Augmented Reality เทคโนโลยีชั้นเซียน บูสเตอร์ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต

Augmented Reality

หากมีการพูดถึง AR (Augmented Reality) เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะนึกถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับสินค้าของพวกเขาเอง ถ้ายังนึกภาพตามไม่ออก ให้นึกถึงช่วงนึงเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่หลายคนตื่นเต้นกับการเลือกช้อปเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ผ่านแอพพลิเคชั่น 

ซึ่งทางตัวแอพฯ นั้นสามารถให้คุณจำลองสินค้าต่าง ๆ ด้วยโมเดลจำลองที่มีความเสมือนจริง ปฏิวัติวงการตกแต่งบ้านให้ล้ำหน้าขึ้นไปอีกขั้น แม้จะไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100 เปอร์เซนต์ แต่ก็ช่วยให้คุณได้สัมผัสถึงความจริงเสมือน ซึ่งมันน่าจะโอเคกว่าการจินตนาการภาพเหล่านั้นขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอน

แล้วเทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีส่วนช่วยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร? นี่เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัวของผู้เขียนเหมือนกันก่อนที่จะค้นคว้าหาข้อมูล แต่พอได้สืบค้นจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ รวมถึงกรณีศึกษาของบริษัทต่างประเทศ ที่เริ่มนำร่องในการนำความสามารถของสิ่งนี้มาใช้ประโยชน์กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของอุตสาหกรรมการผลิต ก็พอจะนึกภาพตามออกได้เป็นฉาก ๆ พร้อมกับความเชื่อมั่นว่าหากพัฒนาจนถึงขีดสุด เทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว

Augmented Reality

สั้น ๆ กับ Augmented Reality ก่อนลุยภาคอุตสาหกรรมการผลิต

AR (Augmented Reality) คือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การนำโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงมาผสมผสานกัน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการใช้ระบบซอฟต์แวร์ประกอบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรองรับเทคโนโลยีนี้ และสำหรับวัตถุเสมือนที่กล่าวไปนั้นอาจมาในรูปแบบ ภาพ วิดีโอ เสียง จนไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มาจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์สวมใส่เฉพาะทาง ซึ่งก็เป็นสะพานเชื่อมโยงให้เราได้ตอบสนองกับสิ่งจำลองนั้นได้แบบเสมือนจริงที่สุด

อุตสาหกรรมการผลิต x AR

ความเจ๋งของ AR แน่นอนล่ะ.. หากเราพูดถึงความสามารถในการนำเสนอคาแรคเตอร์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพดิจิตอล วิดีโอ และอื่น ๆ ที่ดึงเอาความงดงามของความเสมือนจริงรวมกับความเป็นจริงได้อย่างน่าทึ่ง

สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะได้รับประโยชน์สูงสุดคือการแทรกเอาข้อมูล สถิติ จนไปถึงคำแนะนำการใช้งานต่ออุปกรณ์นั้น ๆ ยังไม่นับเรื่องของการใส่ชุดข้อมูลเหล่านี้ไปกับ Headset ที่จะช่วยให้การผลิต การซ่อมบำรุง นั้นทำได้ถูกต้องและง่ายกว่าที่เคย

ตัวอย่างเช่น การใช้ Microsoft HoloLens ซึ่งเป็น Headset ที่ออกแบบด้วยการผสานระหว่างเทคโนโลยีของ Augmented Reality และ Virtual Reality เข้าด้วยกัน ใช้ในการดูชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่รองรับ AR เพื่อแสดงข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนั้น ๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงาน เอาต์พุต และอุณหภูมิปัจจุบัน เรียกว่าเป็นการทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นสำหรับการนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้เข้ากับโรงงานผลิต

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com, vrfocus.com

AR จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร ?

ณ ปัจจุบัน ประโยชน์หลัก ๆ ของการใช้ AR กับโรงงานผลิต จะเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างให้จินตนาการตามหัวข้อก่อนหน้านี้ เช่น หากชิ้นส่วนของอุปกรณ์การผลิตเสียหาย ช่างเทคนิคสามารถใช้ Headset ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องไปพร้อมกันกับการดูข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม คำแนะนำ รวมถึงอาจมีรูปภาพประกอบแสดง เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

นอกจากการใส่ชุดข้อมูลที่จำเป็นแล้ว เรายังสามารถวางแผน เรียงลำดับ รวมถึงคาดการณ์ระยะเวลาแต่ละขั้นตอน และนี่ไม่ใช่แค่การลดความจำเป็นในการดูแผนภูมิ คู่มือการใช้งาน รวมถึงบุคลาการ สิ่งนี้จะช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

โดยทั้งหมดทั้งมวล การออกแบบตั้งค่าเทคโนโลยีนี้ในเบื้องต้นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ แต่หากทุ่มเทในตอนต้นเพียงครั้งเดียวจนเสร็จสิ้น หลังจากนี้ต่อให้เป็นพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบก็สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้เหมือนกับช่างชำนาญการผ่านการใช้ Headset

เจ๋งไม่เบาเลยทีเดียว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็มีเป้าหมายในอนาคตเพื่อนำเทรนด์กลุ่มธุรกิจโรงกลึงด้วยการเล็งเทคโนโลยี AR นี้มาเป็นส่วนหนึ่งใน Roadmap เช่นกัน

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

คุณค่าสูงสุดของ AR ต่อสายงานผลิต ?

จากข้อมูลได้เราได้รวบรวมมา มีการกล่าวถึงความสำคัญและพื้นที่ที่จะให้ AR นั้นได้แสดงศักยภาพได้เต็มที่อีกหนึ่งจุด นั่นคือการฝึกอบรมพนักงานใหม่ในสายการผลิต เมื่อแต่ละโรงงานมีการรับพนักงานเข้ามาใหม่ การอบรมและการตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานจะสามารถทำตามขั้นตอนของการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ยาก และความไม่แน่นอนนี้สิ่งที่ตามมาคือปัญหาด้านความปลอดภัย 

จะเป็นเรื่องดีแค่ไหนหากพนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามคำแนะของ AR ด้วยเทคโนโลยนี้สามารถให้ข้อมูลเครื่องจักรโดยอัตโนมัติแบบครบถ้วน แม้ไม่เคยใช้งานมาก่อนก็จะช่วยให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

Augmented Reality

อีกหนึ่งกรณีศึกษา ความล้ำหน้าของ AR ต่ออุตสาหกรรม

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก หากคุณต้องเจอกับอุปกรณ์เฉพาะที่มีความซับซ้อนซึ่งอาจต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์เพียงอย่างเดียวสำหรับใช้งานสิ่งนั้น ในกรณีนี้เองที่ AR จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้คนที่อยู่หน้างานสามารถดำเนินการได้ทันที โดยมีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเรื่องนี้

ลองนึกภาพตามว่าหากหุ่นยนต์หกแกนทำงานผิดปกติ แต่ ณ จุดนั้นไม่มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไข การใช้ Headset จะช่วยพนักงานได้อย่างมาก เพราะนอกเหนือจากข้อมูลที่มี คุณยังสามารถรับคำแนะนจากผู้เชี่ยวชาญได้แบบเรียลไทม์ ตลอดจนถึงการใช้เพื่อเป็นแบบฝึกอบรมบุคลากร ดึงศักยภาพของพวกเขาด้วยเทคโนโลยีนี้ได้อีกด้วย

และหากคิดว่าการใช้อุปกรณ์ Headset ดังกล่าวนั้นจะเป็นการสร้างต้นทุนมากจนเกินไป หรือไม่เหมาะกับขนาดของธุรกิจของคุณ การออกแบบเพื่อใช้ในอุปกรณ์ที่มีอยู่ในตลาดอย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเลต หรือแว่นตาระบบดิจิตอล ก็เป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก : https://www.reliableplant.com/Read/31709/ar-improve-manufacturing

IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย

iiot

เลี่ยงเหตุร้ายได้มากน้อยแค่ไหน? หากพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยด้วย “IIoT”

ก่อนจะเริ่มพูดคุยถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT เราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสดุดีแด่ฮีโร่ผู้เสี่ยงชีวิต และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวทุกคน บนเหตุเพลิงใหม่โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันมานี้

เรื่องของสาเหตุการระเบิดและการเกิดเพลิงไหม้ คงไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึก และก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะได้รับรู้รายละเอียดผ่านข่าวสารจากช่องทางสื่อต่าง ๆ ที่ประโคมกันแบบเรียลไทม์ไม่ขาดสาย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึง “มาตรฐานใหม่” ที่มาพร้อมกับแนวคิดในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยมี IoT เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการผลิต

และแม้ว่าสิ่งที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับกับเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง แต่ก็เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่าหากเราพัฒนาต่อยอดแนวคิดเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เลยอย่าง “ชีวิต” ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซนต์สักกี่มาน้อย ก็ถือเป็นเรื่องดีงามทั้งสิ้น

iiot

“IIoT” Industrial Internet of Things คืออะไร ?

มาย้อนความกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ Internet of Things หรือที่เราคุ้นตากันใน AKA ว่า IoT เปรียบได้กับเป็นการประยุกต์ IoT กับธุรกิจในกลุ่ม Industrial จึงเป็นที่มาของ IIoT สิ่งนี้คือการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการนำเครื่องจักร ระบบวิเคราะห์ระดับสูง และมนุษย์มาทำงานร่วมกัน โดยมีการเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายอุปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เกิดขึ้นเป็นระบบที่สามารถส่งผลแก่การติดตาม เก็บข้อมูลแบบละเอียด แสดงผลข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมนั้น ๆ

IIoT จะช่วยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ?

ปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากเป็นเรื่องความผิดปกติของอุปกรณ์ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่ IIoT จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของความปลอดภัยหนีไม้พ้นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำได้รวดเร็วและรวบรวมจำนวนได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เราสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์ รวมถึงสภาพของอุปกรณ์จากห้องควบคุมได้อยู่เสมอ

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ลิสต์เอาไว้ด้วยระบบ AI การตั้งค่าเพื่อให้มีการแจ้งเตือน หากตรวจสอบเจอสภาวะเข้าใกล้ “อันตราย” นอกจากสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ไม่น้อย

3 แน้วโน้มเพื่อความปลอดภัยในโรงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT
1. การฟิวชั่นเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision

ส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า IoT จากโรงงานผลิตจะมีเซนเซอร์รวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวโน้มต่าง ๆ ทำให้พิจารณาได้ว่าจุดไหนทำงานเป็นอย่างไร ดีมากน้อยแค่ไหน และจุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุง

กับด้านความปลอดภัย การรวมเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision ซึ่งส่วนหลังนั้นทำหน้าที่เปรียบเสมือนดวงตาของมนุษย์ คอยตรวจจับความสภาพแวดล้อมและสถานการณ์อยุ่ตลอด และด้วยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IIoT นี่เองที่จะช่วยให้ CV นั้นคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบก็จะสามารถหยุดอุปกรณ์ได้แบบอัตโมมัติก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้น

2. การติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารแบบครบวงจร

ความก้าวหน้าของสิ่งนี้ในปัจจุบันแผ่ขยายทำให้อาคารหลายแห่งมีเทคโนโลยีหลายประเภทในอาคาร โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้แบบครบวงจรเท่าที่คุณต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น โครงการนำร่องในโรงเรียนเมืองฮิวส์ตัน มีการติดตั้งปุ่มแจ้งเตือนรวมเข้ากับระบบความปลอดภัย IoT ขั้นสูง หากเกิดสถานการณ์อันตรายใด ๆ หรือมีการคุมคาม ปุ่มนี้จะช่วยเรียกเจ้าหน้าที่ได้ทั้งภายในและนอกอาคารทันที จากกรณีแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำไปปรับใช้กับภาคการผลิตได้เช่นกัน

3. การใช้ Location Based Analytics และ Real-Time Location Systems เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

เป็นแนวคิดที่เจ๋งมาก ๆ ด้านการแจ้งเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม ยกตัวเช่น การใช้ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) เพื่อสุขภาพ โดยมีบริษัท Kontakti.io ที่นำมาต่อยอดด้วยแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Simn AI เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเซ็นเซฮร์ RTLS มาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความตั้งใจเริ่มต้นคือการกำหนดเวลาคน เข้า-ออก จากที่ทำงาน

สำหรับมุมมองด้านความปลอดภัย Simon AI นั้นทรงประสิทธิภาพมากกว่านั้น เช่น สามารถแจ้งเตือนหากมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพื้นที่ หรือจะเป็นปุ่มเรียกที่ขอความช่วยเหลือได้จากการะบุตำแหน่งที่แม่นยำ จนไปถึงหากมีการอพยพ เทคโนโลยีนี้สามารถแสดงจำนวนที่มาถึงจุดปลอดภัยที่กำหนด และหากมีใครที่ขาดหายไปก็สามารถระบุตำแหน่งเพื่อติดตามได้อย่างรวดเร็ว

iiot

ประโยชน์ตรงนี้มากมายมหาศาล หากเรารับรู้ความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติภัยได้ล่วงหน้า เราก็เตรียมรับมือได้เร็ว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็ตอบสนองต่อเทคโนโลยีนี้เช่นกัน เรากำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการควบคุมไฟของเครื่องจักรทุกตัวในโรงกลึง ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT, AI, Machine Learning และ Big Data ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่วิศวกรและทีมช่าง รวมถึงควบคุมคุณภาพของการผลิตไม่ให้บกพร่อง เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า

IIoT กับ อนาคตอันน่าตื่นเต้น ผ่านการตระหนักถึงความปลอดภัยของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด

จากแนวโน้วการวางระบบมาตรการความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีนี้ ข้อสุดท้ายชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องการะบุตำแหน่ง การเก็บข้อมูลในปริมาณมาก ๆ แบบเรียลไทม์ ซึ่งจุดเด่นของ RTLS นั้นก็ชัดเจนอยู่แล้วนอกจากจะช่วยเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ทราบข้อมูลที่แน่นอนว่าใครอยู ณ จุดไหน เรื่องของความปลอดภัยก็ทำให้ตรวจสอบได้เสมอว่าพนักงานนั้นอยู่ในที่ปลอดภัย หรือหากอยู่ในจุดเกิดเหตุก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที

iiot

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายมีความสอดคล้องกับการเชื่อมต่อของ IIoT ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ การแจ้งเตือนเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น การสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย IIoT สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดต่อเรื่องนี้ และอาจกลายเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อซัพพอร์ตการป้องกันอย่างเต็มประสิทธิภาพสู่ตลาดในเร็ววันนี้

ขอขอบคุณบทความสำหรับข้อมูลดี ๆ เรื่องแนวทางการพัฒนาด้านความปลอดภัยด้วย IIoT จาก https://www.ehstoday.com/safety-technology/article/21920259/6-iiot-trends-for-manufacturing-safety