Skip to content

การมาของ “รถยนต์ไฟฟ้า” ส่งผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมยานยนต์แบบเก่า?

ไม่ได้พูดถึงเรื่องของยานยนต์เสียนาน แต่พอได้เห็นกระแสของ “รถยนต์ไฟฟ้า” ที่กำลังมาแรงในบ้านเรา หลังเจ้า Ora Good Cat เปิดตัว ไม่ว่าจะด้วยความน่ารัก สเป็คที่ชวนให้จับจองเป็นเจ้าของ หรืออะไรก็ตามแต่ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่าที่ซดน้ำมัน (ICE) จะถูกแทนที่มากน้อยแค่ไหนกันนะ…

ด้วยความใคร่รู้ดังกล่าว ทำให้เราไปเจอบทความหนึ่งที่พูดถึงการเข้ามา “ปฏิวัติ” ของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งอาจจะมีส่วนเข้ามากำหนดสเป็คสำหรับ OEM (Original Equipment Manufacturer) และบรรดาซัพพลายเออร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมาก เว็บไซต์โรงกลึงพีวัฒน์ตื่นตัวกับอุตสาหรกรรมด้านนี้ และเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก เลยอยากนำมาเล่าสู่กันฟังผ่านเนื้อหาด้านล่างนี้

รถยนต์ไฟฟ้า

เทสล่า & BYD ทัพหน้าพายานยนต์สู่ยุคใหม่?

เริ่มต้นจากการบุกเบิกรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของ เทสล่า และ BYD รวมถึงแบรนด์อื่น ๆ ส่งผลให้คำว่า “ล้าสมัย” มาเยือนเทคโนโลยียานยนต์แบบเก่า (ICE) ไวยิ่งขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลกว่า 50% ทั้งหมดจะกลายเป็นแบบไฟฟ้าภายในปี 2040 จึงไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์มากเท่าไหร่ที่ เทสล่า และ BYD ยังคงเป็นสองบริษัทที่ดูจะล้ำหน้าเรื่องเทคโนโลยีเกี่ยวกับยานยนต์ประเภทนี้มากกว่าเจ้าอื่น

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ หลายบริษัทก็ไม่ได้เพิกเฉยแต่อย่างใด เพราะเอาเข้าจริง ยุคนี้เป็นทศวรรษที่อุปกรณ์ต่าง ๆ เทคโนโลยี CNC สำหรับยานยนต์ เครื่อข่ายลอจิสติกส์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแขนงนี้ นั้นพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว พิสูจน์ได้จากความสามารถในการผลิตที่หลากหลาย ตลอดจนเรื่องของเงินทุนก้อนโตที่เกินกว่าจะเมินได้ แต่การจะเข้าร่วมวงแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยแบบสองแบรนด์ดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา ทั้งเรื่องของการปรับแต่งเครื่องมือเพื่อเบี่ยงเส้นทางจากสาย ICE สู่ EV โดยภาคส่วนการผลิตยานยนต์ด้วยเครื่องมือ CNC นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แบบเต็ม ๆ

รถยนต์ไฟฟ้า

ความแตกต่างของการผลิตชิ้นส่วนระหว่างโรงงานแบบ ICE กับ EV

เครื่องยนต์แบบ ICE นั้นภายในมีความซับซ้อนอย่างมาก ซึ่งเกิดจากความจำเป็นในการเปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นข้อได้เปรียบทางกล พลังงานจากแรงเชิงเส้นเพื่อหมุนล้อผ่านเกียร์สร้างความซับซ้อนที่ดูเหมือนจะไม่มีวันสิ้นสุด ไหนจะเรื่องชิ้นส่วนทั่วไปที่มักทำมาจากโลหะ นั่นแปลว่าต้องมีเรื่องของการกลึงเข้ามาเกี่ยวข้องในการผลิตอีก

ส่วนเครื่องยนต์แบบ EV จะมีความซับซ้อนที่น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด ในแง่ของชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวของรถยนต์ไฟฟ้า แบ่งส่วนประกอบหลักเป็น 3 ส่วน คือ มอเตอร์ไฟฟ้า ชุดแบตเตอรี่ และเกียร์

เรื่องของการทำงานนั้น พลังงานไฟฟ้าจะถูกดึงออกมาผ่านกระบวนการทางเคมีมาให้สู่มอเตอร์ แล้วมอเตอร์จะส่งกำลังไปยังล้อโดยใช้แค่เกียร์ขนาดเล็ก ซึ่งปกติเป็นเกียร์แบบความเร็วเดียว (เช่น รถของเทสล่า) นั่นหมายความว่าการผลิตชิ้นส่วนที่ต้องใช้ CNC มีกระบวนการน้อยกว่าโรงงานแบบ ICE แน่นอน

รถยนต์ไฟฟ้า

ข้อกำหนดของ EV Machining

นี่เป็นสิ่งที่บรรดา OEM และซัพพลายเออร์ของแต่ละบริษัทจะต้องพัฒนาควบคู่กันในการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดยานยนต์ไฟฟ้า โดยด้านล่างนี้เป็นข้อกำหนดบางส่วนที่เป็นข้อมูลสำหรับ EV Machining เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติตามสองค่ายผู้นำในอุตสาหกรรมนี้

การผลิตแบตเตอรี่ การผลิตแบตเตอรี่จะเป็นคอขวดของการผลิต EV ในอนาคต โดยนี่เป็นการคาดการณ์ของ เทสล่า และกำลังวางแผนที่จะบรรเทาผลกระทบดังกล่าว โดยการสร้างศูนย์กลางผลิตแบตเตอรี่ที่เรียกว่า “Gigafactories” นี่เป็นสิ่งที่บริษัทรถยนต์จำเป็นต้องลุยเรื่องการผลิตแบตเตอรี่เอง เนื่องด้วยตลาดนั้นมีการแข่งขันสูงมากอยู่แล้วจากการนำ EV ไปทั่วโลกอย่างจำกัด

นอกจาก เทสล่า ทางด้านของ BYD เองได้ดำเนินการผลิตชุดแบตเตอรี่ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นกระบวนการที่ต้องการความแม่นยำในการผลิตมากที่สุด และยังจำเป็นต้องมีเครื่อง CNC ระดับสูงอีกด้วย

การผลิตระบบส่งกำลัง นี่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ไวสุดเลยก็ว่าได้ เพราะระบบส่งกำลังสำหรับ EV มีความซับซ้อนน้อยกว่าระบบกำลังของ ICE ทั่วไปมาก ดังนั้น OEM และซัพพลายเออร์สามารถจัดการได้เป็นลำดับแรก ๆ โดยเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรกับกระบวนการที่มีอยู่แค่เล็กน้อยเท่านั้น

แผงตัวถัง เป็นอีกสิ่งนึงที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนักหากต้องการกระโจนสู่ตลาดยานยนต์ EV แผงตัวถังเหล่านี้สร้างขึ้นโดยการปั๊มหรือดึงแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรงตามต้องการ โดยใช้แม่พิมพ์เพื่อสร้างรูปแบบที่ซับซ้อนของรถยนต์ กระบวนการนี้ถูกกลึงโดยใช้เครื่องจักรแบบ 5 แกน ซึ่งในการผลิต ICE นั้นใช้งานกันอยู่แล้ว

คุณภาพที่สูงขึ้น นอกจากความ “รักษ์โลก” แล้ว สิ่งที่ตลาดนี้นำเสนอมาตลอด คือ “ความเรียบง่าย” ซึ่งหมายถึงภาพรวมของทุกอย่าง ความสัมพัทธ์ของ EV และเซฟคอสต์เรื่องการบำรุงรักษา โฟกัสต่าง ๆ จะพาไปสู่การผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชิ้นส่วนที่กลึงมีอายุการใช้งานยาวนานตราบเท่าส่วนประกอบอื่นของรถยนต์ไฟฟ้า นี่เป็นอีกสิ่งที่จำเป็นต้องผลิตด้วยเครื่องจักรชั้นสูง ต้องสามารถตอบสนองความแม่นยำและมีความสามารถในการทำซ้ำตามที่ผู้ผลิตแพลนไว้

น้ำหนักเบา เรื่องน้ำหนักเป็นจุดหลักที่ตลาด EV ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ดังนั้นชิ้นส่วนต่าง ๆ จำเป็นต้องผลิตจากวัสดุน้ำหนักเบา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเป็นของ เทสล่า ที่เกือบจะใช้สเปคเดียวกันกับการบินและอวกาศกันเลย แต่มีการปรับใช้ ออแบบโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับยานยนต์

ขั้นตอนนีมีความซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการผลิตมากกว่าชิ้นส่วนยานยนต์แบบดั้งเดิม เป็นผลมาจากรูปทรงอินทรีย์ที่ซับซ้อนจากอัลกอรธึมที่โปรแกรมเอาไว้

เสียงรบกวนต่ำ การออกแบบโดยคำนึงถึง “ความเงียบ” เป็นอีกจุดขายของ EV อยู่แล้ว และอาจมีเสียงรบกวนมากเกินความจำเป็นหากชิ้นส่วนมีการตัดเฉือนที่ไม่ตรงสเป็ค ส่วนการแก้ปัญหานั้นไม่ยากเลย แต่ต้องใช้ทุนหนักหน่อย เพราะจำเป็นต้องใช้เครื่องเจียรที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งก็มั่นใจได้เลยว่าจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างแน่นอน

รถยนต์ไฟฟ้า

ความต้องการของผู้บริโภคสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “การปรับตัว” เปลี่ยนไปใช้สายการผลิตที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมและมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นสำหรับ EV มีความสำคัญมาก จากแนวโน้มปัจจุบันในข้อมูลที่ได้รับมานี้ จำนวนชิ้นส่วนโลหะมีความต้องการลดลงอย่างมาก ส่วนความต้องการในชิ้นส่วนคุณภาพสูงสำหรับ EV กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง… OEM และซัพพลายเออร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีสิทธิ์สูญเสียกำลังการผลิตที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อธุรกิจเกินกว่าที่จะจินตนาการเลยก็ได้

ขอขอบคุณบทความต้นทางจาก https://kingsburyuk.com/how-will-the-electric-vehicle-revolution-change-machining-requirements-for-oems-and-suppliers-in-the-automotive-industry

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หมวดหมู่
ติดตามเราใน Social

สาระนิยม
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและกระบวนการทางวิศวกรรม

โรงกลึงพี-วัฒน์ ยึดมั่นปรัชญาในการทำงานตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เราเน้นใส่ใจลูกค้า มอบงานคุณภาพสูง ตรงต่อเวลา ราคาเหมาะสม ควบคุมงานโดยวิศวกรมืออาชีพ

“ร่วมมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า”

ป้ายกำกับ

ai (4) AR (2) artificial intelligence (3) CNC Machining (6) CNC Machining Center (7) cobot (2) electric vehicle (2) Internet of Things (4) IoT (6) robot (3) Robotics (2) การขนส่ง (2) ขยะอุตสาหกรรม (2) งานกลึง cnc (6) จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ (3) บล็อคเชน (2) ปัญญาประดิษฐ์ (5) พลังงานหมุนเวียน (2) ภาวะโลกร้อน (3) มลพิษทางอากาศ (2) มลภาวะทางอากาศ (2) รถ ev (2) รถยนต์ไฟฟ้า (2) รักษาสิ่งแวดล้อม (2) รักษ์โลก (5) ลดโลกร้อน (6) วันหยุดบริษัท (4) วิทยาการหุ่นยนต์ (2) หุ่นยนต์ (4) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (5) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรม 4.0 (3) อุตสาหกรรมการผลิต (3) อุตสาหกรรมยานยนต์ (3) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (4) อุตสาหกรรมโรงงาน (3) เครื่อง CNC (5) เครื่องกลึง CNC (7) เครื่องจักร CNC (4) เครื่องจักรกล CNC (3) เทรนด์ (2) เทรนด์ 2023 (3) แนวโน้มอุตสาหกรรม (2) โคบอท (2)