ทำความรู้จัก Beacon หนึ่งใน IoT น่าสนใจ ที่มูลค่าตลาดอาจสูงระดับหมื่นล้าน!

Beacon

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดีหากเราเอ่ยถึง GPS แต่สำหรับ Beacon (บีคอน) อาจมีเลิ่กลั่กกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีบนหมวด IoT (Internet of Things) และเมื่อมีการกล่าวถึงจำพวกนี้ สิ่งที่คุณจะได้รับจากพวกเขาเหล่านี้คือการยกระดับธุรกิจในยุคของเทคโนโลยีแน่นอน

คำถามคือ.. ทำไมวันนี้เราถึงอยากจะนำเรื่องนี้มาบอกเล่าแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน เพราะอันที่จริงแล้วสถานะของ Beacon ในปัจจุบันนั้นมีอิทธิพลกับสองอุตสาหกรรมที่ได้รับคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้มากที่สุด คือ “การค้าปลีก” และ “การตลาด”

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ข้อมูลล่าสุดจาก Global Market Insights ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดของ “Beacon” จะเติบโตเกิน “สองหมื่นห้าพันล้าน” ในปี 2025 แล้วหน่วยเงินที่ว่านี่หมายถึง “ดอลลาร์สหรัฐ” มันทำให้เราไม่อาจจะมองข้ามได้จริง ๆ 

ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักหรือเคยได้ยินแค่คร่าว ๆ อยากรู้แล้วว่าสิ่งนี้คืออะไร มีบทบาทอะไรต่อธุรกิจได้บ้าง.. เรามาเริ่มกันเลยนับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป!

Beacon คืออะไร ?

อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้น Beacon นั้นเป็นหนึ่งในจำพวกเทคโนโลยี IoT ส่วนหลักการทำงานของสิ่งนี้นั้นจะมีความคล้ายเทคโนลียี RFID แต่จะแตกต่างกันตรงที่ RFID จะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ ส่วน Beacon นั้นสัญญาณหลักของตัวอุปกรณ์คือการใช้ บลูทูธ (Bluetooth) โดยทั้งสองสิ่งนี้นั้นมีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นก็เพื่อการใช้งานในที่ที่ GPS นั้นเข้าไม่ถึง หรือไม่สมารถระบุตำแหน่งได้อย่างแน่ชัด เช่น ห้างร้าน อาคารต่าง ๆ เป็นต้น

Beacon

หลักการทำงานและประเภทของ Beacon

หลักของ Beacon หัวใจคือการกำหนดตำแหน่งพื้นที่ภายในและภายนอกในระยะใกล้ ร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ของ IoT กล่าวคือสิ่งนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด ใช้เพื่อตรวจจับการมีอยู่ของมนุษย์ในบริเวณใกล้เคียง หรือสิ่งของก็ได้เช่นกัน เช่น อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจติดไว้ที่เครื่อง CNC ภายในพื้นที่การผลิตของโรงกลึง เพื่อกำหนดตำแหน่งของ asset นั่นๆ จากนั้นเพื่อใช้ประโยชน์ต่อในด้านการส่งข้อมูลที่เราได้กำหนดเอาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อมอบสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของคุณ นั่นหมายถึง Beacon ต้องทำงานร่วมกับระบบหลังบ้านที่สามารถกำหนดตั้งค่าใด ๆ ได้ เสมือนแอพลิเคชั่นนึงนั่นเอง

แล้วเจ้า Beacon นี้ทำงานอย่างไร ?

Beacon ทำงานร่วมกับระบบแอพลิเคชั่นหลังบ้าน แต่เราจะขอข้ามในส่วนของการกำหนดค่าด้วยซอฟต์แวร์เอนจิเนียร์ไปก่อน เพราะมันจะลงลึกในเชิงของการพัฒนาโปรแกรมมิ่งจนเกินไป การตั้งค่าในส่วนนี้ต้องใช้ความชำนาญรวมถึงข้อมูลธุรกิจที่แตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรม แต่โดยหลักแล้วกระบวนการและปลายทางต่างต้องการผลลัพธ์จากสิ่งนี้เหมือนกันแทบทั้งหมด

ส่วนการทำงานจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ เพื่อให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ณ จุดดังกล่าวเป็นคนตัดสินใจขั้นตอนสุดท้ายว่าจะรับการแจ้งเตือนจากสิ่งนี้หรือไม่ แต่ปัญหาที่พบโดยมาก ยังมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่น้อยเลยที่ไม่ได้เปิดบลูทูธตลอดเวลา 

ดังนั้น ชาเลนจน์ของผู้พัฒนาคือการบอกเล่าสิ่งที่น่าสนใจ รวมถึงประสบการณ์เต็มรูปแบบที่จะได้รับจากการเปิดใช้งานแจ้งเตือนของ Beacon ซึ่งก็เป็นด่านแรกที่จำเป็นต้องกระตุ้นเพื่อขอให้ผู้ใช้งานเปิดบลูทูธ และยังเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดหากต้องใช้สอยประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ

Beacon

ประเภทของ Beacon ณ ปัจจุบัน

Beacon นั้นมีมากหมายหลายประเภท รวมถึงขนาดต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจ เลือกได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

  • แบบมาตรฐาน เป็นแบบระยะใกล้ใช้สำหรับติดตามในตัวอาคาร โดยอุปกรณ์จะมีขนาดพอ ๆ กับ เราเตอร์ Wi-Fi อาจเล็กหรือใหญ่กว่านิดหน่อย
  • แบบพกพา / ขนาดเล็ก ใช้สำหรับติดตามสิ่งของโดยส่วนใหญ่ รวมถึงใช้เป็นเซนเซอร์วัดระยะความใกล้ชิดของคนรวมถึงสิ่งของ มีขนาดประมาณบัตรเครดิต
  • แบบ USB ขนาดเล็กลงไปอีก ใช้สำหรับการติดตามทรัพย์สินเช่นกัน แต่ด้วยขนาดและการออกแบบทำให้ปรับใช้ได้สะดวกขึ้น พกพาง่าย หยิบจับใช้งานได้เร็ว
  • แบบวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เสียบด้านหลังหน้าจอ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพตามบริบทต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการจัดแสดงภาพ หรือ ข้อมูลสินค้าแบบภาพเคลื่อนไหว
  • แบบสัญญาณ AI อุปกรณ์นี้มีความสามารถในการเรียนรู้สูงจะช่วยจับการเคลื่อนไหวท่าทางต่างของทุกสิ่งที่ต้องการได้
  • แบบสติกเกอร์ อีกหนึ่งแบบที่ใช้สำหรับติดตามทรัพย์สิน สามารถออกแบบได้ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ต้องการ
  • แบบเฉพาะ ออกแบบเฉพาะสำหรับสถานที่รวมถึงการใช้งานตามต้องการ มักใช้การติดตามภายนอก มีการใช้วัสดุที่มีความทนทานสูง เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อเทคโนโลยี
  • Parent Beacon ใช้เพื่อติดตามอุปกรณ์ Beacon อื่น ๆ อีกที และสำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเก็บเอาไว้ในคลาวด์เซิฟเวอร์ รวมถึงปัจจัยอื่น

ทุกประเภทที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ มีการปรับ มีการประยุกต์อยู่เสมอ และคาดว่าจะมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคตต่อไป เพื่อให้เข้ากับธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้มีทางเลือกการใช้งานมากยิ่งขึ้น

Beacon

ทิศทางของ Beacon เทคโนโลยี ในอนาคต

อย่างที่ย้ำอยู่เสมอว่า Beacon นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย IoT ในยุคที่ “สมาร์ทโฟน” เปรียบเสมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย นวัตกรรมที่ถูกเรียกว่า “Beacon เทคโนโลยี” ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้อย่างน่าตื่นเต้น จากที่เคยถูกคาดการณ์เอาไว้เมื่อปี 2015 ว่าสิ่งนี้จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สุดท้ายแล้วถูกพิสูจน์ด้วยกาลเวลาว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจได้จริง 

รวมถึงความน่าสนใจที่เราได้กล่าวไว้ช่วงต้นว่าตลาดของ Beacon นั้นอาจสูงถึงระดับแตะหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 หากมองจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน อีกแค่ 4 ปี เท่านั้นก็จะได้รู้กันแล้วว่าเทคโนโลยีนี้จะมีมูลค่ามหาศาลอย่างที่กล่าวจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้ระหว่างทางทั้งกับผู้พัฒนาและผู้ใช้ เต็มไปด้วยประโยชน์นานัปการอย่างที่หลายธุรกิจ หลายอุตสาหกรรมคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้

สำหรับแวดวงอุตสาหกรรมโรงงานเองก็ต้องติดตามเทคโนโลยีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นประโยชน์มากกับการพัฒนากระบวนการทางวิศวกรรม เพื่อพัฒนาปรับปรุงจากกระบวนการเดิมให้ทันสมัย และช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าเดิม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคและสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้เช่นกัน นับว่าต้องจับตาดูกันเลยที่เดียวว่าจะมี Beacon อะไรใหม่ๆ ออกมาในตลาดบ้านเราและมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจ …เริ่มก่อน สำเร็จก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาดี ๆ จาก https://www.intellectsoft.net/blog/what-are-beacons-and-how-do-they-work 

RPA คืออะไร ? ตัวช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพหลังบ้านกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน

RPA คืออะไร

ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 แบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำถามที่ว่า RPA คืออะไร เป็นสิ่งที่ได้ยินอยู่เสมอในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ในภาคของการผลิตได้ยกระดับความก้าวหน้าให้อุตสาหกรรมโรงงาน ณ ปัจจุบันขณะอย่างเห็นได้ชัดเจน จากกระบวนการนี้ได้ใช้สอยประโยชน์จากหุ่นยนต์ ทั้งเพื่อการทดสอบก็ดี การใช้งานจริงก็ดี ซึ่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้ก็ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานสายการผลิตได้เป็นอย่างดี กลายเป็นมาตรฐานที่โรงงานทั่วโลกนั้นเลือกใช้

อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าข้อมูลยังมีบางภาคส่วนต้องเจอกับความยากลำบากในการจัดการปัญหา “หลังบ้าน” ปัญหาที่ว่านี้เป็นเรื่องของการเก็บข้อมูล รักษากระบวนการในการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบ ซึ่งหากจัดการได้ดีจะส่งผลดีอย่างมากต่อธุรกิจ

โดยส่วนใหญ่แล้วจุดสังเกตที่พบเห็นได้บ่อยมาจากขาดความชำนาญการ ระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ค่อนข้างล้าสมัย กระทบถึงกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลามากเกินความจำเป็น ณ จุดนี้ จึงเป็นที่มาของตัวเอกอย่าง เทคโนโลยี RPA

RPA คืออะไร

RPA คืออะไร ส่งผลต่อกระบวนการใดของโรงงานอุตสาหกรรม ?

RPA คืออะไร น่ะหรือ ??? RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลของฝั่ง IT ซึ่งระบบข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้กัน

หากรันวงการด้วย RPA ที่เปรียบเสมือนหุ่นยนต์ในระบบสายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรันแบบอัตโนมัติ การผลิตซ้ำชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้หากเป็นการทำ Rule-based โดยมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งของเรื่องความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม แต่จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับสิ่งนี้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากธุรกิจของคุณแน่นอน

แน่นอนว่าในสายการของการผลิต CNC ถือเป็นคีย์แมนของกระบวนการนั้น ส่วนทางด้านของ RPA ก็กล่าวได้ว่าเป็นจอมทัพด้านข้อมูลเมื่อถูกติดตั้งกับระบบหลังบ้านในธุรกิจของคุณ หากมีการประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะยกระดับให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของคุณได้แบบก้าวกระโดด

การใช้งาน RPA ในโรงงานอุตสาหกรรม

จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า RPA นั้นถึงจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า “หุ่นยนต์” แต่นิยามของสิ่งนี้เป็นในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ที่เที่ยงตรง ซึ่งอยู่ในกระบวนการของซอฟต์แวร์ ดูแลอยู่ในโลกของดิจิทัลเป็นหลักเสียมากกว่า พอพูดแบบนี้ก็น่าจะเห็นภาพแตกต่างกับเหล่าบรรดาหุ่นยนต์ในสายการผลิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดทรัพยากรแรงงานรวมถึงความผิดพลาดต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นในมนุษย์ เพิ่มความสามารถด้านระบบการจัดการซัพพลายเชน ให้มีความทันโลกไม่หลงยุคสมัย และที่มั่นใจได้เลยแน่นอนคือ RPA จะเข้ามายกระดับขององค์กรในส่วนของพนักงานออฟฟิศ ตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมทุกข้อมูล 100%

NOTE: โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังจับตาดูกระแสทั้งในเรื่อง RPA และ iOT อย่างจริงจั งเพื่อลงทุนนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งานในออฟฟิศ ยิ่งในสถานการณ์ที่ออฟฟิศหลังบ้านยังคงต้อง WFH ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาด RPA ยิ่งจะช่วยตอบโจทย์ให้โรงกลึงของเรายังคงดำเนินการทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านได้อย่างมีเสถียรภาพ

ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ที่สามารถนำ RPA มาใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้

RPA คืออะไร
ออกบิลสำหรับวัสดุ (BOM)

สำหรับการออกบิลสำหรับวัสดุ (Bill of Material) ถือเป็นเอกสารสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ ลองจินตนาการเปรียบเทียบดูว่า หากเราต้องนั่งคีย์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวัสดุของโรงงาน ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน.. 

แต่สำหรับ RPA แล้ว นอกจากเรื่องของการทำซ้ำจะเป็นจุดเด่นแล้ว ความแม่นยำของข้อมูลก็เป็นเลิศ กลายเป็นว่าไม่เพียงแค่ลดความเสียหายขององค์กร ทั้งยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งผลก็มาจากการคาดคำนวนผ่านระบบของซอฟต์แวร์นั่นเอง

รายงานด้านข้อมูล (Administration)

การรายงานด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเหมือนกันสำหรับกระบวนการทำธุรกิจ การหยิบใช้ RPA ในส่วนงานของ “แอดมิน” จะทำให้เข้าถึงทุกข้อมูล ทุกรายงาน ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่อยู่ในธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณบริหารธุรกิจได้สอดคล้องกับรายงาน ทำให้การตัดสินที่จะจัดการในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้น

ลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ทั้ง ๆ ที่คำนิยามในเรื่องของ “หุ่นยนต์” แต่กลับเกี่ยวเนื่องกับการทำ CRM (Customer Relationship Management) อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องขอบคุณในความแม่นยำของข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้อย่างครบถ้วนภายในธุรกิจของคุณโดยเทคโนโลยี RPA ไม่มีข้อแม้ทั้งในเรื่องของติดตามสินค้า การวิจารณ์เกี่ยวกับตัวโปรดักต์ จนไปถึงเรื่อง ๆ อื่น ที่ใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อสนับนุนลูกค้าของธุรกิจคุณ หรือจะเป็นในเรื่องของการแก้ไขสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง พร้อมให้คุณรับทราบได้อย่างทันท่วงที

บริหารระบบขนส่ง (Logistics)

การจัดการบริหารระบบขนส่งภายในธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งในงานหินของอุตสาหกรรมแขนงนี้ กระบวนการที่มีความหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลอันแสนซับซ้อน บอกเลยว่า RPA นั้นยินดีอย่างมากในการช่วยเหลือ การผสานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ตลอด ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่คุณจะได้คือศักยภาพในการส่งขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

ทั้งในรายงานทางเลือกที่เหมาะสม ความคุ้มทุน การประกัน และสิ่งสำคัญอย่างระยะเวลาในการขนส่ง แถมยังสามารถติดตามการขนส่งได้แบบ Real-Time หลายขั้นตอน หลายประโยชน์ที่จะได้รับขนาดนี้ แล้วมันมีเหตุผลไหนที่จะทำให้คุณไม่เลือกใช้ RPA ล่ะ..

RPA คืออะไร

จัดการระบบข้อมูลด้วย RPA สู่ชิ้นงานคุณภาพในราคาที่เหมาะสม

การใช้งาน RPA เป็นซอฟต์แวร์ช่วยดำเนินธุรกิจ มีประโยชน์มากมายและช่วยยกระดับในทุกโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังที่กล่าวไปแล้ว ในส่วนของโรงกลึงพี-วัฒน์ เราก็ยังคงมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในเรื่องของความเอาใจใส่ในลูกค้า ความตรงต่อเวลา การมีระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงแบบนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในกระบวนการอื่นแล้ว ยังทำให้เราสามารถผลิตสินค้าด้วยวัสดุคุณภาพสูงภายใต้ราคาที่เหมาะสมได้อยู่เสมอตลอดระยะเวลาที่เปิดบริการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลคุณภาพ :

RPA Industry Reference (bluefishsolution.com)

How RPA can be utilized in Manufacturing Sector – PLM,ERP,IIoT – Neel SMARTEC Consulting

RPA for the Manufacturing Industry – Manufacturing Automation | UiPath

อะไรคือ “อุตสาหกรรมครัวเรือน” และ “อุตสาหกรรมโรงงาน” ?

อุตสาหกรรมโรงงาน

อุตสาหกรรม (Industry) เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของหรือจัดให้มีบริการ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ อุตสาหกรรมในครัวเรือน และ อุตสาหกรรมโรงงาน

โดยมีที่มาในคำจำกัดความเหล่านี้จากในสมัยยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่างๆ มากมาย และทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังเกี่ยวของกับลัทธิสังคมนิยมของ คาร์ล มาร์กซ (ลัทธิมาร์กซ) อีกด้วย

อุตสาหกรรมโรงงาน
Image by senivpetro on Freepik

ประเภทของอุตสาหกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. อุตสาหกรรมครัวเรือน อุตสาหกรรมการผลิตง่ายๆ เล็กๆ มักทำกันในครอบครัวหรือหมู่บ้าน ไม่ใช้แรงงาน ทุนและปัจจัยมาก แต่มักได้กำไรต่ำ อุตสาหกรรมจำพวกนี้มีตัวอย่าง เช่น หัตถกรรมจักสาน เซรามิก ถ้วยโถโอชามต่างๆ รวมไปถึงสินค้าประเภทอาหารบรรจถุงหรือหีบห่อที่มียี่ห่อบางชนิด เป็นตันด้วย และสินค้าโอทอป  (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัทฑ์) บางชนิดเองก็ถือเป็นอุตสาหกรรมอีกด้วย
  2. อุตสาหกรรมโรงงาน คือ อุตสาหกรรมที่ผลิตในโรงงาน สินค้ามักมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่เเตกต่างกันมากนัก พบมากในเขตเมือง หรือเขตที่มีความเจริญต่างๆ สินค้าพวกนี้มักเป็นสิ่งอุปโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เช่น กระดาษทิชชู บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง เครื่องนุ่งห่ม สุรา บุหรี่ เป็นต้น และสินค้าบางประเภทมีการโฆษณาส่งเสริมการขายด้วย

โรงกลึงของบริษัทพี-วัฒน์ ถือเป็นอุตสาหกรรมโรงงาน เนื่องจากชิ้นงานของเราผลิตในโรงงาน มีบริษัทจดทะเบียนถูกต้องและมีมาตรฐานในกระบวนการการผลิตและการทำงาน มีพนักงานขึ้นทะเบียนเสียภาษีถูกต้อง ลูกค้าจึงมั่นใจได้ในการผลิตงาน มั่นใจได้ในคุณภาพ และความซื่อสัตย์ใส่ใจที่เราให้ความสำคัญมาเสมอ

ที่มา: sites.google.com/site/nganchang1112