Skip to content

แนวทางส่งเสริมการกำจัดขยะอุตสาหกรรมให้ถูกวิธี

จากข้อมูลเมื่อปี 2016 มีรายงานว่าประเทศไทยนั้นผลิตกากอุตสาหกรรมอันตรายออกมามากถึง 2.8 ล้านตัน แต่ที่น่าตระหนกไปกว่านั้น มีเพียง 1.1 ล้านตัน ที่ถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการ กำจัดขยะอุตสาหกรรม แบบถูกต้องโดยหน่วยงานบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคิดเป็นเพียง 40 เปอร์เซนต์ของทั้งหมด เรียกว่าไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ และจากที่ได้ศึกษาข้อมูลผ่านเว็บสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย พบว่าสาเหตุคร่าว ๆ มาจากต้นทุนการกำจัดขยะอุตสาหกรรมนั้นมีมูลค่าที่สูงลิบ ขยะอันตราย 1 ตัน มีต้นทุนในการกำจัดตั้งแต่ 4,000 บาท ไปจนถึงระดับ 150,000 บาท ตามแต่ละประเภทกันเลยทีเดียว

แต่ก่อนจะตามหาสาเหตุที่ทำให้การกำจัดขยะอุตสาหกรรมหรือกากอุตสาหกรรม บทความนี้อาจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้คุณรู้จักกับสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น และน่าจะเป็นประโยชน์หากอุตสาหกรรมของคุณสามารถแยกประเภทของขยะอุตสาหกรรมแต่ละประเภทได้แบบจริงจัง ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายบนการเลือกใช้บริการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องได้แบบตรงโจทย์ต่อธุรกิจของคุณมากที่สุด โดยสิ่งต่าง ๆ นี้เป็นหนึ่งในกระบวนการรักษ์โลกอีกด้วย

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

ขยะอุตสาหกรรม คืออะไร?

ของเสียจากอุตสาหกรรมประกอบด้วยของเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในระหว่างกระบวนการผลิต ดังนั้น ของเสียอุตสาหกรรมอาจประกอบไปด้วยของเสียจากสารเคมี ของเสียอันตราย และของเสียที่เป็นพิษ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้ที่มีความสามารถมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการกำจัดของเสียจากอุตสาหกรรมของคุณ นอกจากจะเป็นการดำเนินตามมาตรการสากลแล้ว ยังเป็นการปกป้องสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายนั่นเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณต้องเข้าใจว่าอุตสาหกรรมของคุณกำลังสร้างของเสียจากอุตสาหกรรมประเภทใด เพื่อที่จะได้ทราบว่าของเสียเหล่านั้นจะต้องได้รับการจัดการอย่างไร รวมถึงการปฏิบัติตามข้อระเบียบบังคับใดซึ่งก็อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของเสียต่าง ๆ

ประเภทของขยะอุตสาหกรรม

จากขยะมากมายที่หลายประเภทองค์กรผลิตขึ้น โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ของเสียที่เป็นพิษ
  • ขยะเคมี
  • ขยะอุตสาหกรรม
  • ขยะมูลฝอยชุมชน
  • ผลิตภัณฑฺ์กระดาษ
  • กากกัมมันตภาพรังสี
  • โลหะ
  • เชื้อเพลิงสำรอง
  • น้ำมันหล่อลื่น
  • แบตเตอรี่
  • สารเคมีต่าง ๆ เช่น กรด ด่าง และฟีนอล
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปั๊มสำหรับกระบวนการผลิต และหม้อแปลงไฟฟ้า
  • ของเสียในห้องปฏิบัติการ
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งจากลิสต์ที่เราได้กล่าวไปจะเห็นได้ว่ามีขยะอุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่สามารถจำกัดได้ตามปกติ เช่น ของเสียที่เป็นสารพิษต่าง ๆ สารเคมี และกัมมันตภาพรังสี ซึ่งจำต้องมีบริษัทและผู้ชำนาญการที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกฝ่ายแน่ใจว่าของเสียอันตรายจะไม่ทำให้ใครหรือสิ่งใดต้องตกอยู่ในความเสี่ยง

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

แนวทางการกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่น่าสนใจของประเทศยักษ์ใหญ่

ประเทศสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีนั้นมีการสร้างและกำจัดขยะมูลฝอยทางอุตสาหกรรมประมาณ 7.8 พันล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนเยอะกว่าประเทศไทยแบบเทียบกันไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็มาจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศที่มีความเข้มงวดอย่างมาก ทำให้บริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับขยะอุตสาหกรรมที่คุณประกอบธุรกิจ โดยการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมจะมีการใช้เทคโนโลยีและบริการที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาการจัดการตามข้อกำหนดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

มีรายงานว่ามีโรงงานหลายแห่งในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ที่เปิดให้ทิ้งขยะอุตสาหกรรมได้ แต่ก็วนกลับมาที่มาตรการเบื้องต้น คือคุณจำเป็นต้องตรวจสอบและมีความแน่ใจแล้วว่าประเภทขยะของคุณนั้นตรงกับที่โรงงานเปิดให้บริการหรือไม่ โดยเฉพาะหากเป็นของเสียอันตราย มีน้อยมากที่จะเปิดให้บริการ แต่ก็เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ

เลือกใช้บริการกับผู้เชี่ยวชาญ ประหยัดต้นทุนได้มากกว่า

โดยส่วนใหญ่การจำกัดของเสียอันตรายจะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่เพียบร้อมรวมถึงผู้ชำนาญการที่ถูกอบรบมาอย่างดีเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามนั่นถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของคุณที่จะต้องรับผิดชอบทั้งทางกฎหมายและทางการเงินสำหรับของเสียเหล่านั้นที่อุตสาหกรรมของคุณสร้างขึ้นมา จนกว่าทุกอย่างจะได้รับการขนส่ง บำบัด หรือกำจัดอย่างเหมาะสมที่สุด

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ข้อสังเกตคือขนาดประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริการยังไม่มีโรงงานไหนเลยที่กำจัดขยะอุตสาหกรรมได้ด้วยตัวเอง การเลือกใช้บริการกำจัดของเสียโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะมั่นใจได้ว่าการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมนั้นดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง ยังมีบริการที่ช่วยคุณจำแนกของเสียต่าง ๆ ว่าเป็นประเภทใด แม้จะมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยแต่ก็ประหยัดต้นทุนได้มากกว่าการที่จะริเริ่มทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

ย้อนมองประเทศไทย แนวโน้มการจัดการขยะอุตสาหกรรมในอนาคต

จากที่ได้จั่วหัวเอาไว้ตั้งแต่ช่วงต้นของบทความ ปัญหาต้นทุนที่แพงหูฉี่ในการกำจัดขยะอุตสาหกรรมของประเทศไทย แรกเลยมาจากการที่โรงงานกำจัดขยะพิษมีน้อยเกินไป โดยปัจจุบันไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีมากขนาดไหน แต่จากข้อมูลปี 2016 พบว่ามีโรงงานที่สามารถกำจัดสารพิษได้ทุกประเภทเพียง 4 โรงงานเท่านั้น โดยมี 3 โรงงานที่เป็นประเภทฝังกลบ ส่วนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เตาเผาเฉพาะเพื่อกำจัดขยะอันตรายมีเพียงแค่ 1 โรงงานถ้วน ด้วยเหตุนี้เองจึงอาจทำให้เกิดการผูกขาดตลาด กำหนดราคาได้ตามใจชอบ เลยเถิดจนถึงปัญหาการลักลอบทิ้งและกำจัดแบบผิดกฎหมาย

แนวโน้มที่จะช่วยแก้ปัญหานี้เบื้องต้นได้ ทุกโรงงานหรือโรงกลึงควรต้องมีการศึกษาและรู้ว่าอุตสาหกรรมของตนเองนั้นผลิตขยะอุตสาหกรรมประเภทใด มีการแยกประเภทให้ถูกต้องอย่างที่ประเทศยักษ์ใหญ่ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่างน้อยถ้าช่วยลดกระบวนการก็อาจทำให้ต่อรองราคาได้เบาบางลงบ้าง รวมถึงการเพิ่มนโยบายจากส่วนกลางสร้างโรงงานจำกัดขยะพิษให้มีจำนวนมากขึ้น ตลอดจนถึงการผลักดันเพื่อแก้พระราชบัญญัตโรงงานที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ซึ่งฉบับนี้ค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 200,000 บาทเท่านั้น หากมองจากจุดนี้ การลักลอบทิ้งแล้วโดนจับได้หนึ่งครั้งแล้วต้องเสียค่ายปรับ ดูจะเบาบางกว่าการเลือกใช้บริการกำจัดขยะตลอดทั้งปีเสียอีก

ขอขอบคุณข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบบทความมา ณ ที่นี้

https://blog.idrenvironmental.com/how-industrial-waste-disposal-is-managed

https://www.businesswaste.co.uk/industrial-waste-disposal

https://tdri.or.th/2018/08/industrial-waste

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (5) artificial intelligence (3) CNC Machining (7) CNC Machining Center (8) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) sustainability (3) ก๊าซเรือนกระจก (3) งานกลึง (3) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ประหยัดพลังงาน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (6) พลังงานทดแทน (3) พลังงานหมุนเวียน (3) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (3) รถยนต์ไฟฟ้า (3) รักษ์โลก (6) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (5) วันแม่แห่งชาติ (2) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (6) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) อุทกภัย (2) เครื่อง CNC (6) เครื่องกลึง CNC (8) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทคโนโลยีโรงงานอุตสาหกรรม (2) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2)