Skip to content

เทรนด์อุตสาหกรรม 2021 จากยุคเดิมสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ผ่านมุมมองสื่อดัง Forbes

ทุกการวิวัฒน์.. แม้มันต้องใช้เวลาในการปรับตัวเข้าหาสิ่งใหม่ที่จะกลายเป็นแนวทางในการอยู่รอดตามช่วงเวลานั้น ๆ แต่สิ่งที่ตามมาล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์มหาศาลหากว่าคุณก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดแห่งการพัฒนาเหล่านั้นได้ เหมือนกับที่อุตสาหกรรม 4.0 ที่เพิ่งจะถูกพูดถึงไม่นาน แต่กลับกลายเป็นว่าอาจโดนอัปเกรดไปสู่ยุค อุตสาหกรรม 5.0 อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้เป็นเพราะมีวิกฤตการณ์ โควิด – 19 เป็นตัวเร่งสิ่งต่าง ๆ ให้รุดหน้ายิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว จนเทรนด์โลกตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมชนิดใด “ปัญญาประดิษฐ์” (AI : Artificial Intelligence) เป็นสิ่งที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ “มนุษย์” อย่างเราต้องผนึกกำลังกับสิ่งนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจของตนเอง

ในขณะที่ “Forbes” จ้าวแห่งสื่อธุรกิจการเงินแห่งสหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์เทรนด์ใหม่ของโลกธุรกิจผ่านมุมมองของพวกเขา สิ่งที่น่าสนใจจากผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจมากว่า “ศตวรรษ” จะน่าสนใจขนาดไหน เราได้นำมาย่อยให้คุณได้อัปเดตไปพร้อม ๆ กัน ผ่านบทความนี้แล้ว..

อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร ยังมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนกับสถานการณ์ทุกวันนี้?

อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร.. ในช่วงรอบปีที่ผ่านมาคาดว่าหลายคนที่ข้องแวะเกี่ยวกับการทำธุรกิจน่าจะได้ยินคำนี้มากันพอสมควร ต่อให้ไม่รู้จักมักจี่อย่างถ่องแท้แต่เชื่อเหลือเกินว่าต้องเคยผ่านหูกันมาไม่บ้างก็น้อย 

อุตสาหกรรม 5.0

ซึ่งเจ้า “อุตสาหกรรม 4.0” นี้หลัก ๆ คือเรื่องของการปฏิวัตโลกแห่งการผลิต ที่หากคุณรู้จักกลไกลโครงสร้างของเขาจะทำให้เห็นภาพรวมต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน กระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณลดต้นทุน ทุ่นแรงจากการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูง กลายเป็นคีย์แมนแห่งอุตสาหกรรมการผลิตไปโดยปริยาย

และดังที่กล่าวไป เพียงแค่พารากราฟสั้น ๆ ก็น่าจะทำให้คุณพอเห็นความสำคัญของสิ่งนี้แบบที่เราไม่ต้องอธิบายอะไรให้ยืดยาว

มุมมองจากสื่อ “จ้าวแห่งธุรกิจการเงิน” ต่อเทรนด์โลกธุรกิจและอุตสาหกรรม 5.0 ในอนาคต

ส่วนที่เราได้พูดค้างเอาไว้ในช่วงต้นของบทความว่า “Forbes” ได้มองถึงเทรนด์ของการผลิตในปี 2021 ที่จะเข้ามาเป็นบทบาทสำคัญของธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท เพื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 โดยแท้จริง สรุปได้ว่ามี 6 ปัจจัยหลัก ดังนี้

  1. Glocalization เป็นการฟิวชั่นกันระหว่างคำว่า Globalization X Localization พูดแบบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือการผสมผสานแนวทางสากลสู่ความเป็นระบบท้องถิ่น เหตุผลหลักก็มาจาก โควิด – 19 อีกนั่นแหละ ที่ทำให้การขนส่งต่าง ๆ เป็นได้ยาก ทำให้หนทางอยู่รอดจำต้องหาซัพพลายเออร์ท้องถิ่นที่มีศักยภาพระดับสูงมาคัฟเวอร์สิ่งที่ขาดหายไปในช่วงนี้ 
  1. ปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี สิ่งที่ทุกองค์กรง่วนอยู่กับกระบวนการนี้ โลกแห่งธุรกิจถูกบังคับให้อัพเกรดในความ “คล่องตัว” หลายสิ่งหลายอย่าง การประสานงาน รวมถึงชุดข้อมูลหากเป็นแบบ “Real-Time” ได้ยิ่งนี้ สิ่งนี้จะทำให้ทุกธุรกิจ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลแน่นอน
  1. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อีกหนึ่งพระเอกของช่วงเวลาหลังโรคระบาด การแก้ปัญหาของความขาดแคลน “ซัพพลายเชน” ถูกสิ่งนี้เข้ามาทดแทนได้อย่างเฉียบขาด ตัวอย่างที่โลกประจักษ์เลยนั่นก็คือการเพิ่มผลผลิตอุปกรณ์การแพทย์แบบรวดเร็ว ซึ่งก็ได้คุณสมบัติพิเศษของสิ่งนี้เข้ามาเติมเต็มได้แบบไร้รอยต่อ
  1. ความสำคัญโครงสร้างพื้นฐาน IT ตรงจุดนี้เคยพูดถึงไปแล้วในบทความก่อน เป็นระบบแรก ๆ ที่จะถูกปรับปรุงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเทรนด์โลกอุตสาหกรรมสมัยใหม่ การปรับขนาดให้เหมาะสมต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูล บริการ วิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ขนไปถึงระบบภายในต่าง ๆ จำต้องตอบสนองต่อโครงสร้างนี้ได้เป็นอย่างดี
  1. การลงทุนที่เพิ่มขึ้นของ IIOT เนื้อหาจาก Forbes ได้นำเสนอสิ่งที่ Rockwell Automation ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดนี้จะเติบโตมากเกือบ 2 เท่าตัว ในปี 2020 – 2025 จากมูลค่า 77.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 110.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่น่าสนใจมากขึ้นเป็นตัวเลข 75% ที่ผู้ผลิดมีแพลนจะเพิ่มการลงทุนด้วยระบบอัฉริยะนี้ในปีต่อ ๆ ไป
  1. ปัญญาประดิษฐ์ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ที่ต้องบอกเช่นนี้ เนื่องจากแม้จะเป็นระบบอัฉริยะแต่ก็ยังมีจุดบอดให้เห็นกันอยู่ ดังนั้น ต่อให้เป็นมาตรฐานหลักที่ควรค่าแก่การพัฒนาก็ยังคงต้องทำงานร่วมกับมนุษย์ที่เป็นฝ่ายกำหนดความต้องการด้วยความเข้าใจต่อสถานการณ์โลกอย่างเราคอยควบคุมอีกที ทุกการประสานงานอันไหลลื่นจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่คาดไม่ถึง โดยเฉพาะความสุดยอดของเซนเซอร์ IIOT สามารถสร้างข้อมูลมากกว่า 1.44 พันล้านตำแหน่งต่อข้อมูลโรงงานในหนึ่งวัน โดยตัวเลขนี้ทำให้หลายอุตสาหกรรมตระหนักว่าการบูรณการสิ่งนี้นั้นดีอย่างไร นี่เป็นเหตุผลที่หลายองค์กรผู้ไม่เคยอิดออดต่อการวิวัฒน์ นั้นมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดอยู่เสมอ
อุตสาหกรรม 5.0

จาก 4.0 ถึง 5.0 “ช้าหรือเร็วไม่เกี่ยว” หากแต่พร้อมรับมือ “ผลลัพธ์ล้วนดีเสมอ”

ทางเรา โรงกลึงพี-วัฒน์ นั้นก็ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต รองรับทุกความต้องการของลูกค้ามาเสมอ มีการพัฒนาเกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม อย่างเครื่อง CNC Machining Center ที่เราได้นำให้บริการลูกค้ามาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก็สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ Forbes มองว่าจะเป็นเทรนด์ต่อ ๆ ไป เป็นสิ่งที่ตอกย้ำได้ว่าการบริหารงาน การดำเนินการของธุรกิจเราเป็นไปตามฉบับสากลมาโดยตลอด

ฉะนั้น มั่นใจได้เลยไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังถูกพูดถึง หรือจะก้าวสู่อุตสาหกรรม 5.0 ในเร็ววันนี้ จากการเชื่อต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และระบบอัฉริยะปัญญาประดิษฐ์ ที่นี่พร้อมปรับตัวก้าวทันทุกยุคเพื่อรับรองทุกความต้องการ ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกบริการแบบครบครัน 100 เปอร์เซนต์

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (4) artificial intelligence (3) CNC Machining (6) CNC Machining Center (7) electric vehicle (2) IIoT (2) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) Robotic Process Automation (2) Robotics (2) SpaceX (2) การขนส่ง (2) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (5) พลังงานหมุนเวียน (2) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (2) รถยนต์ไฟฟ้า (2) รักษาสิ่งแวดล้อม (2) รักษ์โลก (5) ลดมลพิษ (2) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (4) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (5) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (5) เครื่องกลึง CNC (7) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)