กลไกอันน่าทึ่งของ AI และ Machine Learning “คลื่นลูกใหม่” ของอุตสาหกรรมการผลิต

machine learning

คำว่า “Smart Manufacturing” หรือที่พากย์ไทยได้ว่า “ระบบการผลิตอัจฉริยะ” หลายคนอาจจะผ่านหูผ่านตามาบ้างเมื่อตกอยู่ในแดนสนธยาของ “IoT” กับ “IIoT” 

และที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกันของ “ปัญญาประดิษฐ์” (AI) เมื่อถูกนำไปฟิวชั่นกับสิ่งที่เรียกว่า Machine Learning (ML) ซึ่งได้รับการซูฮกว่าเป็นเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ที่คอยขับเคลื่อนนวัตกรรม จนได้รับคำนิยามว่าเป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์เชิงอุตสาหกรรมอันแสนโดดเด่น ที่จะช่วยให้คุณนั้นสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

เมื่อเราเดินทางมาถึงวันที่ “ข้อมูล” กลายเป็นทรัพยาการอันมีค่า แถมยังมีราคาถูกกว่าที่เคย หากเราเลือกใช้เทคโนโลยีได้ถูกต้องในการตักตวงประโยชน์จากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ และดึงศักยภาพสูงสุดของสิ่งนั้น อันเป็นที่มาของบทบาทความสำคัญการใช้ AI ประสานงานเข้ากับ ML ที่เราจะพาทุกคนไปดื่มด่ำกันในวันนี้

machine learning

AI และ ML คืออะไร ในวงการผลิต

มีกรณีมากมายที่ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยหลากหลายวิธีสำหรับช่วยเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรม ซึ่งนั่นก็ทำให้ AI มีบทบาทสำคัญในวงการผลิต เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับ IoT (IIoT) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง และหนึ่งในชุดย่อยที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของ AI คือ ML (Machine Learning)

และอย่างที่รู้กันว่าการผลิตตามกระบวนการเป็นภาคส่วนที่มีการแข่งขันสูง ด้วยตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบอันซับซ้อนซึ่งก็เต็มไปด้วยหลายชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีการเคลื่อนไหว การขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้รวมถึงการปรับปรุงความสามารถตลอดจนถึงการเริ่มต้นทำกำไรตั้งแต่กระบวนการผลิต ถือเป็นข้อได้เปรียบทั้งหมด และนี่เป็นสิ่งที่ AI กับ ML สามารถมอบให้คุณได้

machine learning

ความสำคัญของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต

การมีอยู่ของ AI มีส่วนทำให้โรงงานในกระบวนการผลิตสามารถบูรณาการข้อมูล วิเคราะห์ และสร้างข้อมูลเชิงลึกรวมถึงคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ช่วยทำให้เห็นภาพรวมก่อนตัดสินใจได้แบบครอบคลุมทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับ ML ก็เป็นประเภทของ AI ที่บีบอัดชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อระบุรูปแบบและแนวโน้ม ก่อนสร้างเป็นแบบจำลองเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังช่วยให้โรงงานรู้ความผันผวนของอุปสงค์อุปทาน ต่อเนื่องด้วยการประเมินช่วงเวลาดีที่สุดสำหรับกำหนดการบำรุงรักษา ตลอดจนการระบุสัญญาณเริ่มต้นของความผิดปกติ

ทั้งนี้นั้น ML ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Machine Learning ก็ต้องมีกระบวนการในการเรียนรู้ก่อนที่จะสามารถวิเคราะห์สิ่งใดก็ตามได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นที่มาของการได้มาของข้อมูล การเก็บรวบรวมให้ถูกต้อง และคัดสรรเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อให้ ML เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ ยิ่งชุดข้อมูลมีมากเท่าไหร่ ML ก็จะฉลาดและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น

ในฐานะโรงกลึงสมัยใหม่ที่เฝ้ามองกระแสความเป็นไปของเทคโนโลยี เราโรงกลึงพี-วัฒน์ก็กำลังปรับตัว และพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมถึงความคิดเห็นต่าง ๆ จากลูกค้า เพื่อนำมาปรับใช้ในจุดที่เหมาะสมที่จะใช้ ML ในอนาคตมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

ความช่วยเหลือของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต
  • ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นเพื่อลดต้นทุนได้
  • มีความเข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแบบเรียลไทม์
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของอุตสาหกรรม ปรับปรุงความปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มคุณภาพของสินค้า
  • ค้นหาและกำจัดกระบวนการผลิตที่ต่ำที่สุดของอุตสาหกรรม (กระบวนการคอขวด)
  • ปรับปรุงการมองเห็นของซัพพลายเชน และช่องทางการจัดจำหน่าย
  • ตรวจจับสัญญาณความปกติแรกสุด สาเหตุของการล้มเหลว ลดเวลาการหยุดทำงาน และดำเนินการซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็ว
  • วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงเพื่อปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้ละเอียดมากขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพของวงจรชีวิตอุปกรณ์ทั้งหมดของอุตสาหกรรม (อายุการใช้งาน)

ใช้ AI/ML อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการผลิต

1. ปรับปรุงการจัดการข้อมูล

ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ AI หรือ ML ประเภทใด ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการคุณต้องแน่ใจแล้วว่าได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น และเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อการสร้างแบบจำลองเพื่อเริ่มโครงการนั้น ๆ ตลอดจนการเลือกใช้แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม

2. กำหนดเป้าหมาย

มีหลายกรณีในการใช้งาน ML และ AI ในการผลิต ซึ่งทุกกรณีนั้นก็มีศักภาพต่อการสร้างมูลค่าและปรับปรุงผลกำไร

เพื่อให้คุณสามารถใช้ AI/ML ได้อย่างเป็นระบบแล้ว ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตที่สามารถตอบสนองได้เร็วที่สุด หรือมีชุดข้อมูลที่จำเป็นอยู่แล้ว และจัดลำดับความสำคัญว่าควรตั้งเป้าหมายใดเป็นอันดับแรก

3. ใช้กับทั้งองค์กร

อาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้งาน AI สำหรับงานที่จำกัดเฉพาะในบางแผนกก่อน หรือใช้การคาดคะเนของ ML กับกรณีการใช้งานแบบเฉพาะ แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณจะเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนี้ เมื่อเชื่อมต่อการใช้งานด้วยความสามารถแบบอัตโนมัติของ AI ประกอบกับการคาดการณ์ของ ML ทั่วทั้งองค์กร

4. ประเมินทักษะ

ตรวจสอบชุดทักษะที่จำเป็นเพื่อมองหาบุคลากรที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และอื่น ๆ 

5. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

สร้างความไว้วางใจโดยการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คนในองค์กรใช้งานได้จริงและสำเร็จภารกิจด้วยสิ่งนี้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลก่อนเปิดใช้โมเดล ML ด้วยอัลกอริธึมของ AI 

และเมื่อพวกเขาเห็นประโยชน์ของสิ่งนี้ด้วยการสัมผัสด้วยตัวเอง การนำ AI และ ML มาใช้ในการผลิตก็จะได้การตอบรับที่ดีและประสบผลสำเร็จในที่สุด

machine learning

ร่วมพิสูจน์ความสามารถของ AI และ ML ด้วยบริการของโรงกลึงพี-วัฒน์

ด้วยการยอมรับกรณีการใช้งานของ AI ด้วย Machine Learning ของหลายโรงงานผลิตทั่วโลก เพื่อนำมาปรับเข้ากับงานผลิตของโรงกลึงพี-วัฒน์ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ความผันผวนของความต้องการของตลาด ตลอดจนการปรับปรุง หาข้อบกพร่อง  และดึงศักยภาพการผลิตออกมาได้สูงสุด พร้อมส่งมอบสินค้าคุณภาพในทุกชิ้นงาน และอีกไม่นานคุณจะสามารถร่วมพิสูจน์ความน่าทึ่งของ AI และ ML ผ่านการใช้บริการจากเรา

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก

https://www.seebo.com/machine-learning-ai-manufacturing

https://www.precog.co/glossary/ai-ml-in-manufacturing

เทรนด์ “รักษ์โลก” ส่องความเคลื่อนไหวบริษัทยักษ์ใหญ่ริเริ่มอะไรกันแล้วบ้าง

รักษ์โลก

จากที่เราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง “มลพิษทางอากาศ” เรื่อยจนมาถึง “พลังงานหมุนเวียน” ผ่านเนื้อหาล่าสุดที่นำเสนอให้ได้อัพเดตกันในช่วงก่อนหน้านี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะพอนึกภาพตามได้ว่ามีอะไรที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เรื่องของมลภาวะอันไม่พึงประสงค์ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ซึ่งที่กล่าวมานี้ นอกจากกรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทั้งหลายแหล่ เรื่องที่เราเคยพูดถึงไปอย่างระบบ AI ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเทรนด์ “รักษ์โลก” ซึ่งภายในเนื้อหาวันนี้ก็จะมีตัวอย่างยกให้เห็นกันแบบชัด ๆ เป็นโปรเจกต์ของแบรนด์ไอทีพี่เบิ้มระดับโลก อย่าง “ไมโครซอฟต์” ที่ปลุกปั้นกันมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า
มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

แต่ถ้าใครยังเห็นภาพไม่ชัดจริง ๆ ว่าเทรนด์นี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง จะมีการตื่นตัวมากน้อยแค่ไหนในระดับโลก รวมถึงมียักษ์ใหญ่แบรนด์ใดที่เริ่มทำบางสิ่งบางอย่างกับธุรกิจของพวกเขา ไปพร้อม ๆ กับการดูแลโลกของพวกเราทุกคน บางทีเนื้อหาด้านล่างนี้อาจจะช่วยให้คุณได้สิ่งต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ติดตามผ่านเนื้อหาทั้งหมดนี้ได้เลย..

รักษ์โลก

“พลังงานหมุนเวียน” กับ สองลูกรักของคนดัง “อีลอน มัสก์”

สำหรับใครที่เคยได้ยินข่าวของ อีลอน มัสก์ หนึ่งในสุดยอดนักธุรกิจที่เก่งกาจเรื่องวิศวกรรมเป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์ตัวยง 

เจ้าแห่งอาณาจักร “SpaceX” และ “Tesla Motors” ถือเป็นคนดังในวงการอุตสาหกรรมที่ตื่นตัวกับสิ่งเหล่านี้เป็นคนแรก ๆ จะเห็นได้จากการเลือกใช้วัสดุเพื่อผลิตจรวดของสเปซเอ็กซ์ก็ดี หรือจะเป็นชิ้นสวนยานยนต์ รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่บอกลาน้ำมันอันเป็นพลังงานสิ้นเปลืองของเทสล่า ทั้งสองสิ่งล้วนพิสูจน์ได้ดีว่าเทรนด์เหล่านี้ไม่ได้มาเล่น ๆ แน่นอน

เรื่องของความ “รักษ์โลก” พอจะมีแทรกซึมอยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้ยกอีกตัวอย่างยักษ์ใหญ่ที่เอาจริงเอาจังด้านสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่า “ไมโครซอฟต์” นั้นจะเด่นชัดสุด ซึ่งคุณสามารถพิจารณด้วยตัวเองได้จากเนื้อหานับแต่บรรทัดนี้เป็นต้นไป..

“AI for Earth” เกิดมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ จาก “ไมโครซอฟต์”

อย่างที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องของ AI (Artificial Intelligence) ไม่ได้มีส่วนแค่การเข้ามาช่วยให้การทำงานภายในอุตสาหกรรมง่ายและทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถใช้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนอย่างที่ ไมโครซอฟต์ ทำกับสุดยอดโปรเจกต์นี้

สำหรับ “AI for Earth” ถูกปลุกปั้นมาตั้งแต่ปี 2017 จุดมุ่งหมายนั้นเน้นไปที่เรื่องของการนำนวัตกรรม AI และคลาวด์ของพวกเขามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ

รักษ์โลก
ไมโครซอฟต์ จริงจังมากแค่ไหนเรื่องรักษ์โลก?

ความเอาจริงเอาจังของยักษ์ใหญ่ด้านไอที หากนับจนถึงปัจจุบันแล้ว กว่า 236 โครงการใน 63 ประเทศทั่วโลก โดยมีแพลตฟอร์มชื่อ “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” เป็นคีย์แมนในการรวบรวมข้อมูล พวกเขาได้มีการพิจารณาและมอบทุนให้กับโครงการวิจัยเชิงสิ่งแวดล้อม 4 ด้ายหลักใหญ่ ได้แก่

  • เกษตรกรรม
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
  • ทรัพยากรน้ำ

ด้วยพลังด้านเงินทุนและความตั้งใจริ่เริ่มของ ไมโครซอฟต์ ได้รับการสานต่อจากสถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยมีหนึ่งทีมวิจัยที่โดดเด่น คือ องค์กรการกุศลที่ชื่อว่า “Sustainable Coastlines”

Sustainable Coastlines คือใคร และบทบาทสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

Sustainable Coastlines คือ องค์กรไอดอลด้านรักษ์โลกจากประเทศนิวซีแลนด์ ที่สำคัญยังเป็นองค์กรการกุศลอีกด้วย พวกเขามีบทบาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในท้องทะเลมากว่า 10 ปีแล้ว หากเป็นก่อนหน้านี้เรื่องดังกล่าวคงต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยการเข้ามาของ AI ทำให้พวกเขากำเนิดโซลูชั่นที่ช่วยให้หลายภาคส่วนเข้าถึงปริมาณที่ถูกต้อง รวมถึงเข้าใจสถานการณ์ที่เกิด ตลอดจนถึงแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขยะในอนาคต (โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็พยายามศึกษาโปรเจกต์และกระบวนการทางวิศวกรรมต่าง ๆ ขององค์กรนี้อยู่เรื่อย ๆ เพื่อพยายามจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงกลึงของเราในพาร์ทของโซลูชั่นกำจัดของเสียเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม)

จากมันสมอง “นักคิดทั่วโลก” สู่ผลงานที่เป็นจริงด้วย “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์”

มาถึงตรงนี้ต้องขอประทานอภัยด้วยที่เปิดตัว “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” ช้าไปเสียหน่อย ซึ่งนี่ก็คือชื่อของบริการ “คลาวด์” ที่หลายคนน่าจะรู้จักและใช้ไปกับธุรกิจสตาร์ทอัพเสียมากกว่า แต่กับโปรเจกต์ “AI for Earth” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าสิ่งนี้ทำประโยชน์เพื่อโลกใบนี้ได้มากกว่าแค่เรื่องธุรกิจ

จากทีม Sustainable Coastlines ที่ดูแลเรื่องท้องทะเล หรือจะเป็น Wild Me องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ปกป้องติดตามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งบางชนิดมีผลต่อระบบนิเวศน์โดยตรง ก็สามารถใช้ AI และข้อมูลจากคลาวด์เพื่อติดตาม ระบุตัวตนได้อย่างแม่นยำ

รักษ์โลก

เรื่อยจนมาถึงเรื่องของการเกษตร ผลงานอันโดดเด่นเห็นชัดสุดเป็นของ FarmBeats ที่ปรับใช้ด้วยการเลือกเอาอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ ใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งความละเอียดนั้นบ่งบอกได้ครบถ้วนทุกกระบวนการ ไล่ตั้งแต่ การตรวจวัดความชื้น สาอาหารต่าง ๆ อุณหภูมิหน้าดิน ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลของสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ 

ก่อนจะนำทุกอย่างมาวิเคราะห์ สรุปออกมาได้เป็นคำแนะนำช่วยให้เกษตรกรสามาถวางแผนการเพาะปลูก ตลอดจนการกะระยะเวลาวางแผนเก็บเกี่ยวได้เหมาะสมเพื่อผลผลิตที่ดีที่สุดซึ่งล้วนได้มาความอัจฉริยะของการประมวลของระบบ AI อย่างแม่นยำ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งตอกย้ำว่าเทรนด์ “รักษ์โลก” ต้องควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมแขนงใดก็ตาม เพราะขนาดที่ว่าสองบริษัทที่มีมีมูลค่าสูงระดับท็อปของโลกยังให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากถึงเพียงนี้ ก็แทบจะไม่มีเหตุผลอะไรแล้วที่พวกเราจะไม่ดำเนินรอยตาม..

น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน.. อนาคตของ CNC Machining x ปัญญาประดิษฐ์ ?

ปัญญาประดิษฐ์

มาปิดท้ายซีรีส์ “CNC Machining” ไปกับเราที่นี่ ด้วยการร่วมมองอนาคตของเทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กัน ว่าในระยะเวลาอันใกล้และไกลต่อแต่นี้จะสามารถยกระดับได้ขนาดไหน มีอะไรมาเซอร์ไพรส์ผู้ที่ข้องแวะในวงการนี้ได้อีก จากที่ได้บรรยายสรรพคุณมากมายว่าสิ่งนี้นั้นมีความดีความชอบอย่างไรบ้างต่ออุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ โดยเฉพาะวงการยานยนต์

ถ้ายังจำกันได้… เราเคยนำเสนอมุมมองต่อโลกอุตสาหรรมที่สื่อการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง “Forbes” (เทรนด์อุตสาหกรรม 2021 จากยุคเดิมสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ผ่านมุมมองสื่อดัง Forbes) นั้นวิเคราะห์ออกมาแล้วว่าสิ่งหนึ่งที่จะเข้ามามีส่วนอย่างมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ และทุกอุตสาหกรรมควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ คือการร่วมทำงานกับ “ปัญญาประดิษฐ์” ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพัฒนาก็ดี หรือจะเลือกหยิบใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตนก็ดี แต่คำว่า “ของมันต้องมี” อาจจะต้องขีดเส้นใต้เอาไว้เลย หากคุณต้องการพัฒนาธุรกิจของตนเอง..

ปัญญาประดิษฐ์

3 กำลังสำคัญแห่งอนาคต ที่เตรียมขับเคลื่อนไปพร้อมกับเทคโนโลยี CNC

ด้วยความที่เทคโนโลยี CNC นั้นพัฒนาต่อเนื่องแบบไม่มีหยุดหย่อน ทำให้แนวโน้มของหลายบริษัทนั้นเปลี่ยนไป รวมถึงการเปิดรับนวัตกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แม้ทุกอย่างจะอยู่บนหลักการพื้นฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ดูเหมือนว่าเทรนด์ ณ ตอนนี้ ผู้ผลิตกำลังเร่งเสริมทัพด้วยการไล่ล่าเทคโนโลใหม่ ๆ มาเพิ่มศักยภาพให้กับโรงงานของตนเอง ดังเช่น 3 ปัจจัยหลักที่เราจะนำมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้

วัสดุอุปกรณ์ชั้นสูง

นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่จะถูกปรับเข้ามาใช้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ บนเทรนด์โลกปัจจุบัน เพราะทุกอย่างนั้นหากแค่ฟังดูเผิน ๆ ดูเหมือนจะย้อนแย้งกันไปเสียหมด กล่าวคือ เราต้องการวัสดุที่พรีเมียมมากขึ้น แต่ต้องมีน้ำหนักเบา อยากได้ความล้ำสมัยแต่ก็ต้องสอดคล้องไปกับความ “รักษ์โลก” ตามนโยบายและข้อบังคับเฉพาะที่ถูกกำหนดขึ้นสำหรับการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผลอันเนื่องมาจากอัตราการบริโภคทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง (สำหรับโรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็ใช้อุปกรณ์ชั้นสูง เครื่องจักรระดับไฮ-เอนด์ เหมือนกันนะ ^^)

ทั้งนี้ เพื่อผลิตยานพาหนะให้อยู่บนมาตรฐานข้อกำหนดต่าง ๆ แถมยังต้องรักษาประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิต วัสดุพิเศษจะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น อลูมิเนียม คอมโพสิตคาร์บอน-นาโน ใช้แทนส่วนประกอบต่าง ๆ ของบอดี้ ระบบขับเคลื่อน จนไปถึงช่วงล่างทั้งหมดของยานยนต์ ความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักเบาขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และความทนทานที่มากขึ้น ต่างเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากเทคโนโลยีเหล่านี้ฟิวชั่นกันทั้งหมด

ปัญญาประดิษฐ์

เทคโนโลยี CNC สำหรับรถยนต์ไร้คนขับ

จริง ๆ นี่คงไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเชื่อว่าหลายคนน่าจะเห็นเทคโนโลยีมาหลายปีแล้ว ที่ชัดเจนสุดคงจะเป็น “เทสล่า” ของ “อีลอน มัสค์” แต่เอาเข้าจริงแวดวงนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง เพียงแต่ความสำเร็จของยอดนักธุรกิจจอมทวีตนั้นเสียงดังกว่าใคร ทำให้ดูเหมือนว่า เทสล่า ของเขาพร้อมเขย่าโลกอยู่ตลอดเวลา

เป้าหมายของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่อจากนี้ คือมุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมการผลิตรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้เองโดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลจากมนุษย์โดนสิ้นเชิง และก็อีกเช่นเคย… สิ่งที่จะสานฝันให้โปรเจกต์นี้เข้าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด ต่างก็มีคำว่า “CNC” เข้ามาเป็นตัวผสาน โดยคราวนี้จะเป็นการรวมพลังกับ “ปัญญาประดิษฐ์” ด้วย 2 กำลังสำคัญนี้เองทำให้อนาคตของยานยนต์อัตโนมัติเต็มรูปแบบเข้าใกล้ทุกคนมากกว่าที่คาดไว้พอสมควร

ปัญญาประดิษฐ์

เครื่อง CNC ในช่วงแรกเริ่มเดิมทีเลย ยังต้องอาศัยข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมคอยแก้ไขปัญหาและต้องมีการวินิจฉัยอย่างสม่ำเสมอ การเข้ามาของ “ปัญญาประดิษฐ์” สู่อุตสาหกรรมยานยนต์ทำให้ทุกอย่างถูกยกระดับขึ้น กลายเป็นว่าเครื่องจักรเหล่านี้สามารถวินิจฉัยพร้อมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องได้ทันทีด้วยตนเอง ซึ่งการประหยัดเวลาการหยุดทำงานของเครื่องจักรสามารถนำไปต่อยอดกระบวนการอื่นอีกมากมาย

ส่วนอีกสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก คือการพิจารณาใช้ AI สำหรับผลิตยานยนต์คุณภาพสูงขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของ CNC Machining ได้มากกว่าที่เคยเป็น

ปัญญาประดิษฐ์

CNC Machining ตัวเลือกยืนหนึ่ง “ในอุดมคติ” ต้นแบบอุตสาหกรรมยานยนต์

ความพิเศษของเทคโนโลโยนี ยังคงเป็นตัวเลือกในอุดมคติลำดับต้น ๆ ของการสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมยานยนต์ และมั่นใจได้เลยว่าจะคงอยู่ต่อไปอีกหลายต่อหลายปี นอกเหนือจาก 3 สิ่งที่เราได้กล่าวไว้เนื้อหาด้านบน ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการสามารถสำรวจตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าตนเองได้อย่างเหมาะเจาะ

เมื่อไรก็ตามที่ CNC Machining วิวัฒน์ร่วมกับ “ปัญญาประดิษฐ์” ได้แบบเต็มประสิทธิภาพ กระบวนผลิตยานยนต์จะพัฒนาแบบก้าวกระโดดอีกครั้ง จนถึงตอนนั้นโลกยุคใหม่แห่งอุตสาหกรรมน่าจะมีอะไรให้เราได้ศึกษาเพิ่มเติ่มเพื่อใช้สอยประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้กันอีกเยอะเลยทีเดียว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลประกอบบทความดี ๆ จากเว็บ https://www.fastradius.com