Skip to content

5 เทรนด์ยอดนิยม ประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) กับอุตสาหกรรมการผลิต

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราพูดถึง IoT (Internet of Things) แต่ที่ผ่านมานั้นเราพาเลี้ยวไปรู้จักกับสิ่งนี้แค่ผิวเผิน หากว่ากันตามตรง.. ก็ไม่ค่อยจะสมกับฐานะของเจ้าสิ่งนี้เท่าไหร่นัก เพราะถือเป็นสิ่งที่มีศักยภาพอย่างมาก เรียกได้ว่าสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ ตลอดจนโลกอุตสาหกรรมทุกแขนง แต่ก็ตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า.. ถ้าคุณนำมาปรับใช้ได้ตรงกับธุรกิจของคุณ สิ่งนี้สร้างประโยชน์และยกระดับทุกอย่างได้ชนิดที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดในการฝังเซ็นเซอร์และชิปลงในวัตถุทางกายภาพ อาจฟังดูไร้สาระจนแทบจะเป็นไปไม่ได้..

อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องขอบคุณ Internet of Things ที่เนรมิตรให้แนวคิดสุดเครซี่นี้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้เติบโตขึ้นเป็นแนวคิดหลักสำหรับการทำธุรกิจจำนวนมากภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ยังได้เปลี่ยนแปลงบางแง่มุมในชีวิตประจำวันของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็น การขับรถ การทำอาหาร การจัดซื้อ รวมถึงการผลิตต่าง ๆ ซึ่งก็วนเข้าเรื่องของอุตสาหกรรมที่เราอยากจะนำมาขยายในวันนี้ เกี่ยวกับแนวโน้ม 5 กรณีที่จะทำให้การใช้งาน IoT ได้ดีที่สุด เต็มประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง

Internet of Things

อุตสาหกรรมการผลิตได้ประโยชน์อย่างไรจาก IoT ?

องค์การทั่วโลกหลายแห่งประสบความสำเร็จในการผสานรวมเครื่องมือ IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาเอง สิ่งนี้ช่วยให้พวกเขาเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดเวลาการส่งมอบ และยังลดค่าใช้จ่าย ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาด Internet of Things เพิ่มเป็นทวีคูณในปัจจุบันรวมถึงอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ก็อย่าได้หาแปลกใจแต่อย่างใดที่ IoT นั้นจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตเองและลูกค้าเป้าหมาย สิ่งนี้ในทางอุตสาหกรรมช่วยให้ผู้ผลิตสามารถขยายขนาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในที่สังเกตการณ์และให้บริการจากระยะไกลได้แบบสบาย ๆ ดั้งนั้น บริษัทต่าง ๆ จึงสามารถประเมินความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกว่าที่เคย

ทางด้านของการผลิต หนึ่งในฐานะของอุตสาหกรรม กำลังได้รับโอกาสจากสิ่งนี้อย่างมหาศาล โรงงานหลายแห่งใช้ระบบคอนโทรลที่เชื่อมต่อกันสำหรับขบวนการและควบคุมดูแลอยู่แล้ว ซึ่งประโยชน์หลักของโซลูชัน IoT ดังนี้ :

  • ช่วยตรวจจับและหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความล่าช้า
  • สามารถเพิ่มคุณภาพการผลิตและดึงประโยชน์จากวัตถุดิบ รวมถึงส่วนประกอบที่ผลิตออกมาด้วยการดำเนินการจาก AI
  • ช่วยให้ผู้จัดการสามารถจัดสรรทรัพยาการได้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงทักษะของพนักงาน และทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยได้มากกว่าเดิม

“70% ของบริษัทต่าง ๆ มั่นใจว่าการนำ IoT ไปใช้สามารถลดต้นทุนและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้ดีเยี่ยม”

นี่เป็นหนึ่งในคำกล่าวของผู้สันทัดกรณีที่ติดตามศึกษาของการพัฒนาสิ่งนี้อย่างใกล้ชิด ส่วนประโยคข้างต้นนี้นั้นเกินเลยความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ลองอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ประกอบการตัดสินใจดูกันหน่อยดีกว่า

Internet of Things

เจาะลึกตัวอย่าง IoT ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิต

ณ ปัจจุบัน โครงการ IoT จำนวนมากเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกและสินทรัพย์ การรักษาความปลอดภัยและการดำเนินงาน การขนส่งการบริการลูกค้า ด้วยเหตุนี้ Internet of Things จึงเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นปัจจัยหลักสำหรับธุรกิจในปี 2021 และต่อ ๆ ไป และนี่คือ 5 ตัวอย่างการใช้ IoT ที่ดีที่สุดในการผลิตที่เราจะนำมาบอกเล่าผ่านเนื้อหาด้านล่างนี้ต่อไป

1. การซ่อมแซมเชิงคาดการณ์

ด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ขับเคลื่อนด้วย IoT ที่มีจุดเซ็นเซอร์ต่างกัน (อุณหภูมิ การสั่นสะเทือน แรงดันไฟ้า กระแสสัญญาณ ฯลฯ) เข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ เราจะได้รับข้อมูลการบำรุงรักษาที่จำเป็นได้ ข้อมูลประเภทนี้จะช่วยในการประเมินสภาพปัจจุบันของเครื่องจักร กำหนดสัญญาณเตือน และเปิดใช้งานกระบวนการซ่อมที่เกี่ยวข้องได้ทันทีทันใด

2. การควบคุมการผลิตระยะไกล

คุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของการควบคุมการผลิตระยะไกลในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม คือการกำกับดูแลเครื่องจักรในกระบวนการผลิตแบบรวมศูนย์ข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงพื้นที่การผลิตจริงได้ชัดเจน รวดเร็ว และมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือพนักงานในการวิเคราะห์ข้อมูลองค์กร ทั้งหมดนี้ทำให้เทคโนโลยี IoT เป็นเครื่องมือหลัก สร้างความมั่นใจต่อการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติที่ปลอดภัย ทั้งยังช่วยเรื่องการตรวจสอบพนักงาน และตำแหน่งของบุคลากรได้แบบเรียลไทม์ (IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย)

3. การติดตามทรัพย์สิน

ถ้าพูดคุณสมบัติที่สำคัญไป เชื่อว่าใครที่ติดตามเรามาโดยตลอดจะคุ้นหูกับ “Beacon”  (ทำความรู้จัก Beacon หนึ่งใน IoT น่าสนใจ ที่มูลค่าตลาดอาจสูงระดับหมื่นล้าน!) อันเป็นหนึ่งใน IoT ที่น่าสนใจ ทำให้หลายคนรู้จักสิ่งนี้เป็นวงกว้าง 

ซึ่งงานหลักของการติดตามอยู่ในการค้นหาและดูแลสินทรัพย์สำคัญ สามารถนำมาใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตได้ เช่น ส่วนประกอบของซัพพลายเชน (วัตถุดิบ คอนเทนเนอร์ และสินค้าสำเร็จรูป) โดยแอปพลิเคชั่นดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งได้อย่างมาก รักษาสต็อคของงานที่กำลังดำเนินการ และเปิดเผยการถูกจารกรรมและการละเมิดได้อีกด้วย

4. การจัดการโลจิสติกส์

“IoT สามารถเปิดเผยความไร้ประสิทธิภาพของซัพพลายเชนโดยกำจัดจุดบอดออกจากกระบวนการโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างดี” กล่าวโดย ฟอร์บส์ สื่อยักษ์ใหญ่ด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

การจัดการกลุ่มยานยนต์ผ่านอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ช่วยให้ผู้ผลิตกำจัดหรือลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ พนักงาน และการขนส่ง โซลูชันกลุ่มยานยนต์อัตโนมัติจะช่วยให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้จัดการด้านโลจิสติกส์สามารถดึงศักยภาพของ IoT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็น ด้านการซ่อมแซมและค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง การส่งมอบอันชาญฉลาด การวินิจฉัยที่แม่นยำตลอดจนถึงผู้ขับรถขนส่ง

5. Digital Twins

การใช้แนวทาง IoT ที่เรียกว่า Digital Twins ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างแบบจำลองดิจิทัลที่แข็งแกร่ง เมื่อเสริมศักยภาพด้วย IoT, POC (การพิสูจน์แนวคิด), MVP (ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ขั้นต่ำ) ต้นแบบรูปลักษณ์นี้แม่นยำมากจนเราสามารถทดลองและคาดการณ์ฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ได้เสมือนจริง

พื้นที่แอปพลิเคชั่น IoT ประเภทนี้จะช่วยให้คุณจำลองอายุการใช้งานของเครื่องจักร ตรวจสอบการอัพเดต รวมไปถึงการคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น แม้กระทั่งเรื่องของคอขวด ทุกอย่างนี้ผู้ผลิตสามารถรับแบบจำลองของอุปกรณ์และสินค้าสำหรับการตรวจสอบในสภาพแวดล้อมเหมือนจริงที่สุด ก่อนที่สุดท้ายจะออกสู่ตลาดจริงได้อย่างมั่นใจ

เทคโนโลยีนี้ก็เป็นอีกเทคโนโลยีนึงที่โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เราได้ประเมินความคุ้มทุนและหาแนวทางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องจักร CNC ในโรงกลึงของเรา ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของวิศวกร และคุณภาพในงานกลึงที่ผลิต

Internet of Things

IoT ได้รับความสนใจมากขนาดไหนในปัจจุบัน ?

อุปกรณ์ IoT จำนวนมากผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในปัจจุบัน ดังนั้น จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้งานบน Internet of Things ที่ไม่รวมสมาร์ทโฟน แท็บเลต แลปท็อป เพิ่มขึ้นเป็น 8.3 พันล้านเครื่องเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (2019) นอกจากนี้ จำนวนหน่อยของ IoT ของอุตสหกรรมต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ภายในปี 2025 จะอยู่ที่ 29.7 ล้านเครื่อง ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมาก เพราะเป็นการนับแค่ตลาดของอุตสาหกรรมแบบเพียว ๆ

และอย่างที่ได้กล่าวไป มีองค์กรมากมายประสบความสำเร็จในการใช้ฟิวชั่นเครื่องมือ IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของตน ทั้งหมดทั้งมวลจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของสิ่งนี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในไม่กี่ปีข้างหน้า 

ตามรายงานของ IDC ระบุว่ามูลค่าของ IoT จะเพิ่มขึ้นมากถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 มิหนำซ้ำ Statista ยังออกมาตอกย้ำความมั่นใจโดยกระชุ่นถึงตัวเลขระดับ 3.9 – 11.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 

เห็นตัวเลขมหาศาลขนาดนี้ แล้วคุณล่ะ.. ได้คำตอบหรือยังว่า IoT นั้นมีความน่าสนใจมากน้อยขนาดไหน ?

ขอขอบคุณบทความคุณภาพที่นำมาใช้ประกอบบทความ มา ณ ที่นี้

https://www.byteant.com/blog/5-best-use-cases-of-iot-in-manufacturing/

https://www.record-evolution.de/en/use-cases-utilizing-iot-and-the-artificial-intelligence-of-things-aiot-in-manufacturing/

https://tulip.co/blog/industrial-iot-use-cases-and-applications/

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (5) artificial intelligence (3) CNC Machining (7) CNC Machining Center (8) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) sustainability (3) ก๊าซเรือนกระจก (3) งานกลึง (3) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ประหยัดพลังงาน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (6) พลังงานทดแทน (3) พลังงานหมุนเวียน (3) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (3) รถยนต์ไฟฟ้า (3) รักษ์โลก (6) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (5) วันแม่แห่งชาติ (2) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (6) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (6) เครื่องกลึง CNC (8) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทคโนโลยีโรงงานอุตสาหกรรม (2) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)