Skip to content

ทำความรู้จัก Beacon หนึ่งใน IoT น่าสนใจ ที่มูลค่าตลาดอาจสูงระดับหมื่นล้าน!

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดีหากเราเอ่ยถึง GPS แต่สำหรับ Beacon (บีคอน) อาจมีเลิ่กลั่กกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีบนหมวด IoT (Internet of Things) และเมื่อมีการกล่าวถึงจำพวกนี้ สิ่งที่คุณจะได้รับจากพวกเขาเหล่านี้คือการยกระดับธุรกิจในยุคของเทคโนโลยีแน่นอน

คำถามคือ.. ทำไมวันนี้เราถึงอยากจะนำเรื่องนี้มาบอกเล่าแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน เพราะอันที่จริงแล้วสถานะของ Beacon ในปัจจุบันนั้นมีอิทธิพลกับสองอุตสาหกรรมที่ได้รับคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้มากที่สุด คือ “การค้าปลีก” และ “การตลาด”

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ข้อมูลล่าสุดจาก Global Market Insights ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดของ “Beacon” จะเติบโตเกิน “สองหมื่นห้าพันล้าน” ในปี 2025 แล้วหน่วยเงินที่ว่านี่หมายถึง “ดอลลาร์สหรัฐ” มันทำให้เราไม่อาจจะมองข้ามได้จริง ๆ 

ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักหรือเคยได้ยินแค่คร่าว ๆ อยากรู้แล้วว่าสิ่งนี้คืออะไร มีบทบาทอะไรต่อธุรกิจได้บ้าง.. เรามาเริ่มกันเลยนับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป!

Beacon คืออะไร ?

อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้น Beacon นั้นเป็นหนึ่งในจำพวกเทคโนโลยี IoT ส่วนหลักการทำงานของสิ่งนี้นั้นจะมีความคล้ายเทคโนลียี RFID แต่จะแตกต่างกันตรงที่ RFID จะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ ส่วน Beacon นั้นสัญญาณหลักของตัวอุปกรณ์คือการใช้ บลูทูธ (Bluetooth) โดยทั้งสองสิ่งนี้นั้นมีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นก็เพื่อการใช้งานในที่ที่ GPS นั้นเข้าไม่ถึง หรือไม่สมารถระบุตำแหน่งได้อย่างแน่ชัด เช่น ห้างร้าน อาคารต่าง ๆ เป็นต้น

Beacon

หลักการทำงานและประเภทของ Beacon

หลักของ Beacon หัวใจคือการกำหนดตำแหน่งพื้นที่ภายในและภายนอกในระยะใกล้ ร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ของ IoT กล่าวคือสิ่งนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด ใช้เพื่อตรวจจับการมีอยู่ของมนุษย์ในบริเวณใกล้เคียง หรือสิ่งของก็ได้เช่นกัน เช่น อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจติดไว้ที่เครื่อง CNC ภายในพื้นที่การผลิตของโรงกลึง เพื่อกำหนดตำแหน่งของ asset นั่นๆ จากนั้นเพื่อใช้ประโยชน์ต่อในด้านการส่งข้อมูลที่เราได้กำหนดเอาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อมอบสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของคุณ นั่นหมายถึง Beacon ต้องทำงานร่วมกับระบบหลังบ้านที่สามารถกำหนดตั้งค่าใด ๆ ได้ เสมือนแอพลิเคชั่นนึงนั่นเอง

แล้วเจ้า Beacon นี้ทำงานอย่างไร ?

Beacon ทำงานร่วมกับระบบแอพลิเคชั่นหลังบ้าน แต่เราจะขอข้ามในส่วนของการกำหนดค่าด้วยซอฟต์แวร์เอนจิเนียร์ไปก่อน เพราะมันจะลงลึกในเชิงของการพัฒนาโปรแกรมมิ่งจนเกินไป การตั้งค่าในส่วนนี้ต้องใช้ความชำนาญรวมถึงข้อมูลธุรกิจที่แตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรม แต่โดยหลักแล้วกระบวนการและปลายทางต่างต้องการผลลัพธ์จากสิ่งนี้เหมือนกันแทบทั้งหมด

ส่วนการทำงานจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ เพื่อให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ณ จุดดังกล่าวเป็นคนตัดสินใจขั้นตอนสุดท้ายว่าจะรับการแจ้งเตือนจากสิ่งนี้หรือไม่ แต่ปัญหาที่พบโดยมาก ยังมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่น้อยเลยที่ไม่ได้เปิดบลูทูธตลอดเวลา 

ดังนั้น ชาเลนจน์ของผู้พัฒนาคือการบอกเล่าสิ่งที่น่าสนใจ รวมถึงประสบการณ์เต็มรูปแบบที่จะได้รับจากการเปิดใช้งานแจ้งเตือนของ Beacon ซึ่งก็เป็นด่านแรกที่จำเป็นต้องกระตุ้นเพื่อขอให้ผู้ใช้งานเปิดบลูทูธ และยังเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดหากต้องใช้สอยประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ

Beacon

ประเภทของ Beacon ณ ปัจจุบัน

Beacon นั้นมีมากหมายหลายประเภท รวมถึงขนาดต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจ เลือกได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

  • แบบมาตรฐาน เป็นแบบระยะใกล้ใช้สำหรับติดตามในตัวอาคาร โดยอุปกรณ์จะมีขนาดพอ ๆ กับ เราเตอร์ Wi-Fi อาจเล็กหรือใหญ่กว่านิดหน่อย
  • แบบพกพา / ขนาดเล็ก ใช้สำหรับติดตามสิ่งของโดยส่วนใหญ่ รวมถึงใช้เป็นเซนเซอร์วัดระยะความใกล้ชิดของคนรวมถึงสิ่งของ มีขนาดประมาณบัตรเครดิต
  • แบบ USB ขนาดเล็กลงไปอีก ใช้สำหรับการติดตามทรัพย์สินเช่นกัน แต่ด้วยขนาดและการออกแบบทำให้ปรับใช้ได้สะดวกขึ้น พกพาง่าย หยิบจับใช้งานได้เร็ว
  • แบบวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เสียบด้านหลังหน้าจอ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพตามบริบทต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการจัดแสดงภาพ หรือ ข้อมูลสินค้าแบบภาพเคลื่อนไหว
  • แบบสัญญาณ AI อุปกรณ์นี้มีความสามารถในการเรียนรู้สูงจะช่วยจับการเคลื่อนไหวท่าทางต่างของทุกสิ่งที่ต้องการได้
  • แบบสติกเกอร์ อีกหนึ่งแบบที่ใช้สำหรับติดตามทรัพย์สิน สามารถออกแบบได้ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ต้องการ
  • แบบเฉพาะ ออกแบบเฉพาะสำหรับสถานที่รวมถึงการใช้งานตามต้องการ มักใช้การติดตามภายนอก มีการใช้วัสดุที่มีความทนทานสูง เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อเทคโนโลยี
  • Parent Beacon ใช้เพื่อติดตามอุปกรณ์ Beacon อื่น ๆ อีกที และสำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเก็บเอาไว้ในคลาวด์เซิฟเวอร์ รวมถึงปัจจัยอื่น

ทุกประเภทที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ มีการปรับ มีการประยุกต์อยู่เสมอ และคาดว่าจะมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคตต่อไป เพื่อให้เข้ากับธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้มีทางเลือกการใช้งานมากยิ่งขึ้น

Beacon

ทิศทางของ Beacon เทคโนโลยี ในอนาคต

อย่างที่ย้ำอยู่เสมอว่า Beacon นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย IoT ในยุคที่ “สมาร์ทโฟน” เปรียบเสมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย นวัตกรรมที่ถูกเรียกว่า “Beacon เทคโนโลยี” ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้อย่างน่าตื่นเต้น จากที่เคยถูกคาดการณ์เอาไว้เมื่อปี 2015 ว่าสิ่งนี้จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สุดท้ายแล้วถูกพิสูจน์ด้วยกาลเวลาว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจได้จริง 

รวมถึงความน่าสนใจที่เราได้กล่าวไว้ช่วงต้นว่าตลาดของ Beacon นั้นอาจสูงถึงระดับแตะหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 หากมองจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน อีกแค่ 4 ปี เท่านั้นก็จะได้รู้กันแล้วว่าเทคโนโลยีนี้จะมีมูลค่ามหาศาลอย่างที่กล่าวจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้ระหว่างทางทั้งกับผู้พัฒนาและผู้ใช้ เต็มไปด้วยประโยชน์นานัปการอย่างที่หลายธุรกิจ หลายอุตสาหกรรมคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้

สำหรับแวดวงอุตสาหกรรมโรงงานเองก็ต้องติดตามเทคโนโลยีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นประโยชน์มากกับการพัฒนากระบวนการทางวิศวกรรม เพื่อพัฒนาปรับปรุงจากกระบวนการเดิมให้ทันสมัย และช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าเดิม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคและสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้เช่นกัน นับว่าต้องจับตาดูกันเลยที่เดียวว่าจะมี Beacon อะไรใหม่ๆ ออกมาในตลาดบ้านเราและมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจ …เริ่มก่อน สำเร็จก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาดี ๆ จาก https://www.intellectsoft.net/blog/what-are-beacons-and-how-do-they-work 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (5) artificial intelligence (3) CNC Machining (7) CNC Machining Center (8) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) Robotics (2) sustainability (3) ก๊าซเรือนกระจก (3) งานกลึง (3) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) ประหยัดพลังงาน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (6) พลังงานทดแทน (3) พลังงานหมุนเวียน (3) พลังงานแสงอาทิตย์ (2) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (3) รถยนต์ไฟฟ้า (3) รักษาสิ่งแวดล้อม (2) รักษ์โลก (6) ลดมลพิษ (2) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (5) วันแม่แห่งชาติ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (6) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (6) เครื่องกลึง CNC (8) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)