กรณีศึกษา IoT เพื่อเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรม

กรณีศึกษา iot

จากบทความก่อนหน้านี้ ที่พวกเราโรงกลึงพีวัฒน์สาธยายเกี่ยวกับความดีงามของ Internet of Things ว่าดีอย่างไร มีบทบาทกับอุตสาหกรรมมากแค่ไหน รวมถึงมูลค่าการตลาดที่ได้เห็นแล้วต้องอ้าปากค้าง แถมจากการคาดการณ์ผ่านสื่อดังและองค์กรทั้งหลายแหล่ ต่างมองเหมือนกันว่าศักยภาพของสิ่งนี้คงไม่หยุดอยู่เท่านี้แน่ ๆ มีแต่จะพัฒนาต่อขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปทุกวัน ซึ่งเราก็เชื่อว่าใครที่ได้อ่าน อาจจะยังนึกภาพตามได้ไม่ชัดนัก หากมีตัวอย่างที่สามารถหยิบใช้ IoT ได้อย่างชัดเจน คงจะทำให้ถึงบางอ้อและอินกับนวัตกรรมนี้ได้ไม่ยาก

ย้อนกับไปอ่าน “5 เทรนด์ยอดนิยม ประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) กับอุตสาหกรรมการผลิต” คลิก

ด้วยเหตุนี้เอง เนื้อหาที่เราจะนำมาเสนอวันนี้ เป็นกรณีศึกษา IoT ของ Seeed ที่ได้ออกมาเล่าเรื่องรางการผสมผสาน IoT เข้ากับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมผ่านทางเว็บไซต์หลัก เป็นเนื้อหาที่มีความน่าสนใจมากและน่าจะทำให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มองเห็นประสิทธิภาพของ Internet of Things ได้เป็นรูปธรรมขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว

กรณีศึกษา iot

Seeed Studio คือใคร ?

อันดับแรกเลย.. อยากให้เรามาทำความรู้จักกับ “Seeed Studio” กันก่อนที่จะเริ่มไปติดตามกรณีศึกษา IoT ผ่านการใช้งานในอุตสาหกรรมของพวกเขา โดยบริษัทนี้เป็นสตาร์ทอัพที่ออกแบบเกี่ยวโครงสร้างของอุตสาหกรรมผลิตทางการเกษตร เรียกว่าเป็นการวางแผนเกี่ยวกับธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นจนเกิดเป็นโปรเจกต์ จบครบในที่เดียว เปรียบเสมือน “เมล็ดพันธุ์” ดังชื่อแบรนด์ของพวกเขา และให้บริการทางด้านนี้มานนับทศวรรษ 

จากสตาร์ทอัพ ณ เมืองเสินเจิ้น สู่การเป็นที่ยอมรับของหลากหลายบริษัท ทำให้พวกเขาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆ โปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ IoT ซึ่งก็ด้วยแนวคิดการพัฒนาธุรกิจของพวกเขาที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอนั่นเอง โรงกลึงพีวัฒน์เองก็ศึกษาโมเดลธุรกิจของ Seeed Studio ในด้านการทำดิจิตัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางการนำมาปรับใช้ในโรงงานของเราอีกด้วย

Seeed กับอุตสาหกรรมการผลิต

ที่ผ่านมานั้นพวกเขาได้มีการศึกษาเรื่องของการปรับใช้ IoT สู่อุตสาหกรรมการผลิตมาโดยตลอด เนื่องด้วยการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่สุดจากมุมมองของการหยิบใช้ IoT ซึ่งสามารถนำการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไปสู่การดำเนินงานด้านการผลิตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดการและบำรุงรักษา สินทรัพย์การผลิต รวมถึงบริการภาคสนาม นอกเหนือจากการอนุญาตให้ตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินเงินด้วยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว IIoT บนอุตสาหกรรมในการผลิตยังสามารถใช้เพื่อให้บริการจากระยะไกลได้อย่างเป็นอิสระที่สุด จนนำมาสู่การเกิดโปรเจกต์ของพวกเขาดังต่อไปนี้

กรณีศึกษา iot

การผลิตภาคสนามด้วย Odyssey x86J4105

Odyssey x86J4105 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) ที่ทรงพลังมาพร้อมกับอินเตอร์เฟซการสื่อสารที่หลากหลาย ซึ่งทำให้กลายเป็นตัวเลือกในอุดมคติสำหรับการใช้แอปพลิเคชั่นที่หลากหลายของระบบการประมวลผลขนาดเล็ก (Edge Computing) และสิ่งนี้แหละที่ Seeed ได้ช่วยลูกค้าของพวกเขาสร้างเครื่องทำน้ำผลไม้อัจฉริยะ

เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติอัจฉริยะที่พวกเขาได้เนรมิตขึ้น สามารถทำผลไม้คั้นสดให้กับลูกค้าแบบออโต้ได้ทันทีเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นตัวอย่างที่ดีของการผลิตภาคสนามที่เปิดใช้งาน IoT ทางอุตสาหกรรม โดยเครื่องจะมีแกนประมวลผลของตัวเองสำหรับใช้ควบคุมอินเตอร์เฟซและแอคทูเอเตอร์ (Actuators) ของเครื่องผลิต ทั้งหมดนี้เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์เพื่อให้ตรวจสอบและบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย

อุตสาหกรรมทางการเกษตร ร่วมกับ BeagleBone® Green

โปรเจกต์นี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Seeed กับ BeagleBoard.org ได้รับสิทธิพิเศษโดยมอบหมายให้ใช้งานตัวควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ IoT สำหรับอุตสาหรรมสัตว์ปีกและฟาร์มของลูกค้าของพวกเขาด้วย BeagleBone® Green สิ่งนี้เป็นการอิงจากการออกแบบโอเพนซอร์สของ BeagleBone Black มีตัวเชื่อมต่อกับ Grove สองตัวเพื่อการปรับใช้บนโมดูลเซ็นเซอร์และการเชื่อต่ออินเตอร์เนตผ่านอีเธอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย

ซึ่งโซลูชั่นที่ว่านี้ให้การเชื่อมต่อระหว่างระบบการเกษตรกับคลาวด์ ทำให้ตรวจสอบข้อมูลระยะไกลแบบเรียลไทม์ได้อยู่เสมอ ทั้งการวัดสภาพแวดล้อมที่ทำได้ดีและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ส่งผลด้านเทคนิคช่วยให้เงื่อนไขการปรับใช้ทางการเกษตรทำได้อย่างเหมาะสมเมื่อมีการใช้งานอยู่เรื่อย ๆ ตลอดจนการประมวลผลเพื่อปรับปรุงผลผลิต

ยกระดับการขนส่งด้วย BeagleBone® Green x IIoT

อย่างที่เคยกล่าวไว้เมื่อบทความก่อนว่า IoT นั้นสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี คาดการณ์ได้เกือบจะทุกสิ่งอย่างที่คุณต้องการให้ประเมิน และสิ่งนี้เองที่ Seeed นำมาปรับใช้เข้ากับ BeagleBone® Green ด้วยการปรับแต่งเล็กน้อยเพื่อใส่ฟังก์ชั่นการจ่ายพลังงานผ่านอีเธอร์เน็ต (PoE) และอินเตอร์เฟซ I/O เพิ่มเติม ทำให้พวกเขาสร้างโซลูชั่น IIoT แบบกำหนดเอง สำหรับรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นระหว่างการขนส่งผลิตภัณฑ์สด ทำให้สามารถติดตามเส้นทาง ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงคุณภาพของสินค้าได้ตลอดกระบวนการ

การทำงานของโซลูชั่นนี้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกอัพโหลดไปยังระบบคลาวด์เช่นเคย ทั้งนี้ก็เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ การทำเช่นนี้จะช่วยให้สามารถระบบช่องโหว่งในการขนส่งได้อย่างตรงจุด โดยรวมแล้วการประยุกต์ใช้ IoT เชิงอุตสาหกรรมด้านลอจิสติกส์นี้ นอกจากป้องกันค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้ว สิ่งสำคัญที่เพิ่มขึ้นมาคือประสิทธิภามรวมในการกระจายผลิตภัณฑ์ที่เทคโนโลยีเข้ามายกระดับได้แบบมากโขเลยทีเดียว

นับว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกรณีศึกษา IoT บนอุตสาหกรรมการผลิตที่น่าสนใจอย่างมาก และนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของบริษัทสตาร์ทอัพที่ใช้ Internet of Things เข้ามายกระดับธุรกิจของพวกเขา ซึ่งแต่ละอย่างที่กล่าวมาไม่ใช่แค่เพียงการช่วยเซฟต้นทุนเพื่อที่จะทำให้คุณมีกำไรได้มากขึ้น แต่ยังลดเวลาอันเป็นทรัพยากรที่มีค่ามหาศาล ทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ ก่อนวิเคราะห์ออกมาอย่างชาญฉลาด และเชื่อเราเถอะว่าในอนาคต IoT จะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และมีเรื่องมาให้เราประหลาดใจแบบไม่พักแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับเนื้อหาต่าง ๆ มา ณ ที่นี้

https://www.seeedstudio.com/blog/2021/02/24/what-is-industrial-iot-case-studies/