เทรนด์ “รักษ์โลก” ส่องความเคลื่อนไหวบริษัทยักษ์ใหญ่ริเริ่มอะไรกันแล้วบ้าง

รักษ์โลก

จากที่เราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง “มลพิษทางอากาศ” เรื่อยจนมาถึง “พลังงานหมุนเวียน” ผ่านเนื้อหาล่าสุดที่นำเสนอให้ได้อัพเดตกันในช่วงก่อนหน้านี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะพอนึกภาพตามได้ว่ามีอะไรที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เรื่องของมลภาวะอันไม่พึงประสงค์ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ซึ่งที่กล่าวมานี้ นอกจากกรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทั้งหลายแหล่ เรื่องที่เราเคยพูดถึงไปอย่างระบบ AI ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเทรนด์ “รักษ์โลก” ซึ่งภายในเนื้อหาวันนี้ก็จะมีตัวอย่างยกให้เห็นกันแบบชัด ๆ เป็นโปรเจกต์ของแบรนด์ไอทีพี่เบิ้มระดับโลก อย่าง “ไมโครซอฟต์” ที่ปลุกปั้นกันมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า
มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

แต่ถ้าใครยังเห็นภาพไม่ชัดจริง ๆ ว่าเทรนด์นี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง จะมีการตื่นตัวมากน้อยแค่ไหนในระดับโลก รวมถึงมียักษ์ใหญ่แบรนด์ใดที่เริ่มทำบางสิ่งบางอย่างกับธุรกิจของพวกเขา ไปพร้อม ๆ กับการดูแลโลกของพวกเราทุกคน บางทีเนื้อหาด้านล่างนี้อาจจะช่วยให้คุณได้สิ่งต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ติดตามผ่านเนื้อหาทั้งหมดนี้ได้เลย..

รักษ์โลก

“พลังงานหมุนเวียน” กับ สองลูกรักของคนดัง “อีลอน มัสก์”

สำหรับใครที่เคยได้ยินข่าวของ อีลอน มัสก์ หนึ่งในสุดยอดนักธุรกิจที่เก่งกาจเรื่องวิศวกรรมเป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์ตัวยง 

เจ้าแห่งอาณาจักร “SpaceX” และ “Tesla Motors” ถือเป็นคนดังในวงการอุตสาหกรรมที่ตื่นตัวกับสิ่งเหล่านี้เป็นคนแรก ๆ จะเห็นได้จากการเลือกใช้วัสดุเพื่อผลิตจรวดของสเปซเอ็กซ์ก็ดี หรือจะเป็นชิ้นสวนยานยนต์ รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่บอกลาน้ำมันอันเป็นพลังงานสิ้นเปลืองของเทสล่า ทั้งสองสิ่งล้วนพิสูจน์ได้ดีว่าเทรนด์เหล่านี้ไม่ได้มาเล่น ๆ แน่นอน

เรื่องของความ “รักษ์โลก” พอจะมีแทรกซึมอยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้ยกอีกตัวอย่างยักษ์ใหญ่ที่เอาจริงเอาจังด้านสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่า “ไมโครซอฟต์” นั้นจะเด่นชัดสุด ซึ่งคุณสามารถพิจารณด้วยตัวเองได้จากเนื้อหานับแต่บรรทัดนี้เป็นต้นไป..

“AI for Earth” เกิดมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ จาก “ไมโครซอฟต์”

อย่างที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องของ AI (Artificial Intelligence) ไม่ได้มีส่วนแค่การเข้ามาช่วยให้การทำงานภายในอุตสาหกรรมง่ายและทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถใช้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนอย่างที่ ไมโครซอฟต์ ทำกับสุดยอดโปรเจกต์นี้

สำหรับ “AI for Earth” ถูกปลุกปั้นมาตั้งแต่ปี 2017 จุดมุ่งหมายนั้นเน้นไปที่เรื่องของการนำนวัตกรรม AI และคลาวด์ของพวกเขามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ

รักษ์โลก
ไมโครซอฟต์ จริงจังมากแค่ไหนเรื่องรักษ์โลก?

ความเอาจริงเอาจังของยักษ์ใหญ่ด้านไอที หากนับจนถึงปัจจุบันแล้ว กว่า 236 โครงการใน 63 ประเทศทั่วโลก โดยมีแพลตฟอร์มชื่อ “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” เป็นคีย์แมนในการรวบรวมข้อมูล พวกเขาได้มีการพิจารณาและมอบทุนให้กับโครงการวิจัยเชิงสิ่งแวดล้อม 4 ด้ายหลักใหญ่ ได้แก่

  • เกษตรกรรม
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
  • ทรัพยากรน้ำ

ด้วยพลังด้านเงินทุนและความตั้งใจริ่เริ่มของ ไมโครซอฟต์ ได้รับการสานต่อจากสถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยมีหนึ่งทีมวิจัยที่โดดเด่น คือ องค์กรการกุศลที่ชื่อว่า “Sustainable Coastlines”

Sustainable Coastlines คือใคร และบทบาทสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

Sustainable Coastlines คือ องค์กรไอดอลด้านรักษ์โลกจากประเทศนิวซีแลนด์ ที่สำคัญยังเป็นองค์กรการกุศลอีกด้วย พวกเขามีบทบาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในท้องทะเลมากว่า 10 ปีแล้ว หากเป็นก่อนหน้านี้เรื่องดังกล่าวคงต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยการเข้ามาของ AI ทำให้พวกเขากำเนิดโซลูชั่นที่ช่วยให้หลายภาคส่วนเข้าถึงปริมาณที่ถูกต้อง รวมถึงเข้าใจสถานการณ์ที่เกิด ตลอดจนถึงแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขยะในอนาคต (โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็พยายามศึกษาโปรเจกต์และกระบวนการทางวิศวกรรมต่าง ๆ ขององค์กรนี้อยู่เรื่อย ๆ เพื่อพยายามจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงกลึงของเราในพาร์ทของโซลูชั่นกำจัดของเสียเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม)

จากมันสมอง “นักคิดทั่วโลก” สู่ผลงานที่เป็นจริงด้วย “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์”

มาถึงตรงนี้ต้องขอประทานอภัยด้วยที่เปิดตัว “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” ช้าไปเสียหน่อย ซึ่งนี่ก็คือชื่อของบริการ “คลาวด์” ที่หลายคนน่าจะรู้จักและใช้ไปกับธุรกิจสตาร์ทอัพเสียมากกว่า แต่กับโปรเจกต์ “AI for Earth” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าสิ่งนี้ทำประโยชน์เพื่อโลกใบนี้ได้มากกว่าแค่เรื่องธุรกิจ

จากทีม Sustainable Coastlines ที่ดูแลเรื่องท้องทะเล หรือจะเป็น Wild Me องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ปกป้องติดตามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งบางชนิดมีผลต่อระบบนิเวศน์โดยตรง ก็สามารถใช้ AI และข้อมูลจากคลาวด์เพื่อติดตาม ระบุตัวตนได้อย่างแม่นยำ

รักษ์โลก

เรื่อยจนมาถึงเรื่องของการเกษตร ผลงานอันโดดเด่นเห็นชัดสุดเป็นของ FarmBeats ที่ปรับใช้ด้วยการเลือกเอาอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ ใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งความละเอียดนั้นบ่งบอกได้ครบถ้วนทุกกระบวนการ ไล่ตั้งแต่ การตรวจวัดความชื้น สาอาหารต่าง ๆ อุณหภูมิหน้าดิน ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลของสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ 

ก่อนจะนำทุกอย่างมาวิเคราะห์ สรุปออกมาได้เป็นคำแนะนำช่วยให้เกษตรกรสามาถวางแผนการเพาะปลูก ตลอดจนการกะระยะเวลาวางแผนเก็บเกี่ยวได้เหมาะสมเพื่อผลผลิตที่ดีที่สุดซึ่งล้วนได้มาความอัจฉริยะของการประมวลของระบบ AI อย่างแม่นยำ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งตอกย้ำว่าเทรนด์ “รักษ์โลก” ต้องควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมแขนงใดก็ตาม เพราะขนาดที่ว่าสองบริษัทที่มีมีมูลค่าสูงระดับท็อปของโลกยังให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากถึงเพียงนี้ ก็แทบจะไม่มีเหตุผลอะไรแล้วที่พวกเราจะไม่ดำเนินรอยตาม..

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า

พลังงานหมุนเวียน

มลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งผลเสียต่อโลกของเราหนักหน่วงกว่าที่คาดเอาไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในร้ายก็ยังมีดีอยู่เสมอ.. เมื่อสาเหตุดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญให้ประชากรทั่วโลกหันมาตระหนักในเรื่องของมลพิษ รวมถึงข้อจำกัดที่มีของพลังงานดั้งเดิม อย่างพลังงานฟอซซิล (Fossil Fuel) ทำให้อุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานโดยตรง ต่างมีจุดหมายใหม่ในเส้นทางของการใช้พลังงานในอนาคตที่ตรงกัน ซึ่ง “พลังงานหมุนเวียน” คือเรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้!

พลังงานหมุนเวียน คืออะไร ?

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานต่าง ๆ จากแหล่งที่เราสามารถนำมาใช้ได้แบบไม่มีวันหมด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะหากเทียบกับพลังงานแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานมนาน ข้อหลังนี้ถือเป็นข้อดีแสนสำคัญยิ่งกว่าความอมตะนิรันดร์กาลของพลังงานนี้ด้วยซ้ำ

พลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียน สำคัญอย่างไร ?

เอาเป็นว่าแค่การที่ใช้ได้แบบไม่มีวันหมดแค่อย่างเดียว ก็น่าจะบ่งบอกถึงความสำคัญในตัวเองของสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี และอย่างที่ได้บอกไปว่าทุกประเภทของพลังงานหมุนเวียนนั้นหากพูดถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม แทบจะส่งผลน้อยนิดมากเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าจะเข้ามาแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองในอนาคตอันใกล้นี้

หากมีการปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เห็นผลจากคุณภาพชีวิตขอประชากรโลกและสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นเทรนด์พลังงานหลักในไม่ช้า ชนิดที่ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมธุรกิจขนาดใด องค์กรต่าง ๆ หรือรัฐบาลไหนก็ไม่อาจปฏิเสธสิ่งนี้ได้เลย

อุตสาหกรรม “พลังงานหมุนเวียน” มีขนาดใหญ่มากแค่ไหน ?

อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกนั้นโตขึ้นอย่างมาย ในอัตราที่รวดเร็วในปีที่ผ่านมา คิดเป็นอัตราเฉลี่ยแล้วเร็วที่สุดนับแต่ปี 1999 กันเลยทีเดียว นำทัพด้วย “พลังงานลม” และ “พลังงานแสงอาทิตย์” โดยสองสิ่งนี้กระตุ้นอัตรากำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้นมากถึง 45% ตัวเลขนี้เป็นการเก็บสถิติรวมจากทวีปยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน

พลังงานหมุนเวียน

5 ประเภทหลักของ พลังงานหมุนเวียน

โดยทั่วไปพลังงานหมุนเวียนแต่ละอย่างนั้นมีหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย ทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนโดยตรง สำหรับพลังงานทางเลือกที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ โดยแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

1. พลังงานแสงอาทิตย์

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีหากเราพูดถึง “โซลาร์เซลล์” ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพลังงานธรรมชาติแรก ๆ ที่ทุกคนน่าจะนึกถึงจากแสงแดดอันเจิดจ้าที่พร้อมทักทายเราในทุกวัน และก็แน่นอนว่าพลังงานได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก

โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยี IoT เพื่อใช้ในกระบวนการที่สนับสนุนส่วนของการผลิต เป้าหมายคือเพื่อประหยัดพลังงาน สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่าที่ทำได้ ช่วยลดต้นทุน และที่สำคัญต้องยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้อยู่ในระดับเดิม

แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากนับเรื่องของอัตราการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงอันดับ 3 เท่านั้น

2. พลังงานลม

เรียกได้ว่าเก่าแก่และได้รับความนิยมไม่แพ้กับประเภทแรกกันเลย เป็นเวลาหลายศตวรรษที่พวกเราใช้พลังงานลมในรูปแบบของการแล่นเรือใบและกังหันลม โดยปัจจุบันแล้วส่วนใหญ่หันมาใช้ลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมนั่นเอง

เมื่อปี 2019 มีการเก็บสถิติกำลังการผลิตพลังงานลม มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 24% ซึ่งก็ทำได้สูงกว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำได้อยู่ 20% ของกำลังการผลิตพลังงานทั่วโลก

3. พลังงานความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นตัวอย่างของการใช้ในอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานหมุนเวียนอีกประเภทนึงที่ผลิตได้มาก 

พื้นดินใต้เท้าของเรามีพลังงานจำนวนไม่จำกัด เป็นผลมาจากพื้นผิวที่ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกลงไปในพื้นโลก ซึ่งความนิยมหลัก ๆ มาจากการเลือกใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

4. พลังงานน้ำ

“กังหันน้ำ” เป็นเทคโนโลยีที่มาก่อนกาลมาก ๆ เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้ในรูปแบบที่ยังคงมีพื้นฐานมาจากความคิดตั้งต้น โดยใช้พลังงานน้ำในการเคลื่อนที่เพื่อก่อให้เกิดพลังงาน ก่อนจะปรับใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

สามประเทศที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำมากที่สุดในโลก เป็นสถิติที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2018 ได้แก่ จีน (352,261 เมกะวัตต์), บราซิล (104,195 เมกะวัตต์) และสหรัฐอเมริกา (103,109 เมกะวัตต์)

5. พลังงานชีวภาพ

พลังงานชีวภาพ หรือ พลังงานชีวมวล คือการใช้อินทรียวัตถุเพื่อการใช้พลังงานที่หลากหลาย อาทิ ไม้, พืชผล, ขยะในสวน รวมถึง ของเสียจากสัตว์และมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่นการใช้ไม้หากต้องการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

แต่สำหรับพลังงานนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อย เนื่องจากยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายด้านที่อาจต้องนำมาประกอบการพิจารณาในอนาคต แต่หากพูดถึงประโยชน์ที่ได้รับในตอนนี้และเทียบกับพลังงานสิ้นเปลือง พลังงานชีวภาพ อยู่ในระดับที่จิ๊บจ๊อยกว่ามากทีเดียว

พลังงานหมุนเวียน

แนวโน้มพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย และการปรับใช้ในอุตสาหกรรม

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จับมือกับ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน จัดงานสัมนา AEDP (Alternative Energy Development Plan) ภาคประชาชน เพื่อนำเสนอปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนาพลังงานที่จะเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ยังดำเนินไปพร้อมกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้เชื่อเหลือเกินว่าพวกเรากำลังเดินทางเข้าใกล้กับยุคแห่งการใช้พลังงานหมุนเวียนขับเคลื่อนเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสม แม้จะดูเหมือนว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ หากเกิดเป็นเทรนด์ของโลกเมื่อไหร่จะสร้างประโยชน์มากมายให้แก่ “อุตสาหกรรมการผลิต” และ “สิ่งแวดล้อม” อย่างมากแน่นอน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลความรุ้ดี ๆ สำหรับเรื่องของ “พลังงานหมุนเวียน” 

https://www.clean-energy-ideas.com/energy/renewable-energy/the-5-main-types-of-renewable-energy/
https://www.nrdc.org/stories/renewable-energy-clean-facts