Skip to content

พลังงานไฮโดรเจน พลังงานแห่งอนาคต (จริง ๆ หรอ ?)

หากพูดถึงพลังงานแห่งอนาคตเชื่อว่าต้องมีลิสต์ของ พลังงาน ไฮโดรเจน ติดอันดับอยู่ด้วยอย่างแน่นอน เพราะเป็นอีกแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพและสามารถตอบโจทย์ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำไปสู่การสร้างมลพิษในอากาศได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากไฮโดรเจนสามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบทางธรรมชาติหลายแหล่งด้วยกัน

พลังงานไฮโดรเจน
Image by freepik

ประโยชน์ของการเลือกใช้ พลังงานไฮโดรเจน

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า การเลือกใช้ ไฮโดรเจน มาเป็น พลังงานทดแทน เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีอีกทางหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้วก็ยังมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกหลายด้านด้วยกัน ดังนี้

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การใช้ไฮโดรเจนมาเป็นเชื้อเพลิงจะช่วยลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และ ก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ เพราะการผลิตไฮโดรเจนจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม สามารถเปลี่ยนให้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานที่สะอาดและรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ประสิทธิภาพสูง

เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Fuel Cell) มีประสิทธิภาพที่สูงในการแปลงพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการผลิตและการใช้งานได้อีกด้วย

ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล

การใช้ไฮโดรเจนมาเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล สามารถช่วยลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบจากการขุดเจาะและการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและดินได้อีกด้วย

การผลิตคาร์บอนลดลง

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนที่ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอน เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนในการแยกน้ำด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ซึ่งสามารถทำให้ได้ไฮโดรเจนที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดเก็บและการขนส่ง

ไฮโดรเจนสามารถถูกจัดเก็บและขนส่งได้ง่ายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๊าซ ไฮโดรเจนเหลว หรือสารประกอบทางเคมีอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้การใช้งานไฮโดรเจนสามารถทำได้สะดวกในหลากหลายรูปแบบตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ

สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด

การลงทุนและการวิจัยในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยี ไฮโดรเจน สามารถช่วยกระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตและการใช้งานไฮโดรเจน , การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิตไฮโดรเจนให้มีต้นทุนที่ต่ำลง เป็นต้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นทำให้ พลังงานไฮโดรเจน ถือว่าเป็นพลังงานแห่งอนาคต ที่มีศักยภาพสูงอย่างมากในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์ด้านการพัฒนาให้เป็นไปได้อย่างยั่งยืน

แหล่งไฮโดรเจน ที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือก

การเลือกใช้ไฮโดรเจนมาเป็นพลังงานทางเลือก นั้นสามารถเลือกแหล่งที่นำมาสังเคราะห์จากวัตถุดิบทางธรรมชาติได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งในส่วนของแหล่งวัตถุดิบทางธรรมชาติที่จะนำมาสังเคราะห์นั้น มีแหล่งที่มาหลัก ๆ รวมไปถึงมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

การแยกน้ำด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) 

ใช้พลังงานไฟฟ้าในการแยกน้ำ (H2O) ออกเป็นไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2) ซึ่งถ้าหากใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม กระบวนการนี้จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

พลังงานไฮโดรเจน
Image by pvproductions on Freepik

การปฏิรูปก๊าซธรรมชาติ (Steam Methane Reforming – SMR)

กระบวนการนี้จะใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซมีเทน (CH4) จากแหล่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาผลิตไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการนี้ถือว่าเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ด้วย

การปฏิรูปชีวมวล (Biomass Reforming)

ใช้ชีวมวล เช่น เศษไม้ เศษพืช หรือขยะอินทรีย์ มาผ่านกระบวนการแยกไฮโดรเจน วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแต่ทั้งนี้กระบวนการผลิตก็ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนายังไม่สมบูรณ์

การใช้พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Hydrogen Production)

ใช้พลังงานความร้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฮโดรเจนผ่านกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสหรือกระบวนการเคมีความร้อน (Thermochemical Processes) วิธีนี้สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ในปริมาณมากแต่มีข้อจำกัดในเรื่องของความปลอดภัยและการจัดการของเสียที่ได้จากนิวเคลียร์

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยตรง (Photoelectrochemical Water Splitting)

ใช้แสงอาทิตย์ในการแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งวิธีนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย แต่ถ้าหากประสบผลสำเร็จก็จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูงมากเลยทีเดียว

การใช้จุลินทรีย์และสาหร่าย (Biological Hydrogen Production)

ใช้จุลินทรีย์หรือสาหร่ายในการผลิตไฮโดรเจนผ่านกระบวนการทางชีวเคมี เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ส่งผลดีต่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม

มีเมื่อพร้อม.. หรือพร้อมเมื่อมี ?

แต่ละแหล่งพลังงานและวิธีการสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่กล่าวไปนั้นล้วนมีศักยภาพรวมไปถึงความเหมาะสมที่ต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม ทรัพยากรที่มีอยู่ และเทคโนโลยีที่ใช้ ซึ่งถ้าหากเลือกใช้แหล่งไฮโดรเจน ที่มีความเหมาะสมก็จะช่วยทำให้การผลิต พลังงานไฮโดรเจน เพื่อนำมาเป็นพลังงานทางเลือกทดแทนสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเลยทีเดียว

เห็นแบบนี้แล้ว.. ทำให้ โรงกลึง พีวัฒน์ของเรานอกจากจะกำลังติดตามกระแสนิยมและความเป็นไปได้ของการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ขับเคลื่อนรถยนตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการขนส่งแล้ว คราวนี้ยิ่งทำให้ตื่นเต้นไปใหญ่ หากโลกของเรามีพลังงานหลายรูปแบบให้เลือกใช้ทดแทนกันและกันได้ แน่นอนหากพังงานไฮโดรเจนนี้เกิดขึ้นจริงและจับต้องได้ โรงกลึงของเราก็จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงาน เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและระบบอุตสาหกรรม

Cover Image : Image by wirestock on Freepik

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (5) artificial intelligence (3) CNC Machining (7) CNC Machining Center (8) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) sustainability (3) ก๊าซเรือนกระจก (3) งานกลึง (3) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ประหยัดพลังงาน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (6) พลังงานทดแทน (3) พลังงานหมุนเวียน (3) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (3) รถยนต์ไฟฟ้า (3) รักษ์โลก (6) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (5) วันแม่แห่งชาติ (2) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (6) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (6) เครื่องกลึง CNC (8) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทคโนโลยีโรงงานอุตสาหกรรม (2) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)