Skip to content

IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย

เลี่ยงเหตุร้ายได้มากน้อยแค่ไหน? หากพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยด้วย “IIoT”

ก่อนจะเริ่มพูดคุยถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT เราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสดุดีแด่ฮีโร่ผู้เสี่ยงชีวิต และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวทุกคน บนเหตุเพลิงใหม่โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันมานี้

เรื่องของสาเหตุการระเบิดและการเกิดเพลิงไหม้ คงไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึก และก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะได้รับรู้รายละเอียดผ่านข่าวสารจากช่องทางสื่อต่าง ๆ ที่ประโคมกันแบบเรียลไทม์ไม่ขาดสาย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึง “มาตรฐานใหม่” ที่มาพร้อมกับแนวคิดในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยมี IoT เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการผลิต

และแม้ว่าสิ่งที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับกับเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง แต่ก็เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่าหากเราพัฒนาต่อยอดแนวคิดเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เลยอย่าง “ชีวิต” ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซนต์สักกี่มาน้อย ก็ถือเป็นเรื่องดีงามทั้งสิ้น

iiot

“IIoT” Industrial Internet of Things คืออะไร ?

มาย้อนความกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ Internet of Things หรือที่เราคุ้นตากันใน AKA ว่า IoT เปรียบได้กับเป็นการประยุกต์ IoT กับธุรกิจในกลุ่ม Industrial จึงเป็นที่มาของ IIoT สิ่งนี้คือการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการนำเครื่องจักร ระบบวิเคราะห์ระดับสูง และมนุษย์มาทำงานร่วมกัน โดยมีการเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายอุปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เกิดขึ้นเป็นระบบที่สามารถส่งผลแก่การติดตาม เก็บข้อมูลแบบละเอียด แสดงผลข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมนั้น ๆ

IIoT จะช่วยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ?

ปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากเป็นเรื่องความผิดปกติของอุปกรณ์ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่ IIoT จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของความปลอดภัยหนีไม้พ้นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำได้รวดเร็วและรวบรวมจำนวนได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เราสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์ รวมถึงสภาพของอุปกรณ์จากห้องควบคุมได้อยู่เสมอ

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ลิสต์เอาไว้ด้วยระบบ AI การตั้งค่าเพื่อให้มีการแจ้งเตือน หากตรวจสอบเจอสภาวะเข้าใกล้ “อันตราย” นอกจากสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ไม่น้อย

3 แน้วโน้มเพื่อความปลอดภัยในโรงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT
1. การฟิวชั่นเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision

ส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า IoT จากโรงงานผลิตจะมีเซนเซอร์รวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวโน้มต่าง ๆ ทำให้พิจารณาได้ว่าจุดไหนทำงานเป็นอย่างไร ดีมากน้อยแค่ไหน และจุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุง

กับด้านความปลอดภัย การรวมเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision ซึ่งส่วนหลังนั้นทำหน้าที่เปรียบเสมือนดวงตาของมนุษย์ คอยตรวจจับความสภาพแวดล้อมและสถานการณ์อยุ่ตลอด และด้วยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IIoT นี่เองที่จะช่วยให้ CV นั้นคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบก็จะสามารถหยุดอุปกรณ์ได้แบบอัตโมมัติก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้น

2. การติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารแบบครบวงจร

ความก้าวหน้าของสิ่งนี้ในปัจจุบันแผ่ขยายทำให้อาคารหลายแห่งมีเทคโนโลยีหลายประเภทในอาคาร โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้แบบครบวงจรเท่าที่คุณต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น โครงการนำร่องในโรงเรียนเมืองฮิวส์ตัน มีการติดตั้งปุ่มแจ้งเตือนรวมเข้ากับระบบความปลอดภัย IoT ขั้นสูง หากเกิดสถานการณ์อันตรายใด ๆ หรือมีการคุมคาม ปุ่มนี้จะช่วยเรียกเจ้าหน้าที่ได้ทั้งภายในและนอกอาคารทันที จากกรณีแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำไปปรับใช้กับภาคการผลิตได้เช่นกัน

3. การใช้ Location Based Analytics และ Real-Time Location Systems เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

เป็นแนวคิดที่เจ๋งมาก ๆ ด้านการแจ้งเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม ยกตัวเช่น การใช้ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) เพื่อสุขภาพ โดยมีบริษัท Kontakti.io ที่นำมาต่อยอดด้วยแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Simn AI เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเซ็นเซฮร์ RTLS มาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความตั้งใจเริ่มต้นคือการกำหนดเวลาคน เข้า-ออก จากที่ทำงาน

สำหรับมุมมองด้านความปลอดภัย Simon AI นั้นทรงประสิทธิภาพมากกว่านั้น เช่น สามารถแจ้งเตือนหากมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพื้นที่ หรือจะเป็นปุ่มเรียกที่ขอความช่วยเหลือได้จากการะบุตำแหน่งที่แม่นยำ จนไปถึงหากมีการอพยพ เทคโนโลยีนี้สามารถแสดงจำนวนที่มาถึงจุดปลอดภัยที่กำหนด และหากมีใครที่ขาดหายไปก็สามารถระบุตำแหน่งเพื่อติดตามได้อย่างรวดเร็ว

iiot

ประโยชน์ตรงนี้มากมายมหาศาล หากเรารับรู้ความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติภัยได้ล่วงหน้า เราก็เตรียมรับมือได้เร็ว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็ตอบสนองต่อเทคโนโลยีนี้เช่นกัน เรากำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการควบคุมไฟของเครื่องจักรทุกตัวในโรงกลึง ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT, AI, Machine Learning และ Big Data ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่วิศวกรและทีมช่าง รวมถึงควบคุมคุณภาพของการผลิตไม่ให้บกพร่อง เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า

IIoT กับ อนาคตอันน่าตื่นเต้น ผ่านการตระหนักถึงความปลอดภัยของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด

จากแนวโน้วการวางระบบมาตรการความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีนี้ ข้อสุดท้ายชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องการะบุตำแหน่ง การเก็บข้อมูลในปริมาณมาก ๆ แบบเรียลไทม์ ซึ่งจุดเด่นของ RTLS นั้นก็ชัดเจนอยู่แล้วนอกจากจะช่วยเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ทราบข้อมูลที่แน่นอนว่าใครอยู ณ จุดไหน เรื่องของความปลอดภัยก็ทำให้ตรวจสอบได้เสมอว่าพนักงานนั้นอยู่ในที่ปลอดภัย หรือหากอยู่ในจุดเกิดเหตุก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที

iiot

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายมีความสอดคล้องกับการเชื่อมต่อของ IIoT ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ การแจ้งเตือนเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น การสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย IIoT สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดต่อเรื่องนี้ และอาจกลายเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อซัพพอร์ตการป้องกันอย่างเต็มประสิทธิภาพสู่ตลาดในเร็ววันนี้

ขอขอบคุณบทความสำหรับข้อมูลดี ๆ เรื่องแนวทางการพัฒนาด้านความปลอดภัยด้วย IIoT จาก https://www.ehstoday.com/safety-technology/article/21920259/6-iiot-trends-for-manufacturing-safety

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (5) artificial intelligence (3) CNC Machining (7) CNC Machining Center (8) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) sustainability (3) ก๊าซเรือนกระจก (3) งานกลึง (3) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ประหยัดพลังงาน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (6) พลังงานทดแทน (3) พลังงานหมุนเวียน (3) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (3) รถยนต์ไฟฟ้า (3) รักษ์โลก (6) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (5) วันแม่แห่งชาติ (2) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (6) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (6) เครื่องกลึง CNC (8) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทคโนโลยีโรงงานอุตสาหกรรม (2) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)