ตัวช่วยอุตสาหกรรมการผลิต เลือกใช้ให้เหมาะสม จะ Cobot หรือ Robots ดี?

Cobot

จากบทความก่อนที่เราได้พากันไปเจาะลึกเกี่ยวกับ “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ว่าตอนนี้นั้นมีแบบไหน ประเภทไหน ที่กำลังได้รับความนิยมและถูกใช้งานมากที่สุด ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการพูดถึงอีกหนึ่งเทคโนโลยี “ลูกผสม” อย่าง “Cobot” ว่ามีความน่าสนใจและเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของอุตสาหกรรมการผลิตไม่แพ้กัน ในความแตกต่างเต็มด้วยไปด้วยประโยชน์มากมายที่หลายธุรกิจสามารถนำมาเป็นตัวเลือกเพื่อใช้ในโรงงานผลิตของคุณได้ไม่แพ้กับ Robots (หรือเรียกอีกอย่างว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรม) เลยทีเดียว

ส่วนความแตกต่างของ Cobot กับ Robots นั้นมีอะไรบ้างที่เราควรรู้ เพื่อสุดท้ายแล้วจะได้นำไปประกอบการตัดสินใจสำหรับเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานของคุณ เรารวบรวมข้อมูล รวมถึงจุดสังเกตต่าง ๆ เอาไว้ในเนื้อหาด้านล่างนี้แล้ว เชิญติดตามกันได้เลย

Cobot

Cobot คืออะไร?

Cobot คือ หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกับมนุษย์บนภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นได้มากในส่วนผลิต ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 10218-1 รวมถึงมาตรฐานรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ โดยคำว่า Cobot ย่อมากจาก “Collaborative Robots” หากดูจากวัตถุประสงค์ที่สร้างขึ้นมาตามคำนิยามของสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ จะเห็นได้ว่ามีความหมายตรงตัวที่ชัดเจน

ลักษณะของ Cobot นั้น ส่วนใหญ่ที่พบเจอได้มากจะเป็นในรูปแบบของแขนกล มีขนาดที่กะทัดรัด ง่ายต่อการใช้งานและเป็นมิตรกับมนุษย์ เพราะการสร้างนั้นคำนึงถึงการทำงานร่วมกันไปจนถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 

สิ่งที่ทำให้ Cobot ประสานงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย สืบเนื่องมากจาการติดตั้งเซนเซอร์ที่ล้ำสมัยต่าง ๆ ตลอดจนการตั้งค่าตัวเครื่องเพื่อซัพพอร์ตงานของมนุษย์อยู่แล้ว ก็วนกลับไปอย่างที่บอกไว้ในช่วงต้นว่าสิ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อมาตรฐานความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นปัจจัยหลักในการมีอยู่ของสิ่งนี้นอกเหนือจากประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม

ความแตกที่สำคัญระหว่าง Cobot กับ Robots

สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมีหลายอย่างเหมือนกัน แต่ข้อที่สำคัญและสังเกตได้ง่ายที่สุด กล่าวคือ Cobot นั้นได้รับการออกแบบให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ ส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หรือ Robots นั้นเป็นการทำหน้าที่แทนมนุษย์

ย้อนกลับไปในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัย Cobot นั้นสามารถช่วยพนักงานให้อยู่ห่างจากอันตรายได้อย่างมาก รวมถึงงานที่ต้องใช้แรงกำลังในการทำเกินกว่าพลังของมนุษย์ ตลอดจนถึงงานที่เป็นแบบ routine อันแสนน่าเบื่อหน่าย เราก็สามารถให้เทคโนโลยีนี้ช่วยได้เช่นกัน นอกจากจะทำให้อุตสาหกรรมมีความปลอดภัยแล้ว ยังส่งผลให้คุณภาพงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ส่วนเจ้าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม Robots จะอยู่ในทิศทางกันตรงข้ามกันเลย สิ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปในแบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด เรียกได้ว่าแทบจะปราศจากการร่วมมือของมนุษย์ในกระบวนการผลิต แต่ก็ส่งผลเป็นข้อดีในแง่ของการลดจำนวนทรัพยากรมนุษย์ ทำให้บุคลากรเหล่านั้นใช้เวลาตรงส่วนนี้ไปทำงานที่มีความหมายมากกว่า และอาจรวมถึงลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บในท่วงท่าซ้ำ ๆ เมื่อต้องการทำงานร่วมกับ Cobot อย่างต่อเนื่องเป็นเวล่านาน ซึ่งก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้เช่นกัน

Cobot

Cobot vs Robots สิ่งแตกต่างในความสามารถบนอุตสาหกรรมการผลิต

ยังไม่มีข้อชี้วัดแบบที่ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจน ไม่มีแบบไหนที่ดีกว่ากัน มีแต่การเลือกใช้งานให้ตอบโจทย์กับอุตสาหกรรมนั้น ๆ นี่เป็นสิ่งที่ทั้งสองอย่างนี้พร้อมเป็นตัวเลือกให้กับในทุกโรงงานผลิตได้

Cobot สามารถตั้งค่าโปรแกรมต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพราะสามารถเรียนรู้ในงานที่เคยถูกตั้งค่าเอาไว้ได้ด้วย วิธีการหากพูดแบบบ้าน ๆ เลยก็คือพนักงานสามารถจะตั้งค่า Cobot ใหม่ได้แบบง่ายดาย เพียงแค่ขยับแขนหรือชิ้นส่วนที่เราต้องการให้เป็นไป จากนั้น Cobot จะจดจำแล้วทำซ้ำได้ด้วยตัวเอง

ในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้วิศวกรผู้ชำนาญการในด้านนั้น ๆ เขียนโค้ดขึ้นใหม่ทั้งหมดสำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามต่อกระบวนการที่จะนำไปใช้

แต่ในประโยชน์ของ Cobot ก็มีข้อจำกัดที่ตามมา ด้วยความที่มีขนาดและความจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกับมนุษย์ สิ่งนี้จึงไม่ตอบโจทย์ในการผลิตจำนวนมาก ๆ ซึ่งข้อนี้เองที่กลายเป็นจุดแข็งแกร่งของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เรียกได้ว่า “เกิดมาเพื่อสิ่งนี้” ยกตัวอย่างเช่น วงการยานยนต์ที่ในส่วนการผลิตนั้นแทบจะเป็นการใช้หุ่นยนต์เกือบเต็มรูปแบบ มีระบบแยกจุดระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรในโรงงาน

ขณะเดียวกัน หากไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แบบที่กล่าวไป Cobot จะกลายเป็นคีย์แมนเพราะมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการทำงานร่วมกับมนุษย์ รวมถึงความสะดวกรวดเร็วในการปรับค่าต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ความซับซ้อนสูงบนส่วนของการผลิตนั่นเอง

ด้านผู้ประกอบการของโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอย่างโรงกลึงพี-วัฒน์เอง ก็อย่างที่เคยกล่าวไปแล้ว เรื่องวิสัยทัศน์ในการติดตามเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต และถึงแม้ว่าทั้ง Cobot หรือ Robots ยังจะดูห่างไกลไปซักหน่อยในตอนนี้กับรูปแบบการทำงานในโรงกลึงของเรา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ซะทีเดียว เรายังคงเปิดรับและพยายามปรับปรุงแก้ไขกระบวนการที่เยิ่นเย้อ ทับซ้อน เพื่อให้คล่องตัวมากขึ้นและสอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อยู่เสมอๆ

Cobot

ทุกความแตกต่างมีข้อดี อยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะกับอุตสาหกรรม

อย่างที่ย้ำกันมาเสมอตั้งแต่เริ่มเรื่อง ทั้งสองสิ่งนี้เป็นตัวช่วยบูสต์ศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิตได้เป็นอย่างดี เพียงแต่มีข้อแตกต่างในเรื่องของสมรรถนะการใช้งาน ความปลอดภัย ตลอดจนต้นทุนของโรงงานผลิตบนอุตสาหกรรมนั้น ๆ ฉะนั้น สิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงให้มากที่สุดก่อนเลือกนำเข้าใช้งานกับธุรกิจจำเป็นต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังการผลิต ลักษณะงานที่ต้องทำ น้ำหนักของสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ตลอดจนเรื่องของพื้นที่ก็เป็นส่วนที่จะละเลยไม่ได้เด็ดขาด

ส่วนอีกข้อสำคัญ เราต้องไม่หลงลืมประเด็นว่า Cobot นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อช่วยอุตสาหกรรมลดต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากการหลีกเลี่ยงไม่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายแพงกว่า เพราะแต่ละโรงงานนั้นต่างถูกกำหนดมาแล้วด้วยไลน์ของการผลิต หากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ระบบแอบอัตโนมัติทั้งหมดในกระบวนการดังกล่าวยังไงเสียหุ่นยนต์อุตสาหกรรมก็ยังคงมีที่ยืน แต่หากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ต้องใช้งานแบบเต็มระบบขนาดนั้น การมองความสามารถของ Cobot. ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน และนี่ก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจหากคิดเริ่มจะใช้งานเรื่องของหุ่นยนต์ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนและรอบคอบที่สุด

ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทำความรู้จัก “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ตัวไหนฮิตสุดในปัจจุบัน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

หากย้อนหลังไปกว่านี้สัก 7-10 ปี การพูดถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ดูจะเป็นเรื่องที่ถูกจำแนกไว้เพียงแค่โรงงานขนาดใหญ่เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยมายด์เซตก็ดี หรือด้วยข้อเท็จจริงก็ดี การที่โรงงานนึงจะใช้เทคโนโลยีนี้ได้ ถูกมองว่าต้องมีทุนที่หนาไม่น้อย นอกจากจะเป็นเรื่องที่ใหม่แล้ว เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ก็ดูเหมือนจะยังไม่มีความพร้อมรอบด้านเหมือนกับอย่างทุกวันนี้ ทำให้ผู้คนมากมายต่างมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวอยู่พอสมควร

ณ ปัจจุบัน มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก หากเราจะบอกว่า โควิด-19 นั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เข้ามาบูสเตอร์กับหลายโรงงานให้ได้รู้จักกับเทคโนโลยี และเลือกใช้กับประเภทที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของพวกเขามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็วนกลับไปที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาอย่างรุดหน้าในช่วงที่หลายองค์กร นักพัฒนา ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ พร้อมใจกันฝ่าวิกฤตการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ผลพลอยได้ต่าง ๆ นั้นก็ส่งต่อมาถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ในจังหวะที่พอเหมาะพอเจาะ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเภทของ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่ใช้งานทั่วไปมีอะไรบ้าง ?

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) ถ้าให้พูดกันแบบเร็ว ๆ สิ่งนี้ก็คือหนึ่งในชนิดของเครื่องจักรกลที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานสำหรับกระบวนการต่าง ๆ โดยมีทั้งแบบควบคุมโดยมนุษย์ หรือควบคุมโดยระบบอัตโนมัติ ผ่านการป้อนโปรแกรม มีทุกขนาดตั้งแต่เล็กสุดจนถึงใหญ่สุด ซึ่งในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้น จะแบ่งออกเป็นไทป์คร่าว ๆ ก่อนถูกประยุกต์ตามรูปแบบอีกที เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ

ประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

Cartesian Robot

มีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ Linear Robot ซึ่งลักษณะการทำงานนั้นก็แปลตรงตัวกับความหมายเลย หุ่นยนต์ชนิดนี้จะเน้นการคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหมดทั้ง 3 แกน เป็นหนึ่งในประเภทที่มีความแข็งแรงเหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ประสิทธิภาพในการับน้ำหนักสูง แต่ก็ต้องแลกด้วยกับการที่ไม่สามารถใช้งานแบบละเอียดอ่อนได้ รวมถึงใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากตามขนาดของหุ่นยนต์

ในอุตสาหกรรม การใช้งาน Cartesian Robot ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรอีกทีนั่นเอง

Cylindrical Robot

ลักษณะการทำงานนั้นจะคล้ายคลึงกับประเภทก่อนหน้าเลยทีเดียว เพียงแต่ Cylindrical Robot จะเป็นการทำงานแบบหมุนรอบแกน ไม่ได้เป็นแบบเลื่อนเข้าออกเส้นตรงอย่าง Linear Robot

สำหรับหุ่นยนต์ประเภทนี้มักถูกนำไปใช้งานขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ จับยก งานเชื่อม ตลอดจนถึงงานประกอบแบบอื่น ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์ที่เน้นการทำงานแบบรวดเร็วเป็นหลัก (ตัวอย่างงานเชื่อมในโรงกลึงพี-วัฒน์ ก็สามารถนำ Cylindrical Robot มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน)

SCARA Robot

หุ่นยนต์ประเภทนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Selective Compliance Assembly Robot Arm และน่าจะเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย ลักษณะการทำงานจะเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด ในส่วนของบริเวณมือจับนั้นเป็นส่วนที่สามารถเคลื่อนที่ในแนวตั้งได้เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน

SCARA Robot ถูกใช้งานส่วนใหญ่กับอุตสาหกรรมงานประกอบชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ขนาดเล็ก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีความแม่นยำสูง อาจประยุกต์ใช้กับงานบรรจุภัณฑ์เล็ก ๆ ได้เช่นกัน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
Polar Robot

ลักษณะการทำงานของหุ่นยนต์ประเภทนี้ที่มีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า Spherical Robot เป็นการทำงานแบบหมุน 2 จุด ในส่วนของตัวฐานและไหล่ของตัวหุ่นยนต์ สำหรับส่วนของมือจับของประเภทนี้สามารถยืดหดได้ จะต่างกับ SCARA ที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบแนวดิ่ง

Polar จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับงานประเภทหยิบจับ รวมถึงงานเชื่อมต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วการยืดหดของแขนจับอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่านี้ แต่ด้วยความซับซ้อนดังกล่าวเช่นกันที่ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก

Articulated Robot (Jointed Arm)

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมประเภทนี้ถูกเรียกแบบเข้าใจตรงกันง่าย ๆ ว่า “Jointed Arm” ลักษณะการใช้งานก็จะเหมือนกับการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์ แม้จะไม่มีความอิสระเท่า แต่ด้วยข้อทั้งหมดที่เคลื่อนไหวแบบจุดหมุน (Revolute) 3 จุดขึ้นไป ซึ่งก็แล้วแต่การออกแบบอาจมีได้มากสูงสุดเป็น 10 จุด หรือตามต้องการความอิสระของลักษณะการใช้งานนั้น ๆ

ด้วยความอิสระดังกล่าวนี้เอง ทำให้ Articulated Robot ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานโรงงานอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบ หลายประเภท ทำได้แทบจะทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นยกของทั่วไป งานตัด งานเชื่อม แม้กระทั่งงานพ่นสี สิ่งนี้ก็ให้คุณได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการด้านการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้ เพื่อให้เข้าถึงประสิทธิภาพได้สูงสุด

นอกเหนือจากที่เราได้แนะนำไปแต่ละประเภท ยังมีหุ่นยนต์แบบ Custom ที่สามารถออกแบบได้ตามต้องการเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ตอบโจทย์ที่สุด ซึ่งก็ต้องแลกมากับต้นทุนที่สูงสุดขึ้น นั่นก็เป็นเรื่องที่แต่ละโรงงานต้องมาคำนวณให้ดีว่าการเข้ามาของสิ่งดังกล่าวจะสามารถพัฒนาสิ่ง ๆ ได้คุ้มกับที่เสียไปหรือไม่

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

แนวโน้มหุ่นยนต์อุสาหกรรมในประเทศไทยและทั่วโลก

แม้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดูเหมือนว่าแนวโน้มของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะได้รับการยอมรับและเริ่มถูกใช้งานมากขึ้นนับแต่เกิดวิกฤต โควิด-19 แต่ก็ยังมีจุดสังเกตหลายประการที่ทำให้สิ่งนี้น่าจะยังเป็นที่แพร่หลายในเร็ววัน ทั้งเรื่องต้นทุนที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการใช้งานจำเป็นต้องมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเป็นผู้ควบคุมดูแล ทำใหั “Cobot” กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมของโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่เข้าถึงได้ง่ายหากเทียบกับหุ่นยนต์ การตั้งค่าต่าง ๆ ในปัจจุบันก็พร้อมตอบโจทย์ความต้องการได้ไม่แพ้กัน

ส่วนในเรื่องของ Robot กับ Cobot นั้นมีความเหมือน หรือ แตกต่างกันในด้านไหนบ้าง ไว้เราจะพาไปเจาะลึกกันในโอกาสต่อไป 

แต่สำหรับท่านไหนที่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอยู่แล้ว มีความต้องการในเรื่องของอะไหล่ต่าง ๆ การผลิตชิ้นส่วนเฉพาะ เราโรงกลึงพี-วัฒน์พร้อมดูแลเดินร่วมทางไปด้วยกันกับคุณเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Robot หรือ Cobot มั่นใจในงานบริการของเราได้แบบ 100 เปอร์เซนต์

RPA คืออะไร ? ตัวช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพหลังบ้านกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน

RPA คืออะไร

ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 แบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำถามที่ว่า RPA คืออะไร เป็นสิ่งที่ได้ยินอยู่เสมอในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ในภาคของการผลิตได้ยกระดับความก้าวหน้าให้อุตสาหกรรมโรงงาน ณ ปัจจุบันขณะอย่างเห็นได้ชัดเจน จากกระบวนการนี้ได้ใช้สอยประโยชน์จากหุ่นยนต์ ทั้งเพื่อการทดสอบก็ดี การใช้งานจริงก็ดี ซึ่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้ก็ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานสายการผลิตได้เป็นอย่างดี กลายเป็นมาตรฐานที่โรงงานทั่วโลกนั้นเลือกใช้

อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าข้อมูลยังมีบางภาคส่วนต้องเจอกับความยากลำบากในการจัดการปัญหา “หลังบ้าน” ปัญหาที่ว่านี้เป็นเรื่องของการเก็บข้อมูล รักษากระบวนการในการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบ ซึ่งหากจัดการได้ดีจะส่งผลดีอย่างมากต่อธุรกิจ

โดยส่วนใหญ่แล้วจุดสังเกตที่พบเห็นได้บ่อยมาจากขาดความชำนาญการ ระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ค่อนข้างล้าสมัย กระทบถึงกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลามากเกินความจำเป็น ณ จุดนี้ จึงเป็นที่มาของตัวเอกอย่าง เทคโนโลยี RPA

RPA คืออะไร

RPA คืออะไร ส่งผลต่อกระบวนการใดของโรงงานอุตสาหกรรม ?

RPA คืออะไร น่ะหรือ ??? RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลของฝั่ง IT ซึ่งระบบข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้กัน

หากรันวงการด้วย RPA ที่เปรียบเสมือนหุ่นยนต์ในระบบสายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรันแบบอัตโนมัติ การผลิตซ้ำชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้หากเป็นการทำ Rule-based โดยมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งของเรื่องความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม แต่จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับสิ่งนี้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากธุรกิจของคุณแน่นอน

แน่นอนว่าในสายการของการผลิต CNC ถือเป็นคีย์แมนของกระบวนการนั้น ส่วนทางด้านของ RPA ก็กล่าวได้ว่าเป็นจอมทัพด้านข้อมูลเมื่อถูกติดตั้งกับระบบหลังบ้านในธุรกิจของคุณ หากมีการประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะยกระดับให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของคุณได้แบบก้าวกระโดด

การใช้งาน RPA ในโรงงานอุตสาหกรรม

จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า RPA นั้นถึงจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า “หุ่นยนต์” แต่นิยามของสิ่งนี้เป็นในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ที่เที่ยงตรง ซึ่งอยู่ในกระบวนการของซอฟต์แวร์ ดูแลอยู่ในโลกของดิจิทัลเป็นหลักเสียมากกว่า พอพูดแบบนี้ก็น่าจะเห็นภาพแตกต่างกับเหล่าบรรดาหุ่นยนต์ในสายการผลิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดทรัพยากรแรงงานรวมถึงความผิดพลาดต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นในมนุษย์ เพิ่มความสามารถด้านระบบการจัดการซัพพลายเชน ให้มีความทันโลกไม่หลงยุคสมัย และที่มั่นใจได้เลยแน่นอนคือ RPA จะเข้ามายกระดับขององค์กรในส่วนของพนักงานออฟฟิศ ตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมทุกข้อมูล 100%

NOTE: โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังจับตาดูกระแสทั้งในเรื่อง RPA และ iOT อย่างจริงจั งเพื่อลงทุนนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งานในออฟฟิศ ยิ่งในสถานการณ์ที่ออฟฟิศหลังบ้านยังคงต้อง WFH ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาด RPA ยิ่งจะช่วยตอบโจทย์ให้โรงกลึงของเรายังคงดำเนินการทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านได้อย่างมีเสถียรภาพ

ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ที่สามารถนำ RPA มาใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้

RPA คืออะไร
ออกบิลสำหรับวัสดุ (BOM)

สำหรับการออกบิลสำหรับวัสดุ (Bill of Material) ถือเป็นเอกสารสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ ลองจินตนาการเปรียบเทียบดูว่า หากเราต้องนั่งคีย์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวัสดุของโรงงาน ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน.. 

แต่สำหรับ RPA แล้ว นอกจากเรื่องของการทำซ้ำจะเป็นจุดเด่นแล้ว ความแม่นยำของข้อมูลก็เป็นเลิศ กลายเป็นว่าไม่เพียงแค่ลดความเสียหายขององค์กร ทั้งยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งผลก็มาจากการคาดคำนวนผ่านระบบของซอฟต์แวร์นั่นเอง

รายงานด้านข้อมูล (Administration)

การรายงานด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเหมือนกันสำหรับกระบวนการทำธุรกิจ การหยิบใช้ RPA ในส่วนงานของ “แอดมิน” จะทำให้เข้าถึงทุกข้อมูล ทุกรายงาน ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่อยู่ในธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณบริหารธุรกิจได้สอดคล้องกับรายงาน ทำให้การตัดสินที่จะจัดการในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้น

ลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ทั้ง ๆ ที่คำนิยามในเรื่องของ “หุ่นยนต์” แต่กลับเกี่ยวเนื่องกับการทำ CRM (Customer Relationship Management) อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องขอบคุณในความแม่นยำของข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้อย่างครบถ้วนภายในธุรกิจของคุณโดยเทคโนโลยี RPA ไม่มีข้อแม้ทั้งในเรื่องของติดตามสินค้า การวิจารณ์เกี่ยวกับตัวโปรดักต์ จนไปถึงเรื่อง ๆ อื่น ที่ใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อสนับนุนลูกค้าของธุรกิจคุณ หรือจะเป็นในเรื่องของการแก้ไขสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง พร้อมให้คุณรับทราบได้อย่างทันท่วงที

บริหารระบบขนส่ง (Logistics)

การจัดการบริหารระบบขนส่งภายในธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งในงานหินของอุตสาหกรรมแขนงนี้ กระบวนการที่มีความหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลอันแสนซับซ้อน บอกเลยว่า RPA นั้นยินดีอย่างมากในการช่วยเหลือ การผสานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ตลอด ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่คุณจะได้คือศักยภาพในการส่งขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

ทั้งในรายงานทางเลือกที่เหมาะสม ความคุ้มทุน การประกัน และสิ่งสำคัญอย่างระยะเวลาในการขนส่ง แถมยังสามารถติดตามการขนส่งได้แบบ Real-Time หลายขั้นตอน หลายประโยชน์ที่จะได้รับขนาดนี้ แล้วมันมีเหตุผลไหนที่จะทำให้คุณไม่เลือกใช้ RPA ล่ะ..

RPA คืออะไร

จัดการระบบข้อมูลด้วย RPA สู่ชิ้นงานคุณภาพในราคาที่เหมาะสม

การใช้งาน RPA เป็นซอฟต์แวร์ช่วยดำเนินธุรกิจ มีประโยชน์มากมายและช่วยยกระดับในทุกโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังที่กล่าวไปแล้ว ในส่วนของโรงกลึงพี-วัฒน์ เราก็ยังคงมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในเรื่องของความเอาใจใส่ในลูกค้า ความตรงต่อเวลา การมีระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงแบบนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในกระบวนการอื่นแล้ว ยังทำให้เราสามารถผลิตสินค้าด้วยวัสดุคุณภาพสูงภายใต้ราคาที่เหมาะสมได้อยู่เสมอตลอดระยะเวลาที่เปิดบริการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลคุณภาพ :

RPA Industry Reference (bluefishsolution.com)

How RPA can be utilized in Manufacturing Sector – PLM,ERP,IIoT – Neel SMARTEC Consulting

RPA for the Manufacturing Industry – Manufacturing Automation | UiPath