Skip to content

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ อัจฉริยะแห่งการทำซ้ำ คีย์แมนแห่งวงการ mass production

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์สำคัญอย่างไร ? ความหมาย ประเภท และการใช้งาน

เรื่องราวของ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” (Jigs and Fixtures) เราเคยนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง (รู้ไว้เป็นประโยชน์ ข้อดีของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ฮีโร่แห่งการทำซ้ำ) ถึงแม้จะยังไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียดมากมายนัก แต่ก็มีการแนะนำให้คนอุตสาหกรรมได้ทำความรู้จักกับสองเครื่องมือสำคัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่พอสมควร โดยคีย์หลักของฟังก์ชั่นสองสิ่งนี้ บอร์นทูบีเพื่อการผลิตที่แม่นยำ อันเป็นที่มาของการรักษาประสิทธิภาพในการ “ทำซ้ำ” และเน้นย้ำในเรื่องของควอลิตี้ที่ต้องเดินทางควบคู่กันกับการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน ซึ่งสองเครื่องมือนี้ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ถูกเรียกแบบรวมกันอยู่บ่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยก็คือความสับสนระหว่างเครื่องมือทั้งสองอย่างนี้ แม้จะมีลักษณะการทำงาน การใช้งานที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่เป็นจุดสำคัญ

หากคุณเป็นคนอุตสาหกรรมหรืออยากจะเลือกใช้งานสิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลองเลื่อนลงไปติดตามเนื้อหาด้านล่างนี้ รับรองได้เลยว่าคุณจะได้รู้จักกับสิ่งนี้มากกว่าที่เคยแน่นอน

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ทำไมต้องใช้ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ?

ในยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้การจัดหาเพื่อผลิตชิ้นส่วนด้วยความรวดเร็วแม่นยำมีความต้องการสูงมากในตลาด และสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่คอยตามหลอกหลอนผู้ผลิตมาโดยตลอด วนกลับมาที่หน้าที่สำคัญของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องการจับวางตำแหน่งและรองรับชิ้นงาน แต่หากบอกว่าสาเหตุมีเพียงเท่าก็นี้คงไม่สาแก่ใจต่อคำตอบที่ว่า “ทำไมเราถึงต้องใช้จิ๊กและฟิกซ์เจอร์”

เรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่งในสายงานผลิต คือ “การรักษาคุณภาพ” โดยเฉพาะกับชิ้นงานที่ต้องทำทีละจำนวนมาก ๆ (mass production) ซึ่งโรงกลึงพีวัฒน์ของเรายืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีจากการทำงานด้าน mass มาอย่างยาวนาน และสิ่งนี้เองคือต้นตอสำคัญที่เครื่องมือทั้งสองอย่างจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เมื่อใดก็ตามที่มีความจำเป็นใจการทำซ้ำ ตลอดจนการเปลี่ยนชิ้นส่วนในระบบการผลิตจำนวนมาก อุปกรณ์ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” นอกจากจะรับประกันได้ว่าชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพมีความแม่นยำสูง นี่ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่ประหยัดที่สุดด้วยหากเทียบกับวิธีอื่น

ความหมายของ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์”

สำหรับท่านไหนที่ไม่อยากจะกดลิงค์เพื่อย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้า เราจะมาบอกถึงความหมาย ความสำคัญคร่าว ๆ ของสองอุปกรณ์นี้ก่อนที่จะพาไปลงลึกถึงประเภทต่าง ๆ การใช้งาน รวมถึงความแตกต่างที่สามารถเป็นจุดสังเกตในการแยก เพื่อนำไปใช้งานให้ถูกต้องตามความสามารถของอุปกรณ์และชิ้นสวนงานที่คุณต้องการผลิต

จิ๊กนั้นมีความสามารถในการจับตำแหน่ง นำทาง และรองรับชิ้นงานในการดำเนินการบางอย่าง รวมถึงการเคลื่อนย้ายด้วย ส่วนฟิกซ์เจอร์นั้นก็มีความสามารถที่คล้ายกันแต่จะไม่สามารถนำทางเครื่องมือได้ ส่วนความแตกต่างอื่น ๆ เดี๋ยวเราจะลิสต์เป็นข้อเพื่อที่จะสามารถแยกแยะและนึกภาพตามได้อย่างชัดเจน ในหัวข้อต่อไป

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ความแตกต่างระหว่างจิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ความแตกต่างพื้นฐานระหว่างจิ๊กซ์และฟิกซ์เจอร์ คือจิ๊กจะนำทางเครื่องมือ แต่ฟิกซ์เจอร์นั้นไม่ช่วยในสิ่งนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอย่างสามารถเป็นไกด์ช่วยซัพพอร์ตและค้นหาตำแหน่งของชิ้นงานได้เป็นอย่างดีเหมือนกัน

จิ๊กจะมีส่วนที่สัมผัสกับเครื่องมือ แต่ในกรณีของฟิกซ์เจอร์นั้นไม่สัมผัสกับเครื่องมือโดยตรง ซึ่งทั้งสองอุปกรณ์นี้จะใช้กฎ 3-2-1 เพื่อจำการชิ้นงานอย่างเหมาะสม ความหมายโดยย่อของกฎ 3-2-1 ทั่วไปจะเป็นการล็อคองศาอิสระทุกระดับเพื่อให้ชิ้นงานไม่สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เราไมต้องการนั่นเอง

จุดสังเกตที่แตกต่างของสองอุปกรณ์

จิ๊ก (Jigs) / ฟิกซ์เจอร์ (Fixtures)
  • นำทางเครื่องมือ / ไม่นำทางเครื่องมือ
  • สัมผัสกับเครื่องมือ / ไม่มีการสัมผัสกับเครื่องมือ
  • อุปกรณ์จับยึดมีน้ำหนักเบา / อุปกรณ์จำยึดมีนำหนักมาก
  • การออกแบบซับซ้อน / การออกแบบเรียบง่าย
  • ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อคเกจ / อาจจำเป็นต้องใช้บล็อคเกจ
  • ไม่จำเป็นต้องยึดกับโต๊ะ / ต้องมีตัวช่วยยึดเนื่องจากมีน้ำหนักมาก
  • อุปกรณ์จำยึดราคาสูง (หากมีความเป็นต้องยึด) / อุปกกรณ์จำยึดราคาย่อมเยาว์
จิ๊กและฟิกซ์เจอร์
ข้อพิจารณาการออกแบบของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์
  • ศึกษาชิ้นงานอย่างเหมาะสม
  • ศึกษารายละเอียดของเครื่องมือ
  • วิธีการการจัดการแคลมป์ (Clamping arrangement)
  • เส้นทางการขนถ่ายชิ้นงาน
  • กำหนดขอบเขตความคลาดเคลื่อนและความแม่นยำในชิ้นงาน
  • แมชชีนเบดไซส์
  • ความจุของเครื่องจักร
  • ความต้องการแหล่งพลังงาน
  • ช่องว่างระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ
  • ค่าใช้จ่าย

ยกระดับการใช้ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ”

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

เมื่อได้รับรู้ถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ กันไปแล้ว อีกหนึ่งเทคโนลีใหม่ที่เข้ามาเติมเต็มประสิทธิภาพให้กับทั้งสองอุปกรณ์ การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติออกแบบจะสามารถช่วยให้คุณเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมใด ๆ ในจิ๊กหรือฟิกซ์เจอร์ได้ในขณะที่อยู่ในขั้นตอนดังกล่าว ประโยชน์ของการออกแบบของ AM (Additive Manufacturing) จะขช่วยยกระดับการเข้าถึงคุณสมบัติขนาดเล็กที่ยากต่อการตัดเฉือนและรูปทรงที่เป็นไปได้ยากในการกัดหรือกลึง ทั้งหมดนี้สามารทำได้ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3D เข้ากับสองอุปกรณ์พระเอกของเรา

สิ่งที่น่าตื่นเต้นตอนนี้ จากแหล่งข้อมูลได้ระบุว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ AM กำลังเดินหน้าพัฒนาโซลูชั่นอัตโนมัติอย่างแข็งขัน ทั้งหมดก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการออกแบบ และช่วยให้วิศวกรผู้ดูแลสามารถประเมินตัวเลือกในการดีไซน์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกที่สุด

ในแหล่งข้อมูลนั้นยังยกตัวอย่างบริษัทยานยนต์ยักษใหญ์อย่าง “ฟอร์ด” ที่แสดงความพึงพอใจออกสื่อว่าระบบอัตโนมัติสามารถลดเวลาในการออกแบบเครื่องมือจากหลักชั่วโมงเหลือเป็นหน่วยนาที ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลมาจากการออกแบบด้วย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ก่อนที่จะกำหนดค่าของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ได้ตรงความต้องการ ดึงศักยพภาพสูงสุดของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตออกมาใช้ประโยชน์ได้สูงที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลประกอบบทความ รวมถึงเนื้อหาสาระประโยชน์ดี ๆ จาก

Jigs And Fixtures: Definition, Types And Applications | RiansClub

Jigs and Fixtures: 6 Ways to Improve Production Efficiency with 3D Printing – AMFG

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (4) artificial intelligence (3) CNC Machining (6) CNC Machining Center (7) electric vehicle (2) IIoT (2) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) Robotic Process Automation (2) Robotics (2) SpaceX (2) การขนส่ง (2) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (5) พลังงานหมุนเวียน (2) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (2) รถยนต์ไฟฟ้า (2) รักษาสิ่งแวดล้อม (2) รักษ์โลก (5) ลดมลพิษ (2) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (4) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (5) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (5) เครื่องกลึง CNC (7) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)