Skip to content

ตัวช่วยอุตสาหกรรมการผลิต เลือกใช้ให้เหมาะสม จะ Cobot หรือ Robots ดี?

จากบทความก่อนที่เราได้พากันไปเจาะลึกเกี่ยวกับ “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ว่าตอนนี้นั้นมีแบบไหน ประเภทไหน ที่กำลังได้รับความนิยมและถูกใช้งานมากที่สุด ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการพูดถึงอีกหนึ่งเทคโนโลยี “ลูกผสม” อย่าง “Cobot” ว่ามีความน่าสนใจและเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของอุตสาหกรรมการผลิตไม่แพ้กัน ในความแตกต่างเต็มด้วยไปด้วยประโยชน์มากมายที่หลายธุรกิจสามารถนำมาเป็นตัวเลือกเพื่อใช้ในโรงงานผลิตของคุณได้ไม่แพ้กับ Robots (หรือเรียกอีกอย่างว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรม) เลยทีเดียว

ส่วนความแตกต่างของ Cobot กับ Robots นั้นมีอะไรบ้างที่เราควรรู้ เพื่อสุดท้ายแล้วจะได้นำไปประกอบการตัดสินใจสำหรับเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานของคุณ เรารวบรวมข้อมูล รวมถึงจุดสังเกตต่าง ๆ เอาไว้ในเนื้อหาด้านล่างนี้แล้ว เชิญติดตามกันได้เลย

Cobot

Cobot คืออะไร?

Cobot คือ หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกับมนุษย์บนภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นได้มากในส่วนผลิต ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 10218-1 รวมถึงมาตรฐานรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ โดยคำว่า Cobot ย่อมากจาก “Collaborative Robots” หากดูจากวัตถุประสงค์ที่สร้างขึ้นมาตามคำนิยามของสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ จะเห็นได้ว่ามีความหมายตรงตัวที่ชัดเจน

ลักษณะของ Cobot นั้น ส่วนใหญ่ที่พบเจอได้มากจะเป็นในรูปแบบของแขนกล มีขนาดที่กะทัดรัด ง่ายต่อการใช้งานและเป็นมิตรกับมนุษย์ เพราะการสร้างนั้นคำนึงถึงการทำงานร่วมกันไปจนถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 

สิ่งที่ทำให้ Cobot ประสานงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย สืบเนื่องมากจาการติดตั้งเซนเซอร์ที่ล้ำสมัยต่าง ๆ ตลอดจนการตั้งค่าตัวเครื่องเพื่อซัพพอร์ตงานของมนุษย์อยู่แล้ว ก็วนกลับไปอย่างที่บอกไว้ในช่วงต้นว่าสิ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อมาตรฐานความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นปัจจัยหลักในการมีอยู่ของสิ่งนี้นอกเหนือจากประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม

ความแตกที่สำคัญระหว่าง Cobot กับ Robots

สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมีหลายอย่างเหมือนกัน แต่ข้อที่สำคัญและสังเกตได้ง่ายที่สุด กล่าวคือ Cobot นั้นได้รับการออกแบบให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ ส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หรือ Robots นั้นเป็นการทำหน้าที่แทนมนุษย์

ย้อนกลับไปในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัย Cobot นั้นสามารถช่วยพนักงานให้อยู่ห่างจากอันตรายได้อย่างมาก รวมถึงงานที่ต้องใช้แรงกำลังในการทำเกินกว่าพลังของมนุษย์ ตลอดจนถึงงานที่เป็นแบบ routine อันแสนน่าเบื่อหน่าย เราก็สามารถให้เทคโนโลยีนี้ช่วยได้เช่นกัน นอกจากจะทำให้อุตสาหกรรมมีความปลอดภัยแล้ว ยังส่งผลให้คุณภาพงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ส่วนเจ้าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม Robots จะอยู่ในทิศทางกันตรงข้ามกันเลย สิ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปในแบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด เรียกได้ว่าแทบจะปราศจากการร่วมมือของมนุษย์ในกระบวนการผลิต แต่ก็ส่งผลเป็นข้อดีในแง่ของการลดจำนวนทรัพยากรมนุษย์ ทำให้บุคลากรเหล่านั้นใช้เวลาตรงส่วนนี้ไปทำงานที่มีความหมายมากกว่า และอาจรวมถึงลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บในท่วงท่าซ้ำ ๆ เมื่อต้องการทำงานร่วมกับ Cobot อย่างต่อเนื่องเป็นเวล่านาน ซึ่งก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้เช่นกัน

Cobot

Cobot vs Robots สิ่งแตกต่างในความสามารถบนอุตสาหกรรมการผลิต

ยังไม่มีข้อชี้วัดแบบที่ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจน ไม่มีแบบไหนที่ดีกว่ากัน มีแต่การเลือกใช้งานให้ตอบโจทย์กับอุตสาหกรรมนั้น ๆ นี่เป็นสิ่งที่ทั้งสองอย่างนี้พร้อมเป็นตัวเลือกให้กับในทุกโรงงานผลิตได้

Cobot สามารถตั้งค่าโปรแกรมต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพราะสามารถเรียนรู้ในงานที่เคยถูกตั้งค่าเอาไว้ได้ด้วย วิธีการหากพูดแบบบ้าน ๆ เลยก็คือพนักงานสามารถจะตั้งค่า Cobot ใหม่ได้แบบง่ายดาย เพียงแค่ขยับแขนหรือชิ้นส่วนที่เราต้องการให้เป็นไป จากนั้น Cobot จะจดจำแล้วทำซ้ำได้ด้วยตัวเอง

ในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้วิศวกรผู้ชำนาญการในด้านนั้น ๆ เขียนโค้ดขึ้นใหม่ทั้งหมดสำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามต่อกระบวนการที่จะนำไปใช้

แต่ในประโยชน์ของ Cobot ก็มีข้อจำกัดที่ตามมา ด้วยความที่มีขนาดและความจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกับมนุษย์ สิ่งนี้จึงไม่ตอบโจทย์ในการผลิตจำนวนมาก ๆ ซึ่งข้อนี้เองที่กลายเป็นจุดแข็งแกร่งของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เรียกได้ว่า “เกิดมาเพื่อสิ่งนี้” ยกตัวอย่างเช่น วงการยานยนต์ที่ในส่วนการผลิตนั้นแทบจะเป็นการใช้หุ่นยนต์เกือบเต็มรูปแบบ มีระบบแยกจุดระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรในโรงงาน

ขณะเดียวกัน หากไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แบบที่กล่าวไป Cobot จะกลายเป็นคีย์แมนเพราะมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการทำงานร่วมกับมนุษย์ รวมถึงความสะดวกรวดเร็วในการปรับค่าต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ความซับซ้อนสูงบนส่วนของการผลิตนั่นเอง

ด้านผู้ประกอบการของโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอย่างโรงกลึงพี-วัฒน์เอง ก็อย่างที่เคยกล่าวไปแล้ว เรื่องวิสัยทัศน์ในการติดตามเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต และถึงแม้ว่าทั้ง Cobot หรือ Robots ยังจะดูห่างไกลไปซักหน่อยในตอนนี้กับรูปแบบการทำงานในโรงกลึงของเรา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ซะทีเดียว เรายังคงเปิดรับและพยายามปรับปรุงแก้ไขกระบวนการที่เยิ่นเย้อ ทับซ้อน เพื่อให้คล่องตัวมากขึ้นและสอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อยู่เสมอๆ

Cobot

ทุกความแตกต่างมีข้อดี อยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะกับอุตสาหกรรม

อย่างที่ย้ำกันมาเสมอตั้งแต่เริ่มเรื่อง ทั้งสองสิ่งนี้เป็นตัวช่วยบูสต์ศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิตได้เป็นอย่างดี เพียงแต่มีข้อแตกต่างในเรื่องของสมรรถนะการใช้งาน ความปลอดภัย ตลอดจนต้นทุนของโรงงานผลิตบนอุตสาหกรรมนั้น ๆ ฉะนั้น สิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงให้มากที่สุดก่อนเลือกนำเข้าใช้งานกับธุรกิจจำเป็นต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังการผลิต ลักษณะงานที่ต้องทำ น้ำหนักของสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ตลอดจนเรื่องของพื้นที่ก็เป็นส่วนที่จะละเลยไม่ได้เด็ดขาด

ส่วนอีกข้อสำคัญ เราต้องไม่หลงลืมประเด็นว่า Cobot นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อช่วยอุตสาหกรรมลดต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากการหลีกเลี่ยงไม่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายแพงกว่า เพราะแต่ละโรงงานนั้นต่างถูกกำหนดมาแล้วด้วยไลน์ของการผลิต หากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ระบบแอบอัตโนมัติทั้งหมดในกระบวนการดังกล่าวยังไงเสียหุ่นยนต์อุตสาหกรรมก็ยังคงมีที่ยืน แต่หากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ต้องใช้งานแบบเต็มระบบขนาดนั้น การมองความสามารถของ Cobot. ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน และนี่ก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจหากคิดเริ่มจะใช้งานเรื่องของหุ่นยนต์ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนและรอบคอบที่สุด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (4) AR (2) artificial intelligence (3) CNC Machining (6) CNC Machining Center (7) cobot (2) electric vehicle (2) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) Robotics (2) การขนส่ง (2) ขยะอุตสาหกรรม (2) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (5) พลังงานหมุนเวียน (2) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (2) รถยนต์ไฟฟ้า (2) รักษาสิ่งแวดล้อม (2) รักษ์โลก (5) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (4) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (5) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) เครื่อง CNC (5) เครื่องกลึง CNC (7) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2) โคบอท (2)