5 เทรนด์ยอดนิยม ประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) กับอุตสาหกรรมการผลิต

Internet of Things

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราพูดถึง IoT (Internet of Things) แต่ที่ผ่านมานั้นเราพาเลี้ยวไปรู้จักกับสิ่งนี้แค่ผิวเผิน หากว่ากันตามตรง.. ก็ไม่ค่อยจะสมกับฐานะของเจ้าสิ่งนี้เท่าไหร่นัก เพราะถือเป็นสิ่งที่มีศักยภาพอย่างมาก เรียกได้ว่าสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ ตลอดจนโลกอุตสาหกรรมทุกแขนง แต่ก็ตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า.. ถ้าคุณนำมาปรับใช้ได้ตรงกับธุรกิจของคุณ สิ่งนี้สร้างประโยชน์และยกระดับทุกอย่างได้ชนิดที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดในการฝังเซ็นเซอร์และชิปลงในวัตถุทางกายภาพ อาจฟังดูไร้สาระจนแทบจะเป็นไปไม่ได้..

อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องขอบคุณ Internet of Things ที่เนรมิตรให้แนวคิดสุดเครซี่นี้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้เติบโตขึ้นเป็นแนวคิดหลักสำหรับการทำธุรกิจจำนวนมากภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ยังได้เปลี่ยนแปลงบางแง่มุมในชีวิตประจำวันของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็น การขับรถ การทำอาหาร การจัดซื้อ รวมถึงการผลิตต่าง ๆ ซึ่งก็วนเข้าเรื่องของอุตสาหกรรมที่เราอยากจะนำมาขยายในวันนี้ เกี่ยวกับแนวโน้ม 5 กรณีที่จะทำให้การใช้งาน IoT ได้ดีที่สุด เต็มประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง

Internet of Things

อุตสาหกรรมการผลิตได้ประโยชน์อย่างไรจาก IoT ?

องค์การทั่วโลกหลายแห่งประสบความสำเร็จในการผสานรวมเครื่องมือ IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาเอง สิ่งนี้ช่วยให้พวกเขาเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดเวลาการส่งมอบ และยังลดค่าใช้จ่าย ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาด Internet of Things เพิ่มเป็นทวีคูณในปัจจุบันรวมถึงอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ก็อย่าได้หาแปลกใจแต่อย่างใดที่ IoT นั้นจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตเองและลูกค้าเป้าหมาย สิ่งนี้ในทางอุตสาหกรรมช่วยให้ผู้ผลิตสามารถขยายขนาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในที่สังเกตการณ์และให้บริการจากระยะไกลได้แบบสบาย ๆ ดั้งนั้น บริษัทต่าง ๆ จึงสามารถประเมินความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกว่าที่เคย

ทางด้านของการผลิต หนึ่งในฐานะของอุตสาหกรรม กำลังได้รับโอกาสจากสิ่งนี้อย่างมหาศาล โรงงานหลายแห่งใช้ระบบคอนโทรลที่เชื่อมต่อกันสำหรับขบวนการและควบคุมดูแลอยู่แล้ว ซึ่งประโยชน์หลักของโซลูชัน IoT ดังนี้ :

  • ช่วยตรวจจับและหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความล่าช้า
  • สามารถเพิ่มคุณภาพการผลิตและดึงประโยชน์จากวัตถุดิบ รวมถึงส่วนประกอบที่ผลิตออกมาด้วยการดำเนินการจาก AI
  • ช่วยให้ผู้จัดการสามารถจัดสรรทรัพยาการได้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงทักษะของพนักงาน และทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยได้มากกว่าเดิม

“70% ของบริษัทต่าง ๆ มั่นใจว่าการนำ IoT ไปใช้สามารถลดต้นทุนและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้ดีเยี่ยม”

นี่เป็นหนึ่งในคำกล่าวของผู้สันทัดกรณีที่ติดตามศึกษาของการพัฒนาสิ่งนี้อย่างใกล้ชิด ส่วนประโยคข้างต้นนี้นั้นเกินเลยความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ลองอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ประกอบการตัดสินใจดูกันหน่อยดีกว่า

Internet of Things

เจาะลึกตัวอย่าง IoT ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิต

ณ ปัจจุบัน โครงการ IoT จำนวนมากเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกและสินทรัพย์ การรักษาความปลอดภัยและการดำเนินงาน การขนส่งการบริการลูกค้า ด้วยเหตุนี้ Internet of Things จึงเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นปัจจัยหลักสำหรับธุรกิจในปี 2021 และต่อ ๆ ไป และนี่คือ 5 ตัวอย่างการใช้ IoT ที่ดีที่สุดในการผลิตที่เราจะนำมาบอกเล่าผ่านเนื้อหาด้านล่างนี้ต่อไป

1. การซ่อมแซมเชิงคาดการณ์

ด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ขับเคลื่อนด้วย IoT ที่มีจุดเซ็นเซอร์ต่างกัน (อุณหภูมิ การสั่นสะเทือน แรงดันไฟ้า กระแสสัญญาณ ฯลฯ) เข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ เราจะได้รับข้อมูลการบำรุงรักษาที่จำเป็นได้ ข้อมูลประเภทนี้จะช่วยในการประเมินสภาพปัจจุบันของเครื่องจักร กำหนดสัญญาณเตือน และเปิดใช้งานกระบวนการซ่อมที่เกี่ยวข้องได้ทันทีทันใด

2. การควบคุมการผลิตระยะไกล

คุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของการควบคุมการผลิตระยะไกลในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม คือการกำกับดูแลเครื่องจักรในกระบวนการผลิตแบบรวมศูนย์ข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงพื้นที่การผลิตจริงได้ชัดเจน รวดเร็ว และมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือพนักงานในการวิเคราะห์ข้อมูลองค์กร ทั้งหมดนี้ทำให้เทคโนโลยี IoT เป็นเครื่องมือหลัก สร้างความมั่นใจต่อการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติที่ปลอดภัย ทั้งยังช่วยเรื่องการตรวจสอบพนักงาน และตำแหน่งของบุคลากรได้แบบเรียลไทม์ (IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย)

3. การติดตามทรัพย์สิน

ถ้าพูดคุณสมบัติที่สำคัญไป เชื่อว่าใครที่ติดตามเรามาโดยตลอดจะคุ้นหูกับ “Beacon”  (ทำความรู้จัก Beacon หนึ่งใน IoT น่าสนใจ ที่มูลค่าตลาดอาจสูงระดับหมื่นล้าน!) อันเป็นหนึ่งใน IoT ที่น่าสนใจ ทำให้หลายคนรู้จักสิ่งนี้เป็นวงกว้าง 

ซึ่งงานหลักของการติดตามอยู่ในการค้นหาและดูแลสินทรัพย์สำคัญ สามารถนำมาใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตได้ เช่น ส่วนประกอบของซัพพลายเชน (วัตถุดิบ คอนเทนเนอร์ และสินค้าสำเร็จรูป) โดยแอปพลิเคชั่นดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งได้อย่างมาก รักษาสต็อคของงานที่กำลังดำเนินการ และเปิดเผยการถูกจารกรรมและการละเมิดได้อีกด้วย

4. การจัดการโลจิสติกส์

“IoT สามารถเปิดเผยความไร้ประสิทธิภาพของซัพพลายเชนโดยกำจัดจุดบอดออกจากกระบวนการโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างดี” กล่าวโดย ฟอร์บส์ สื่อยักษ์ใหญ่ด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

การจัดการกลุ่มยานยนต์ผ่านอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ช่วยให้ผู้ผลิตกำจัดหรือลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ พนักงาน และการขนส่ง โซลูชันกลุ่มยานยนต์อัตโนมัติจะช่วยให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้จัดการด้านโลจิสติกส์สามารถดึงศักยภาพของ IoT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็น ด้านการซ่อมแซมและค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง การส่งมอบอันชาญฉลาด การวินิจฉัยที่แม่นยำตลอดจนถึงผู้ขับรถขนส่ง

5. Digital Twins

การใช้แนวทาง IoT ที่เรียกว่า Digital Twins ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างแบบจำลองดิจิทัลที่แข็งแกร่ง เมื่อเสริมศักยภาพด้วย IoT, POC (การพิสูจน์แนวคิด), MVP (ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ขั้นต่ำ) ต้นแบบรูปลักษณ์นี้แม่นยำมากจนเราสามารถทดลองและคาดการณ์ฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ได้เสมือนจริง

พื้นที่แอปพลิเคชั่น IoT ประเภทนี้จะช่วยให้คุณจำลองอายุการใช้งานของเครื่องจักร ตรวจสอบการอัพเดต รวมไปถึงการคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น แม้กระทั่งเรื่องของคอขวด ทุกอย่างนี้ผู้ผลิตสามารถรับแบบจำลองของอุปกรณ์และสินค้าสำหรับการตรวจสอบในสภาพแวดล้อมเหมือนจริงที่สุด ก่อนที่สุดท้ายจะออกสู่ตลาดจริงได้อย่างมั่นใจ

เทคโนโลยีนี้ก็เป็นอีกเทคโนโลยีนึงที่โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เราได้ประเมินความคุ้มทุนและหาแนวทางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องจักร CNC ในโรงกลึงของเรา ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของวิศวกร และคุณภาพในงานกลึงที่ผลิต

Internet of Things

IoT ได้รับความสนใจมากขนาดไหนในปัจจุบัน ?

อุปกรณ์ IoT จำนวนมากผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในปัจจุบัน ดังนั้น จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้งานบน Internet of Things ที่ไม่รวมสมาร์ทโฟน แท็บเลต แลปท็อป เพิ่มขึ้นเป็น 8.3 พันล้านเครื่องเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (2019) นอกจากนี้ จำนวนหน่อยของ IoT ของอุตสหกรรมต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ภายในปี 2025 จะอยู่ที่ 29.7 ล้านเครื่อง ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมาก เพราะเป็นการนับแค่ตลาดของอุตสาหกรรมแบบเพียว ๆ

และอย่างที่ได้กล่าวไป มีองค์กรมากมายประสบความสำเร็จในการใช้ฟิวชั่นเครื่องมือ IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของตน ทั้งหมดทั้งมวลจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของสิ่งนี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในไม่กี่ปีข้างหน้า 

ตามรายงานของ IDC ระบุว่ามูลค่าของ IoT จะเพิ่มขึ้นมากถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 มิหนำซ้ำ Statista ยังออกมาตอกย้ำความมั่นใจโดยกระชุ่นถึงตัวเลขระดับ 3.9 – 11.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 

เห็นตัวเลขมหาศาลขนาดนี้ แล้วคุณล่ะ.. ได้คำตอบหรือยังว่า IoT นั้นมีความน่าสนใจมากน้อยขนาดไหน ?

ขอขอบคุณบทความคุณภาพที่นำมาใช้ประกอบบทความ มา ณ ที่นี้

https://www.byteant.com/blog/5-best-use-cases-of-iot-in-manufacturing/

https://www.record-evolution.de/en/use-cases-utilizing-iot-and-the-artificial-intelligence-of-things-aiot-in-manufacturing/

https://tulip.co/blog/industrial-iot-use-cases-and-applications/

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ อัจฉริยะแห่งการทำซ้ำ คีย์แมนแห่งวงการ mass production

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์สำคัญอย่างไร ? ความหมาย ประเภท และการใช้งาน

เรื่องราวของ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” (Jigs and Fixtures) เราเคยนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง (รู้ไว้เป็นประโยชน์ ข้อดีของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ฮีโร่แห่งการทำซ้ำ) ถึงแม้จะยังไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียดมากมายนัก แต่ก็มีการแนะนำให้คนอุตสาหกรรมได้ทำความรู้จักกับสองเครื่องมือสำคัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่พอสมควร โดยคีย์หลักของฟังก์ชั่นสองสิ่งนี้ บอร์นทูบีเพื่อการผลิตที่แม่นยำ อันเป็นที่มาของการรักษาประสิทธิภาพในการ “ทำซ้ำ” และเน้นย้ำในเรื่องของควอลิตี้ที่ต้องเดินทางควบคู่กันกับการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน ซึ่งสองเครื่องมือนี้ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ถูกเรียกแบบรวมกันอยู่บ่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยก็คือความสับสนระหว่างเครื่องมือทั้งสองอย่างนี้ แม้จะมีลักษณะการทำงาน การใช้งานที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่เป็นจุดสำคัญ

หากคุณเป็นคนอุตสาหกรรมหรืออยากจะเลือกใช้งานสิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลองเลื่อนลงไปติดตามเนื้อหาด้านล่างนี้ รับรองได้เลยว่าคุณจะได้รู้จักกับสิ่งนี้มากกว่าที่เคยแน่นอน

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ทำไมต้องใช้ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ?

ในยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้การจัดหาเพื่อผลิตชิ้นส่วนด้วยความรวดเร็วแม่นยำมีความต้องการสูงมากในตลาด และสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่คอยตามหลอกหลอนผู้ผลิตมาโดยตลอด วนกลับมาที่หน้าที่สำคัญของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องการจับวางตำแหน่งและรองรับชิ้นงาน แต่หากบอกว่าสาเหตุมีเพียงเท่าก็นี้คงไม่สาแก่ใจต่อคำตอบที่ว่า “ทำไมเราถึงต้องใช้จิ๊กและฟิกซ์เจอร์”

เรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่งในสายงานผลิต คือ “การรักษาคุณภาพ” โดยเฉพาะกับชิ้นงานที่ต้องทำทีละจำนวนมาก ๆ (mass production) ซึ่งโรงกลึงพีวัฒน์ของเรายืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีจากการทำงานด้าน mass มาอย่างยาวนาน และสิ่งนี้เองคือต้นตอสำคัญที่เครื่องมือทั้งสองอย่างจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เมื่อใดก็ตามที่มีความจำเป็นใจการทำซ้ำ ตลอดจนการเปลี่ยนชิ้นส่วนในระบบการผลิตจำนวนมาก อุปกรณ์ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” นอกจากจะรับประกันได้ว่าชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพมีความแม่นยำสูง นี่ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่ประหยัดที่สุดด้วยหากเทียบกับวิธีอื่น

ความหมายของ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์”

สำหรับท่านไหนที่ไม่อยากจะกดลิงค์เพื่อย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้า เราจะมาบอกถึงความหมาย ความสำคัญคร่าว ๆ ของสองอุปกรณ์นี้ก่อนที่จะพาไปลงลึกถึงประเภทต่าง ๆ การใช้งาน รวมถึงความแตกต่างที่สามารถเป็นจุดสังเกตในการแยก เพื่อนำไปใช้งานให้ถูกต้องตามความสามารถของอุปกรณ์และชิ้นสวนงานที่คุณต้องการผลิต

จิ๊กนั้นมีความสามารถในการจับตำแหน่ง นำทาง และรองรับชิ้นงานในการดำเนินการบางอย่าง รวมถึงการเคลื่อนย้ายด้วย ส่วนฟิกซ์เจอร์นั้นก็มีความสามารถที่คล้ายกันแต่จะไม่สามารถนำทางเครื่องมือได้ ส่วนความแตกต่างอื่น ๆ เดี๋ยวเราจะลิสต์เป็นข้อเพื่อที่จะสามารถแยกแยะและนึกภาพตามได้อย่างชัดเจน ในหัวข้อต่อไป

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ความแตกต่างระหว่างจิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ความแตกต่างพื้นฐานระหว่างจิ๊กซ์และฟิกซ์เจอร์ คือจิ๊กจะนำทางเครื่องมือ แต่ฟิกซ์เจอร์นั้นไม่ช่วยในสิ่งนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอย่างสามารถเป็นไกด์ช่วยซัพพอร์ตและค้นหาตำแหน่งของชิ้นงานได้เป็นอย่างดีเหมือนกัน

จิ๊กจะมีส่วนที่สัมผัสกับเครื่องมือ แต่ในกรณีของฟิกซ์เจอร์นั้นไม่สัมผัสกับเครื่องมือโดยตรง ซึ่งทั้งสองอุปกรณ์นี้จะใช้กฎ 3-2-1 เพื่อจำการชิ้นงานอย่างเหมาะสม ความหมายโดยย่อของกฎ 3-2-1 ทั่วไปจะเป็นการล็อคองศาอิสระทุกระดับเพื่อให้ชิ้นงานไม่สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เราไมต้องการนั่นเอง

จุดสังเกตที่แตกต่างของสองอุปกรณ์

จิ๊ก (Jigs) / ฟิกซ์เจอร์ (Fixtures)
  • นำทางเครื่องมือ / ไม่นำทางเครื่องมือ
  • สัมผัสกับเครื่องมือ / ไม่มีการสัมผัสกับเครื่องมือ
  • อุปกรณ์จับยึดมีน้ำหนักเบา / อุปกรณ์จำยึดมีนำหนักมาก
  • การออกแบบซับซ้อน / การออกแบบเรียบง่าย
  • ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อคเกจ / อาจจำเป็นต้องใช้บล็อคเกจ
  • ไม่จำเป็นต้องยึดกับโต๊ะ / ต้องมีตัวช่วยยึดเนื่องจากมีน้ำหนักมาก
  • อุปกรณ์จำยึดราคาสูง (หากมีความเป็นต้องยึด) / อุปกกรณ์จำยึดราคาย่อมเยาว์
จิ๊กและฟิกซ์เจอร์
ข้อพิจารณาการออกแบบของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์
  • ศึกษาชิ้นงานอย่างเหมาะสม
  • ศึกษารายละเอียดของเครื่องมือ
  • วิธีการการจัดการแคลมป์ (Clamping arrangement)
  • เส้นทางการขนถ่ายชิ้นงาน
  • กำหนดขอบเขตความคลาดเคลื่อนและความแม่นยำในชิ้นงาน
  • แมชชีนเบดไซส์
  • ความจุของเครื่องจักร
  • ความต้องการแหล่งพลังงาน
  • ช่องว่างระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ
  • ค่าใช้จ่าย

ยกระดับการใช้ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ”

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

เมื่อได้รับรู้ถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ กันไปแล้ว อีกหนึ่งเทคโนลีใหม่ที่เข้ามาเติมเต็มประสิทธิภาพให้กับทั้งสองอุปกรณ์ การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติออกแบบจะสามารถช่วยให้คุณเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมใด ๆ ในจิ๊กหรือฟิกซ์เจอร์ได้ในขณะที่อยู่ในขั้นตอนดังกล่าว ประโยชน์ของการออกแบบของ AM (Additive Manufacturing) จะขช่วยยกระดับการเข้าถึงคุณสมบัติขนาดเล็กที่ยากต่อการตัดเฉือนและรูปทรงที่เป็นไปได้ยากในการกัดหรือกลึง ทั้งหมดนี้สามารทำได้ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3D เข้ากับสองอุปกรณ์พระเอกของเรา

สิ่งที่น่าตื่นเต้นตอนนี้ จากแหล่งข้อมูลได้ระบุว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ AM กำลังเดินหน้าพัฒนาโซลูชั่นอัตโนมัติอย่างแข็งขัน ทั้งหมดก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการออกแบบ และช่วยให้วิศวกรผู้ดูแลสามารถประเมินตัวเลือกในการดีไซน์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกที่สุด

ในแหล่งข้อมูลนั้นยังยกตัวอย่างบริษัทยานยนต์ยักษใหญ์อย่าง “ฟอร์ด” ที่แสดงความพึงพอใจออกสื่อว่าระบบอัตโนมัติสามารถลดเวลาในการออกแบบเครื่องมือจากหลักชั่วโมงเหลือเป็นหน่วยนาที ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลมาจากการออกแบบด้วย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ก่อนที่จะกำหนดค่าของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ได้ตรงความต้องการ ดึงศักยพภาพสูงสุดของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตออกมาใช้ประโยชน์ได้สูงที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลประกอบบทความ รวมถึงเนื้อหาสาระประโยชน์ดี ๆ จาก

Jigs And Fixtures: Definition, Types And Applications | RiansClub

Jigs and Fixtures: 6 Ways to Improve Production Efficiency with 3D Printing – AMFG

แมชชีนทูล 4 อันดับแรกที่จะเติบโตในอนาคต จากมุมมองของบริษัทการเงิน การลงทุน

แมชชีนทูล

สถานการณ์ ณ ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเรื่องของเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับโลกยุค “New Normal” หลายประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ที่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับ โควิด-19 ต่างมองยาวไปถึงเรื่องของการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่าง ๆ ตลอดจนถึงมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศ ให้มีความพร้อมต่อการทำธุรกิจ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ประกอบการเองแล้ว ยังส่งผลกลับมาต่อประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นในการลงทุน และอื่น ๆ อีกมากมาย

และเช่นเคย.. เมื่อเราพบกันส่วนใหญ่ก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมมาอัพเดตกันอยู่เสมอ ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องราวดี ๆ ที่ผู้เขียนได้เจอมาในระหว่างค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับเทรนด์ “แมชชีนทูล” ที่สื่อการเงินเจ้าใหญ่อย่าง DLL Finance แห่งดินแดนเสรีภาพ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาวิเคราะห์เกี่ยวกับแน้วโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ได้อย่างน่าสนใจ

แมชชีนทูล

คือต้องกล่าวก่อนว่า DLL นั้นได้นิยามตัวเองว่าเป็น “เพื่อนคู่คิดด้านการเงินการลงทุน” พร้อมสนับสนุนทุกธุรกิจใหม่อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหากอุตสาหกรรมนั้นมีแนวทางปฏิบัติที่พร้อมจะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามายกระดับธุรกิจในภาคส่วนของตน ส่วนใหญ่เป็นการปรับแนวคิดตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ล้วนมีผลกระทบเกี่ยวกับผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายแมชชีนทูลอย่างยิ่ง จากสาเหตุดังกล่าวทำให้พวกเขาได้รวบรวมเทรนด์ “แมชชีนทูล” 4 อันดับแรกที่จะสร้างโอกาสเติบโตในอนาคต คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในระยะกลางถึงระยะยาวเนื่องจากแพร่หลายมากขึ้นทั่วทั้งเศรษฐกิจ ส่วนจะมีเทรนด์ใดบ้าง.. เชิญติดตามเนื้อหาด้านล่างต่อจากนี้ได้เลย

“แมชชีนทูล” ที่มีแน้วโน้มไปได้ไกลในโลกยุคใหม่ ช่วยอะไรได้บ้าง

มีรายงานว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการเงินการลงทุนเจ้านี้ มีการส่งผู้เชี่ยวชาญลงไปคลุกคลีเพื่อติดตามแน้วโน้มความเป็นไปของเทคโนโลยีเครื่องมือ เครื่องจักรกลแบบใกล้ชิด ซึ่งคำกล่าวข้างต้นที่ได้โปรยเอาไว้ ว่าพวกเขานั้นพร้อมสนับสนุนทุกธุรกิจที่มีการวางแผนให้เข้ากับเครื่องมือสมัยใหม่ มาจากปากของ สตีฟ โฮป ผู้จัดการ DLL CT&I ที่ดูแลเรื่องนี้ โดยโปรแกรมนี้นั้นจะมีทั้งคำแนะนำ แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจของผู้ประกอบการที่ไม่กลัวในการเปลี่ยนแปลงได้ยกระดับ สร้างการเติบโตของยอดขายและประสิทธิภาพในการดำเนินงานรูปแบบใหม่อยู่เสมอ

แมชชีนทูล

4 เทรนด์ แมชชีนทูล ในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ

  1. ยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicles)

เป็นสิ่งที่อุตสาหรกรรมการผลิตต้องมองให้ขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชิ้นส่วนตลอดจนถึงกระบวนการผลิต ยุคแห่งการเปลี่ยนถ่ายจากเครื่องยนต์สันดาปทั่วไปมาสู่แบบไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้เอาแค่ในไลน์ของ “รถยนต์” ยังมีให้เลือกทุกประเภทเกือบจะครอบคลุมทั้งหมดแล้ว 

ในขณะเวลาที่เดินหน้าไม่ถอย เทคโนโลยีก็ต่างล้ำขึ้นไปทุกขณะ เรื่องนี้จะส่งผลกระทบมากแน่นอนหากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องยังไม่ปรับตัวมาสนใจระบบพลังงานนี้

  1. ระบบอัตโนมัติ – อุตสาหกรรม 4.0 (Automation – Industry 4.0)

เรื่องนี้เราเคยเขียนแบบแยกชำแหละให้เห็นภาพกันแบบชัด ซึ่งคุณสามารถย้อนกลับไปอ่านได้แบบเต็ม ๆ เลย เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความจำเป็นอย่างมากในการเดินหน้าเพื่อแข่งขันสำหรับตลาดการผลิตแบบอัตโนมัติ เรื่องของเครื่องจักรต่าง ๆ และหุ่นยนต์จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น (เทรนด์อุตสาหกรรม 2021 จากยุคเดิมสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ผ่านมุมมองสื่อดัง Forbes)

สิ่งนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในสายงานผลิตแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทรัพยากรมนุษย์ ที่เราสามารถโยกบุคลากรเหล่านี้ไปทำงานที่เกิดประโยชน์ได้มากกว่า เช่น การควมคุมระบบต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ ทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ แถมยังไม่ต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นในโรงงานอีกด้วย

  1. การผสมผสานของการพิมพ์ 3 มิติ (Integration of 3D printing)

สิ่งนี้แม้จะได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมานี้ แต่ยังคงเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากในการเข้าสู่ตลาด แต่คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าการพิมพ์แบบ 3 มิติ จะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมของคุณไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่นอน ความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้เทคโนโลยีนี้ หากให้นึกแบบเร็ว ๆ ก็คือสายงานการผลิตที่ต้องการให้แมชชีนทูลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสร้างผลผลิตออกมาในจำนวนที่มากขึ้นนั่นเอง

ภาคการผลิตในศตวรรษที่ 21 บาง OEM ที่เชี่ยวชาญในเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ต่างอัพเกรดเครื่องจักรให้ทรงอานุภาพมากกว่าเดิม สำหรับรองรับความต้องการของลูกค้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันนี้เครื่องจักรหลายแขนงต่างมีเทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งแทบจะเกือบทั้งหมดแล้ว

  1. แมชชีนทูล ความแม่นยำสูง (Higher precision machine tools)

นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โครงสร้างและส่วนประกอบชิ้นงานที่ปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ การที่มี “เครื่องมือกล” ที่มีความเที่ยงตรงสูง สามารถตัดเฉือนชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยความแม่นยำ มีความละเอียดมายิ่งขึ้น 

จริงอยู่ว่าเรื่องของต้นทุนนั้นก็มีความสำคัญ แต่โลกกำลังเปลี่ยนไปในแง่ของประสิทธิภาพ หากตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า แม้จะมีราคาที่สูงกว่าแลกกับคุณภาพที่ดีขึ้น ทำได้ตามกำหนดครบทุกกระเบียดนิ้ว สเป็คนี้ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าตามความเห็นของ DLL ที่ได้เก็บข้อมูลมาเป็นเวลาพอสมควร

แมชชีนทูล

สุดท้ายแล้วทั้งหมดนี้เป็นเพียงมุมมองของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเงินการลงทุนเท่านั้น อาจจะเป็นคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังมองเห็นทิศทางของเทรนด์อุตสาหกรรมซึ่งรุดหน้าอย่างรวดเร็วได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร หากมีข้อไหนที่สามารถปรับใช้กับธุรกิจของคุณ โรงกลึงหรือโรงงานขนาดเล็ก-กลาง ลองนำไปวิเคราะห์ดู อาจจะค้นพบแนวทางใหม่ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น การปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ไม่มีคำว่าเสียเวลาแน่นอน อยู่ที่มุมมองของคุณแล้วล่ะว่าจะเลือกใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคาดการณ์นี้อย่างไร หากมองแบบมักน้อยที่สุด คือได้เรียนรู้ผ่านมุมมองของผู้ลงทุนที่คลุกคลีกับหลายธุรกิจ ก็น่าจะพอมีอะไรให้ปรับใช้บ้างไม่มากก็น้อย

แนวทางส่งเสริมการกำจัดขยะอุตสาหกรรมให้ถูกวิธี

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

จากข้อมูลเมื่อปี 2016 มีรายงานว่าประเทศไทยนั้นผลิตกากอุตสาหกรรมอันตรายออกมามากถึง 2.8 ล้านตัน แต่ที่น่าตระหนกไปกว่านั้น มีเพียง 1.1 ล้านตัน ที่ถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการ กำจัดขยะอุตสาหกรรม แบบถูกต้องโดยหน่วยงานบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคิดเป็นเพียง 40 เปอร์เซนต์ของทั้งหมด เรียกว่าไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ และจากที่ได้ศึกษาข้อมูลผ่านเว็บสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย พบว่าสาเหตุคร่าว ๆ มาจากต้นทุนการกำจัดขยะอุตสาหกรรมนั้นมีมูลค่าที่สูงลิบ ขยะอันตราย 1 ตัน มีต้นทุนในการกำจัดตั้งแต่ 4,000 บาท ไปจนถึงระดับ 150,000 บาท ตามแต่ละประเภทกันเลยทีเดียว

แต่ก่อนจะตามหาสาเหตุที่ทำให้การกำจัดขยะอุตสาหกรรมหรือกากอุตสาหกรรม บทความนี้อาจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้คุณรู้จักกับสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น และน่าจะเป็นประโยชน์หากอุตสาหกรรมของคุณสามารถแยกประเภทของขยะอุตสาหกรรมแต่ละประเภทได้แบบจริงจัง ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายบนการเลือกใช้บริการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องได้แบบตรงโจทย์ต่อธุรกิจของคุณมากที่สุด โดยสิ่งต่าง ๆ นี้เป็นหนึ่งในกระบวนการรักษ์โลกอีกด้วย

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

ขยะอุตสาหกรรม คืออะไร?

ของเสียจากอุตสาหกรรมประกอบด้วยของเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในระหว่างกระบวนการผลิต ดังนั้น ของเสียอุตสาหกรรมอาจประกอบไปด้วยของเสียจากสารเคมี ของเสียอันตราย และของเสียที่เป็นพิษ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้ที่มีความสามารถมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการกำจัดของเสียจากอุตสาหกรรมของคุณ นอกจากจะเป็นการดำเนินตามมาตรการสากลแล้ว ยังเป็นการปกป้องสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายนั่นเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณต้องเข้าใจว่าอุตสาหกรรมของคุณกำลังสร้างของเสียจากอุตสาหกรรมประเภทใด เพื่อที่จะได้ทราบว่าของเสียเหล่านั้นจะต้องได้รับการจัดการอย่างไร รวมถึงการปฏิบัติตามข้อระเบียบบังคับใดซึ่งก็อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของเสียต่าง ๆ

ประเภทของขยะอุตสาหกรรม

จากขยะมากมายที่หลายประเภทองค์กรผลิตขึ้น โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ของเสียที่เป็นพิษ
  • ขยะเคมี
  • ขยะอุตสาหกรรม
  • ขยะมูลฝอยชุมชน
  • ผลิตภัณฑฺ์กระดาษ
  • กากกัมมันตภาพรังสี
  • โลหะ
  • เชื้อเพลิงสำรอง
  • น้ำมันหล่อลื่น
  • แบตเตอรี่
  • สารเคมีต่าง ๆ เช่น กรด ด่าง และฟีนอล
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปั๊มสำหรับกระบวนการผลิต และหม้อแปลงไฟฟ้า
  • ของเสียในห้องปฏิบัติการ
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งจากลิสต์ที่เราได้กล่าวไปจะเห็นได้ว่ามีขยะอุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่สามารถจำกัดได้ตามปกติ เช่น ของเสียที่เป็นสารพิษต่าง ๆ สารเคมี และกัมมันตภาพรังสี ซึ่งจำต้องมีบริษัทและผู้ชำนาญการที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกฝ่ายแน่ใจว่าของเสียอันตรายจะไม่ทำให้ใครหรือสิ่งใดต้องตกอยู่ในความเสี่ยง

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

แนวทางการกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่น่าสนใจของประเทศยักษ์ใหญ่

ประเทศสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีนั้นมีการสร้างและกำจัดขยะมูลฝอยทางอุตสาหกรรมประมาณ 7.8 พันล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนเยอะกว่าประเทศไทยแบบเทียบกันไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็มาจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศที่มีความเข้มงวดอย่างมาก ทำให้บริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับขยะอุตสาหกรรมที่คุณประกอบธุรกิจ โดยการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมจะมีการใช้เทคโนโลยีและบริการที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาการจัดการตามข้อกำหนดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

มีรายงานว่ามีโรงงานหลายแห่งในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ที่เปิดให้ทิ้งขยะอุตสาหกรรมได้ แต่ก็วนกลับมาที่มาตรการเบื้องต้น คือคุณจำเป็นต้องตรวจสอบและมีความแน่ใจแล้วว่าประเภทขยะของคุณนั้นตรงกับที่โรงงานเปิดให้บริการหรือไม่ โดยเฉพาะหากเป็นของเสียอันตราย มีน้อยมากที่จะเปิดให้บริการ แต่ก็เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ

เลือกใช้บริการกับผู้เชี่ยวชาญ ประหยัดต้นทุนได้มากกว่า

โดยส่วนใหญ่การจำกัดของเสียอันตรายจะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่เพียบร้อมรวมถึงผู้ชำนาญการที่ถูกอบรบมาอย่างดีเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามนั่นถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของคุณที่จะต้องรับผิดชอบทั้งทางกฎหมายและทางการเงินสำหรับของเสียเหล่านั้นที่อุตสาหกรรมของคุณสร้างขึ้นมา จนกว่าทุกอย่างจะได้รับการขนส่ง บำบัด หรือกำจัดอย่างเหมาะสมที่สุด

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ข้อสังเกตคือขนาดประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริการยังไม่มีโรงงานไหนเลยที่กำจัดขยะอุตสาหกรรมได้ด้วยตัวเอง การเลือกใช้บริการกำจัดของเสียโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะมั่นใจได้ว่าการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมนั้นดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง ยังมีบริการที่ช่วยคุณจำแนกของเสียต่าง ๆ ว่าเป็นประเภทใด แม้จะมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยแต่ก็ประหยัดต้นทุนได้มากกว่าการที่จะริเริ่มทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

ย้อนมองประเทศไทย แนวโน้มการจัดการขยะอุตสาหกรรมในอนาคต

จากที่ได้จั่วหัวเอาไว้ตั้งแต่ช่วงต้นของบทความ ปัญหาต้นทุนที่แพงหูฉี่ในการกำจัดขยะอุตสาหกรรมของประเทศไทย แรกเลยมาจากการที่โรงงานกำจัดขยะพิษมีน้อยเกินไป โดยปัจจุบันไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีมากขนาดไหน แต่จากข้อมูลปี 2016 พบว่ามีโรงงานที่สามารถกำจัดสารพิษได้ทุกประเภทเพียง 4 โรงงานเท่านั้น โดยมี 3 โรงงานที่เป็นประเภทฝังกลบ ส่วนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เตาเผาเฉพาะเพื่อกำจัดขยะอันตรายมีเพียงแค่ 1 โรงงานถ้วน ด้วยเหตุนี้เองจึงอาจทำให้เกิดการผูกขาดตลาด กำหนดราคาได้ตามใจชอบ เลยเถิดจนถึงปัญหาการลักลอบทิ้งและกำจัดแบบผิดกฎหมาย

แนวโน้มที่จะช่วยแก้ปัญหานี้เบื้องต้นได้ ทุกโรงงานหรือโรงกลึงควรต้องมีการศึกษาและรู้ว่าอุตสาหกรรมของตนเองนั้นผลิตขยะอุตสาหกรรมประเภทใด มีการแยกประเภทให้ถูกต้องอย่างที่ประเทศยักษ์ใหญ่ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่างน้อยถ้าช่วยลดกระบวนการก็อาจทำให้ต่อรองราคาได้เบาบางลงบ้าง รวมถึงการเพิ่มนโยบายจากส่วนกลางสร้างโรงงานจำกัดขยะพิษให้มีจำนวนมากขึ้น ตลอดจนถึงการผลักดันเพื่อแก้พระราชบัญญัตโรงงานที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ซึ่งฉบับนี้ค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 200,000 บาทเท่านั้น หากมองจากจุดนี้ การลักลอบทิ้งแล้วโดนจับได้หนึ่งครั้งแล้วต้องเสียค่ายปรับ ดูจะเบาบางกว่าการเลือกใช้บริการกำจัดขยะตลอดทั้งปีเสียอีก

ขอขอบคุณข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบบทความมา ณ ที่นี้

https://blog.idrenvironmental.com/how-industrial-waste-disposal-is-managed

https://www.businesswaste.co.uk/industrial-waste-disposal

https://tdri.or.th/2018/08/industrial-waste

ตัวช่วยอุตสาหกรรมการผลิต เลือกใช้ให้เหมาะสม จะ Cobot หรือ Robots ดี?

Cobot

จากบทความก่อนที่เราได้พากันไปเจาะลึกเกี่ยวกับ “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ว่าตอนนี้นั้นมีแบบไหน ประเภทไหน ที่กำลังได้รับความนิยมและถูกใช้งานมากที่สุด ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการพูดถึงอีกหนึ่งเทคโนโลยี “ลูกผสม” อย่าง “Cobot” ว่ามีความน่าสนใจและเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของอุตสาหกรรมการผลิตไม่แพ้กัน ในความแตกต่างเต็มด้วยไปด้วยประโยชน์มากมายที่หลายธุรกิจสามารถนำมาเป็นตัวเลือกเพื่อใช้ในโรงงานผลิตของคุณได้ไม่แพ้กับ Robots (หรือเรียกอีกอย่างว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรม) เลยทีเดียว

ส่วนความแตกต่างของ Cobot กับ Robots นั้นมีอะไรบ้างที่เราควรรู้ เพื่อสุดท้ายแล้วจะได้นำไปประกอบการตัดสินใจสำหรับเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานของคุณ เรารวบรวมข้อมูล รวมถึงจุดสังเกตต่าง ๆ เอาไว้ในเนื้อหาด้านล่างนี้แล้ว เชิญติดตามกันได้เลย

Cobot

Cobot คืออะไร?

Cobot คือ หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกับมนุษย์บนภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นได้มากในส่วนผลิต ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 10218-1 รวมถึงมาตรฐานรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ โดยคำว่า Cobot ย่อมากจาก “Collaborative Robots” หากดูจากวัตถุประสงค์ที่สร้างขึ้นมาตามคำนิยามของสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ จะเห็นได้ว่ามีความหมายตรงตัวที่ชัดเจน

ลักษณะของ Cobot นั้น ส่วนใหญ่ที่พบเจอได้มากจะเป็นในรูปแบบของแขนกล มีขนาดที่กะทัดรัด ง่ายต่อการใช้งานและเป็นมิตรกับมนุษย์ เพราะการสร้างนั้นคำนึงถึงการทำงานร่วมกันไปจนถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 

สิ่งที่ทำให้ Cobot ประสานงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย สืบเนื่องมากจาการติดตั้งเซนเซอร์ที่ล้ำสมัยต่าง ๆ ตลอดจนการตั้งค่าตัวเครื่องเพื่อซัพพอร์ตงานของมนุษย์อยู่แล้ว ก็วนกลับไปอย่างที่บอกไว้ในช่วงต้นว่าสิ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อมาตรฐานความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นปัจจัยหลักในการมีอยู่ของสิ่งนี้นอกเหนือจากประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม

ความแตกที่สำคัญระหว่าง Cobot กับ Robots

สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมีหลายอย่างเหมือนกัน แต่ข้อที่สำคัญและสังเกตได้ง่ายที่สุด กล่าวคือ Cobot นั้นได้รับการออกแบบให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ ส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หรือ Robots นั้นเป็นการทำหน้าที่แทนมนุษย์

ย้อนกลับไปในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัย Cobot นั้นสามารถช่วยพนักงานให้อยู่ห่างจากอันตรายได้อย่างมาก รวมถึงงานที่ต้องใช้แรงกำลังในการทำเกินกว่าพลังของมนุษย์ ตลอดจนถึงงานที่เป็นแบบ routine อันแสนน่าเบื่อหน่าย เราก็สามารถให้เทคโนโลยีนี้ช่วยได้เช่นกัน นอกจากจะทำให้อุตสาหกรรมมีความปลอดภัยแล้ว ยังส่งผลให้คุณภาพงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ส่วนเจ้าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม Robots จะอยู่ในทิศทางกันตรงข้ามกันเลย สิ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปในแบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด เรียกได้ว่าแทบจะปราศจากการร่วมมือของมนุษย์ในกระบวนการผลิต แต่ก็ส่งผลเป็นข้อดีในแง่ของการลดจำนวนทรัพยากรมนุษย์ ทำให้บุคลากรเหล่านั้นใช้เวลาตรงส่วนนี้ไปทำงานที่มีความหมายมากกว่า และอาจรวมถึงลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บในท่วงท่าซ้ำ ๆ เมื่อต้องการทำงานร่วมกับ Cobot อย่างต่อเนื่องเป็นเวล่านาน ซึ่งก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้เช่นกัน

Cobot

Cobot vs Robots สิ่งแตกต่างในความสามารถบนอุตสาหกรรมการผลิต

ยังไม่มีข้อชี้วัดแบบที่ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจน ไม่มีแบบไหนที่ดีกว่ากัน มีแต่การเลือกใช้งานให้ตอบโจทย์กับอุตสาหกรรมนั้น ๆ นี่เป็นสิ่งที่ทั้งสองอย่างนี้พร้อมเป็นตัวเลือกให้กับในทุกโรงงานผลิตได้

Cobot สามารถตั้งค่าโปรแกรมต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพราะสามารถเรียนรู้ในงานที่เคยถูกตั้งค่าเอาไว้ได้ด้วย วิธีการหากพูดแบบบ้าน ๆ เลยก็คือพนักงานสามารถจะตั้งค่า Cobot ใหม่ได้แบบง่ายดาย เพียงแค่ขยับแขนหรือชิ้นส่วนที่เราต้องการให้เป็นไป จากนั้น Cobot จะจดจำแล้วทำซ้ำได้ด้วยตัวเอง

ในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้วิศวกรผู้ชำนาญการในด้านนั้น ๆ เขียนโค้ดขึ้นใหม่ทั้งหมดสำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามต่อกระบวนการที่จะนำไปใช้

แต่ในประโยชน์ของ Cobot ก็มีข้อจำกัดที่ตามมา ด้วยความที่มีขนาดและความจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกับมนุษย์ สิ่งนี้จึงไม่ตอบโจทย์ในการผลิตจำนวนมาก ๆ ซึ่งข้อนี้เองที่กลายเป็นจุดแข็งแกร่งของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่เรียกได้ว่า “เกิดมาเพื่อสิ่งนี้” ยกตัวอย่างเช่น วงการยานยนต์ที่ในส่วนการผลิตนั้นแทบจะเป็นการใช้หุ่นยนต์เกือบเต็มรูปแบบ มีระบบแยกจุดระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรในโรงงาน

ขณะเดียวกัน หากไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แบบที่กล่าวไป Cobot จะกลายเป็นคีย์แมนเพราะมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการทำงานร่วมกับมนุษย์ รวมถึงความสะดวกรวดเร็วในการปรับค่าต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ความซับซ้อนสูงบนส่วนของการผลิตนั่นเอง

ด้านผู้ประกอบการของโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอย่างโรงกลึงพี-วัฒน์เอง ก็อย่างที่เคยกล่าวไปแล้ว เรื่องวิสัยทัศน์ในการติดตามเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต และถึงแม้ว่าทั้ง Cobot หรือ Robots ยังจะดูห่างไกลไปซักหน่อยในตอนนี้กับรูปแบบการทำงานในโรงกลึงของเรา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ซะทีเดียว เรายังคงเปิดรับและพยายามปรับปรุงแก้ไขกระบวนการที่เยิ่นเย้อ ทับซ้อน เพื่อให้คล่องตัวมากขึ้นและสอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อยู่เสมอๆ

Cobot

ทุกความแตกต่างมีข้อดี อยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะกับอุตสาหกรรม

อย่างที่ย้ำกันมาเสมอตั้งแต่เริ่มเรื่อง ทั้งสองสิ่งนี้เป็นตัวช่วยบูสต์ศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิตได้เป็นอย่างดี เพียงแต่มีข้อแตกต่างในเรื่องของสมรรถนะการใช้งาน ความปลอดภัย ตลอดจนต้นทุนของโรงงานผลิตบนอุตสาหกรรมนั้น ๆ ฉะนั้น สิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงให้มากที่สุดก่อนเลือกนำเข้าใช้งานกับธุรกิจจำเป็นต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังการผลิต ลักษณะงานที่ต้องทำ น้ำหนักของสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ตลอดจนเรื่องของพื้นที่ก็เป็นส่วนที่จะละเลยไม่ได้เด็ดขาด

ส่วนอีกข้อสำคัญ เราต้องไม่หลงลืมประเด็นว่า Cobot นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อช่วยอุตสาหกรรมลดต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากการหลีกเลี่ยงไม่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายแพงกว่า เพราะแต่ละโรงงานนั้นต่างถูกกำหนดมาแล้วด้วยไลน์ของการผลิต หากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ระบบแอบอัตโนมัติทั้งหมดในกระบวนการดังกล่าวยังไงเสียหุ่นยนต์อุตสาหกรรมก็ยังคงมีที่ยืน แต่หากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ต้องใช้งานแบบเต็มระบบขนาดนั้น การมองความสามารถของ Cobot. ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน และนี่ก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจหากคิดเริ่มจะใช้งานเรื่องของหุ่นยนต์ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนและรอบคอบที่สุด

ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทำความรู้จัก “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ตัวไหนฮิตสุดในปัจจุบัน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

หากย้อนหลังไปกว่านี้สัก 7-10 ปี การพูดถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ดูจะเป็นเรื่องที่ถูกจำแนกไว้เพียงแค่โรงงานขนาดใหญ่เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยมายด์เซตก็ดี หรือด้วยข้อเท็จจริงก็ดี การที่โรงงานนึงจะใช้เทคโนโลยีนี้ได้ ถูกมองว่าต้องมีทุนที่หนาไม่น้อย นอกจากจะเป็นเรื่องที่ใหม่แล้ว เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ก็ดูเหมือนจะยังไม่มีความพร้อมรอบด้านเหมือนกับอย่างทุกวันนี้ ทำให้ผู้คนมากมายต่างมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวอยู่พอสมควร

ณ ปัจจุบัน มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก หากเราจะบอกว่า โควิด-19 นั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เข้ามาบูสเตอร์กับหลายโรงงานให้ได้รู้จักกับเทคโนโลยี และเลือกใช้กับประเภทที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของพวกเขามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็วนกลับไปที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาอย่างรุดหน้าในช่วงที่หลายองค์กร นักพัฒนา ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ พร้อมใจกันฝ่าวิกฤตการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ผลพลอยได้ต่าง ๆ นั้นก็ส่งต่อมาถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ในจังหวะที่พอเหมาะพอเจาะ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเภทของ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่ใช้งานทั่วไปมีอะไรบ้าง ?

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) ถ้าให้พูดกันแบบเร็ว ๆ สิ่งนี้ก็คือหนึ่งในชนิดของเครื่องจักรกลที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานสำหรับกระบวนการต่าง ๆ โดยมีทั้งแบบควบคุมโดยมนุษย์ หรือควบคุมโดยระบบอัตโนมัติ ผ่านการป้อนโปรแกรม มีทุกขนาดตั้งแต่เล็กสุดจนถึงใหญ่สุด ซึ่งในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้น จะแบ่งออกเป็นไทป์คร่าว ๆ ก่อนถูกประยุกต์ตามรูปแบบอีกที เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ

ประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

Cartesian Robot

มีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ Linear Robot ซึ่งลักษณะการทำงานนั้นก็แปลตรงตัวกับความหมายเลย หุ่นยนต์ชนิดนี้จะเน้นการคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหมดทั้ง 3 แกน เป็นหนึ่งในประเภทที่มีความแข็งแรงเหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ประสิทธิภาพในการับน้ำหนักสูง แต่ก็ต้องแลกด้วยกับการที่ไม่สามารถใช้งานแบบละเอียดอ่อนได้ รวมถึงใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากตามขนาดของหุ่นยนต์

ในอุตสาหกรรม การใช้งาน Cartesian Robot ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรอีกทีนั่นเอง

Cylindrical Robot

ลักษณะการทำงานนั้นจะคล้ายคลึงกับประเภทก่อนหน้าเลยทีเดียว เพียงแต่ Cylindrical Robot จะเป็นการทำงานแบบหมุนรอบแกน ไม่ได้เป็นแบบเลื่อนเข้าออกเส้นตรงอย่าง Linear Robot

สำหรับหุ่นยนต์ประเภทนี้มักถูกนำไปใช้งานขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ จับยก งานเชื่อม ตลอดจนถึงงานประกอบแบบอื่น ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์ที่เน้นการทำงานแบบรวดเร็วเป็นหลัก (ตัวอย่างงานเชื่อมในโรงกลึงพี-วัฒน์ ก็สามารถนำ Cylindrical Robot มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน)

SCARA Robot

หุ่นยนต์ประเภทนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Selective Compliance Assembly Robot Arm และน่าจะเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย ลักษณะการทำงานจะเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด ในส่วนของบริเวณมือจับนั้นเป็นส่วนที่สามารถเคลื่อนที่ในแนวตั้งได้เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน

SCARA Robot ถูกใช้งานส่วนใหญ่กับอุตสาหกรรมงานประกอบชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ขนาดเล็ก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีความแม่นยำสูง อาจประยุกต์ใช้กับงานบรรจุภัณฑ์เล็ก ๆ ได้เช่นกัน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
Polar Robot

ลักษณะการทำงานของหุ่นยนต์ประเภทนี้ที่มีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า Spherical Robot เป็นการทำงานแบบหมุน 2 จุด ในส่วนของตัวฐานและไหล่ของตัวหุ่นยนต์ สำหรับส่วนของมือจับของประเภทนี้สามารถยืดหดได้ จะต่างกับ SCARA ที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบแนวดิ่ง

Polar จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับงานประเภทหยิบจับ รวมถึงงานเชื่อมต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วการยืดหดของแขนจับอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่านี้ แต่ด้วยความซับซ้อนดังกล่าวเช่นกันที่ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก

Articulated Robot (Jointed Arm)

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมประเภทนี้ถูกเรียกแบบเข้าใจตรงกันง่าย ๆ ว่า “Jointed Arm” ลักษณะการใช้งานก็จะเหมือนกับการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์ แม้จะไม่มีความอิสระเท่า แต่ด้วยข้อทั้งหมดที่เคลื่อนไหวแบบจุดหมุน (Revolute) 3 จุดขึ้นไป ซึ่งก็แล้วแต่การออกแบบอาจมีได้มากสูงสุดเป็น 10 จุด หรือตามต้องการความอิสระของลักษณะการใช้งานนั้น ๆ

ด้วยความอิสระดังกล่าวนี้เอง ทำให้ Articulated Robot ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานโรงงานอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบ หลายประเภท ทำได้แทบจะทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นยกของทั่วไป งานตัด งานเชื่อม แม้กระทั่งงานพ่นสี สิ่งนี้ก็ให้คุณได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการด้านการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้ เพื่อให้เข้าถึงประสิทธิภาพได้สูงสุด

นอกเหนือจากที่เราได้แนะนำไปแต่ละประเภท ยังมีหุ่นยนต์แบบ Custom ที่สามารถออกแบบได้ตามต้องการเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ตอบโจทย์ที่สุด ซึ่งก็ต้องแลกมากับต้นทุนที่สูงสุดขึ้น นั่นก็เป็นเรื่องที่แต่ละโรงงานต้องมาคำนวณให้ดีว่าการเข้ามาของสิ่งดังกล่าวจะสามารถพัฒนาสิ่ง ๆ ได้คุ้มกับที่เสียไปหรือไม่

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

แนวโน้มหุ่นยนต์อุสาหกรรมในประเทศไทยและทั่วโลก

แม้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดูเหมือนว่าแนวโน้มของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะได้รับการยอมรับและเริ่มถูกใช้งานมากขึ้นนับแต่เกิดวิกฤต โควิด-19 แต่ก็ยังมีจุดสังเกตหลายประการที่ทำให้สิ่งนี้น่าจะยังเป็นที่แพร่หลายในเร็ววัน ทั้งเรื่องต้นทุนที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการใช้งานจำเป็นต้องมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเป็นผู้ควบคุมดูแล ทำใหั “Cobot” กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมของโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่เข้าถึงได้ง่ายหากเทียบกับหุ่นยนต์ การตั้งค่าต่าง ๆ ในปัจจุบันก็พร้อมตอบโจทย์ความต้องการได้ไม่แพ้กัน

ส่วนในเรื่องของ Robot กับ Cobot นั้นมีความเหมือน หรือ แตกต่างกันในด้านไหนบ้าง ไว้เราจะพาไปเจาะลึกกันในโอกาสต่อไป 

แต่สำหรับท่านไหนที่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอยู่แล้ว มีความต้องการในเรื่องของอะไหล่ต่าง ๆ การผลิตชิ้นส่วนเฉพาะ เราโรงกลึงพี-วัฒน์พร้อมดูแลเดินร่วมทางไปด้วยกันกับคุณเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Robot หรือ Cobot มั่นใจในงานบริการของเราได้แบบ 100 เปอร์เซนต์

Augmented Reality เทคโนโลยีชั้นเซียน บูสเตอร์ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต

Augmented Reality

หากมีการพูดถึง AR (Augmented Reality) เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะนึกถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับสินค้าของพวกเขาเอง ถ้ายังนึกภาพตามไม่ออก ให้นึกถึงช่วงนึงเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่หลายคนตื่นเต้นกับการเลือกช้อปเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ผ่านแอพพลิเคชั่น 

ซึ่งทางตัวแอพฯ นั้นสามารถให้คุณจำลองสินค้าต่าง ๆ ด้วยโมเดลจำลองที่มีความเสมือนจริง ปฏิวัติวงการตกแต่งบ้านให้ล้ำหน้าขึ้นไปอีกขั้น แม้จะไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100 เปอร์เซนต์ แต่ก็ช่วยให้คุณได้สัมผัสถึงความจริงเสมือน ซึ่งมันน่าจะโอเคกว่าการจินตนาการภาพเหล่านั้นขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอน

แล้วเทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีส่วนช่วยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร? นี่เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัวของผู้เขียนเหมือนกันก่อนที่จะค้นคว้าหาข้อมูล แต่พอได้สืบค้นจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ รวมถึงกรณีศึกษาของบริษัทต่างประเทศ ที่เริ่มนำร่องในการนำความสามารถของสิ่งนี้มาใช้ประโยชน์กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของอุตสาหกรรมการผลิต ก็พอจะนึกภาพตามออกได้เป็นฉาก ๆ พร้อมกับความเชื่อมั่นว่าหากพัฒนาจนถึงขีดสุด เทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว

Augmented Reality

สั้น ๆ กับ Augmented Reality ก่อนลุยภาคอุตสาหกรรมการผลิต

AR (Augmented Reality) คือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การนำโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงมาผสมผสานกัน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการใช้ระบบซอฟต์แวร์ประกอบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรองรับเทคโนโลยีนี้ และสำหรับวัตถุเสมือนที่กล่าวไปนั้นอาจมาในรูปแบบ ภาพ วิดีโอ เสียง จนไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มาจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์สวมใส่เฉพาะทาง ซึ่งก็เป็นสะพานเชื่อมโยงให้เราได้ตอบสนองกับสิ่งจำลองนั้นได้แบบเสมือนจริงที่สุด

อุตสาหกรรมการผลิต x AR

ความเจ๋งของ AR แน่นอนล่ะ.. หากเราพูดถึงความสามารถในการนำเสนอคาแรคเตอร์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพดิจิตอล วิดีโอ และอื่น ๆ ที่ดึงเอาความงดงามของความเสมือนจริงรวมกับความเป็นจริงได้อย่างน่าทึ่ง

สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะได้รับประโยชน์สูงสุดคือการแทรกเอาข้อมูล สถิติ จนไปถึงคำแนะนำการใช้งานต่ออุปกรณ์นั้น ๆ ยังไม่นับเรื่องของการใส่ชุดข้อมูลเหล่านี้ไปกับ Headset ที่จะช่วยให้การผลิต การซ่อมบำรุง นั้นทำได้ถูกต้องและง่ายกว่าที่เคย

ตัวอย่างเช่น การใช้ Microsoft HoloLens ซึ่งเป็น Headset ที่ออกแบบด้วยการผสานระหว่างเทคโนโลยีของ Augmented Reality และ Virtual Reality เข้าด้วยกัน ใช้ในการดูชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่รองรับ AR เพื่อแสดงข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนั้น ๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงาน เอาต์พุต และอุณหภูมิปัจจุบัน เรียกว่าเป็นการทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นสำหรับการนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้เข้ากับโรงงานผลิต

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com, vrfocus.com

AR จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร ?

ณ ปัจจุบัน ประโยชน์หลัก ๆ ของการใช้ AR กับโรงงานผลิต จะเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างให้จินตนาการตามหัวข้อก่อนหน้านี้ เช่น หากชิ้นส่วนของอุปกรณ์การผลิตเสียหาย ช่างเทคนิคสามารถใช้ Headset ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องไปพร้อมกันกับการดูข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม คำแนะนำ รวมถึงอาจมีรูปภาพประกอบแสดง เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

นอกจากการใส่ชุดข้อมูลที่จำเป็นแล้ว เรายังสามารถวางแผน เรียงลำดับ รวมถึงคาดการณ์ระยะเวลาแต่ละขั้นตอน และนี่ไม่ใช่แค่การลดความจำเป็นในการดูแผนภูมิ คู่มือการใช้งาน รวมถึงบุคลาการ สิ่งนี้จะช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

โดยทั้งหมดทั้งมวล การออกแบบตั้งค่าเทคโนโลยีนี้ในเบื้องต้นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ แต่หากทุ่มเทในตอนต้นเพียงครั้งเดียวจนเสร็จสิ้น หลังจากนี้ต่อให้เป็นพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบก็สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้เหมือนกับช่างชำนาญการผ่านการใช้ Headset

เจ๋งไม่เบาเลยทีเดียว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็มีเป้าหมายในอนาคตเพื่อนำเทรนด์กลุ่มธุรกิจโรงกลึงด้วยการเล็งเทคโนโลยี AR นี้มาเป็นส่วนหนึ่งใน Roadmap เช่นกัน

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

คุณค่าสูงสุดของ AR ต่อสายงานผลิต ?

จากข้อมูลได้เราได้รวบรวมมา มีการกล่าวถึงความสำคัญและพื้นที่ที่จะให้ AR นั้นได้แสดงศักยภาพได้เต็มที่อีกหนึ่งจุด นั่นคือการฝึกอบรมพนักงานใหม่ในสายการผลิต เมื่อแต่ละโรงงานมีการรับพนักงานเข้ามาใหม่ การอบรมและการตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานจะสามารถทำตามขั้นตอนของการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ยาก และความไม่แน่นอนนี้สิ่งที่ตามมาคือปัญหาด้านความปลอดภัย 

จะเป็นเรื่องดีแค่ไหนหากพนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามคำแนะของ AR ด้วยเทคโนโลยนี้สามารถให้ข้อมูลเครื่องจักรโดยอัตโนมัติแบบครบถ้วน แม้ไม่เคยใช้งานมาก่อนก็จะช่วยให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

Augmented Reality

อีกหนึ่งกรณีศึกษา ความล้ำหน้าของ AR ต่ออุตสาหกรรม

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก หากคุณต้องเจอกับอุปกรณ์เฉพาะที่มีความซับซ้อนซึ่งอาจต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์เพียงอย่างเดียวสำหรับใช้งานสิ่งนั้น ในกรณีนี้เองที่ AR จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้คนที่อยู่หน้างานสามารถดำเนินการได้ทันที โดยมีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเรื่องนี้

ลองนึกภาพตามว่าหากหุ่นยนต์หกแกนทำงานผิดปกติ แต่ ณ จุดนั้นไม่มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไข การใช้ Headset จะช่วยพนักงานได้อย่างมาก เพราะนอกเหนือจากข้อมูลที่มี คุณยังสามารถรับคำแนะนจากผู้เชี่ยวชาญได้แบบเรียลไทม์ ตลอดจนถึงการใช้เพื่อเป็นแบบฝึกอบรมบุคลากร ดึงศักยภาพของพวกเขาด้วยเทคโนโลยีนี้ได้อีกด้วย

และหากคิดว่าการใช้อุปกรณ์ Headset ดังกล่าวนั้นจะเป็นการสร้างต้นทุนมากจนเกินไป หรือไม่เหมาะกับขนาดของธุรกิจของคุณ การออกแบบเพื่อใช้ในอุปกรณ์ที่มีอยู่ในตลาดอย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเลต หรือแว่นตาระบบดิจิตอล ก็เป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก : https://www.reliableplant.com/Read/31709/ar-improve-manufacturing

กลไกอันน่าทึ่งของ AI และ Machine Learning “คลื่นลูกใหม่” ของอุตสาหกรรมการผลิต

machine learning

คำว่า “Smart Manufacturing” หรือที่พากย์ไทยได้ว่า “ระบบการผลิตอัจฉริยะ” หลายคนอาจจะผ่านหูผ่านตามาบ้างเมื่อตกอยู่ในแดนสนธยาของ “IoT” กับ “IIoT” 

และที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกันของ “ปัญญาประดิษฐ์” (AI) เมื่อถูกนำไปฟิวชั่นกับสิ่งที่เรียกว่า Machine Learning (ML) ซึ่งได้รับการซูฮกว่าเป็นเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ที่คอยขับเคลื่อนนวัตกรรม จนได้รับคำนิยามว่าเป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์เชิงอุตสาหกรรมอันแสนโดดเด่น ที่จะช่วยให้คุณนั้นสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

เมื่อเราเดินทางมาถึงวันที่ “ข้อมูล” กลายเป็นทรัพยาการอันมีค่า แถมยังมีราคาถูกกว่าที่เคย หากเราเลือกใช้เทคโนโลยีได้ถูกต้องในการตักตวงประโยชน์จากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ และดึงศักยภาพสูงสุดของสิ่งนั้น อันเป็นที่มาของบทบาทความสำคัญการใช้ AI ประสานงานเข้ากับ ML ที่เราจะพาทุกคนไปดื่มด่ำกันในวันนี้

machine learning

AI และ ML คืออะไร ในวงการผลิต

มีกรณีมากมายที่ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยหลากหลายวิธีสำหรับช่วยเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรม ซึ่งนั่นก็ทำให้ AI มีบทบาทสำคัญในวงการผลิต เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับ IoT (IIoT) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง และหนึ่งในชุดย่อยที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของ AI คือ ML (Machine Learning)

และอย่างที่รู้กันว่าการผลิตตามกระบวนการเป็นภาคส่วนที่มีการแข่งขันสูง ด้วยตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบอันซับซ้อนซึ่งก็เต็มไปด้วยหลายชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีการเคลื่อนไหว การขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้รวมถึงการปรับปรุงความสามารถตลอดจนถึงการเริ่มต้นทำกำไรตั้งแต่กระบวนการผลิต ถือเป็นข้อได้เปรียบทั้งหมด และนี่เป็นสิ่งที่ AI กับ ML สามารถมอบให้คุณได้

machine learning

ความสำคัญของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต

การมีอยู่ของ AI มีส่วนทำให้โรงงานในกระบวนการผลิตสามารถบูรณาการข้อมูล วิเคราะห์ และสร้างข้อมูลเชิงลึกรวมถึงคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ช่วยทำให้เห็นภาพรวมก่อนตัดสินใจได้แบบครอบคลุมทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับ ML ก็เป็นประเภทของ AI ที่บีบอัดชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อระบุรูปแบบและแนวโน้ม ก่อนสร้างเป็นแบบจำลองเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังช่วยให้โรงงานรู้ความผันผวนของอุปสงค์อุปทาน ต่อเนื่องด้วยการประเมินช่วงเวลาดีที่สุดสำหรับกำหนดการบำรุงรักษา ตลอดจนการระบุสัญญาณเริ่มต้นของความผิดปกติ

ทั้งนี้นั้น ML ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Machine Learning ก็ต้องมีกระบวนการในการเรียนรู้ก่อนที่จะสามารถวิเคราะห์สิ่งใดก็ตามได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นที่มาของการได้มาของข้อมูล การเก็บรวบรวมให้ถูกต้อง และคัดสรรเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อให้ ML เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ ยิ่งชุดข้อมูลมีมากเท่าไหร่ ML ก็จะฉลาดและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น

ในฐานะโรงกลึงสมัยใหม่ที่เฝ้ามองกระแสความเป็นไปของเทคโนโลยี เราโรงกลึงพี-วัฒน์ก็กำลังปรับตัว และพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมถึงความคิดเห็นต่าง ๆ จากลูกค้า เพื่อนำมาปรับใช้ในจุดที่เหมาะสมที่จะใช้ ML ในอนาคตมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

ความช่วยเหลือของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต
  • ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นเพื่อลดต้นทุนได้
  • มีความเข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแบบเรียลไทม์
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของอุตสาหกรรม ปรับปรุงความปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มคุณภาพของสินค้า
  • ค้นหาและกำจัดกระบวนการผลิตที่ต่ำที่สุดของอุตสาหกรรม (กระบวนการคอขวด)
  • ปรับปรุงการมองเห็นของซัพพลายเชน และช่องทางการจัดจำหน่าย
  • ตรวจจับสัญญาณความปกติแรกสุด สาเหตุของการล้มเหลว ลดเวลาการหยุดทำงาน และดำเนินการซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็ว
  • วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงเพื่อปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้ละเอียดมากขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพของวงจรชีวิตอุปกรณ์ทั้งหมดของอุตสาหกรรม (อายุการใช้งาน)

ใช้ AI/ML อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการผลิต

1. ปรับปรุงการจัดการข้อมูล

ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ AI หรือ ML ประเภทใด ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการคุณต้องแน่ใจแล้วว่าได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น และเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อการสร้างแบบจำลองเพื่อเริ่มโครงการนั้น ๆ ตลอดจนการเลือกใช้แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม

2. กำหนดเป้าหมาย

มีหลายกรณีในการใช้งาน ML และ AI ในการผลิต ซึ่งทุกกรณีนั้นก็มีศักภาพต่อการสร้างมูลค่าและปรับปรุงผลกำไร

เพื่อให้คุณสามารถใช้ AI/ML ได้อย่างเป็นระบบแล้ว ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตที่สามารถตอบสนองได้เร็วที่สุด หรือมีชุดข้อมูลที่จำเป็นอยู่แล้ว และจัดลำดับความสำคัญว่าควรตั้งเป้าหมายใดเป็นอันดับแรก

3. ใช้กับทั้งองค์กร

อาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้งาน AI สำหรับงานที่จำกัดเฉพาะในบางแผนกก่อน หรือใช้การคาดคะเนของ ML กับกรณีการใช้งานแบบเฉพาะ แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณจะเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนี้ เมื่อเชื่อมต่อการใช้งานด้วยความสามารถแบบอัตโนมัติของ AI ประกอบกับการคาดการณ์ของ ML ทั่วทั้งองค์กร

4. ประเมินทักษะ

ตรวจสอบชุดทักษะที่จำเป็นเพื่อมองหาบุคลากรที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และอื่น ๆ 

5. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

สร้างความไว้วางใจโดยการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คนในองค์กรใช้งานได้จริงและสำเร็จภารกิจด้วยสิ่งนี้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลก่อนเปิดใช้โมเดล ML ด้วยอัลกอริธึมของ AI 

และเมื่อพวกเขาเห็นประโยชน์ของสิ่งนี้ด้วยการสัมผัสด้วยตัวเอง การนำ AI และ ML มาใช้ในการผลิตก็จะได้การตอบรับที่ดีและประสบผลสำเร็จในที่สุด

machine learning

ร่วมพิสูจน์ความสามารถของ AI และ ML ด้วยบริการของโรงกลึงพี-วัฒน์

ด้วยการยอมรับกรณีการใช้งานของ AI ด้วย Machine Learning ของหลายโรงงานผลิตทั่วโลก เพื่อนำมาปรับเข้ากับงานผลิตของโรงกลึงพี-วัฒน์ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ความผันผวนของความต้องการของตลาด ตลอดจนการปรับปรุง หาข้อบกพร่อง  และดึงศักยภาพการผลิตออกมาได้สูงสุด พร้อมส่งมอบสินค้าคุณภาพในทุกชิ้นงาน และอีกไม่นานคุณจะสามารถร่วมพิสูจน์ความน่าทึ่งของ AI และ ML ผ่านการใช้บริการจากเรา

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก

https://www.seebo.com/machine-learning-ai-manufacturing

https://www.precog.co/glossary/ai-ml-in-manufacturing

IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย

iiot

เลี่ยงเหตุร้ายได้มากน้อยแค่ไหน? หากพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยด้วย “IIoT”

ก่อนจะเริ่มพูดคุยถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT เราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสดุดีแด่ฮีโร่ผู้เสี่ยงชีวิต และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวทุกคน บนเหตุเพลิงใหม่โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันมานี้

เรื่องของสาเหตุการระเบิดและการเกิดเพลิงไหม้ คงไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึก และก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะได้รับรู้รายละเอียดผ่านข่าวสารจากช่องทางสื่อต่าง ๆ ที่ประโคมกันแบบเรียลไทม์ไม่ขาดสาย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึง “มาตรฐานใหม่” ที่มาพร้อมกับแนวคิดในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยมี IoT เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการผลิต

และแม้ว่าสิ่งที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับกับเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง แต่ก็เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่าหากเราพัฒนาต่อยอดแนวคิดเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เลยอย่าง “ชีวิต” ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซนต์สักกี่มาน้อย ก็ถือเป็นเรื่องดีงามทั้งสิ้น

iiot

“IIoT” Industrial Internet of Things คืออะไร ?

มาย้อนความกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ Internet of Things หรือที่เราคุ้นตากันใน AKA ว่า IoT เปรียบได้กับเป็นการประยุกต์ IoT กับธุรกิจในกลุ่ม Industrial จึงเป็นที่มาของ IIoT สิ่งนี้คือการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการนำเครื่องจักร ระบบวิเคราะห์ระดับสูง และมนุษย์มาทำงานร่วมกัน โดยมีการเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายอุปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เกิดขึ้นเป็นระบบที่สามารถส่งผลแก่การติดตาม เก็บข้อมูลแบบละเอียด แสดงผลข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมนั้น ๆ

IIoT จะช่วยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ?

ปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากเป็นเรื่องความผิดปกติของอุปกรณ์ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่ IIoT จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของความปลอดภัยหนีไม้พ้นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำได้รวดเร็วและรวบรวมจำนวนได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เราสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์ รวมถึงสภาพของอุปกรณ์จากห้องควบคุมได้อยู่เสมอ

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ลิสต์เอาไว้ด้วยระบบ AI การตั้งค่าเพื่อให้มีการแจ้งเตือน หากตรวจสอบเจอสภาวะเข้าใกล้ “อันตราย” นอกจากสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ไม่น้อย

3 แน้วโน้มเพื่อความปลอดภัยในโรงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT
1. การฟิวชั่นเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision

ส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า IoT จากโรงงานผลิตจะมีเซนเซอร์รวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวโน้มต่าง ๆ ทำให้พิจารณาได้ว่าจุดไหนทำงานเป็นอย่างไร ดีมากน้อยแค่ไหน และจุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุง

กับด้านความปลอดภัย การรวมเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision ซึ่งส่วนหลังนั้นทำหน้าที่เปรียบเสมือนดวงตาของมนุษย์ คอยตรวจจับความสภาพแวดล้อมและสถานการณ์อยุ่ตลอด และด้วยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IIoT นี่เองที่จะช่วยให้ CV นั้นคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบก็จะสามารถหยุดอุปกรณ์ได้แบบอัตโมมัติก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้น

2. การติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารแบบครบวงจร

ความก้าวหน้าของสิ่งนี้ในปัจจุบันแผ่ขยายทำให้อาคารหลายแห่งมีเทคโนโลยีหลายประเภทในอาคาร โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้แบบครบวงจรเท่าที่คุณต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น โครงการนำร่องในโรงเรียนเมืองฮิวส์ตัน มีการติดตั้งปุ่มแจ้งเตือนรวมเข้ากับระบบความปลอดภัย IoT ขั้นสูง หากเกิดสถานการณ์อันตรายใด ๆ หรือมีการคุมคาม ปุ่มนี้จะช่วยเรียกเจ้าหน้าที่ได้ทั้งภายในและนอกอาคารทันที จากกรณีแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำไปปรับใช้กับภาคการผลิตได้เช่นกัน

3. การใช้ Location Based Analytics และ Real-Time Location Systems เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

เป็นแนวคิดที่เจ๋งมาก ๆ ด้านการแจ้งเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม ยกตัวเช่น การใช้ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) เพื่อสุขภาพ โดยมีบริษัท Kontakti.io ที่นำมาต่อยอดด้วยแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Simn AI เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเซ็นเซฮร์ RTLS มาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความตั้งใจเริ่มต้นคือการกำหนดเวลาคน เข้า-ออก จากที่ทำงาน

สำหรับมุมมองด้านความปลอดภัย Simon AI นั้นทรงประสิทธิภาพมากกว่านั้น เช่น สามารถแจ้งเตือนหากมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพื้นที่ หรือจะเป็นปุ่มเรียกที่ขอความช่วยเหลือได้จากการะบุตำแหน่งที่แม่นยำ จนไปถึงหากมีการอพยพ เทคโนโลยีนี้สามารถแสดงจำนวนที่มาถึงจุดปลอดภัยที่กำหนด และหากมีใครที่ขาดหายไปก็สามารถระบุตำแหน่งเพื่อติดตามได้อย่างรวดเร็ว

iiot

ประโยชน์ตรงนี้มากมายมหาศาล หากเรารับรู้ความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติภัยได้ล่วงหน้า เราก็เตรียมรับมือได้เร็ว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็ตอบสนองต่อเทคโนโลยีนี้เช่นกัน เรากำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการควบคุมไฟของเครื่องจักรทุกตัวในโรงกลึง ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT, AI, Machine Learning และ Big Data ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่วิศวกรและทีมช่าง รวมถึงควบคุมคุณภาพของการผลิตไม่ให้บกพร่อง เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า

IIoT กับ อนาคตอันน่าตื่นเต้น ผ่านการตระหนักถึงความปลอดภัยของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด

จากแนวโน้วการวางระบบมาตรการความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีนี้ ข้อสุดท้ายชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องการะบุตำแหน่ง การเก็บข้อมูลในปริมาณมาก ๆ แบบเรียลไทม์ ซึ่งจุดเด่นของ RTLS นั้นก็ชัดเจนอยู่แล้วนอกจากจะช่วยเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ทราบข้อมูลที่แน่นอนว่าใครอยู ณ จุดไหน เรื่องของความปลอดภัยก็ทำให้ตรวจสอบได้เสมอว่าพนักงานนั้นอยู่ในที่ปลอดภัย หรือหากอยู่ในจุดเกิดเหตุก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที

iiot

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายมีความสอดคล้องกับการเชื่อมต่อของ IIoT ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ การแจ้งเตือนเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น การสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย IIoT สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดต่อเรื่องนี้ และอาจกลายเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อซัพพอร์ตการป้องกันอย่างเต็มประสิทธิภาพสู่ตลาดในเร็ววันนี้

ขอขอบคุณบทความสำหรับข้อมูลดี ๆ เรื่องแนวทางการพัฒนาด้านความปลอดภัยด้วย IIoT จาก https://www.ehstoday.com/safety-technology/article/21920259/6-iiot-trends-for-manufacturing-safety

เทรนด์ “รักษ์โลก” ส่องความเคลื่อนไหวบริษัทยักษ์ใหญ่ริเริ่มอะไรกันแล้วบ้าง

รักษ์โลก

จากที่เราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง “มลพิษทางอากาศ” เรื่อยจนมาถึง “พลังงานหมุนเวียน” ผ่านเนื้อหาล่าสุดที่นำเสนอให้ได้อัพเดตกันในช่วงก่อนหน้านี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะพอนึกภาพตามได้ว่ามีอะไรที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เรื่องของมลภาวะอันไม่พึงประสงค์ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ซึ่งที่กล่าวมานี้ นอกจากกรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทั้งหลายแหล่ เรื่องที่เราเคยพูดถึงไปอย่างระบบ AI ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเทรนด์ “รักษ์โลก” ซึ่งภายในเนื้อหาวันนี้ก็จะมีตัวอย่างยกให้เห็นกันแบบชัด ๆ เป็นโปรเจกต์ของแบรนด์ไอทีพี่เบิ้มระดับโลก อย่าง “ไมโครซอฟต์” ที่ปลุกปั้นกันมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า
มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

แต่ถ้าใครยังเห็นภาพไม่ชัดจริง ๆ ว่าเทรนด์นี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง จะมีการตื่นตัวมากน้อยแค่ไหนในระดับโลก รวมถึงมียักษ์ใหญ่แบรนด์ใดที่เริ่มทำบางสิ่งบางอย่างกับธุรกิจของพวกเขา ไปพร้อม ๆ กับการดูแลโลกของพวกเราทุกคน บางทีเนื้อหาด้านล่างนี้อาจจะช่วยให้คุณได้สิ่งต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ติดตามผ่านเนื้อหาทั้งหมดนี้ได้เลย..

รักษ์โลก

“พลังงานหมุนเวียน” กับ สองลูกรักของคนดัง “อีลอน มัสก์”

สำหรับใครที่เคยได้ยินข่าวของ อีลอน มัสก์ หนึ่งในสุดยอดนักธุรกิจที่เก่งกาจเรื่องวิศวกรรมเป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์ตัวยง 

เจ้าแห่งอาณาจักร “SpaceX” และ “Tesla Motors” ถือเป็นคนดังในวงการอุตสาหกรรมที่ตื่นตัวกับสิ่งเหล่านี้เป็นคนแรก ๆ จะเห็นได้จากการเลือกใช้วัสดุเพื่อผลิตจรวดของสเปซเอ็กซ์ก็ดี หรือจะเป็นชิ้นสวนยานยนต์ รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่บอกลาน้ำมันอันเป็นพลังงานสิ้นเปลืองของเทสล่า ทั้งสองสิ่งล้วนพิสูจน์ได้ดีว่าเทรนด์เหล่านี้ไม่ได้มาเล่น ๆ แน่นอน

เรื่องของความ “รักษ์โลก” พอจะมีแทรกซึมอยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้ยกอีกตัวอย่างยักษ์ใหญ่ที่เอาจริงเอาจังด้านสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่า “ไมโครซอฟต์” นั้นจะเด่นชัดสุด ซึ่งคุณสามารถพิจารณด้วยตัวเองได้จากเนื้อหานับแต่บรรทัดนี้เป็นต้นไป..

“AI for Earth” เกิดมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ จาก “ไมโครซอฟต์”

อย่างที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องของ AI (Artificial Intelligence) ไม่ได้มีส่วนแค่การเข้ามาช่วยให้การทำงานภายในอุตสาหกรรมง่ายและทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถใช้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนอย่างที่ ไมโครซอฟต์ ทำกับสุดยอดโปรเจกต์นี้

สำหรับ “AI for Earth” ถูกปลุกปั้นมาตั้งแต่ปี 2017 จุดมุ่งหมายนั้นเน้นไปที่เรื่องของการนำนวัตกรรม AI และคลาวด์ของพวกเขามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ

รักษ์โลก
ไมโครซอฟต์ จริงจังมากแค่ไหนเรื่องรักษ์โลก?

ความเอาจริงเอาจังของยักษ์ใหญ่ด้านไอที หากนับจนถึงปัจจุบันแล้ว กว่า 236 โครงการใน 63 ประเทศทั่วโลก โดยมีแพลตฟอร์มชื่อ “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” เป็นคีย์แมนในการรวบรวมข้อมูล พวกเขาได้มีการพิจารณาและมอบทุนให้กับโครงการวิจัยเชิงสิ่งแวดล้อม 4 ด้ายหลักใหญ่ ได้แก่

  • เกษตรกรรม
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
  • ทรัพยากรน้ำ

ด้วยพลังด้านเงินทุนและความตั้งใจริ่เริ่มของ ไมโครซอฟต์ ได้รับการสานต่อจากสถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยมีหนึ่งทีมวิจัยที่โดดเด่น คือ องค์กรการกุศลที่ชื่อว่า “Sustainable Coastlines”

Sustainable Coastlines คือใคร และบทบาทสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

Sustainable Coastlines คือ องค์กรไอดอลด้านรักษ์โลกจากประเทศนิวซีแลนด์ ที่สำคัญยังเป็นองค์กรการกุศลอีกด้วย พวกเขามีบทบาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในท้องทะเลมากว่า 10 ปีแล้ว หากเป็นก่อนหน้านี้เรื่องดังกล่าวคงต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยการเข้ามาของ AI ทำให้พวกเขากำเนิดโซลูชั่นที่ช่วยให้หลายภาคส่วนเข้าถึงปริมาณที่ถูกต้อง รวมถึงเข้าใจสถานการณ์ที่เกิด ตลอดจนถึงแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขยะในอนาคต (โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็พยายามศึกษาโปรเจกต์และกระบวนการทางวิศวกรรมต่าง ๆ ขององค์กรนี้อยู่เรื่อย ๆ เพื่อพยายามจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงกลึงของเราในพาร์ทของโซลูชั่นกำจัดของเสียเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม)

จากมันสมอง “นักคิดทั่วโลก” สู่ผลงานที่เป็นจริงด้วย “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์”

มาถึงตรงนี้ต้องขอประทานอภัยด้วยที่เปิดตัว “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” ช้าไปเสียหน่อย ซึ่งนี่ก็คือชื่อของบริการ “คลาวด์” ที่หลายคนน่าจะรู้จักและใช้ไปกับธุรกิจสตาร์ทอัพเสียมากกว่า แต่กับโปรเจกต์ “AI for Earth” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าสิ่งนี้ทำประโยชน์เพื่อโลกใบนี้ได้มากกว่าแค่เรื่องธุรกิจ

จากทีม Sustainable Coastlines ที่ดูแลเรื่องท้องทะเล หรือจะเป็น Wild Me องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ปกป้องติดตามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งบางชนิดมีผลต่อระบบนิเวศน์โดยตรง ก็สามารถใช้ AI และข้อมูลจากคลาวด์เพื่อติดตาม ระบุตัวตนได้อย่างแม่นยำ

รักษ์โลก

เรื่อยจนมาถึงเรื่องของการเกษตร ผลงานอันโดดเด่นเห็นชัดสุดเป็นของ FarmBeats ที่ปรับใช้ด้วยการเลือกเอาอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ ใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งความละเอียดนั้นบ่งบอกได้ครบถ้วนทุกกระบวนการ ไล่ตั้งแต่ การตรวจวัดความชื้น สาอาหารต่าง ๆ อุณหภูมิหน้าดิน ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลของสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ 

ก่อนจะนำทุกอย่างมาวิเคราะห์ สรุปออกมาได้เป็นคำแนะนำช่วยให้เกษตรกรสามาถวางแผนการเพาะปลูก ตลอดจนการกะระยะเวลาวางแผนเก็บเกี่ยวได้เหมาะสมเพื่อผลผลิตที่ดีที่สุดซึ่งล้วนได้มาความอัจฉริยะของการประมวลของระบบ AI อย่างแม่นยำ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งตอกย้ำว่าเทรนด์ “รักษ์โลก” ต้องควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมแขนงใดก็ตาม เพราะขนาดที่ว่าสองบริษัทที่มีมีมูลค่าสูงระดับท็อปของโลกยังให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากถึงเพียงนี้ ก็แทบจะไม่มีเหตุผลอะไรแล้วที่พวกเราจะไม่ดำเนินรอยตาม..