เทรนด์ “Robotics” ปี 2023 รู้ไว้.. ปรับใช้ ยกระดับธุรกิจคุณได้!

Robotics

เผลอแปปเดียวก็จะเปลี่ยนปีปฏิทินกันอีกแล้ว นี่ก็เข้าสู่หน้าหนาว แต่ก็เป็นหนาวแบบประเทศไทย ที่ต้องถามตัวเองซ้ำ ๆ ว่า “นี่หน้าหนาวแล้วแน่นะวิ…” และเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใด ธุรกิจใดก็ตามแต่ การเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น พัฒนาขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ จริง ๆ ต้องบอกว่าจำเป็นเลยล่ะหากคุณอยากจะยกระดับธุรกิจ เรื่องของ “เทรนด์” เป็นสิ่งที่ต้องเกาะติดอยู่เสมอ และขาดไมไ่ด้สำหรับชาวอุตสาหกรรมคือการอัพเดทความรู้เกี่ยวกับ AI หรือ Robotics

วันนี้โรงกลึงพีวัฒน์ขอแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับคาดการณ์ล่าสุดของแวดวงหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม ที่ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมไปแล้ว และด้วยความต้องการที่มากขึ้นของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม (Industrial Automation) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digitalization) ตลอดจนการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อการยึดโยงอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ให้กลายเป็นอีกหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญสู่การขับเคลื่อนธุรกิจแบบยั่งยืน ซึ่งก็เป็นแนวโน้มที่ได้ประเมินเอาไว้ก่อนหน้านี้ และการคาดการณ์ที่ว่านี้จะเป็นศึกษาเพื่อต่อยอด

#เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน

เกาะติดเทรนด์ Robotics วิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลสุดเดือด!

จากความต้องการดังกล่าว จึงเกิดเป็นการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อคาดการณ์เทรนด์ในปี 2023 ของวิทยาการหุ่นยนต์ โดยเป็นการวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากธุรกิจสตาร์ทอัพกว่า 2,500,000 แห่งทั่วโลก ซึ่งได้คลอดออกมาเป็น 8 อันดับแรก ดังที่ทุกคนจะได้อ่านต่อไปด้านล่างนี้!

1. Mobile autonomous robots

หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (Mobile autonomous robots) เข้ามาแทนที่ในส่วนของการผลิต เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่มีความเสี่ยงต่อบุคลากร เช่น สารเคมีที่เป็นพิษ บริเวณที่มีพื้นที่จำกัด และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก 

การใช้หุ่นยนต์ที่มีเซนเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์วิชั่น ในการทำความเข้าใจาสภาพแวดล้อมได้ทันทีและทำงานได้ด้วยตัวเอง หรือจะเป็นเรื่องการตรวจสอบสต็อคและการจัดการวัสดุแบบอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น AMR ของคลังสินค้า ที่ใช้เป็นเครื่องสแกน ป้องกันเรื่องของขาดสต็อค แถมยังเพิ่มความเร็วในกระบวนการ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในส่วนอื่น ๆ ของบุคลากรได้

2. Robots with Intelligence

หุ่นยนต์ที่มีความฉลาดสูง (Robots with Intelligence) นั้นมีความสามารถในการใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์และเพิ่มประสิทธิภาพงานได้ด้วยการผสานเข้ากับ AI โดยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มาแบบเรียลไทม์นี้ส่งผลให้หุ่นยนต์นั้นมีความแม่นยำและทรงประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเรื่องการรับรู้สภาพแวดล้อมและแยกวัตถุก็จะทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยให้การนำทางทำได้อย่างอิสระอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

Robotics
Image by usertrmk on Freepik

3. Cobots

เรื่องของ โคบอทส์ (Cobots) นั้นเราเคยนำเสนอเปรียบเทียบกับ Robots แบบเต็ม ๆ ไปแล้ว โดยสิ่งนี้จะตรงข้ามกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม เป็นหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน มีเซ็นเซอร์และอัลกอริธึมล้ำสมัย รับประกันพฤติกรรมที่ปลอดภัยเมื่อใช้ร่วมกับมนุษย์ในกระบวนการประกอบแบบอัตโนมัติได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมชิ้นส่วนและการเจาะรูด้วยสกรู ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเครื่องมือปลายแขน (EOAT) กล่าวคือ หุ่นยนต์เหล่านี้ช่วยในเรื่องของการยกวัตถุอันตรายแทนมนุษย์ได้ เช่น โลหะหนัก โพลีเมอร์ และวัสดุอื่น ๆ ที่มีน้ำหนักมาก

4. Robotics as a Service

ชื่อนี่อาจจะคุ้นหูคุ้นตากันมากหน่อย เพราะเป็นเทรนด์ Robotics ที่ได้รับการจับตาและมีการพัฒนาต่อเนื่องจากปี 2022 ซึ่งเราก็เคยพูดถึงไปแล้ว โดยการพัฒนาและบำรุงรักษาหุ่นยนต์เป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แถมยังใช้เวลานานอีกต่างหาก ในข้อจำกัดเหล่านี้ ทำให้องค์กรจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กยังไม่สามารถเข้าถึงการใช้หุ่นยนต์ได้ ทำให้บริการนี้ยังคงน่าสนใจสำหรับผู้เป็นเจ้าของกิจการสำหรับสร้างรายได้ ส่วนผู้เช่าที่สนใจทดลองใช้บริการของหุ่นยนต์ก็ไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากเพื่อเป็นเจ้าของนั่นเอง

#เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน

5. Cyber Security Robotics

หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Robotics) เป็นวิทยาการที่มีเป้าหมายหลักสำหรับป้องกันการโจมทีทางโลกไซเบอร์ เนื่องจากการผสานรวมของ IoT และความต้องการการเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การปกป้องโซลูชั่นหุ่นยนต์จากการเข้าถึงอย่างผิดกฏหมายก็เป็นสิ่งที่จำเป็น โดยครอบคลุมเกือบทุกกระบวนการของอุตสาหกรรม ไมว่าจะเป็น การป้องกัน การผลิต การดูแล ตลอดจนสอดส่องพื้นที่ของโรงงานในการรักษาความปลอดภัย

Robotics
Image by upklyak on Freepik

6. Human-like robots

หุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ หรือ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) นั้นคาดการณ์ว่าจะถูกใช้งานมากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ได้รับความนิยมต่อเนื่องจากโรคระบาดที่ผ่านมา เอาที่แบบถูกหยิบมาใช้ชัดเจนเลย เช่น การทำความสะอาดแบบไร้สัมผัส และการส่งมอบต่าง ๆ ในโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจสอบโรงไฟฟ้า การบำรุงรักษา และการกู้คืนจากภัยพิบัติ ช่วยชีวิตบุคลากรจากสภาวะที่เป็นอันตราย โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ สามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตได้อีกด้วย

7. Automated Assisted Vehicles

ยานพาหนะยุคใหม่ที่จะเข้ามาช่วยเป็นแม่แรงในกระบวนการขนส่ง โดยชื่อของสิ่งนี้เรียกว่า AGV เป็นยานพาหนะนำทางด้วยตนเอง สามารถใช้ได้ทั้งในคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงานผลิต ซึ่งการเคลื่อนไหวของเจ้าสิ่งนี้จะถูกควบคุมโดยการผสมผสานระหว่างซอฟต์แวร์และระบบนำทางแบบเซ็นเซอร์ที่กำหนดเส้นทางเอาไว้ล่วงหน้านั่นเอง

8. Drones

ตอนนี้ตลาดของโดรนนั้นไปไกลมากแล้ว จากการพัฒนาด้วย Edge Computing, HPC และการเชื่อมต่อสำหรับการขนส่ง มีการปรับตามประสบการณ์ของผู้ใช้งานจริง รวมถึงการเพิ่มลูกเล่นและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ความสามารถของโดรนนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้โดรนในการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืช พ่นยาฆ่าแมลง ณ สถานที่เฉพาะ ส่วนเรื่องของการติดตาม โดรนสามารถตดตามพืชผลได้แม่นยำ หรือจะเป็นการจับความเคลื่อนไหวของสัตว์เลี้ยงก็ทำได้เช่นกัน

Robotics
Image by rawpixel.com on Freepik

สัมผัสประสบการณ์โลกยุคใหม่ เลือกใช้ให้ตรงกับธุรกิจ

เรื่องของ Internet of Things (IoT) ที่ตอนนี้นั้นแพร่หลายอย่างมาก เรียกว่าเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญให้วิทยาการหุ่นยนต์รุดหน้าอย่างรวดเร็ว โดยผู้ที่มีความสามารถทางธุรกิจรวมถึงผู้ที่ต้องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทุกแขนงสู่โลกยุคใหม่ หากเลือกใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมจะได้รับประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ จากความเป็นอิสระและคุณภาพชีวิตในแง่ส่วนตัว 

ส่วนแง่ธุรกิจก็อย่างที่หลายคนทราบกัน ซึ่งคุณเองก็สามารถประเมินถึงอานุภาพของหุ่นยนต์ได้ผ่านเนื้อหาที่เรานำมาแบ่งปันกันในวันนี้ 

หากคุณอยากก้าวให้ทันหรือเร็วกว่าคนอื่น บอกเลยว่านี่เป็นเที่ยวบินสู่เส้นทางยุคใหม่ของอุตสาหกรรมที่เราไม่อยากให้คุณพลาดตกไฟลท์ที่สุดแล้ว!

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลเนื้อหาดี ๆ จากบทความเหล่านี้ :

https://emag.directindustry.com/2022/11/02/automation-trends-artificial-intelligence-cobots-agv-mobile-robots-predictive-maintenance/

https://www.automate.org/webinars/2023-industrial-automation-trends

https://www.automation.com/en-us/articles/august-2022/top-10-intelligent-automation-trends-look-2023

https://www.analyticsinsight.net/top-10-robotics-trends-and-predictions-to-lookout-for-in-2023/

Cover Image : Image by fullvector on Freepik

RPA คืออะไร ? ตัวช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพหลังบ้านกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน

RPA คืออะไร

ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 แบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำถามที่ว่า RPA คืออะไร เป็นสิ่งที่ได้ยินอยู่เสมอในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ในภาคของการผลิตได้ยกระดับความก้าวหน้าให้อุตสาหกรรมโรงงาน ณ ปัจจุบันขณะอย่างเห็นได้ชัดเจน จากกระบวนการนี้ได้ใช้สอยประโยชน์จากหุ่นยนต์ ทั้งเพื่อการทดสอบก็ดี การใช้งานจริงก็ดี ซึ่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้ก็ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานสายการผลิตได้เป็นอย่างดี กลายเป็นมาตรฐานที่โรงงานทั่วโลกนั้นเลือกใช้

อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าข้อมูลยังมีบางภาคส่วนต้องเจอกับความยากลำบากในการจัดการปัญหา “หลังบ้าน” ปัญหาที่ว่านี้เป็นเรื่องของการเก็บข้อมูล รักษากระบวนการในการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบ ซึ่งหากจัดการได้ดีจะส่งผลดีอย่างมากต่อธุรกิจ

โดยส่วนใหญ่แล้วจุดสังเกตที่พบเห็นได้บ่อยมาจากขาดความชำนาญการ ระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ค่อนข้างล้าสมัย กระทบถึงกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลามากเกินความจำเป็น ณ จุดนี้ จึงเป็นที่มาของตัวเอกอย่าง เทคโนโลยี RPA

RPA คืออะไร

RPA คืออะไร ส่งผลต่อกระบวนการใดของโรงงานอุตสาหกรรม ?

RPA คืออะไร น่ะหรือ ??? RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลของฝั่ง IT ซึ่งระบบข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้กัน

หากรันวงการด้วย RPA ที่เปรียบเสมือนหุ่นยนต์ในระบบสายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรันแบบอัตโนมัติ การผลิตซ้ำชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้หากเป็นการทำ Rule-based โดยมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งของเรื่องความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม แต่จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับสิ่งนี้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากธุรกิจของคุณแน่นอน

แน่นอนว่าในสายการของการผลิต CNC ถือเป็นคีย์แมนของกระบวนการนั้น ส่วนทางด้านของ RPA ก็กล่าวได้ว่าเป็นจอมทัพด้านข้อมูลเมื่อถูกติดตั้งกับระบบหลังบ้านในธุรกิจของคุณ หากมีการประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะยกระดับให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของคุณได้แบบก้าวกระโดด

การใช้งาน RPA ในโรงงานอุตสาหกรรม

จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า RPA นั้นถึงจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า “หุ่นยนต์” แต่นิยามของสิ่งนี้เป็นในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ที่เที่ยงตรง ซึ่งอยู่ในกระบวนการของซอฟต์แวร์ ดูแลอยู่ในโลกของดิจิทัลเป็นหลักเสียมากกว่า พอพูดแบบนี้ก็น่าจะเห็นภาพแตกต่างกับเหล่าบรรดาหุ่นยนต์ในสายการผลิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดทรัพยากรแรงงานรวมถึงความผิดพลาดต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นในมนุษย์ เพิ่มความสามารถด้านระบบการจัดการซัพพลายเชน ให้มีความทันโลกไม่หลงยุคสมัย และที่มั่นใจได้เลยแน่นอนคือ RPA จะเข้ามายกระดับขององค์กรในส่วนของพนักงานออฟฟิศ ตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมทุกข้อมูล 100%

NOTE: โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังจับตาดูกระแสทั้งในเรื่อง RPA และ iOT อย่างจริงจั งเพื่อลงทุนนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งานในออฟฟิศ ยิ่งในสถานการณ์ที่ออฟฟิศหลังบ้านยังคงต้อง WFH ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาด RPA ยิ่งจะช่วยตอบโจทย์ให้โรงกลึงของเรายังคงดำเนินการทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านได้อย่างมีเสถียรภาพ

ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ที่สามารถนำ RPA มาใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้

RPA คืออะไร
ออกบิลสำหรับวัสดุ (BOM)

สำหรับการออกบิลสำหรับวัสดุ (Bill of Material) ถือเป็นเอกสารสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ ลองจินตนาการเปรียบเทียบดูว่า หากเราต้องนั่งคีย์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวัสดุของโรงงาน ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน.. 

แต่สำหรับ RPA แล้ว นอกจากเรื่องของการทำซ้ำจะเป็นจุดเด่นแล้ว ความแม่นยำของข้อมูลก็เป็นเลิศ กลายเป็นว่าไม่เพียงแค่ลดความเสียหายขององค์กร ทั้งยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งผลก็มาจากการคาดคำนวนผ่านระบบของซอฟต์แวร์นั่นเอง

รายงานด้านข้อมูล (Administration)

การรายงานด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเหมือนกันสำหรับกระบวนการทำธุรกิจ การหยิบใช้ RPA ในส่วนงานของ “แอดมิน” จะทำให้เข้าถึงทุกข้อมูล ทุกรายงาน ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่อยู่ในธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณบริหารธุรกิจได้สอดคล้องกับรายงาน ทำให้การตัดสินที่จะจัดการในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้น

ลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ทั้ง ๆ ที่คำนิยามในเรื่องของ “หุ่นยนต์” แต่กลับเกี่ยวเนื่องกับการทำ CRM (Customer Relationship Management) อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องขอบคุณในความแม่นยำของข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้อย่างครบถ้วนภายในธุรกิจของคุณโดยเทคโนโลยี RPA ไม่มีข้อแม้ทั้งในเรื่องของติดตามสินค้า การวิจารณ์เกี่ยวกับตัวโปรดักต์ จนไปถึงเรื่อง ๆ อื่น ที่ใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อสนับนุนลูกค้าของธุรกิจคุณ หรือจะเป็นในเรื่องของการแก้ไขสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง พร้อมให้คุณรับทราบได้อย่างทันท่วงที

บริหารระบบขนส่ง (Logistics)

การจัดการบริหารระบบขนส่งภายในธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งในงานหินของอุตสาหกรรมแขนงนี้ กระบวนการที่มีความหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลอันแสนซับซ้อน บอกเลยว่า RPA นั้นยินดีอย่างมากในการช่วยเหลือ การผสานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ตลอด ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่คุณจะได้คือศักยภาพในการส่งขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

ทั้งในรายงานทางเลือกที่เหมาะสม ความคุ้มทุน การประกัน และสิ่งสำคัญอย่างระยะเวลาในการขนส่ง แถมยังสามารถติดตามการขนส่งได้แบบ Real-Time หลายขั้นตอน หลายประโยชน์ที่จะได้รับขนาดนี้ แล้วมันมีเหตุผลไหนที่จะทำให้คุณไม่เลือกใช้ RPA ล่ะ..

RPA คืออะไร

จัดการระบบข้อมูลด้วย RPA สู่ชิ้นงานคุณภาพในราคาที่เหมาะสม

การใช้งาน RPA เป็นซอฟต์แวร์ช่วยดำเนินธุรกิจ มีประโยชน์มากมายและช่วยยกระดับในทุกโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังที่กล่าวไปแล้ว ในส่วนของโรงกลึงพี-วัฒน์ เราก็ยังคงมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในเรื่องของความเอาใจใส่ในลูกค้า ความตรงต่อเวลา การมีระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงแบบนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในกระบวนการอื่นแล้ว ยังทำให้เราสามารถผลิตสินค้าด้วยวัสดุคุณภาพสูงภายใต้ราคาที่เหมาะสมได้อยู่เสมอตลอดระยะเวลาที่เปิดบริการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลคุณภาพ :

RPA Industry Reference (bluefishsolution.com)

How RPA can be utilized in Manufacturing Sector – PLM,ERP,IIoT – Neel SMARTEC Consulting

RPA for the Manufacturing Industry – Manufacturing Automation | UiPath