แก้ “ปัญหาโลกร้อน” กำจัดขยะอุตสาหกรรมให้ถูกวิธี !

ปัญหาโลกร้อน

ปัจจุบันสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างเห็นได้ชัดที่สุดก็คือขยะอุตสาหกรรมที่มีการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี แน่นอนว่าเรื่องนี้จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมรอบข้างและชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับทางโรงงาน เป็นต้นตอสำคัญของไป ปัญหาโลกร้อน อย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่ส่งผลเสียอย่างเห็นได้ชัด คือไม่ว่าจะเป็นมลภาวะทางอากาศ การเทของเสียลงแม่น้ำ การปล่อยก๊าซพิษ การกำจัดของเสียอันตรายผิดวิธี และอื่นๆ อีกมากมาย

เราทุกคนสัมผัสได้แน่นอนว่าในทุกวันนี้ร้อนเหลือเกิน แน่นอนว่ามันคือผลกระทบโดยตรงจากปัญหาโลกร้อนและภาวะเรือนกระจก ซึ่งในมุมของโรงกลึง โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็หนีไม่พ้นเรื่องการปล่อยของเสีย และการกำจัดขยะอุตสาหกรรมผิดวิธี.. โรงกลึงพีวัฒน์ขออินกับกระแส Sustainability อาสาบอกเล่าให้ฟังว่าขยะอุตสาหกรรมส่งผลต่อโลกร้อนอย่างไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร สามารถตามอ่านไปด้วยกันได้แลย

ขยะอุตสาหกรรม ต้นตอของ ปัญหาโลกร้อน

สำหรับคำว่าขยะอุตสาหกรรมคือของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ของที่เสื่อมสภาพ ของที่หมดอายุ สารเคมีและสารปนเปื้อน  และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างขยะมหาศาลและยังเป็นอันตรายอีกด้วย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ขยะอันตรายและขยะไม่อันตรายโดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ขยะอันตราย : สารไวไฟและน้ำมันชนิดต่างๆ , สารกัดกร่อน , สารที่เกิดปฏิกิริยาง่าย , ของที่ปนเปื้อนสารพิษ
  • ขยะไม่อันตราย :  กากผลไม้ , เศษผ้า , เศษเหล็ก , เศษกระดาษ

กากอุตสาหกรรมเหล่านี้หากกำจัดแบบผิดวิธีก็จะสามารถส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนได้ หรือที่เรารู้จักในชื่อว่า “ก๊าซเรือนกระจก” ที่เกิดจากการนำขยะฝังกลบ การเผาขยะแบบเปิด การบำบัดเชิงชีวภาพ การบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะมีการปล่อยก๊าซมีเทน , ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่จะทำให้โลกร้อนขึ้นในทุกปีๆ ซึ่งสามารถสังเกตจากประเทศไทยได้ว่าอุณหภูมิความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

วิธีการกำจัดขยะอุตสาหกรรมถูกต้องตามกฎหมาย

ในส่วนเนื้อหาที่ว่าด้วยเรื่องวิธีการกำจัดขยะอุตสาหกรรมก่อนที่จะรู้ว่ามีวิธีไหนบ้าง จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงประโยชน์ของการลดขยะเสียก่อน โดยประโยชน์ก็จะมีในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม พัฒนาโรงงานเพื่อลดความผิดพลาดในการผลิตสินค้า สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบด้านและเป็นมิตรกับชุมชนที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นมูลค่าได้อีกด้วย โดยวิธีการกำจัดกากขยะที่โรงงานส่วนใหญ่ใช้เป็นมาตรฐานก็คือหลัก 3R ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปัญหาโลกร้อน
Image by Freepik

1. Reduce ลดใช้สินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตลง

สำหรับ Reduce นับว่าเป็นวิธีป้องกันก่อนเกิดเหตุขยะอุตสาหกรรมโดยสามารถเริ่มจากการใส่ใจกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนแล้วลองไล่เช็คเครื่องโรงงานว่ามีการทำงานที่มีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ เพราะถ้าหากมีการผลิตผิดพลาดบ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นว่าเพิ่มขยะได้โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ลดการใช้สินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตให้น้อยลงก็นับเป็นวิธีที่น่าสนใจไม่น้อย หรือหากพบว่าบางจุดที่ไม่จำเป็นอย่างเช่นแพคเกจจิ้งที่มีความซ้ำซ้อนก็จะสามารถลดลงขยะได้ด้วยเช่นกัน

2. Reuse การนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ

โรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมฝ่ายภายผลิต แน่นอนว่าจะมีกากอุตสาหกรรมมากมายหลายอย่าง ที่มีทางเลือกที่ว่านำไปกำจัดอย่างถูกวิธี แต่ถ้าหากขยะเหล่านั้นนำกลับมาใช้ซ้ำได้ก็นับว่าเป็นอะไรที่ดีมาก ๆ และเป็นคีย์หลักในการแก้ ปัญหาโลกร้อน ยกตัวอย่างเช่น 

  • การนำพลาสติกมาละลายเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ 
  • การส่งคืนถังบรรจุสารต่างๆของลูกค้า กลับมาที่โรงงานเพื่อนำมาใช้งานต่อ 
  • ภายในโรงงานหากมีจุดที่เสียหากซ่อมแซมได้ก็ให้ซ่อมแซม ดีกว่าการซื้อของใหม่อย่างแน่นอน
ปัญหาโลกร้อน
Image by rawpixel.com on Freepik

3. Recycle การนำขยะไปแปรรูปให้เป็นประโยชน์

ในส่วนของ Recycle จะเป็นการนำขยะอุตสาหกรรมไปแปรรูปต่าง ๆ ให้กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นได้ หรือก็คือการเปลี่ยนขยะเสียอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นของใหม่หรือไปเป็นส่วนผลิตด้านอื่นๆ  ยกตัวอย่างเช่น 

  • การนำของเสียหรือของที่ใช้แล้วที่มีค่าความร้อนไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน (น้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่น) 
  • การนำไปเป็นเชื้อเพลิงผสม (กระดาษ , ผ้าปนเปื้อน , สารตัวทำละลาย , กากตะกอน) 
  • การเผาเพื่อเอาพลังงาน (เส้นใยปาล์มนำไปทำเชื้อเพลิงในหมอไอน้ำ
  • การใช้เศษไม้และขี้เลื้อยไม่มีสารปนเปื้อนทำเป็นเชื้อเพลิงปรุงอาหาร)  
  • การนำน้ำมันเครื่องและน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วส่งไปยังโรงงานผลิตสีทาบ้าน
  • การส่งยางรถยนต์ที่เสียแล้วให้กับทางโรงงานน้ำมันดีเซล
  • การนำของเสียหรือวัตถุดิบที่เสียหาย ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ 

สำหรับ 3R ที่ได้แนะนำไปข้างต้นนับว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่ทั้งนี้การกำจัดขยะในรูปแบบอื่นก็มีมากมาย เช่น การนำไปถมที่กรณีที่ไม่ใช่ขยะอันตราย การหมักทำปุ๋ย การนำเศษอาหารไปเป็นอาหารสัตว์ การนำของเสียโลหะไปสกัดเพื่อนำโลหะกลับมาใช้ใหม่ และอื่นๆ อีกมากมายที่นับว่าเป็นวิธีปลอดภัยและมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถลดปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

แก้ปัญหาโลกร้อน แก้ปัญหาขยะอุตสาหกรรม เพื่อโลกอนาคต

ตามหลักกฎหมายแล้วโรงงานที่มีขยะเสียหรือขยะอุตสาหกรรมจำเป็นจะต้องส่งไปให้โรงงานรับกำจัดขยะที่ได้รับใบอนุญาตและมาตรฐานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เพื่อที่ว่าสามารถกำจัดขยะได้ถูกวิธีและไม่ส่งผลต่อโลกใบนี้ โดยต้องเริ่มใส่ใจตั้งแต่โรงงานผู้ก่อกำเนิดขยะ ผู้ขนส่งขยะ และโรงงานรับบำบัดหรือกำจัด หากทั้ง 3 ในที่นี้สามารถแก้ไขได้ถูกวิธีและทำตามกฎหมายที่ได้มีการกำหนดไว้ แน่นอนว่าสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิต รวมไปถึงภาวะโลกร้อนจะดีขึ้นได้นั่นเอง

Credit Cover Image : Image by Freepik

มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

มลพิษทางอากาศ

ยังฟังแล้วรู้สึกคุ้น ๆ กันอยู่บ้างมั้ย.. กับคำว่า “PM 2.5”

เผื่อใครที่อาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง เนื่องจากช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาโดนพิษการระบาดของ โควิด-19 ที่ทำตัวหิวแสงกว่าใคร แย่งสปอตไลท์ไปส่องที่ตัวมันเองเสียหมด จนกดเรื่องของ “มลพิษทางอากาศ” ให้ตกลงไปเล็กน้อย 

ทั้งที่ก่อนการมาของโคโรน่าไวรัสนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่แผ่ไกลไปทั่วโลก โดยมีประเทศตัวอย่าง อาทิ จีน นำทัพโดย เซี่ยงไฮ้ นิวเดลี ของ อินเดีย แย่ที่สุดเป็น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีค่าเฉลี่ยอาการเป็นพิษมากที่สุดในโลก ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ส่ง กรุงเทพฯ และ เชียงใหม่ สองเมืองใหญ่เข้าประกวด

เรียกได้ว่าประเทศไทย การใส่หน้ากากใช้ชีวิตประจำวันนั้นมาก่อนกาล หน้ากากที่ไม่ได้มีแค่เพียงหน้ากากอนามัย มีอีกหลายแบบที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะถ้ามีคุณสมบัติป้องกัน PM 2.5 ก็จะขายดีเป็นพิเศษ 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้นมาจากปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมีเรื่องของ “อุตสาหกรรม” ที่หลายแขนงหลายแห่งก่อนหน้านี้มุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจ จนลืมฉุกคิดไปว่าวันแย่ ๆ ที่หลายสถานที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่นี้จะเดินทางมาถึง และกลายเป็นหนึ่งวาระที่ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องเดินหน้าศึกษาค้นคว้า สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดสิ่งนี้น้อยที่สุดแล้วด้วยซ้ำ

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ เลวร้ายแค่ไหนในปัจจุบัน ?

คุณเชื่อมั้ยว่า อัตราการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่มีผลมาจากมลพิษทางอากาศทั้งทางตรง ทางอ้อมมีมากถึง 4.2 ล้านคนต่อปี! และยังไม่หมดแค่นั้น.. มีผู้คนอีกมากมายเกินกว่า 91% ของประชากรโลกต้องอาศัยอยู่ในสถานที่ที่คุณภาพอากาศนั้นเกินขีดจำกัดมาตรฐานบนแนวทางของ WHO ที่ไม่ได้แปลว่าใคร.. แต่หมายถึงองค์กรอนามัยโลก ผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติอันสุดจัดของความเลวร้ายของมลพิษทางอากาศที่คนทั่วโลกต้องทนอยู่กับมันในเวลานี้

จากที่ได้เกริ่นเอาไว้ช่วงต้น ที่เราได้บอกว่าตอนนี้ผลแห่งการกระทำจากภาคอุตสาหกรรมทั้งหลาย ที่แม้จะรังสรรค์คุณงามความดีเอาไว้มากมาย ช่วยเปลี่ยนโลกด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับเครื่องจักรที่เนรมิตหลายสิ่งอย่างที่เป็นไปได้ยากในยุคก่อน แต่ก็ต้องไม่ลืมว่านี่ก็เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเกินคนานับเช่นกัน

แนวทางการแก้ปัญหา มลพิษทางอากาศ..

ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้คนมากมายเริ่มตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ รวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์เช่นกันที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังมาโดยตลอด และนับว่าเป็นความโชคดีต่อมวลมนุษยชาติที่มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ทำงานเพื่อปกป้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แถมองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ริเริ่มที่จะทำงานภายใต้ข้อจำกัดด้านสุขภาพและการควบคุมมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตหลัก ๆ ก็คือมนุษย์อย่างเรา ๆ จนเกิดเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ได้พัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อปัญหามลพิษทางอากาศและด้านอื่น ๆ เรียกว่าเป็นแสงสว่างแห่งปลายทางของเรื่องนี้เลยก็ว่าได้

มลพิษทางอากาศ

โครงการด้านสิ่งแวดล้อม “มลพิษทางอากาศ” ที่น่าสนใจ

1. เครื่องดูดฝุ่นมลพิษ (Pollution Vacuum Cleaner)

แนวคิดเครื่องดูดฝุ่นมลพิษ คือ การดูดสิ่งปนเปื้อนออกจากอากาศ พัฒนาโดยวิศวกรเครื่องกลชาวอินเดีย โดยหลักการทำงานของเจ้าเครื่องนี้จะดูดเอาสารมลพิษไปพร้อม ๆ กับอากาศก่อนที่จะปล่อยอากาศบริสุทธิ์แบบเพียว ๆ หลังจากผ่านทุกขั้นตอนการกรองโดยสมบูรณ์ ซึ่งเครื่องนี้สามารถใช้ติดตั้งใกล้กล่องปล่องไฟและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อลดควันในอากาศที่จะก่อตัวไปเป็นมลพิษ

2. เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากมลพิษ (Hydrogen Fuel from pollutants)

เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากอากาศ โดยในโครงการนี้นักเรียนนักศึกษาได้พัฒนาอุปกรณ์ฟอกอากาศจากการเจือปนของสารอินทรีย์ อุปกรณ์นี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะมีเมมเบรนบาง ๆ เพื่อดึงดูดสารปนเปื้อนและเอาอากาศบริสุทธิ์ออกมา ที่สำคัญไฮโดรเจนที่สกัดออกมาสามารถเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนในภายหลังอีกด้วย

3. AI สำหรับ มลพิษทางอากาศ (Air Pollution AI Framework)

เจ้าเครื่องนี้สามารถใช้เพื่อเป็นการคาดคะเนระดับหมอกควันเพื่อหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะเผชิญกับกรณีที่อาจมีการปนเปื้อนมากยิ่งขึ้น รังสรรค์โดยนักเรียนระดับไฮสคูลจากนิวยอร์ค โครงสร้างของอุปกรณ์นี้เป็นโครงการที่คาดการณ์จากระดับมลพิษทางอากาศ โดยใช้โครงข่ายปราสาทเทียม ความเจ๋งคือเครื่องมือที่ติดตั้ง AI ตัวนี้คาดการณ์ได้แม่นยำถึง 92%

4. ปืนป้องกันหมอกควัน (Anti-smog gun)

อันนี้เป็นคนละหลักกับการปล่อยรถฉีดน้ำเพื่อลดระดับฝุ่น PM 2.5 ของบางประเทศแถบนี้.. เจ้าปืนป้องกันหมอกควันถือเป็นหนึ่งวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหมอกควันหนาแน่น หลักการทำงานคือปืนจะพ่นไอระเหยขึ้นไปในอากาศเพื่อดูดซับสารพิษ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ก็ต้องบอกว่าตรงจุดและชะลออันตรายจากสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นช้าลงอีกหน่อย

5. แอร์อิงค์ (Air-Ink)

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์อันดับต้น ๆ ของโครงการเลย เราสามารถเชื่อมต่อ KAALINK (ชื่ออุปกรณ์) กับท่อไอเสียรถยนต์ เพื่อดึงหมึกออกจากควันเชื้อเพลิง ซึ่งเจ้าเครื่องนี้เคลมว่าดึงหมึก 30 มล. ภายใน 45 นาที ภายในระยะเวลาที่คุณขับรถ ส่วนหมึกที่ได้จากเครื่องนี้ก็ต้องถูกนำไปทำให้บริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อจะได้นำไปใช้งานต่อไป

สานต่อสิ่งดี ๆ เพื่อโลก สู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยื่น

มลพิษทางอากาศ

ในวันที่เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเต็มไปด้วยหมอกควันมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ยังมีสิ่งดี  ๆ ที่เกิดขึ้นจากการฟิวชั่นของความชาญฉลาดและรักษ์โลกของคนยุคปัจจบัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมากจากเว็บไซต์ EcoMENA โดยเป็นโครงการที่น่าสนใจเพื่อช่วยขจัดอันตรายของมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และหวังว่าหากนำมาใช้งานจริงจะช่วยลดมลพิษทางกาศให้เบาบางลงได้ตามที่คาดหวัง

อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อวงจรนี้ และแน่นอนรวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์ของเราด้วย เราจึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อส่งต่อปรัชญาด้านธุรกิจที่นอกจากจะเน้นย้ำเรื่องความเป็นมืออาชีพ นำเสนอชิ้นงาน การบริการด้วยมาตรฐานระดับสากล เรื่องความการ “รักษ์โลก” เป็นอีกสิ่งนึงที่ทำควบคู่มาโดยตลอดอยู่เสมอ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ มา ณ ที่นี้ :

https://www.ecomena.org/environmental-impacts-of-industrialization

https://www.plt.org/educator-tips/science-projects-pollution

https://www.weforum.org/agenda/2017/02/the-best-and-worst-countries-for-air-pollution-and-electricity-use