กลไกอันน่าทึ่งของ AI และ Machine Learning “คลื่นลูกใหม่” ของอุตสาหกรรมการผลิต

machine learning

คำว่า “Smart Manufacturing” หรือที่พากย์ไทยได้ว่า “ระบบการผลิตอัจฉริยะ” หลายคนอาจจะผ่านหูผ่านตามาบ้างเมื่อตกอยู่ในแดนสนธยาของ “IoT” กับ “IIoT” 

และที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกันของ “ปัญญาประดิษฐ์” (AI) เมื่อถูกนำไปฟิวชั่นกับสิ่งที่เรียกว่า Machine Learning (ML) ซึ่งได้รับการซูฮกว่าเป็นเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ที่คอยขับเคลื่อนนวัตกรรม จนได้รับคำนิยามว่าเป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์เชิงอุตสาหกรรมอันแสนโดดเด่น ที่จะช่วยให้คุณนั้นสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

เมื่อเราเดินทางมาถึงวันที่ “ข้อมูล” กลายเป็นทรัพยาการอันมีค่า แถมยังมีราคาถูกกว่าที่เคย หากเราเลือกใช้เทคโนโลยีได้ถูกต้องในการตักตวงประโยชน์จากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ และดึงศักยภาพสูงสุดของสิ่งนั้น อันเป็นที่มาของบทบาทความสำคัญการใช้ AI ประสานงานเข้ากับ ML ที่เราจะพาทุกคนไปดื่มด่ำกันในวันนี้

machine learning

AI และ ML คืออะไร ในวงการผลิต

มีกรณีมากมายที่ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยหลากหลายวิธีสำหรับช่วยเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรม ซึ่งนั่นก็ทำให้ AI มีบทบาทสำคัญในวงการผลิต เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับ IoT (IIoT) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง และหนึ่งในชุดย่อยที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของ AI คือ ML (Machine Learning)

และอย่างที่รู้กันว่าการผลิตตามกระบวนการเป็นภาคส่วนที่มีการแข่งขันสูง ด้วยตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบอันซับซ้อนซึ่งก็เต็มไปด้วยหลายชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีการเคลื่อนไหว การขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้รวมถึงการปรับปรุงความสามารถตลอดจนถึงการเริ่มต้นทำกำไรตั้งแต่กระบวนการผลิต ถือเป็นข้อได้เปรียบทั้งหมด และนี่เป็นสิ่งที่ AI กับ ML สามารถมอบให้คุณได้

machine learning

ความสำคัญของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต

การมีอยู่ของ AI มีส่วนทำให้โรงงานในกระบวนการผลิตสามารถบูรณาการข้อมูล วิเคราะห์ และสร้างข้อมูลเชิงลึกรวมถึงคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ช่วยทำให้เห็นภาพรวมก่อนตัดสินใจได้แบบครอบคลุมทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับ ML ก็เป็นประเภทของ AI ที่บีบอัดชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อระบุรูปแบบและแนวโน้ม ก่อนสร้างเป็นแบบจำลองเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังช่วยให้โรงงานรู้ความผันผวนของอุปสงค์อุปทาน ต่อเนื่องด้วยการประเมินช่วงเวลาดีที่สุดสำหรับกำหนดการบำรุงรักษา ตลอดจนการระบุสัญญาณเริ่มต้นของความผิดปกติ

ทั้งนี้นั้น ML ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Machine Learning ก็ต้องมีกระบวนการในการเรียนรู้ก่อนที่จะสามารถวิเคราะห์สิ่งใดก็ตามได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นที่มาของการได้มาของข้อมูล การเก็บรวบรวมให้ถูกต้อง และคัดสรรเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อให้ ML เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ ยิ่งชุดข้อมูลมีมากเท่าไหร่ ML ก็จะฉลาดและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น

ในฐานะโรงกลึงสมัยใหม่ที่เฝ้ามองกระแสความเป็นไปของเทคโนโลยี เราโรงกลึงพี-วัฒน์ก็กำลังปรับตัว และพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมถึงความคิดเห็นต่าง ๆ จากลูกค้า เพื่อนำมาปรับใช้ในจุดที่เหมาะสมที่จะใช้ ML ในอนาคตมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

ความช่วยเหลือของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต
  • ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นเพื่อลดต้นทุนได้
  • มีความเข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแบบเรียลไทม์
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของอุตสาหกรรม ปรับปรุงความปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มคุณภาพของสินค้า
  • ค้นหาและกำจัดกระบวนการผลิตที่ต่ำที่สุดของอุตสาหกรรม (กระบวนการคอขวด)
  • ปรับปรุงการมองเห็นของซัพพลายเชน และช่องทางการจัดจำหน่าย
  • ตรวจจับสัญญาณความปกติแรกสุด สาเหตุของการล้มเหลว ลดเวลาการหยุดทำงาน และดำเนินการซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็ว
  • วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงเพื่อปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้ละเอียดมากขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพของวงจรชีวิตอุปกรณ์ทั้งหมดของอุตสาหกรรม (อายุการใช้งาน)

ใช้ AI/ML อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการผลิต

1. ปรับปรุงการจัดการข้อมูล

ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ AI หรือ ML ประเภทใด ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการคุณต้องแน่ใจแล้วว่าได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น และเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อการสร้างแบบจำลองเพื่อเริ่มโครงการนั้น ๆ ตลอดจนการเลือกใช้แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม

2. กำหนดเป้าหมาย

มีหลายกรณีในการใช้งาน ML และ AI ในการผลิต ซึ่งทุกกรณีนั้นก็มีศักภาพต่อการสร้างมูลค่าและปรับปรุงผลกำไร

เพื่อให้คุณสามารถใช้ AI/ML ได้อย่างเป็นระบบแล้ว ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตที่สามารถตอบสนองได้เร็วที่สุด หรือมีชุดข้อมูลที่จำเป็นอยู่แล้ว และจัดลำดับความสำคัญว่าควรตั้งเป้าหมายใดเป็นอันดับแรก

3. ใช้กับทั้งองค์กร

อาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้งาน AI สำหรับงานที่จำกัดเฉพาะในบางแผนกก่อน หรือใช้การคาดคะเนของ ML กับกรณีการใช้งานแบบเฉพาะ แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณจะเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนี้ เมื่อเชื่อมต่อการใช้งานด้วยความสามารถแบบอัตโนมัติของ AI ประกอบกับการคาดการณ์ของ ML ทั่วทั้งองค์กร

4. ประเมินทักษะ

ตรวจสอบชุดทักษะที่จำเป็นเพื่อมองหาบุคลากรที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และอื่น ๆ 

5. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

สร้างความไว้วางใจโดยการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คนในองค์กรใช้งานได้จริงและสำเร็จภารกิจด้วยสิ่งนี้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลก่อนเปิดใช้โมเดล ML ด้วยอัลกอริธึมของ AI 

และเมื่อพวกเขาเห็นประโยชน์ของสิ่งนี้ด้วยการสัมผัสด้วยตัวเอง การนำ AI และ ML มาใช้ในการผลิตก็จะได้การตอบรับที่ดีและประสบผลสำเร็จในที่สุด

machine learning

ร่วมพิสูจน์ความสามารถของ AI และ ML ด้วยบริการของโรงกลึงพี-วัฒน์

ด้วยการยอมรับกรณีการใช้งานของ AI ด้วย Machine Learning ของหลายโรงงานผลิตทั่วโลก เพื่อนำมาปรับเข้ากับงานผลิตของโรงกลึงพี-วัฒน์ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ความผันผวนของความต้องการของตลาด ตลอดจนการปรับปรุง หาข้อบกพร่อง  และดึงศักยภาพการผลิตออกมาได้สูงสุด พร้อมส่งมอบสินค้าคุณภาพในทุกชิ้นงาน และอีกไม่นานคุณจะสามารถร่วมพิสูจน์ความน่าทึ่งของ AI และ ML ผ่านการใช้บริการจากเรา

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก

https://www.seebo.com/machine-learning-ai-manufacturing

https://www.precog.co/glossary/ai-ml-in-manufacturing

IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย

iiot

เลี่ยงเหตุร้ายได้มากน้อยแค่ไหน? หากพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยด้วย “IIoT”

ก่อนจะเริ่มพูดคุยถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT เราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสดุดีแด่ฮีโร่ผู้เสี่ยงชีวิต และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวทุกคน บนเหตุเพลิงใหม่โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันมานี้

เรื่องของสาเหตุการระเบิดและการเกิดเพลิงไหม้ คงไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึก และก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะได้รับรู้รายละเอียดผ่านข่าวสารจากช่องทางสื่อต่าง ๆ ที่ประโคมกันแบบเรียลไทม์ไม่ขาดสาย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึง “มาตรฐานใหม่” ที่มาพร้อมกับแนวคิดในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยมี IoT เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการผลิต

และแม้ว่าสิ่งที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับกับเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง แต่ก็เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่าหากเราพัฒนาต่อยอดแนวคิดเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เลยอย่าง “ชีวิต” ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซนต์สักกี่มาน้อย ก็ถือเป็นเรื่องดีงามทั้งสิ้น

iiot

“IIoT” Industrial Internet of Things คืออะไร ?

มาย้อนความกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ Internet of Things หรือที่เราคุ้นตากันใน AKA ว่า IoT เปรียบได้กับเป็นการประยุกต์ IoT กับธุรกิจในกลุ่ม Industrial จึงเป็นที่มาของ IIoT สิ่งนี้คือการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการนำเครื่องจักร ระบบวิเคราะห์ระดับสูง และมนุษย์มาทำงานร่วมกัน โดยมีการเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายอุปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เกิดขึ้นเป็นระบบที่สามารถส่งผลแก่การติดตาม เก็บข้อมูลแบบละเอียด แสดงผลข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมนั้น ๆ

IIoT จะช่วยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ?

ปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากเป็นเรื่องความผิดปกติของอุปกรณ์ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่ IIoT จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของความปลอดภัยหนีไม้พ้นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำได้รวดเร็วและรวบรวมจำนวนได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เราสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์ รวมถึงสภาพของอุปกรณ์จากห้องควบคุมได้อยู่เสมอ

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ลิสต์เอาไว้ด้วยระบบ AI การตั้งค่าเพื่อให้มีการแจ้งเตือน หากตรวจสอบเจอสภาวะเข้าใกล้ “อันตราย” นอกจากสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ไม่น้อย

3 แน้วโน้มเพื่อความปลอดภัยในโรงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT
1. การฟิวชั่นเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision

ส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า IoT จากโรงงานผลิตจะมีเซนเซอร์รวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวโน้มต่าง ๆ ทำให้พิจารณาได้ว่าจุดไหนทำงานเป็นอย่างไร ดีมากน้อยแค่ไหน และจุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุง

กับด้านความปลอดภัย การรวมเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision ซึ่งส่วนหลังนั้นทำหน้าที่เปรียบเสมือนดวงตาของมนุษย์ คอยตรวจจับความสภาพแวดล้อมและสถานการณ์อยุ่ตลอด และด้วยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IIoT นี่เองที่จะช่วยให้ CV นั้นคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบก็จะสามารถหยุดอุปกรณ์ได้แบบอัตโมมัติก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้น

2. การติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารแบบครบวงจร

ความก้าวหน้าของสิ่งนี้ในปัจจุบันแผ่ขยายทำให้อาคารหลายแห่งมีเทคโนโลยีหลายประเภทในอาคาร โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้แบบครบวงจรเท่าที่คุณต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น โครงการนำร่องในโรงเรียนเมืองฮิวส์ตัน มีการติดตั้งปุ่มแจ้งเตือนรวมเข้ากับระบบความปลอดภัย IoT ขั้นสูง หากเกิดสถานการณ์อันตรายใด ๆ หรือมีการคุมคาม ปุ่มนี้จะช่วยเรียกเจ้าหน้าที่ได้ทั้งภายในและนอกอาคารทันที จากกรณีแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำไปปรับใช้กับภาคการผลิตได้เช่นกัน

3. การใช้ Location Based Analytics และ Real-Time Location Systems เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

เป็นแนวคิดที่เจ๋งมาก ๆ ด้านการแจ้งเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม ยกตัวเช่น การใช้ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) เพื่อสุขภาพ โดยมีบริษัท Kontakti.io ที่นำมาต่อยอดด้วยแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Simn AI เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเซ็นเซฮร์ RTLS มาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความตั้งใจเริ่มต้นคือการกำหนดเวลาคน เข้า-ออก จากที่ทำงาน

สำหรับมุมมองด้านความปลอดภัย Simon AI นั้นทรงประสิทธิภาพมากกว่านั้น เช่น สามารถแจ้งเตือนหากมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพื้นที่ หรือจะเป็นปุ่มเรียกที่ขอความช่วยเหลือได้จากการะบุตำแหน่งที่แม่นยำ จนไปถึงหากมีการอพยพ เทคโนโลยีนี้สามารถแสดงจำนวนที่มาถึงจุดปลอดภัยที่กำหนด และหากมีใครที่ขาดหายไปก็สามารถระบุตำแหน่งเพื่อติดตามได้อย่างรวดเร็ว

iiot

ประโยชน์ตรงนี้มากมายมหาศาล หากเรารับรู้ความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติภัยได้ล่วงหน้า เราก็เตรียมรับมือได้เร็ว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็ตอบสนองต่อเทคโนโลยีนี้เช่นกัน เรากำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการควบคุมไฟของเครื่องจักรทุกตัวในโรงกลึง ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT, AI, Machine Learning และ Big Data ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่วิศวกรและทีมช่าง รวมถึงควบคุมคุณภาพของการผลิตไม่ให้บกพร่อง เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า

IIoT กับ อนาคตอันน่าตื่นเต้น ผ่านการตระหนักถึงความปลอดภัยของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด

จากแนวโน้วการวางระบบมาตรการความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีนี้ ข้อสุดท้ายชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องการะบุตำแหน่ง การเก็บข้อมูลในปริมาณมาก ๆ แบบเรียลไทม์ ซึ่งจุดเด่นของ RTLS นั้นก็ชัดเจนอยู่แล้วนอกจากจะช่วยเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ทราบข้อมูลที่แน่นอนว่าใครอยู ณ จุดไหน เรื่องของความปลอดภัยก็ทำให้ตรวจสอบได้เสมอว่าพนักงานนั้นอยู่ในที่ปลอดภัย หรือหากอยู่ในจุดเกิดเหตุก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที

iiot

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายมีความสอดคล้องกับการเชื่อมต่อของ IIoT ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ การแจ้งเตือนเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น การสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย IIoT สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดต่อเรื่องนี้ และอาจกลายเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อซัพพอร์ตการป้องกันอย่างเต็มประสิทธิภาพสู่ตลาดในเร็ววันนี้

ขอขอบคุณบทความสำหรับข้อมูลดี ๆ เรื่องแนวทางการพัฒนาด้านความปลอดภัยด้วย IIoT จาก https://www.ehstoday.com/safety-technology/article/21920259/6-iiot-trends-for-manufacturing-safety

เทรนด์อุตสาหกรรม 2021 จากยุคเดิมสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ผ่านมุมมองสื่อดัง Forbes

อุตสาหกรรม 5.0

ทุกการวิวัฒน์.. แม้มันต้องใช้เวลาในการปรับตัวเข้าหาสิ่งใหม่ที่จะกลายเป็นแนวทางในการอยู่รอดตามช่วงเวลานั้น ๆ แต่สิ่งที่ตามมาล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์มหาศาลหากว่าคุณก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดแห่งการพัฒนาเหล่านั้นได้ เหมือนกับที่อุตสาหกรรม 4.0 ที่เพิ่งจะถูกพูดถึงไม่นาน แต่กลับกลายเป็นว่าอาจโดนอัปเกรดไปสู่ยุค อุตสาหกรรม 5.0 อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้เป็นเพราะมีวิกฤตการณ์ โควิด – 19 เป็นตัวเร่งสิ่งต่าง ๆ ให้รุดหน้ายิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว จนเทรนด์โลกตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมชนิดใด “ปัญญาประดิษฐ์” (AI : Artificial Intelligence) เป็นสิ่งที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ “มนุษย์” อย่างเราต้องผนึกกำลังกับสิ่งนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจของตนเอง

ในขณะที่ “Forbes” จ้าวแห่งสื่อธุรกิจการเงินแห่งสหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์เทรนด์ใหม่ของโลกธุรกิจผ่านมุมมองของพวกเขา สิ่งที่น่าสนใจจากผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจมากว่า “ศตวรรษ” จะน่าสนใจขนาดไหน เราได้นำมาย่อยให้คุณได้อัปเดตไปพร้อม ๆ กัน ผ่านบทความนี้แล้ว..

อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร ยังมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนกับสถานการณ์ทุกวันนี้?

อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร.. ในช่วงรอบปีที่ผ่านมาคาดว่าหลายคนที่ข้องแวะเกี่ยวกับการทำธุรกิจน่าจะได้ยินคำนี้มากันพอสมควร ต่อให้ไม่รู้จักมักจี่อย่างถ่องแท้แต่เชื่อเหลือเกินว่าต้องเคยผ่านหูกันมาไม่บ้างก็น้อย 

อุตสาหกรรม 5.0

ซึ่งเจ้า “อุตสาหกรรม 4.0” นี้หลัก ๆ คือเรื่องของการปฏิวัตโลกแห่งการผลิต ที่หากคุณรู้จักกลไกลโครงสร้างของเขาจะทำให้เห็นภาพรวมต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน กระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณลดต้นทุน ทุ่นแรงจากการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูง กลายเป็นคีย์แมนแห่งอุตสาหกรรมการผลิตไปโดยปริยาย

และดังที่กล่าวไป เพียงแค่พารากราฟสั้น ๆ ก็น่าจะทำให้คุณพอเห็นความสำคัญของสิ่งนี้แบบที่เราไม่ต้องอธิบายอะไรให้ยืดยาว

มุมมองจากสื่อ “จ้าวแห่งธุรกิจการเงิน” ต่อเทรนด์โลกธุรกิจและอุตสาหกรรม 5.0 ในอนาคต

ส่วนที่เราได้พูดค้างเอาไว้ในช่วงต้นของบทความว่า “Forbes” ได้มองถึงเทรนด์ของการผลิตในปี 2021 ที่จะเข้ามาเป็นบทบาทสำคัญของธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท เพื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 โดยแท้จริง สรุปได้ว่ามี 6 ปัจจัยหลัก ดังนี้

  1. Glocalization เป็นการฟิวชั่นกันระหว่างคำว่า Globalization X Localization พูดแบบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือการผสมผสานแนวทางสากลสู่ความเป็นระบบท้องถิ่น เหตุผลหลักก็มาจาก โควิด – 19 อีกนั่นแหละ ที่ทำให้การขนส่งต่าง ๆ เป็นได้ยาก ทำให้หนทางอยู่รอดจำต้องหาซัพพลายเออร์ท้องถิ่นที่มีศักยภาพระดับสูงมาคัฟเวอร์สิ่งที่ขาดหายไปในช่วงนี้ 
  1. ปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี สิ่งที่ทุกองค์กรง่วนอยู่กับกระบวนการนี้ โลกแห่งธุรกิจถูกบังคับให้อัพเกรดในความ “คล่องตัว” หลายสิ่งหลายอย่าง การประสานงาน รวมถึงชุดข้อมูลหากเป็นแบบ “Real-Time” ได้ยิ่งนี้ สิ่งนี้จะทำให้ทุกธุรกิจ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลแน่นอน
  1. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อีกหนึ่งพระเอกของช่วงเวลาหลังโรคระบาด การแก้ปัญหาของความขาดแคลน “ซัพพลายเชน” ถูกสิ่งนี้เข้ามาทดแทนได้อย่างเฉียบขาด ตัวอย่างที่โลกประจักษ์เลยนั่นก็คือการเพิ่มผลผลิตอุปกรณ์การแพทย์แบบรวดเร็ว ซึ่งก็ได้คุณสมบัติพิเศษของสิ่งนี้เข้ามาเติมเต็มได้แบบไร้รอยต่อ
  1. ความสำคัญโครงสร้างพื้นฐาน IT ตรงจุดนี้เคยพูดถึงไปแล้วในบทความก่อน เป็นระบบแรก ๆ ที่จะถูกปรับปรุงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเทรนด์โลกอุตสาหกรรมสมัยใหม่ การปรับขนาดให้เหมาะสมต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูล บริการ วิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ขนไปถึงระบบภายในต่าง ๆ จำต้องตอบสนองต่อโครงสร้างนี้ได้เป็นอย่างดี
  1. การลงทุนที่เพิ่มขึ้นของ IIOT เนื้อหาจาก Forbes ได้นำเสนอสิ่งที่ Rockwell Automation ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดนี้จะเติบโตมากเกือบ 2 เท่าตัว ในปี 2020 – 2025 จากมูลค่า 77.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 110.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่น่าสนใจมากขึ้นเป็นตัวเลข 75% ที่ผู้ผลิดมีแพลนจะเพิ่มการลงทุนด้วยระบบอัฉริยะนี้ในปีต่อ ๆ ไป
  1. ปัญญาประดิษฐ์ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ที่ต้องบอกเช่นนี้ เนื่องจากแม้จะเป็นระบบอัฉริยะแต่ก็ยังมีจุดบอดให้เห็นกันอยู่ ดังนั้น ต่อให้เป็นมาตรฐานหลักที่ควรค่าแก่การพัฒนาก็ยังคงต้องทำงานร่วมกับมนุษย์ที่เป็นฝ่ายกำหนดความต้องการด้วยความเข้าใจต่อสถานการณ์โลกอย่างเราคอยควบคุมอีกที ทุกการประสานงานอันไหลลื่นจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่คาดไม่ถึง โดยเฉพาะความสุดยอดของเซนเซอร์ IIOT สามารถสร้างข้อมูลมากกว่า 1.44 พันล้านตำแหน่งต่อข้อมูลโรงงานในหนึ่งวัน โดยตัวเลขนี้ทำให้หลายอุตสาหกรรมตระหนักว่าการบูรณการสิ่งนี้นั้นดีอย่างไร นี่เป็นเหตุผลที่หลายองค์กรผู้ไม่เคยอิดออดต่อการวิวัฒน์ นั้นมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดอยู่เสมอ
อุตสาหกรรม 5.0

จาก 4.0 ถึง 5.0 “ช้าหรือเร็วไม่เกี่ยว” หากแต่พร้อมรับมือ “ผลลัพธ์ล้วนดีเสมอ”

ทางเรา โรงกลึงพี-วัฒน์ นั้นก็ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต รองรับทุกความต้องการของลูกค้ามาเสมอ มีการพัฒนาเกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม อย่างเครื่อง CNC Machining Center ที่เราได้นำให้บริการลูกค้ามาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก็สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ Forbes มองว่าจะเป็นเทรนด์ต่อ ๆ ไป เป็นสิ่งที่ตอกย้ำได้ว่าการบริหารงาน การดำเนินการของธุรกิจเราเป็นไปตามฉบับสากลมาโดยตลอด

ฉะนั้น มั่นใจได้เลยไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังถูกพูดถึง หรือจะก้าวสู่อุตสาหกรรม 5.0 ในเร็ววันนี้ จากการเชื่อต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และระบบอัฉริยะปัญญาประดิษฐ์ ที่นี่พร้อมปรับตัวก้าวทันทุกยุคเพื่อรับรองทุกความต้องการ ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกบริการแบบครบครัน 100 เปอร์เซนต์