เหมือนเคยพูดถึงเรื่องหุ่นยนต์มาบ้างแล้ว แต่สิ่งที่จะนำมาเสนอวันนี้ เรียกได้ว่าเป็นเทรนด์ “ล่าสุด” ของอุตสาหกรรมนี้ ต้นสายปลายเหตุมาจากความว้าวจากรายงานที่ว่า “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ทำสถิติใหม่ประมาณ 3 ล้านหน่วยทั่วโลก เป็นการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 13% ในแต่ละปี นับตั้งแต่ ค.ศ. 2015-2020
จากตัวเลขดังกล่าว สหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติได้วิเคราะห์แนวโน้ม ที่ทำให้อุตสาหกรรมประเภทนี้รวมถึงระบบอัตโนมัติทั่วโลก ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ เอาไว้อย่างน่าสนใจโดย ประธานสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ มิลตัน เกอร์รี่ ได้พูดถึงเรื่องนี้สั้น ๆ ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะทั้งอุตสาหกรรมดั้งเดิม หรือแบบใหม่ เป็นเพราะหลายบริษัทนั้นเริ่มตระหนักถึงข้อดีมากมายที่หุ่นยนต์นั้นพร้อมมอบให้กับธุรกิจของพวกเขา ซึ่งก็เป็นเนื้อหาที่พวกเราจะได้ติดตามไปพร้อมกันในวันนี้…
มีอุตสาหกรรมใหม่ “เลือกใช้” หุ่นยนต์มากขึ้น
จะเรียกว่าเป็นการปฏิวัติวงการอีคอมเมิร์ซเลยก็ได้… จากสถิติในปี 2022 มีหุ่นยนต์หลายพันตัวถูกติดตั้งใหม่ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่ไม่อยู่ในการเก็บสถิติเมื่อห้าปีก่อน
ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน บริษัทเคยมองข้ามการใช้ระบบอัตโนมัติ เห็นได้ชัดจากรายงานข้างต้นว่าสิ่งนี้ได้ถูกนำมาพิจารณามาและใช้งานบ้างแล้ว โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ต้องพึ่งพาพนักงานบริการ เช่น ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ที่บางครั้งไม่สามารถตอบสนองตำแหน่งหรือกระบวนการที่ขาดหายไปได้แบบทันที การเลือกลงทุนในระบบอัตโนมัติจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่เราคาดหวังจากกลุ่มนี้
การขนส่ง การก่อสร้าง การเกษตร และอีกมากมาย จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในทุกวัน แม้จะเป็นส่วนงานที่ค่อนข้างใหม่กับระบบอัตโนมัติ แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ผลักดันบริษัทต่าง ๆ ให้ตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลรวมถึงการส่งมอบ เป็นสิ่งที่ธุรกิจนี้ต้องปรับตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้
หุ่นยนต์ถูกปรับให้ใช้งาน “ง่ายขึ้น”
ก่อนหน้านี้การนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาใช้อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่ตอนนี้หุ่นยนต์รุ่นใหม่นั้นใช้งานง่ายกว่ามากแนวโน้มที่ชัดเจนในส่วนของการเชื่อมต่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วยไอคอนต่าง ๆ ผ่านหน้าจออินเทอร์เฟซได้อย่างง่ายดาย และยังมีคำแนะนำแบบละเอียดผ่านคู่มือการใช้หุ่นยนต์ ทั้งหมดผ่านการังสรรค์โดยบริษัทหุ่นยนต์และซัพพลายเออร์ที่เข้ามาเป็น “Third Party” รวมรวบข้อมูลออกแบบแพ็คเกจฮาร์ดแวร์ร่วมกับซอฟต์แวร์เพื่อทำออกมาให้เข้าใจและง่ายที่สุดต่อการใช้งาน
ความเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยการมุ่งเน้นไปที่ระบบนิเวศอันสมบูรณ์ กำลังเพิ่มมูลค่ามหาศาล แถมยังช่วยร่นระยะเวลาดำเนินการ นอกจากนี้ แนวโน้มสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์แบบโลว์คอสต์ ยังมาพร้อมการติดตั้งที่ง่ายดาย
โดยบางแอปลิเคชั่นสามารถกำหนดค่าล่วงหน้าเอาไว้ได้เลย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ซัพพลายเออร์เข้ามาช่วยเสนอโปรแกรมมาตรฐานผ่านแอปสโตร์ เพื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์จับยึด เซนเซอร์ และตัวควบคุม ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนกันและกัน ทำให้การใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีต้นทุนในราคาที่เบาบางกว่าเดิม
ในส่วนของเทคโนโลยีโรบอทหรือเอไอต่าง ๆ โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็สนใจเทคโนโลยีและแอปพลิเคชั่นสำหรับควบคุมการทำงานของโรบอทหรือเอไอเหล่านี้เป็นอย่างมาก สำหรับใช้ประโยชน์ช่วยสนับสนุนและแบ่งเบาภาระให้กับวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานในโรงกลึง และเพื่อที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นจะได้เอาเวลาไปพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ หรือตัดสินใจแก้ปัญหาที่สำคัญ ๆ แทนการทำงานโอเปอเรชั่นหน้างาน
หุ่นยนต์ช่วยมนุษย์ “เพิ่มทักษะ” ได้มากกว่าที่คิด
ด้วยเส้นทางของสายการผลิตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลโดยเน้นไปที่การศึกษาและการฝึกอบรม ทำให้รัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรม รวมถึงบริษัทต่าง ๆ จำนวนมากเล็งเห็นความจำเป็นของการศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นพื้นฐานในระยะเริ่มต้นสำหรับคนรุ่นใหม่นอกเหนือจากการฝึกอบรมพนักงานภายในแล้ว เส้นทางการศึกษาภายนอกยังสามารถปรับปรุงโปรแกรมการเรียนรู้ของพนักงานได้อีกด้วย ยกตัวอย่างผู้ผลิตหุ่นยนต์ เช่น ABB, FANUC, KUKA และ YASKAWA นั้นรวมกันแล้วมีคนลงทะเบียนเข้าร่วมคลาสหุ่นยนต์อุตสาหกรรมระหว่าง 10,000 – 30,000 คนในกว่า 30 ประเทศทุกปี
หากดูแนวโน้มจากการเกิด “Great Resignation” อาจดูเป็นสิ่งที่น่ากังวล แต่บางแง่มุมกลับกลายเป็นว่าวิทยาการหุ่นยนต์กำลังช่วยยกระดับโปรไฟล์ของพนักงานโรงงานให้ดียิ่งขึ้น อาจรวมถึงความต้องการของผู้คนที่อยากทำงานในสภาพแวดล้อมสมัยใหม่ที่พวกเขาสามารถสร้างอาชีพเองได้
ทั้งนี้ โอกาสในการฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับวิทยาการหุ่นยนต์ ยังเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายสำหรับทั้ง “บริษัท” และ “พนักงาน” ต่อจากนี้ งานทำซ้ำอันแสนน่าเบื่อ งานที่ก่อให้เกิดความสกปรก และงานที่เสี่ยงอันตราย สามารถถูกแทนที่ได้ด้วยระบบอัตโนมัติหรือ “หุ่นยนต์” ส่วนของ “ผู้คน” นั้นก็จะเปลี่ยนไปเรียนรู้ทักษะที่สำคัญต่อธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตแทน เป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงาน เพิ่มทักษะ เพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ตลอดอาชีพของพวกเขา
ตอบโจทยธุรกิจ “โลกอนาคต” ได้ด้วยหุ่นยนต์
คาดการณ์ของข้อมูลนี้มองว่า ปี 2022 และปีต่อ ๆ ไป ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตในอนาคต ข้อมูลที่รวบรวมจากกระบวนการอัตโนมัติอย่างชาญฉลาด จะถูกวิเคราะห์โดยผู้ผลิตเพี่อทำการตัดสินใจด้วยสถิติมากขึ้น ด้วยความสามารถของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีการแบ่งปันงานและเรียนรู้ผ่าน AI
บริษัทต่าง ๆ ยังสามารถปรับใช้ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะได้ง่ายขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ไปจนถึงห้องปฏิบัติการด้านการดูแลสุขภาพอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความตึงเครียดทางการค้าและ “โควิด-19” มีการผลักดันให้ภาคการผลิตกลับมาใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น มีสถิติที่เปิดเผยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก สหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติกลับมาทำธุรกิจได้อย่างไร
ข้อมูลของ Association for Advancing Automation (A3) คำสั่งซื้อหุ่นยนต์ในสหรัฐฯ ผ่านไตรมาสที่สามของปี 2021 เพิ่มขึ้นถึง 35%
การเติบโตของสถิติดังกล่าว ไม่ได้เป็นเรื่องของหุ่นยนต์เท่านั้น ระบบการมองเห็นของเครื่องจักร การคุมการเคลื่อนไหว และมอเตอร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก หลายบริษัทมีแนวโน้มว่าจะลงทุนในระบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น และมากที่สุดคือ “อุตสาหกรรมยานยนต์” ซึ่งย้อนไปในช่วงเวลาเดียวกันนี้เมื่อปี 2020 มีคำสั่งซื้อมากกว่าครึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเภทนี้
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ผ่านช่วงนำร่องมาแล้ว ซึ่งตอนนี้ AI สำหรับหุ่นยนต์กำลังเติบโตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และการเรียนรู้ทักษะที่เกี่ยวข้องก็อยู่ในกระแสหลัก เชื่อได้เลยว่าปี 2022 และปีต่อ ๆ ไป การคาดการณ์ที่จะเห็นเทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำไปใช้มากขึ้นในวงกว้างจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจากบทความต้นฉบับจาก https://ifr.org/ifr-press-releases/news/top-5-robot-trends-2022