่องโหว่งในการขนส่งได้อย่างตรงจุด โดยรวมแล้วการประยุกต์ใช้ IoT เชิงอุตสาหกรรมด้านลอจิสติกส์นี้ นอกจากป้องกันค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้ว สิ่งสำคัญที่เพิ่มขึ้นมาคือประสิทธิภามรวมในการกระจายผลิตภัณฑ์ที่เทคโนโลยีเข้ามายกระดับได้แบบมากโขเลยทีเดียว

นับว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกรณีศึกษา IoT บนอุตสาหกรรมการผลิตที่น่าสนใจอย่างมาก และนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของบริษัทสตาร์ทอัพที่ใช้ Internet of Things เข้ามายกระดับธุรกิจของพวกเขา ซึ่งแต่ละอย่างที่กล่าวมาไม่ใช่แค่เพียงการช่วยเซฟต้นทุนเพื่อที่จะทำให้คุณมีกำไรได้มากขึ้น แต่ยังลดเวลาอันเป็นทรัพยากรที่มีค่ามหาศาล ทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ ก่อนวิเคราะห์ออกมาอย่างชาญฉลาด และเชื่อเราเถอะว่าในอนาคต IoT จะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และมีเรื่องมาให้เราประหลาดใจแบบไม่พักแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับเนื้อหาต่าง ๆ มา ณ ที่นี้

https://www.seeedstudio.com/blog/2021/02/24/what-is-industrial-iot-case-studies/

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (4) AR (2) artificial intelligence (3) CNC Machining (6) CNC Machining Center (7) cobot (2) electric vehicle (2) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) Robotics (2) การขนส่ง (2) ขยะอุตสาหกรรม (2) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (5) พลังงานหมุนเวียน (2) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (2) รถยนต์ไฟฟ้า (2) รักษาสิ่งแวดล้อม (2) รักษ์โลก (5) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (4) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (5) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) เครื่อง CNC (5) เครื่องกลึง CNC (7) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2) โคบอท (2)