Skip to content

มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

ยังฟังแล้วรู้สึกคุ้น ๆ กันอยู่บ้างมั้ย.. กับคำว่า “PM 2.5”

เผื่อใครที่อาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง เนื่องจากช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาโดนพิษการระบาดของ โควิด-19 ที่ทำตัวหิวแสงกว่าใคร แย่งสปอตไลท์ไปส่องที่ตัวมันเองเสียหมด จนกดเรื่องของ “มลพิษทางอากาศ” ให้ตกลงไปเล็กน้อย 

ทั้งที่ก่อนการมาของโคโรน่าไวรัสนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่แผ่ไกลไปทั่วโลก โดยมีประเทศตัวอย่าง อาทิ จีน นำทัพโดย เซี่ยงไฮ้ นิวเดลี ของ อินเดีย แย่ที่สุดเป็น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีค่าเฉลี่ยอาการเป็นพิษมากที่สุดในโลก ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ส่ง กรุงเทพฯ และ เชียงใหม่ สองเมืองใหญ่เข้าประกวด

เรียกได้ว่าประเทศไทย การใส่หน้ากากใช้ชีวิตประจำวันนั้นมาก่อนกาล หน้ากากที่ไม่ได้มีแค่เพียงหน้ากากอนามัย มีอีกหลายแบบที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะถ้ามีคุณสมบัติป้องกัน PM 2.5 ก็จะขายดีเป็นพิเศษ 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้นมาจากปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมีเรื่องของ “อุตสาหกรรม” ที่หลายแขนงหลายแห่งก่อนหน้านี้มุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจ จนลืมฉุกคิดไปว่าวันแย่ ๆ ที่หลายสถานที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่นี้จะเดินทางมาถึง และกลายเป็นหนึ่งวาระที่ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องเดินหน้าศึกษาค้นคว้า สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดสิ่งนี้น้อยที่สุดแล้วด้วยซ้ำ

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ เลวร้ายแค่ไหนในปัจจุบัน ?

คุณเชื่อมั้ยว่า อัตราการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่มีผลมาจากมลพิษทางอากาศทั้งทางตรง ทางอ้อมมีมากถึง 4.2 ล้านคนต่อปี! และยังไม่หมดแค่นั้น.. มีผู้คนอีกมากมายเกินกว่า 91% ของประชากรโลกต้องอาศัยอยู่ในสถานที่ที่คุณภาพอากาศนั้นเกินขีดจำกัดมาตรฐานบนแนวทางของ WHO ที่ไม่ได้แปลว่าใคร.. แต่หมายถึงองค์กรอนามัยโลก ผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติอันสุดจัดของความเลวร้ายของมลพิษทางอากาศที่คนทั่วโลกต้องทนอยู่กับมันในเวลานี้

จากที่ได้เกริ่นเอาไว้ช่วงต้น ที่เราได้บอกว่าตอนนี้ผลแห่งการกระทำจากภาคอุตสาหกรรมทั้งหลาย ที่แม้จะรังสรรค์คุณงามความดีเอาไว้มากมาย ช่วยเปลี่ยนโลกด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับเครื่องจักรที่เนรมิตหลายสิ่งอย่างที่เป็นไปได้ยากในยุคก่อน แต่ก็ต้องไม่ลืมว่านี่ก็เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเกินคนานับเช่นกัน

แนวทางการแก้ปัญหา มลพิษทางอากาศ..

ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้คนมากมายเริ่มตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ รวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์เช่นกันที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังมาโดยตลอด และนับว่าเป็นความโชคดีต่อมวลมนุษยชาติที่มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ทำงานเพื่อปกป้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แถมองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ริเริ่มที่จะทำงานภายใต้ข้อจำกัดด้านสุขภาพและการควบคุมมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตหลัก ๆ ก็คือมนุษย์อย่างเรา ๆ จนเกิดเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ได้พัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อปัญหามลพิษทางอากาศและด้านอื่น ๆ เรียกว่าเป็นแสงสว่างแห่งปลายทางของเรื่องนี้เลยก็ว่าได้

มลพิษทางอากาศ

โครงการด้านสิ่งแวดล้อม “มลพิษทางอากาศ” ที่น่าสนใจ

1. เครื่องดูดฝุ่นมลพิษ (Pollution Vacuum Cleaner)

แนวคิดเครื่องดูดฝุ่นมลพิษ คือ การดูดสิ่งปนเปื้อนออกจากอากาศ พัฒนาโดยวิศวกรเครื่องกลชาวอินเดีย โดยหลักการทำงานของเจ้าเครื่องนี้จะดูดเอาสารมลพิษไปพร้อม ๆ กับอากาศก่อนที่จะปล่อยอากาศบริสุทธิ์แบบเพียว ๆ หลังจากผ่านทุกขั้นตอนการกรองโดยสมบูรณ์ ซึ่งเครื่องนี้สามารถใช้ติดตั้งใกล้กล่องปล่องไฟและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อลดควันในอากาศที่จะก่อตัวไปเป็นมลพิษ

2. เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากมลพิษ (Hydrogen Fuel from pollutants)

เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากอากาศ โดยในโครงการนี้นักเรียนนักศึกษาได้พัฒนาอุปกรณ์ฟอกอากาศจากการเจือปนของสารอินทรีย์ อุปกรณ์นี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะมีเมมเบรนบาง ๆ เพื่อดึงดูดสารปนเปื้อนและเอาอากาศบริสุทธิ์ออกมา ที่สำคัญไฮโดรเจนที่สกัดออกมาสามารถเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนในภายหลังอีกด้วย

3. AI สำหรับ มลพิษทางอากาศ (Air Pollution AI Framework)

เจ้าเครื่องนี้สามารถใช้เพื่อเป็นการคาดคะเนระดับหมอกควันเพื่อหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะเผชิญกับกรณีที่อาจมีการปนเปื้อนมากยิ่งขึ้น รังสรรค์โดยนักเรียนระดับไฮสคูลจากนิวยอร์ค โครงสร้างของอุปกรณ์นี้เป็นโครงการที่คาดการณ์จากระดับมลพิษทางอากาศ โดยใช้โครงข่ายปราสาทเทียม ความเจ๋งคือเครื่องมือที่ติดตั้ง AI ตัวนี้คาดการณ์ได้แม่นยำถึง 92%

4. ปืนป้องกันหมอกควัน (Anti-smog gun)

อันนี้เป็นคนละหลักกับการปล่อยรถฉีดน้ำเพื่อลดระดับฝุ่น PM 2.5 ของบางประเทศแถบนี้.. เจ้าปืนป้องกันหมอกควันถือเป็นหนึ่งวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหมอกควันหนาแน่น หลักการทำงานคือปืนจะพ่นไอระเหยขึ้นไปในอากาศเพื่อดูดซับสารพิษ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ก็ต้องบอกว่าตรงจุดและชะลออันตรายจากสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นช้าลงอีกหน่อย

5. แอร์อิงค์ (Air-Ink)

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์อันดับต้น ๆ ของโครงการเลย เราสามารถเชื่อมต่อ KAALINK (ชื่ออุปกรณ์) กับท่อไอเสียรถยนต์ เพื่อดึงหมึกออกจากควันเชื้อเพลิง ซึ่งเจ้าเครื่องนี้เคลมว่าดึงหมึก 30 มล. ภายใน 45 นาที ภายในระยะเวลาที่คุณขับรถ ส่วนหมึกที่ได้จากเครื่องนี้ก็ต้องถูกนำไปทำให้บริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อจะได้นำไปใช้งานต่อไป

สานต่อสิ่งดี ๆ เพื่อโลก สู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยื่น

มลพิษทางอากาศ

ในวันที่เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเต็มไปด้วยหมอกควันมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ยังมีสิ่งดี  ๆ ที่เกิดขึ้นจากการฟิวชั่นของความชาญฉลาดและรักษ์โลกของคนยุคปัจจบัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมากจากเว็บไซต์ EcoMENA โดยเป็นโครงการที่น่าสนใจเพื่อช่วยขจัดอันตรายของมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และหวังว่าหากนำมาใช้งานจริงจะช่วยลดมลพิษทางกาศให้เบาบางลงได้ตามที่คาดหวัง

อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อวงจรนี้ และแน่นอนรวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์ของเราด้วย เราจึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อส่งต่อปรัชญาด้านธุรกิจที่นอกจากจะเน้นย้ำเรื่องความเป็นมืออาชีพ นำเสนอชิ้นงาน การบริการด้วยมาตรฐานระดับสากล เรื่องความการ “รักษ์โลก” เป็นอีกสิ่งนึงที่ทำควบคู่มาโดยตลอดอยู่เสมอ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ มา ณ ที่นี้ :

https://www.ecomena.org/environmental-impacts-of-industrialization

https://www.plt.org/educator-tips/science-projects-pollution

https://www.weforum.org/agenda/2017/02/the-best-and-worst-countries-for-air-pollution-and-electricity-use

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (5) artificial intelligence (3) CNC Machining (7) CNC Machining Center (8) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) Robotics (2) sustainability (3) ก๊าซเรือนกระจก (3) งานกลึง (3) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) ประหยัดพลังงาน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (6) พลังงานทดแทน (3) พลังงานหมุนเวียน (3) พลังงานแสงอาทิตย์ (2) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (3) รถยนต์ไฟฟ้า (3) รักษาสิ่งแวดล้อม (2) รักษ์โลก (6) ลดมลพิษ (2) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (5) วันแม่แห่งชาติ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (6) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (6) เครื่องกลึง CNC (8) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)