Skip to content

แนวทางป้องกันน้ำท่วม ฉบับโรงงานอุตสาหกรรม

ตอนนี้กำลังจะเข้าสู่ “10 วัน อันตราย” เลยก็ว่าได้ จากที่เช็คข่าวเกี่ยวกับมวลน้ำล่าสุด มีรายงานโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ทำเรื่องแจ้งประสานงานเพื่อเตรียมจัดการเฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ระหว่างวันที่ 20-30 ตุลาคม โดยมี 11 จังหวัด เข้าข่ายสุ่มเสี่ยง ได้แก่ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร พระนครศรีอยุทธยา นนทบุรี ปทุมธาน รวมถึง กรุงเทพมหานคร

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น มีหลายจังหวัดเป็นจุดที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหลายต่อหลายแห่ง เชื่อว่าช่วงก่อนที่มีมวลระดับน้ำเข้ามาความตื่นตัวน่าจะทำให้หลายฝ่ายเริ่มดำเนินมาตรการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนแนวทางรับมือกับปัญหาที่จะตามมาที่อาจส่งผลต่อโรงงาน ซึ่งเนื้อหาที่เราจะนำเสนอก็เป็น แนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหกรรม จัดทำขึ้นโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556

บทความที่เคยได้พูดคุยกันไปในคราวก่อน เกี่ยวกับ แนวทางกอบกู้เครื่องจักร CNC ในเหตุอุทกภัย ซึ่งเป็น case study ของเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่รัฐเท็กซัส ส่วนของเนื้อหาด้านล่างนี้เป็นการรวบรวมแนวทางการป้องกันน้ำท่วม บรรเทาและกอบกู้ ทั้งจากของไทยเองเมื่อปี 2554 รวมถึงเคสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประปรายตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ

ป้องกันน้ำท่วม

ป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยได้ด้วยการทำ “เช็คลิสต์”

ก่อนอื่นเลย หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่คงจะมีการจัดการเป็นแบบแผนอยู่แล้ว แต่สำหรับโรงกลึงหรือโรงงานขนาดเล็กรวมถึงผู้ประกอบการทั่วไปที่มีเครื่องจักรอยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง จำเป็นต้องทำก่อนดำเนินการขั้นตอนทุกอย่าง ควรจะทำ “เช็คลิสต์ป้องกันน้ำท่วม” เพื่อที่หลายฝ่ายจะได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้

เตรียมพร้อมเมื่อเกิดอุทกภัยแบบฉับพลัน

  • มีการประชุมร่วมกันว่าหากเกิดเหตุจะอพยพไปที่ใด และเตรียมเครือข่ายเพื่อติดต่อกับทีมงานเพื่อร่วมงาน
  • ตรวจสอบความพร้อมศูนย์อพยพว่ารับรองคนได้มากน้อยแค่ไหน เพียงพอต่อทีมงานทุกคนหรือไม่
  • รีเช็คและเก็บรักษาข้อมูลการติดต่อบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในจุดที่มองเห็น หยิบใช้งานได้รวดเร็วที่สุด
  • ไม่ควรรอให้น้ำท่วมอุปกรณ์ต่าง ๆ สารเคมี โดยเฉพาะเครื่องจักร หากสามารถเคลื่อนย้ายได้ ให้นำไปอยู่ในจุดที่ระดับน้ำเข้าถึงยากที่สุด

ตรวจสอบเรื่องของประกัน และการปิดการใช้งานระบบต่าง ๆ ภายในโรงงาน

  • แบ่งทีมตรวจสอบอาคารและบริเวณโดยรอบ ประเมินหรือไล่เช็คดูความเสียหายเบื้องต้นว่าเข้าหลักเกณฑ์ประกันภัยของโรงงานมากน้อยแค่ไหน
  • ควรเช็คให้มั่นใจ ดีที่สุดคือติดต่อไปยังประกันภัยที่ถือครองอยู่โดยตรงว่ามีครอบคลุมเกี่ยวกับอุทกภัย
  • ไม่ควรประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีต่ำกว่าความเป็นจริง
  • ศึกษาเตรียมความพร้อมในการปิดระบบต่าง ๆ ภายในโรงงาน อาจสอบถามไปยังบริษัทคู่ค้าเพื่อให้ได้วิธีที่ถูกต้องและปลอดภัยต่ออุปกรณ์ที่สุด
  • เตรียมเก็บสิ่งของที่จำเป็นให้ปลอดภัย ให้จัดเป็นหมวดหมู่แยกสำหรับ “อุทกภัย” โดยเฉพาะ อาทิ เอกสารสำคัญ เครื่องปั่นไฟ วิทยุสื่อสารที่ใช้กระแสตรงได้ อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้อต้น น้ำและอาหารแห้ง
ป้องกันน้ำท่วม

การป้องกันอุทกภัยเบื้องต้นที่ควรรู้

ในเนื้อหาของกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เสนอแนะแนวทางการป้องกันนำ้ท่วมเบื้องต้นที่ผู้เกี่ยวข้องควรตระหนัก จำแนกเป็น 4 แบบด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  1. การเคลื่อนย้าย: ย้ายอาคาร (แบบน็อคดาวน์) อุปกรณ์ เครื่องจักร และการยกพื้นที่อาคารให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม หากทำได้
  2. การสร้างผนังกั้นน้ำ: สร้างกำแพงกั้นน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้ามาสู่อาคาร หรือหากมีก็ข้อให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. การป้องกันน้ำท่วมแบบแห้ง: เป็นการทำบริเวณผนังแบบปิดกั้นน้ำเต็มรูปแบบ ควรใช้วัตถุดิบที่สามารถกันน้ำซึมลอดเข้ามา และปิดทางที่น้ำจะเข้าสู่ตัวอาคารทั้งหมด
  4. การป้องกันน้ำท่วมแบบเปียก: สำหรับวิธีนี้ควรมีการตรวจสอบ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่ปล่อยให้น้ำท่วมได้ ก่อนที่จะเปิดตัวอาคารให้น้ำไหลเข้ามา เช็คเส้นทางที่น้ำจะไหลผ่าน ดูและตัวอาคารและเครื่องมือภายในให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

เรื่องของการแจ้งเตือนก็สำคัญ

เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เชื่อว่าหากเป็นองค์กรใหญ่น่าจะเน้นย้ำเรื่องการเช็คเกี่ยวกับการแจ้งเตือนเป็นอันดับต้น ๆ และควรรีเช็คอยู่เสมอเพราะอุทกภัยนั้นเป็นสิ่งที่คาดเดาสถานการณ์ได้ยาก เนื่องด้วยตัวแปรที่หลากหลาย ปัจจุบันประเทศไทยนั้นมีการแจ้งเตือนอุทกภัยผ่านทางเว็บไซต์ http://ews1.dwr.go.th/ews/index.php โดยจะแบ่งระดับความรุนแรงตามสี ดังนี้

  • สีเขียว (เฝ้าระวัง): มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความน้ำท่วม ควรเตรียมความพร้อมตามที่ได้ให้คำแนะนำไปในเช็คลิสต์แนวทางด้านบน และตรวจสอบสภาพอากาศบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันที่มีความน่าเชื่อถืออยู่เป็นระยะ
  • สีเหลือง (เตือนภัย): กำลังจะเกิดน้ำท่วม จำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมชนิดเร่งด่วน เช็คบริเวณโดยรอบ จัดการตามเช็คลิสต์ที่แนะนำให้เรียบร้อย
  • สีแดง (อันตราย): เกิดน้ำท่วมสูง มีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ณ จุดนี้ควรอยู่สถานที่ปลอดภัย และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการอพยมอยู่เสมอ เช็คเครื่องมือสื่อสารให้พร้อมต่อการช่วยเหลืออยู่ตลอด
ป้องกันน้ำท่วม

อัพเดตมาตรการป้องกันอยู่เสมอ เตรียมตัวให้พร้อม ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

เรื่องของภัยพิบัติ สาธารณภัยต่าง ๆ ส่วนมากมักเป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม แนวทางปฏิบัติในการป้องกันที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญอยู่เสมอ ฉะนั้น หากเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ควรมีการอัพเดตมาตรการอยู่ตลอด ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องยังคงทำได้ในส่วนของการแจ้งเตือนเท่านั้น 

โรงงานบางแห่งอาจมีการซ้อมรับมือการเคลื่อนย้าย ตลอดจนการปฏิบัติตามแนวทางที่กรมโรงงานได้จัดทำขึ้น ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ควรทำเต็มที่อยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดเหตุแล้วเราสามารถจัดการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ความเสียหายที่เกิดนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกว่าเราพร้อมขนาดไหน อย่าปล่อยให้เป็นเพื่อเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ ไฟล์ต่าง ๆ หรือหน้ากระดาษ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจช่วยคุณได้มากกว่าที่คิด..

ขอขอบคุณข้อมูลเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ และ แนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหรกรรม, กรมโรงงานอุตสาหกรรม

https://www.abi.org.uk/globalassets/files/publications/public/flooding/abi-guide-to-resistant-and-resilient-repair-after-a-flood-2019.pdf

http://www.knowyourfloodrisk.co.uk/sites/default/files/FloodGuide_ForCouncils.pdf

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (5) artificial intelligence (3) CNC Machining (7) CNC Machining Center (8) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) sustainability (3) ก๊าซเรือนกระจก (3) งานกลึง (3) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ประหยัดพลังงาน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (6) พลังงานทดแทน (3) พลังงานหมุนเวียน (3) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (3) รถยนต์ไฟฟ้า (3) รักษ์โลก (6) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (5) วันแม่แห่งชาติ (2) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (6) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (6) เครื่องกลึง CNC (8) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทคโนโลยีโรงงานอุตสาหกรรม (2) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)