“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า

พลังงานหมุนเวียน

มลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งผลเสียต่อโลกของเราหนักหน่วงกว่าที่คาดเอาไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในร้ายก็ยังมีดีอยู่เสมอ.. เมื่อสาเหตุดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญให้ประชากรทั่วโลกหันมาตระหนักในเรื่องของมลพิษ รวมถึงข้อจำกัดที่มีของพลังงานดั้งเดิม อย่างพลังงานฟอซซิล (Fossil Fuel) ทำให้อุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานโดยตรง ต่างมีจุดหมายใหม่ในเส้นทางของการใช้พลังงานในอนาคตที่ตรงกัน ซึ่ง “พลังงานหมุนเวียน” คือเรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้!

พลังงานหมุนเวียน คืออะไร ?

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานต่าง ๆ จากแหล่งที่เราสามารถนำมาใช้ได้แบบไม่มีวันหมด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะหากเทียบกับพลังงานแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานมนาน ข้อหลังนี้ถือเป็นข้อดีแสนสำคัญยิ่งกว่าความอมตะนิรันดร์กาลของพลังงานนี้ด้วยซ้ำ

พลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียน สำคัญอย่างไร ?

เอาเป็นว่าแค่การที่ใช้ได้แบบไม่มีวันหมดแค่อย่างเดียว ก็น่าจะบ่งบอกถึงความสำคัญในตัวเองของสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี และอย่างที่ได้บอกไปว่าทุกประเภทของพลังงานหมุนเวียนนั้นหากพูดถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม แทบจะส่งผลน้อยนิดมากเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าจะเข้ามาแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองในอนาคตอันใกล้นี้

หากมีการปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เห็นผลจากคุณภาพชีวิตขอประชากรโลกและสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นเทรนด์พลังงานหลักในไม่ช้า ชนิดที่ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมธุรกิจขนาดใด องค์กรต่าง ๆ หรือรัฐบาลไหนก็ไม่อาจปฏิเสธสิ่งนี้ได้เลย

อุตสาหกรรม “พลังงานหมุนเวียน” มีขนาดใหญ่มากแค่ไหน ?

อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกนั้นโตขึ้นอย่างมาย ในอัตราที่รวดเร็วในปีที่ผ่านมา คิดเป็นอัตราเฉลี่ยแล้วเร็วที่สุดนับแต่ปี 1999 กันเลยทีเดียว นำทัพด้วย “พลังงานลม” และ “พลังงานแสงอาทิตย์” โดยสองสิ่งนี้กระตุ้นอัตรากำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้นมากถึง 45% ตัวเลขนี้เป็นการเก็บสถิติรวมจากทวีปยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน

พลังงานหมุนเวียน

5 ประเภทหลักของ พลังงานหมุนเวียน

โดยทั่วไปพลังงานหมุนเวียนแต่ละอย่างนั้นมีหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย ทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนโดยตรง สำหรับพลังงานทางเลือกที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ โดยแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

1. พลังงานแสงอาทิตย์

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีหากเราพูดถึง “โซลาร์เซลล์” ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพลังงานธรรมชาติแรก ๆ ที่ทุกคนน่าจะนึกถึงจากแสงแดดอันเจิดจ้าที่พร้อมทักทายเราในทุกวัน และก็แน่นอนว่าพลังงานได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก

โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยี IoT เพื่อใช้ในกระบวนการที่สนับสนุนส่วนของการผลิต เป้าหมายคือเพื่อประหยัดพลังงาน สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่าที่ทำได้ ช่วยลดต้นทุน และที่สำคัญต้องยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้อยู่ในระดับเดิม

แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากนับเรื่องของอัตราการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงอันดับ 3 เท่านั้น

2. พลังงานลม

เรียกได้ว่าเก่าแก่และได้รับความนิยมไม่แพ้กับประเภทแรกกันเลย เป็นเวลาหลายศตวรรษที่พวกเราใช้พลังงานลมในรูปแบบของการแล่นเรือใบและกังหันลม โดยปัจจุบันแล้วส่วนใหญ่หันมาใช้ลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมนั่นเอง

เมื่อปี 2019 มีการเก็บสถิติกำลังการผลิตพลังงานลม มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 24% ซึ่งก็ทำได้สูงกว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำได้อยู่ 20% ของกำลังการผลิตพลังงานทั่วโลก

3. พลังงานความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นตัวอย่างของการใช้ในอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานหมุนเวียนอีกประเภทนึงที่ผลิตได้มาก 

พื้นดินใต้เท้าของเรามีพลังงานจำนวนไม่จำกัด เป็นผลมาจากพื้นผิวที่ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกลงไปในพื้นโลก ซึ่งความนิยมหลัก ๆ มาจากการเลือกใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

4. พลังงานน้ำ

“กังหันน้ำ” เป็นเทคโนโลยีที่มาก่อนกาลมาก ๆ เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้ในรูปแบบที่ยังคงมีพื้นฐานมาจากความคิดตั้งต้น โดยใช้พลังงานน้ำในการเคลื่อนที่เพื่อก่อให้เกิดพลังงาน ก่อนจะปรับใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

สามประเทศที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำมากที่สุดในโลก เป็นสถิติที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2018 ได้แก่ จีน (352,261 เมกะวัตต์), บราซิล (104,195 เมกะวัตต์) และสหรัฐอเมริกา (103,109 เมกะวัตต์)

5. พลังงานชีวภาพ

พลังงานชีวภาพ หรือ พลังงานชีวมวล คือการใช้อินทรียวัตถุเพื่อการใช้พลังงานที่หลากหลาย อาทิ ไม้, พืชผล, ขยะในสวน รวมถึง ของเสียจากสัตว์และมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่นการใช้ไม้หากต้องการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

แต่สำหรับพลังงานนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อย เนื่องจากยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายด้านที่อาจต้องนำมาประกอบการพิจารณาในอนาคต แต่หากพูดถึงประโยชน์ที่ได้รับในตอนนี้และเทียบกับพลังงานสิ้นเปลือง พลังงานชีวภาพ อยู่ในระดับที่จิ๊บจ๊อยกว่ามากทีเดียว

พลังงานหมุนเวียน

แนวโน้มพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย และการปรับใช้ในอุตสาหกรรม

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จับมือกับ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน จัดงานสัมนา AEDP (Alternative Energy Development Plan) ภาคประชาชน เพื่อนำเสนอปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนาพลังงานที่จะเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ยังดำเนินไปพร้อมกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้เชื่อเหลือเกินว่าพวกเรากำลังเดินทางเข้าใกล้กับยุคแห่งการใช้พลังงานหมุนเวียนขับเคลื่อนเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสม แม้จะดูเหมือนว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ หากเกิดเป็นเทรนด์ของโลกเมื่อไหร่จะสร้างประโยชน์มากมายให้แก่ “อุตสาหกรรมการผลิต” และ “สิ่งแวดล้อม” อย่างมากแน่นอน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลความรุ้ดี ๆ สำหรับเรื่องของ “พลังงานหมุนเวียน” 

https://www.clean-energy-ideas.com/energy/renewable-energy/the-5-main-types-of-renewable-energy/
https://www.nrdc.org/stories/renewable-energy-clean-facts

มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

มลพิษทางอากาศ

ยังฟังแล้วรู้สึกคุ้น ๆ กันอยู่บ้างมั้ย.. กับคำว่า “PM 2.5”

เผื่อใครที่อาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง เนื่องจากช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาโดนพิษการระบาดของ โควิด-19 ที่ทำตัวหิวแสงกว่าใคร แย่งสปอตไลท์ไปส่องที่ตัวมันเองเสียหมด จนกดเรื่องของ “มลพิษทางอากาศ” ให้ตกลงไปเล็กน้อย 

ทั้งที่ก่อนการมาของโคโรน่าไวรัสนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่แผ่ไกลไปทั่วโลก โดยมีประเทศตัวอย่าง อาทิ จีน นำทัพโดย เซี่ยงไฮ้ นิวเดลี ของ อินเดีย แย่ที่สุดเป็น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีค่าเฉลี่ยอาการเป็นพิษมากที่สุดในโลก ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ส่ง กรุงเทพฯ และ เชียงใหม่ สองเมืองใหญ่เข้าประกวด

เรียกได้ว่าประเทศไทย การใส่หน้ากากใช้ชีวิตประจำวันนั้นมาก่อนกาล หน้ากากที่ไม่ได้มีแค่เพียงหน้ากากอนามัย มีอีกหลายแบบที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะถ้ามีคุณสมบัติป้องกัน PM 2.5 ก็จะขายดีเป็นพิเศษ 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้นมาจากปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมีเรื่องของ “อุตสาหกรรม” ที่หลายแขนงหลายแห่งก่อนหน้านี้มุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจ จนลืมฉุกคิดไปว่าวันแย่ ๆ ที่หลายสถานที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่นี้จะเดินทางมาถึง และกลายเป็นหนึ่งวาระที่ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องเดินหน้าศึกษาค้นคว้า สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดสิ่งนี้น้อยที่สุดแล้วด้วยซ้ำ

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ เลวร้ายแค่ไหนในปัจจุบัน ?

คุณเชื่อมั้ยว่า อัตราการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่มีผลมาจากมลพิษทางอากาศทั้งทางตรง ทางอ้อมมีมากถึง 4.2 ล้านคนต่อปี! และยังไม่หมดแค่นั้น.. มีผู้คนอีกมากมายเกินกว่า 91% ของประชากรโลกต้องอาศัยอยู่ในสถานที่ที่คุณภาพอากาศนั้นเกินขีดจำกัดมาตรฐานบนแนวทางของ WHO ที่ไม่ได้แปลว่าใคร.. แต่หมายถึงองค์กรอนามัยโลก ผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติอันสุดจัดของความเลวร้ายของมลพิษทางอากาศที่คนทั่วโลกต้องทนอยู่กับมันในเวลานี้

จากที่ได้เกริ่นเอาไว้ช่วงต้น ที่เราได้บอกว่าตอนนี้ผลแห่งการกระทำจากภาคอุตสาหกรรมทั้งหลาย ที่แม้จะรังสรรค์คุณงามความดีเอาไว้มากมาย ช่วยเปลี่ยนโลกด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับเครื่องจักรที่เนรมิตหลายสิ่งอย่างที่เป็นไปได้ยากในยุคก่อน แต่ก็ต้องไม่ลืมว่านี่ก็เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเกินคนานับเช่นกัน

แนวทางการแก้ปัญหา มลพิษทางอากาศ..

ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้คนมากมายเริ่มตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ รวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์เช่นกันที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังมาโดยตลอด และนับว่าเป็นความโชคดีต่อมวลมนุษยชาติที่มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ทำงานเพื่อปกป้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แถมองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ริเริ่มที่จะทำงานภายใต้ข้อจำกัดด้านสุขภาพและการควบคุมมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตหลัก ๆ ก็คือมนุษย์อย่างเรา ๆ จนเกิดเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ได้พัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อปัญหามลพิษทางอากาศและด้านอื่น ๆ เรียกว่าเป็นแสงสว่างแห่งปลายทางของเรื่องนี้เลยก็ว่าได้

มลพิษทางอากาศ

โครงการด้านสิ่งแวดล้อม “มลพิษทางอากาศ” ที่น่าสนใจ

1. เครื่องดูดฝุ่นมลพิษ (Pollution Vacuum Cleaner)

แนวคิดเครื่องดูดฝุ่นมลพิษ คือ การดูดสิ่งปนเปื้อนออกจากอากาศ พัฒนาโดยวิศวกรเครื่องกลชาวอินเดีย โดยหลักการทำงานของเจ้าเครื่องนี้จะดูดเอาสารมลพิษไปพร้อม ๆ กับอากาศก่อนที่จะปล่อยอากาศบริสุทธิ์แบบเพียว ๆ หลังจากผ่านทุกขั้นตอนการกรองโดยสมบูรณ์ ซึ่งเครื่องนี้สามารถใช้ติดตั้งใกล้กล่องปล่องไฟและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อลดควันในอากาศที่จะก่อตัวไปเป็นมลพิษ

2. เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากมลพิษ (Hydrogen Fuel from pollutants)

เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากอากาศ โดยในโครงการนี้นักเรียนนักศึกษาได้พัฒนาอุปกรณ์ฟอกอากาศจากการเจือปนของสารอินทรีย์ อุปกรณ์นี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะมีเมมเบรนบาง ๆ เพื่อดึงดูดสารปนเปื้อนและเอาอากาศบริสุทธิ์ออกมา ที่สำคัญไฮโดรเจนที่สกัดออกมาสามารถเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนในภายหลังอีกด้วย

3. AI สำหรับ มลพิษทางอากาศ (Air Pollution AI Framework)

เจ้าเครื่องนี้สามารถใช้เพื่อเป็นการคาดคะเนระดับหมอกควันเพื่อหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะเผชิญกับกรณีที่อาจมีการปนเปื้อนมากยิ่งขึ้น รังสรรค์โดยนักเรียนระดับไฮสคูลจากนิวยอร์ค โครงสร้างของอุปกรณ์นี้เป็นโครงการที่คาดการณ์จากระดับมลพิษทางอากาศ โดยใช้โครงข่ายปราสาทเทียม ความเจ๋งคือเครื่องมือที่ติดตั้ง AI ตัวนี้คาดการณ์ได้แม่นยำถึง 92%

4. ปืนป้องกันหมอกควัน (Anti-smog gun)

อันนี้เป็นคนละหลักกับการปล่อยรถฉีดน้ำเพื่อลดระดับฝุ่น PM 2.5 ของบางประเทศแถบนี้.. เจ้าปืนป้องกันหมอกควันถือเป็นหนึ่งวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหมอกควันหนาแน่น หลักการทำงานคือปืนจะพ่นไอระเหยขึ้นไปในอากาศเพื่อดูดซับสารพิษ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ก็ต้องบอกว่าตรงจุดและชะลออันตรายจากสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นช้าลงอีกหน่อย

5. แอร์อิงค์ (Air-Ink)

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์อันดับต้น ๆ ของโครงการเลย เราสามารถเชื่อมต่อ KAALINK (ชื่ออุปกรณ์) กับท่อไอเสียรถยนต์ เพื่อดึงหมึกออกจากควันเชื้อเพลิง ซึ่งเจ้าเครื่องนี้เคลมว่าดึงหมึก 30 มล. ภายใน 45 นาที ภายในระยะเวลาที่คุณขับรถ ส่วนหมึกที่ได้จากเครื่องนี้ก็ต้องถูกนำไปทำให้บริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อจะได้นำไปใช้งานต่อไป

สานต่อสิ่งดี ๆ เพื่อโลก สู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยื่น

มลพิษทางอากาศ

ในวันที่เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเต็มไปด้วยหมอกควันมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ยังมีสิ่งดี  ๆ ที่เกิดขึ้นจากการฟิวชั่นของความชาญฉลาดและรักษ์โลกของคนยุคปัจจบัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมากจากเว็บไซต์ EcoMENA โดยเป็นโครงการที่น่าสนใจเพื่อช่วยขจัดอันตรายของมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และหวังว่าหากนำมาใช้งานจริงจะช่วยลดมลพิษทางกาศให้เบาบางลงได้ตามที่คาดหวัง

อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อวงจรนี้ และแน่นอนรวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์ของเราด้วย เราจึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อส่งต่อปรัชญาด้านธุรกิจที่นอกจากจะเน้นย้ำเรื่องความเป็นมืออาชีพ นำเสนอชิ้นงาน การบริการด้วยมาตรฐานระดับสากล เรื่องความการ “รักษ์โลก” เป็นอีกสิ่งนึงที่ทำควบคู่มาโดยตลอดอยู่เสมอ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ มา ณ ที่นี้ :

https://www.ecomena.org/environmental-impacts-of-industrialization

https://www.plt.org/educator-tips/science-projects-pollution

https://www.weforum.org/agenda/2017/02/the-best-and-worst-countries-for-air-pollution-and-electricity-use

ทำความรู้จัก Beacon หนึ่งใน IoT น่าสนใจ ที่มูลค่าตลาดอาจสูงระดับหมื่นล้าน!

Beacon

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดีหากเราเอ่ยถึง GPS แต่สำหรับ Beacon (บีคอน) อาจมีเลิ่กลั่กกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีบนหมวด IoT (Internet of Things) และเมื่อมีการกล่าวถึงจำพวกนี้ สิ่งที่คุณจะได้รับจากพวกเขาเหล่านี้คือการยกระดับธุรกิจในยุคของเทคโนโลยีแน่นอน

คำถามคือ.. ทำไมวันนี้เราถึงอยากจะนำเรื่องนี้มาบอกเล่าแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน เพราะอันที่จริงแล้วสถานะของ Beacon ในปัจจุบันนั้นมีอิทธิพลกับสองอุตสาหกรรมที่ได้รับคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้มากที่สุด คือ “การค้าปลีก” และ “การตลาด”

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ข้อมูลล่าสุดจาก Global Market Insights ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดของ “Beacon” จะเติบโตเกิน “สองหมื่นห้าพันล้าน” ในปี 2025 แล้วหน่วยเงินที่ว่านี่หมายถึง “ดอลลาร์สหรัฐ” มันทำให้เราไม่อาจจะมองข้ามได้จริง ๆ 

ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักหรือเคยได้ยินแค่คร่าว ๆ อยากรู้แล้วว่าสิ่งนี้คืออะไร มีบทบาทอะไรต่อธุรกิจได้บ้าง.. เรามาเริ่มกันเลยนับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป!

Beacon คืออะไร ?

อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้น Beacon นั้นเป็นหนึ่งในจำพวกเทคโนโลยี IoT ส่วนหลักการทำงานของสิ่งนี้นั้นจะมีความคล้ายเทคโนลียี RFID แต่จะแตกต่างกันตรงที่ RFID จะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ ส่วน Beacon นั้นสัญญาณหลักของตัวอุปกรณ์คือการใช้ บลูทูธ (Bluetooth) โดยทั้งสองสิ่งนี้นั้นมีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นก็เพื่อการใช้งานในที่ที่ GPS นั้นเข้าไม่ถึง หรือไม่สมารถระบุตำแหน่งได้อย่างแน่ชัด เช่น ห้างร้าน อาคารต่าง ๆ เป็นต้น

Beacon

หลักการทำงานและประเภทของ Beacon

หลักของ Beacon หัวใจคือการกำหนดตำแหน่งพื้นที่ภายในและภายนอกในระยะใกล้ ร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ของ IoT กล่าวคือสิ่งนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด ใช้เพื่อตรวจจับการมีอยู่ของมนุษย์ในบริเวณใกล้เคียง หรือสิ่งของก็ได้เช่นกัน เช่น อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจติดไว้ที่เครื่อง CNC ภายในพื้นที่การผลิตของโรงกลึง เพื่อกำหนดตำแหน่งของ asset นั่นๆ จากนั้นเพื่อใช้ประโยชน์ต่อในด้านการส่งข้อมูลที่เราได้กำหนดเอาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อมอบสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของคุณ นั่นหมายถึง Beacon ต้องทำงานร่วมกับระบบหลังบ้านที่สามารถกำหนดตั้งค่าใด ๆ ได้ เสมือนแอพลิเคชั่นนึงนั่นเอง

แล้วเจ้า Beacon นี้ทำงานอย่างไร ?

Beacon ทำงานร่วมกับระบบแอพลิเคชั่นหลังบ้าน แต่เราจะขอข้ามในส่วนของการกำหนดค่าด้วยซอฟต์แวร์เอนจิเนียร์ไปก่อน เพราะมันจะลงลึกในเชิงของการพัฒนาโปรแกรมมิ่งจนเกินไป การตั้งค่าในส่วนนี้ต้องใช้ความชำนาญรวมถึงข้อมูลธุรกิจที่แตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรม แต่โดยหลักแล้วกระบวนการและปลายทางต่างต้องการผลลัพธ์จากสิ่งนี้เหมือนกันแทบทั้งหมด

ส่วนการทำงานจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ เพื่อให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ณ จุดดังกล่าวเป็นคนตัดสินใจขั้นตอนสุดท้ายว่าจะรับการแจ้งเตือนจากสิ่งนี้หรือไม่ แต่ปัญหาที่พบโดยมาก ยังมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่น้อยเลยที่ไม่ได้เปิดบลูทูธตลอดเวลา 

ดังนั้น ชาเลนจน์ของผู้พัฒนาคือการบอกเล่าสิ่งที่น่าสนใจ รวมถึงประสบการณ์เต็มรูปแบบที่จะได้รับจากการเปิดใช้งานแจ้งเตือนของ Beacon ซึ่งก็เป็นด่านแรกที่จำเป็นต้องกระตุ้นเพื่อขอให้ผู้ใช้งานเปิดบลูทูธ และยังเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดหากต้องใช้สอยประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ

Beacon

ประเภทของ Beacon ณ ปัจจุบัน

Beacon นั้นมีมากหมายหลายประเภท รวมถึงขนาดต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจ เลือกได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

  • แบบมาตรฐาน เป็นแบบระยะใกล้ใช้สำหรับติดตามในตัวอาคาร โดยอุปกรณ์จะมีขนาดพอ ๆ กับ เราเตอร์ Wi-Fi อาจเล็กหรือใหญ่กว่านิดหน่อย
  • แบบพกพา / ขนาดเล็ก ใช้สำหรับติดตามสิ่งของโดยส่วนใหญ่ รวมถึงใช้เป็นเซนเซอร์วัดระยะความใกล้ชิดของคนรวมถึงสิ่งของ มีขนาดประมาณบัตรเครดิต
  • แบบ USB ขนาดเล็กลงไปอีก ใช้สำหรับการติดตามทรัพย์สินเช่นกัน แต่ด้วยขนาดและการออกแบบทำให้ปรับใช้ได้สะดวกขึ้น พกพาง่าย หยิบจับใช้งานได้เร็ว
  • แบบวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เสียบด้านหลังหน้าจอ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพตามบริบทต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการจัดแสดงภาพ หรือ ข้อมูลสินค้าแบบภาพเคลื่อนไหว
  • แบบสัญญาณ AI อุปกรณ์นี้มีความสามารถในการเรียนรู้สูงจะช่วยจับการเคลื่อนไหวท่าทางต่างของทุกสิ่งที่ต้องการได้
  • แบบสติกเกอร์ อีกหนึ่งแบบที่ใช้สำหรับติดตามทรัพย์สิน สามารถออกแบบได้ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ต้องการ
  • แบบเฉพาะ ออกแบบเฉพาะสำหรับสถานที่รวมถึงการใช้งานตามต้องการ มักใช้การติดตามภายนอก มีการใช้วัสดุที่มีความทนทานสูง เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อเทคโนโลยี
  • Parent Beacon ใช้เพื่อติดตามอุปกรณ์ Beacon อื่น ๆ อีกที และสำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเก็บเอาไว้ในคลาวด์เซิฟเวอร์ รวมถึงปัจจัยอื่น

ทุกประเภทที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ มีการปรับ มีการประยุกต์อยู่เสมอ และคาดว่าจะมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคตต่อไป เพื่อให้เข้ากับธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้มีทางเลือกการใช้งานมากยิ่งขึ้น

Beacon

ทิศทางของ Beacon เทคโนโลยี ในอนาคต

อย่างที่ย้ำอยู่เสมอว่า Beacon นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย IoT ในยุคที่ “สมาร์ทโฟน” เปรียบเสมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย นวัตกรรมที่ถูกเรียกว่า “Beacon เทคโนโลยี” ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้อย่างน่าตื่นเต้น จากที่เคยถูกคาดการณ์เอาไว้เมื่อปี 2015 ว่าสิ่งนี้จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สุดท้ายแล้วถูกพิสูจน์ด้วยกาลเวลาว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจได้จริง 

รวมถึงความน่าสนใจที่เราได้กล่าวไว้ช่วงต้นว่าตลาดของ Beacon นั้นอาจสูงถึงระดับแตะหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 หากมองจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน อีกแค่ 4 ปี เท่านั้นก็จะได้รู้กันแล้วว่าเทคโนโลยีนี้จะมีมูลค่ามหาศาลอย่างที่กล่าวจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้ระหว่างทางทั้งกับผู้พัฒนาและผู้ใช้ เต็มไปด้วยประโยชน์นานัปการอย่างที่หลายธุรกิจ หลายอุตสาหกรรมคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้

สำหรับแวดวงอุตสาหกรรมโรงงานเองก็ต้องติดตามเทคโนโลยีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นประโยชน์มากกับการพัฒนากระบวนการทางวิศวกรรม เพื่อพัฒนาปรับปรุงจากกระบวนการเดิมให้ทันสมัย และช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าเดิม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคและสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้เช่นกัน นับว่าต้องจับตาดูกันเลยที่เดียวว่าจะมี Beacon อะไรใหม่ๆ ออกมาในตลาดบ้านเราและมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจ …เริ่มก่อน สำเร็จก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาดี ๆ จาก https://www.intellectsoft.net/blog/what-are-beacons-and-how-do-they-work 

RPA คืออะไร ? ตัวช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพหลังบ้านกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน

RPA คืออะไร

ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 แบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำถามที่ว่า RPA คืออะไร เป็นสิ่งที่ได้ยินอยู่เสมอในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ในภาคของการผลิตได้ยกระดับความก้าวหน้าให้อุตสาหกรรมโรงงาน ณ ปัจจุบันขณะอย่างเห็นได้ชัดเจน จากกระบวนการนี้ได้ใช้สอยประโยชน์จากหุ่นยนต์ ทั้งเพื่อการทดสอบก็ดี การใช้งานจริงก็ดี ซึ่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้ก็ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานสายการผลิตได้เป็นอย่างดี กลายเป็นมาตรฐานที่โรงงานทั่วโลกนั้นเลือกใช้

อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าข้อมูลยังมีบางภาคส่วนต้องเจอกับความยากลำบากในการจัดการปัญหา “หลังบ้าน” ปัญหาที่ว่านี้เป็นเรื่องของการเก็บข้อมูล รักษากระบวนการในการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบ ซึ่งหากจัดการได้ดีจะส่งผลดีอย่างมากต่อธุรกิจ

โดยส่วนใหญ่แล้วจุดสังเกตที่พบเห็นได้บ่อยมาจากขาดความชำนาญการ ระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ค่อนข้างล้าสมัย กระทบถึงกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลามากเกินความจำเป็น ณ จุดนี้ จึงเป็นที่มาของตัวเอกอย่าง เทคโนโลยี RPA

RPA คืออะไร

RPA คืออะไร ส่งผลต่อกระบวนการใดของโรงงานอุตสาหกรรม ?

RPA คืออะไร น่ะหรือ ??? RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลของฝั่ง IT ซึ่งระบบข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้กัน

หากรันวงการด้วย RPA ที่เปรียบเสมือนหุ่นยนต์ในระบบสายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรันแบบอัตโนมัติ การผลิตซ้ำชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้หากเป็นการทำ Rule-based โดยมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งของเรื่องความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม แต่จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับสิ่งนี้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากธุรกิจของคุณแน่นอน

แน่นอนว่าในสายการของการผลิต CNC ถือเป็นคีย์แมนของกระบวนการนั้น ส่วนทางด้านของ RPA ก็กล่าวได้ว่าเป็นจอมทัพด้านข้อมูลเมื่อถูกติดตั้งกับระบบหลังบ้านในธุรกิจของคุณ หากมีการประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะยกระดับให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของคุณได้แบบก้าวกระโดด

การใช้งาน RPA ในโรงงานอุตสาหกรรม

จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า RPA นั้นถึงจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า “หุ่นยนต์” แต่นิยามของสิ่งนี้เป็นในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ที่เที่ยงตรง ซึ่งอยู่ในกระบวนการของซอฟต์แวร์ ดูแลอยู่ในโลกของดิจิทัลเป็นหลักเสียมากกว่า พอพูดแบบนี้ก็น่าจะเห็นภาพแตกต่างกับเหล่าบรรดาหุ่นยนต์ในสายการผลิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดทรัพยากรแรงงานรวมถึงความผิดพลาดต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นในมนุษย์ เพิ่มความสามารถด้านระบบการจัดการซัพพลายเชน ให้มีความทันโลกไม่หลงยุคสมัย และที่มั่นใจได้เลยแน่นอนคือ RPA จะเข้ามายกระดับขององค์กรในส่วนของพนักงานออฟฟิศ ตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมทุกข้อมูล 100%

NOTE: โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังจับตาดูกระแสทั้งในเรื่อง RPA และ iOT อย่างจริงจั งเพื่อลงทุนนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งานในออฟฟิศ ยิ่งในสถานการณ์ที่ออฟฟิศหลังบ้านยังคงต้อง WFH ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาด RPA ยิ่งจะช่วยตอบโจทย์ให้โรงกลึงของเรายังคงดำเนินการทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านได้อย่างมีเสถียรภาพ

ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ที่สามารถนำ RPA มาใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้

RPA คืออะไร
ออกบิลสำหรับวัสดุ (BOM)

สำหรับการออกบิลสำหรับวัสดุ (Bill of Material) ถือเป็นเอกสารสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ ลองจินตนาการเปรียบเทียบดูว่า หากเราต้องนั่งคีย์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวัสดุของโรงงาน ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน.. 

แต่สำหรับ RPA แล้ว นอกจากเรื่องของการทำซ้ำจะเป็นจุดเด่นแล้ว ความแม่นยำของข้อมูลก็เป็นเลิศ กลายเป็นว่าไม่เพียงแค่ลดความเสียหายขององค์กร ทั้งยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งผลก็มาจากการคาดคำนวนผ่านระบบของซอฟต์แวร์นั่นเอง

รายงานด้านข้อมูล (Administration)

การรายงานด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเหมือนกันสำหรับกระบวนการทำธุรกิจ การหยิบใช้ RPA ในส่วนงานของ “แอดมิน” จะทำให้เข้าถึงทุกข้อมูล ทุกรายงาน ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่อยู่ในธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณบริหารธุรกิจได้สอดคล้องกับรายงาน ทำให้การตัดสินที่จะจัดการในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้น

ลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ทั้ง ๆ ที่คำนิยามในเรื่องของ “หุ่นยนต์” แต่กลับเกี่ยวเนื่องกับการทำ CRM (Customer Relationship Management) อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องขอบคุณในความแม่นยำของข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้อย่างครบถ้วนภายในธุรกิจของคุณโดยเทคโนโลยี RPA ไม่มีข้อแม้ทั้งในเรื่องของติดตามสินค้า การวิจารณ์เกี่ยวกับตัวโปรดักต์ จนไปถึงเรื่อง ๆ อื่น ที่ใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อสนับนุนลูกค้าของธุรกิจคุณ หรือจะเป็นในเรื่องของการแก้ไขสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง พร้อมให้คุณรับทราบได้อย่างทันท่วงที

บริหารระบบขนส่ง (Logistics)

การจัดการบริหารระบบขนส่งภายในธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งในงานหินของอุตสาหกรรมแขนงนี้ กระบวนการที่มีความหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลอันแสนซับซ้อน บอกเลยว่า RPA นั้นยินดีอย่างมากในการช่วยเหลือ การผสานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ตลอด ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่คุณจะได้คือศักยภาพในการส่งขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

ทั้งในรายงานทางเลือกที่เหมาะสม ความคุ้มทุน การประกัน และสิ่งสำคัญอย่างระยะเวลาในการขนส่ง แถมยังสามารถติดตามการขนส่งได้แบบ Real-Time หลายขั้นตอน หลายประโยชน์ที่จะได้รับขนาดนี้ แล้วมันมีเหตุผลไหนที่จะทำให้คุณไม่เลือกใช้ RPA ล่ะ..

RPA คืออะไร

จัดการระบบข้อมูลด้วย RPA สู่ชิ้นงานคุณภาพในราคาที่เหมาะสม

การใช้งาน RPA เป็นซอฟต์แวร์ช่วยดำเนินธุรกิจ มีประโยชน์มากมายและช่วยยกระดับในทุกโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังที่กล่าวไปแล้ว ในส่วนของโรงกลึงพี-วัฒน์ เราก็ยังคงมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในเรื่องของความเอาใจใส่ในลูกค้า ความตรงต่อเวลา การมีระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงแบบนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในกระบวนการอื่นแล้ว ยังทำให้เราสามารถผลิตสินค้าด้วยวัสดุคุณภาพสูงภายใต้ราคาที่เหมาะสมได้อยู่เสมอตลอดระยะเวลาที่เปิดบริการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลคุณภาพ :

RPA Industry Reference (bluefishsolution.com)

How RPA can be utilized in Manufacturing Sector – PLM,ERP,IIoT – Neel SMARTEC Consulting

RPA for the Manufacturing Industry – Manufacturing Automation | UiPath

น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน.. อนาคตของ CNC Machining x ปัญญาประดิษฐ์ ?

ปัญญาประดิษฐ์

มาปิดท้ายซีรีส์ “CNC Machining” ไปกับเราที่นี่ ด้วยการร่วมมองอนาคตของเทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กัน ว่าในระยะเวลาอันใกล้และไกลต่อแต่นี้จะสามารถยกระดับได้ขนาดไหน มีอะไรมาเซอร์ไพรส์ผู้ที่ข้องแวะในวงการนี้ได้อีก จากที่ได้บรรยายสรรพคุณมากมายว่าสิ่งนี้นั้นมีความดีความชอบอย่างไรบ้างต่ออุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ โดยเฉพาะวงการยานยนต์

ถ้ายังจำกันได้… เราเคยนำเสนอมุมมองต่อโลกอุตสาหรรมที่สื่อการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง “Forbes” (เทรนด์อุตสาหกรรม 2021 จากยุคเดิมสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ผ่านมุมมองสื่อดัง Forbes) นั้นวิเคราะห์ออกมาแล้วว่าสิ่งหนึ่งที่จะเข้ามามีส่วนอย่างมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ และทุกอุตสาหกรรมควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ คือการร่วมทำงานกับ “ปัญญาประดิษฐ์” ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพัฒนาก็ดี หรือจะเลือกหยิบใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตนก็ดี แต่คำว่า “ของมันต้องมี” อาจจะต้องขีดเส้นใต้เอาไว้เลย หากคุณต้องการพัฒนาธุรกิจของตนเอง..

ปัญญาประดิษฐ์

3 กำลังสำคัญแห่งอนาคต ที่เตรียมขับเคลื่อนไปพร้อมกับเทคโนโลยี CNC

ด้วยความที่เทคโนโลยี CNC นั้นพัฒนาต่อเนื่องแบบไม่มีหยุดหย่อน ทำให้แนวโน้มของหลายบริษัทนั้นเปลี่ยนไป รวมถึงการเปิดรับนวัตกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แม้ทุกอย่างจะอยู่บนหลักการพื้นฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ดูเหมือนว่าเทรนด์ ณ ตอนนี้ ผู้ผลิตกำลังเร่งเสริมทัพด้วยการไล่ล่าเทคโนโลใหม่ ๆ มาเพิ่มศักยภาพให้กับโรงงานของตนเอง ดังเช่น 3 ปัจจัยหลักที่เราจะนำมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้

วัสดุอุปกรณ์ชั้นสูง

นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่จะถูกปรับเข้ามาใช้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ บนเทรนด์โลกปัจจุบัน เพราะทุกอย่างนั้นหากแค่ฟังดูเผิน ๆ ดูเหมือนจะย้อนแย้งกันไปเสียหมด กล่าวคือ เราต้องการวัสดุที่พรีเมียมมากขึ้น แต่ต้องมีน้ำหนักเบา อยากได้ความล้ำสมัยแต่ก็ต้องสอดคล้องไปกับความ “รักษ์โลก” ตามนโยบายและข้อบังคับเฉพาะที่ถูกกำหนดขึ้นสำหรับการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผลอันเนื่องมาจากอัตราการบริโภคทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง (สำหรับโรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็ใช้อุปกรณ์ชั้นสูง เครื่องจักรระดับไฮ-เอนด์ เหมือนกันนะ ^^)

ทั้งนี้ เพื่อผลิตยานพาหนะให้อยู่บนมาตรฐานข้อกำหนดต่าง ๆ แถมยังต้องรักษาประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิต วัสดุพิเศษจะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น อลูมิเนียม คอมโพสิตคาร์บอน-นาโน ใช้แทนส่วนประกอบต่าง ๆ ของบอดี้ ระบบขับเคลื่อน จนไปถึงช่วงล่างทั้งหมดของยานยนต์ ความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักเบาขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และความทนทานที่มากขึ้น ต่างเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากเทคโนโลยีเหล่านี้ฟิวชั่นกันทั้งหมด

ปัญญาประดิษฐ์

เทคโนโลยี CNC สำหรับรถยนต์ไร้คนขับ

จริง ๆ นี่คงไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเชื่อว่าหลายคนน่าจะเห็นเทคโนโลยีมาหลายปีแล้ว ที่ชัดเจนสุดคงจะเป็น “เทสล่า” ของ “อีลอน มัสค์” แต่เอาเข้าจริงแวดวงนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง เพียงแต่ความสำเร็จของยอดนักธุรกิจจอมทวีตนั้นเสียงดังกว่าใคร ทำให้ดูเหมือนว่า เทสล่า ของเขาพร้อมเขย่าโลกอยู่ตลอดเวลา

เป้าหมายของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่อจากนี้ คือมุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมการผลิตรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้เองโดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลจากมนุษย์โดนสิ้นเชิง และก็อีกเช่นเคย… สิ่งที่จะสานฝันให้โปรเจกต์นี้เข้าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด ต่างก็มีคำว่า “CNC” เข้ามาเป็นตัวผสาน โดยคราวนี้จะเป็นการรวมพลังกับ “ปัญญาประดิษฐ์” ด้วย 2 กำลังสำคัญนี้เองทำให้อนาคตของยานยนต์อัตโนมัติเต็มรูปแบบเข้าใกล้ทุกคนมากกว่าที่คาดไว้พอสมควร

ปัญญาประดิษฐ์

เครื่อง CNC ในช่วงแรกเริ่มเดิมทีเลย ยังต้องอาศัยข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมคอยแก้ไขปัญหาและต้องมีการวินิจฉัยอย่างสม่ำเสมอ การเข้ามาของ “ปัญญาประดิษฐ์” สู่อุตสาหกรรมยานยนต์ทำให้ทุกอย่างถูกยกระดับขึ้น กลายเป็นว่าเครื่องจักรเหล่านี้สามารถวินิจฉัยพร้อมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องได้ทันทีด้วยตนเอง ซึ่งการประหยัดเวลาการหยุดทำงานของเครื่องจักรสามารถนำไปต่อยอดกระบวนการอื่นอีกมากมาย

ส่วนอีกสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก คือการพิจารณาใช้ AI สำหรับผลิตยานยนต์คุณภาพสูงขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของ CNC Machining ได้มากกว่าที่เคยเป็น

ปัญญาประดิษฐ์

CNC Machining ตัวเลือกยืนหนึ่ง “ในอุดมคติ” ต้นแบบอุตสาหกรรมยานยนต์

ความพิเศษของเทคโนโลโยนี ยังคงเป็นตัวเลือกในอุดมคติลำดับต้น ๆ ของการสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมยานยนต์ และมั่นใจได้เลยว่าจะคงอยู่ต่อไปอีกหลายต่อหลายปี นอกเหนือจาก 3 สิ่งที่เราได้กล่าวไว้เนื้อหาด้านบน ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการสามารถสำรวจตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าตนเองได้อย่างเหมาะเจาะ

เมื่อไรก็ตามที่ CNC Machining วิวัฒน์ร่วมกับ “ปัญญาประดิษฐ์” ได้แบบเต็มประสิทธิภาพ กระบวนผลิตยานยนต์จะพัฒนาแบบก้าวกระโดดอีกครั้ง จนถึงตอนนั้นโลกยุคใหม่แห่งอุตสาหกรรมน่าจะมีอะไรให้เราได้ศึกษาเพิ่มเติ่มเพื่อใช้สอยประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้กันอีกเยอะเลยทีเดียว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลประกอบบทความดี ๆ จากเว็บ https://www.fastradius.com

ความอัจริยะของ CNC Machining Center “คอนดัคเตอร์” บนโลกของยานยนต์

CNC Machining Center

“คอนดัคเตอร์” หรือที่พากย์ไทยได้ว่า “วาทยกร” ผู้ผสานเสียงทุกเครื่องดนตรีทุกชิ้นให้เป็นหนึ่งเดียวบนเวที “ออเครสต้า” ก็เปรียบได้กับ CNC Machining Center (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CNC) บนโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่คอยกำหนดทุกเครื่องจักรแต่ละส่วน แต่ละกระบวนการให้ผลิตชิ้นงานออกมาได้ตรงตามทุกความการเพื่อให้เนรมิตส่วนประกอบต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นรถยนต์คันงามหนึ่งคัน

ซึ่งก็ต่อเนื่องจากบทความก่อนในเรื่องของ อุตสาหกรรมยานยนต์กับ CNC Machining และโรงกลึงพี-วัฒน์ ที่เราเคลมนักเคลมหนาว่าหาก “เฮนรี่ ฟอร์ด” ผู้ก่อตั้งบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ ยังมีลมหายใจ เทคโนโลยีนี้น่าจะเป็นสิ่งที่เขารักอันดับต้น ๆ ได้ไม่ยาก ก่อนที่เราจะสาธยาย “ความพิเศษ” ของ CNC ว่าเข้ามายกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านการผลิตได้อย่างน่าทึ่งมากแค่ไหน

แต่สำหรับใครที่ยังนึกภาพตามไม่ออกว่าเทคโนโลยี CNC นี้เกี่ยวข้องอย่างไรในกระบวนการของโรงงานรถยนต์บ้าง ทำไมบุคลากรหลายต่อหลายคนถึงกับต้อง “โค้งคารวะ” ให้กับสิ่งนี้ เนื้อหาด้านล่างนี้จะพาคุณไปหาคำตอบว่ารถยนต์หนึ่งคัน ส่วนไหนบ้างที่ CNC มีส่วนช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนและผลิตบ้าง เชิญเลื่อนเพื่อทัศนาต่อกันได้เลย

เทคโนโลยี CNC Machining Center สิ่งนี้ “สรรค์สร้าง” อะไรได้บ้างกับรถยนต์ ?

หากจะมานั่งไล่ชิ้นเล็กชิ้นน้อยบอกเลยว่าทำเป็นคลิปวิดีโอลง Youtube น่าจะง่ายกว่าเยอะ ฉะนั้น เราขออนุญาตพูดถึง “ชิ้นส่วนหลัก” ของรถยนต์หนึ่งคันนั้นมีอะไรบ้างที่ CNC สามารถออกแบบและผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จนทำให้การผลิตรถยนต์หนึ่งคันของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นถูกยกระดับ ถึงกับมอบคำนิยามให้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งยุคนี้

CNC Machining Center
การติดตั้งไฟส่องสว่าง (Lighting)

การผลิตชิ้นส่วนไฟส่องสว่างของรถยนต์ต่างก็มีเทคโนโลยี CNC เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็คือ Machining Poly (Methyl Methacrylate) (PPMA) หรือเรียกภาษาแบบเข้าใจง่ายว่า “อะคริลิกแก้ว” และนี่ก็เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีชนิดนี้แค่กับอลูมิเนียม แต่ยังเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนในการผลิตแสงภายใน ภายนอกของตัวรถ รวมถึงไฟหน้าอีกด้วย

ที่น่าสนใจที่สุดคือ กระบวนการนี้ใช้เวลาน้อยมากทั้ง ๆ ที่วัสดุที่เราได้พูดถึงต้องผ่านทั้งการเจียรและขัดเงาซึ่งปกติกินเวลาพอสมควร ดังนั้น CNC จึงกลายเป็นทางเลือกหลักที่ผู้ผลิตรถยนต์เลือกใช้เพื่อสร้างต้นแบบในการทำไลท์ติ้งทั้งหมดให้กับตัวรถไปโดยปริยาย

เครื่องยนต์ (Engines)

อันนี้คาดว่าผู้ประกอบการหลายท่านน่าจะพอเดาออกว่าส่วนประกอบโดยมากของเครื่องยนต์ คงต้องมีเทคโนโลยีนี่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว เพราะขึ้นชื่ออลูมิเนียม เหล็ก ของแข็งต่าง ๆ เครื่องจักรแบบแมนนวลต้องมีส่วนแน่นอน ซึ่งหากมีเทคโนโลยี CNC เข้ามาทำหน้าที่เสมือนเป็น “วาทยกร” คอยกำหนดอีกที ทุกอย่างก็จะออกมาตามต้นแบบทุกกระเบียดนิ้ว 

ยกตัวอย่างเช่น หลังออกแบบบล็อกฝาสูบของรถยนต์โดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ วิศวกรก็จะจัดการร่ายชุดคำสั่งไปยังเครื่องมือออกแบบที่ใช้มอเตอร์ผ่านเครื่อง CNC เพื่อทำการตัดบล็อกเครื่องยนต์ออกจากบล็อกอลูมิเนียมนั่นเอง

ฟังดูเหมือนจะง่ายดายไปเสียหมด เพราะศูนย์ควบคุมเครื่องจักรส่วนใหญ่สมัยนี้ล้วนติดตั้งโปรแกรมเครื่อง CNC เอาไว้ แต่การจะให้ทุกเครื่องนั้นทำงานได้เต็มประสิทธิภาพดำเนินทุกอย่างตามค่าที่ได้ตั้งไว้จำเป็นต้องมี “วิศวกรผู้ชำนาญการ” คอยทำหน้าที่ควบคุม โดยมีการกล่าวกันว่ากระบวนการนี้นั้นมีมูลค่ามหาศาลเกี่ยวกับการผลิต ค่อนข้างใช้เวลานาน และเหมือนเป็นชาเลนจ์เล็ก ๆ ของอาชีพวิศวกรผู้ดูแลกระบวนการนี้เลยทีเดียว

สวิงจากสิ่งที่ฟังดูเหมือนง่ายแล้วกลายเป็นขั้นตอนสุดเสี่ยง แต่สุดท้ายก็จะจบลงอย่างแฮปปี้เอนดิ้งแน่นอน หากทุกอย่างออกมาตามที่กำหนดแบบเป๊ะ ๆ เพราะเมื่อตั้งค่าโปรแกรมทุกอย่างเรียบร้อย เครื่องจักร CNC จะรับหน้าที่สานต่อสิ่งที่เหลือต่อจากนี้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ “แรงงานมนุษย์” ส่งผลให้นอกจากวิศวกรจะมีเวลาสร้างสรรค์ชิ้นงานเพิ่มแล้ว ยังลดภาระการใช้แรงงานโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

CNC Machining Center
กระบอกสูบ (Cylinder Heads)

อย่างที่ได้บอกไปว่า CNC นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ของวงการยานยนต์อีกต่อไปแล้ว การมีเทคโนโลยีนี้ผู้ผลิตสามารถสร้างกระบอกสูบและบล็อกเครื่องยนต์ได้เอง ซึ่งมันเป็นส่วนประกอบหลักที่ตอบสนองวัตถุประสงค์สูงสุดของเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบริษัท 

เท่าที่บอกได้คือส่วนประกอบบางส่วนของสิ่งนี้นั้นค่อนข้างหาได้ยาก ฉะนั้น การสร้างต้นแบบ CNC จึงกลายเป็นส่วนสำคัญการออกแบบโมเดลเครื่องยนต์ที่คุณสามารถกำหนดเองได้ทั้งหมด

โดยทั่วไป ส่วนประกอบดังกล่าวได้รับการออกแบบจากบล็อกอะลูมิเนียมเพียงชิ้นเดียว แต่จริง ๆ คุณสามารถทำได้มากกว่านั้น ไม่ว่าจะการผลิตชิ้นส่วนระบบส่งกำลัง วาวล์ ระบบเบรค เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ และระบบปั๊มเชื้อเพลิง ทั้งหมดนี้โรงงานรถยนต์สามารถทำได้เองทั้งสิ้น

กระปุกเกียร์ (Gearboxes)

กระปุกเกียร์นั้นเป็นหนึ่งในระบบส่งกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งหากคุณแยกชิ้นส่วนออกมาแล้วจะพบกับส่วนประกอบของเกียร์และเพลาจำนวนมากอยู่ในนั้น และด้วยประสิทธิภาพของเครื่องจักร CNC ที่มีความแม่นยำระดับสูงในการตัดชิ้นส่วนต่าง ๆ แถมยังทำซ้ำได้ทีละจำนวนมาก ผู้ผลิตจึงสามารถผลิตชิ้นส่วนของเกียร์ได้อย่างรวดเร็ว

CNC Machining Center
แผงหน้าปัดภายใน (Interior Panels)

ปกติงานในโรงกลึง เครื่องกลึง เครื่องตัด จะเป็นตัวเอกของงาน แต่เครื่องกัดอัตโนมัติ (Milling Machines) จะเข้ามามีส่วนอย่างมากเกี่ยวกับแผงหน้าปัดภายใน โดยใช้เทคโนโลยี CNC ร่วม ด้วยคุณลักษณะเด่นที่คุณต้องไม่ลืมว่าสิ่งนี้สามารถกำหนดความซับซ้อนสัมผัสได้ถึงทุกอนูทุกการสอดคล้องกับพื้นผิวต่าง ๆ รวมถึงส่วนประกอบอย่างพลาสติก ดังนั้น เครื่องมือที่ใช้มอเตอร์ต่าง ๆ เมื่อถูกตั้งค่า CNC จึงสามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่คุณต้องการตามที่ได้ตั้งค่าอย่างอิสระ

คอนดัคเตอร์ สำคัญต่อ “ออเครสต้า” เช่นไร CNC สำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์เช่นนั้น

จะเห็นได้ว่าทุกส่วนที่ได้กล่าวไป ล้วนแล้วแต่มีเครื่องจักรกลคอยทำหน้าที่ของตัวเองทั้งหมด แต่การมีอยู่ของ CNC Machining Center จะช่วยให้ทุกการออกแบบของแต่ละชิ้นส่วนนั้นสอดประสานกันได้เป็นอย่างดี เสมือนท่วงทำนองของแต่ละโน้ตที่แม้จะต่างเครื่องดนตรีหากแต่มี “คอนดัคเตอร์” คอยกำหนดทิศทาง สุดท้ายแล้วก็จะอยู่บนเส้นทางเดียวกันไปจนจบการแสดง กลายเป็นสุดยอดชิ้นงานตามที่เราได้กำหนดเอาไว้แล้วตั้งแต่เริ่มอย่างสวยงาม

อุตสาหกรรมยานยนต์ กับ CNC Machining และโรงกลึงพี-วัฒน์

อุตสาหกรรมยานยนต์

จากบทความก่อนหน้านี้ที่โรงกลึงพี-วัฒน์ได้แชร์เกร็ดความรู้-ความสำคัญเกี่ยวกับ CNC Machining หรือพากย์ไทยได้ว่า “เครื่องจักรกล CNC” (ทำความรู้จักเครื่องกลึง CNC Machining Center ตัวช่วยยกระดับ “งานกลึง” และมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลก) ซึ่งเจ้าเครื่องจักรอัจฉริยะนี้ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่เข้ามายกระดับอุตสาหกรรมโรงงาน สร้างมาตรฐานงานกลึงและทุกกระบวนการที่จำเป็นต้องใช้ความแม่นยำ ความละเอียด ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูง รวมไปถึงงานประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งก็สามารถควบคุมได้ด้วยระบบ CNC แทบจะทั้งหมด

และสำหรับในโลกของ อุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องบอกเลยว่าถูกยกระดับด้วยนวัตกรรมนี้แบบเต็ม ๆ ขอกล่าวถึงจุดเริ่มต้นเล็กน้อยเมื่อ 100 กว่าปีก่อนที่นวัตกรรมต่าง ๆ ได้ถูกเชื่อมโยงโดยตรงกับอุตสาหกรรมนี้ ต่อยอดจนมาถึง ค.ศ. 1913 ที่ เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ ปฏิวัติวงการผลิตรถยนต์ ไม่ใช่แค่ทำให้เคลื่อนที่ได้โดยอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ความว้าวของครั้งนั้นคือ “อัตราการผลิต” ที่เรียกได้ว่าเปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง และหากผู้ก่อตั้งหนึ่งในแบรนด์ยานยนต์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกยังมีลมหายใจอยู่ คงจะรู้สึกรัก CNC Machining ไม่แพ้ใคร เพราะไม่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ระบบ CNC กลายเป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ความก้าวหน้าในการออกแบบหุ่นยนต์ และกระบวนการผลิตอัตโนมัติแห่งยานยนต์อันเป็นเจตนารมย์เริ่มต้นของยุคก่อนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ กล่าวได้ว่านี่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบอัตโนมัติโดยแท้จริง

เข้าใจ CNC Machining คร่าว ๆ ภายในหนึ่งนาที

CNC Machining เป็นกระบวนการผลิตที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนนั้นมีความแม่นยำสูงทั้งแบบโลหะและพลาสติก โดยกระบวนการจะเริ่มต้นด้วยการแปลงแบบจำลองดิจิทัลของชิ้นส่วนตามค่าคำแนะนำของเครื่อง

จากนั้นข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งไปยังเครื่อง CNC ที่เหมาะสม เช่น เครื่องกลึง เครื่องมิลลิ่ง เครื่องตัด และอื่น ๆ ต่อด้วยกระบวนการของเครื่องนั้น ๆ จนกว่าจะออกมาเป็นชิ้นส่วนตามที่เราต้องการตามค่าที่เราได้กำหนดไว้แล้วด้วยความหลากหลายที่เครื่อง CNC สามารถกำหนดค่าได้ การปรับระดับความซับซ้อน เทคโนโลยีนี้จึงเสมือนเกิดมาเพื่อ อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะ

อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ x เครื่องจักรกล CNC ?

อย่างที่ได้เกริ่นไว้ตั้งแต่ช่วงต้น CNC Machining สิ่งนี้นั้นได้เข้ามายกระดับกระบวนการผลิตรถยนต์ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ชนิดที่ เฮนรี่ ฟอร์ด ตื่นขึ้นมาเห็นแล้วยังต้องหลงรักหัวปักหัวปำ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตทั่วโลกไม่พลาดที่จะตักตวงผลประโยชน์จากกระบวนการนี้

ข้อได้เปรียบการผลิตยานยนต์

ความเร็วในการผลิต

สำหรับปริมาณการผลิตตั้งแต่ปานกลางถึงสูง CNC Machining มีเวลาในการผลิตที่รวดเร็วมากกว่าแมนนวลดั้งเดิมอย่างมาก นั่นก็เป็นเพราะระบบอัตโนมัติที่ทำให้ร่นระยะการทำงานแบบที่ต้องใช้แรงงานออกไป ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของระบบและเครื่องจักรแทน แถมยังสามารถวางแผนการผลิตเพื่อเร่งความเร็วสูงสุด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่อง รวมถึงเลือกวัสดุที่เหมาะสมได้อย่างแม่นยำ

ระบบอัตโนมัติ

จุดเด่นที่เห็นกันแบบเตะตา คือ ระบบอัตโนมัติของเครื่องนี้ ข้อได้เปรียบดังกล่าวไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความเร็วเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงความคล่องตัวในการผลิตตามกระบวนการต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราสามารถโฟกัสกับงานออกแบบและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้มากขึ้น ปล่อยให้เรื่องการผลิตเป็นของเครื่องจักรฮีโร่นี้แทน

การทำซ้ำ

ในฐานะที่ CNC Machining มีกระบวนการควบคุมที่ถูกดำเนินการโดยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก จึงรับประกันได้เลยกับความสามารถในการ “ทำซ้ำ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตั้งค่าการผลิตระดับอุตสาหกรรมนั้น ยิ่งทำให้แน่ใจได้ว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ จะมีความสอดคล้องกันในระดับ “Batch to Batch” เพื่อให้รถแต่ละคันออกมาได้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ข้อได้เปรียบนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก

ความแม่นยำ

เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการทำซ้ำ CNC Machining สามารถตอบสนองความคลาดเคลื่อนที่จำเป็นสำหรับการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ และเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับการผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนสูง เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่ทำให้สิ่งนี้ยกระดับการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การปรับแต่ง

แม้ว่าความจริงแล้ว อาจจะไม่เหมาะกับการปรับแต่งมากนัก แต่ในฐานะการผลิตแบบเติมแต่ง ก็สามารถใช้งาน CNC Machining เพื่อผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการปรับแต่งตามความต้องการที่แตกต่างจากตัวแบบเดิมได้เช่นกัน แถมยังใช้เวลาอันสั้นไม่ว่าจะเป็นการผลิตในปริมาณเท่าไหนก็ตาม

อุตสาหกรรมยานยนต์

โรงกลึงพี-วัฒน์ตอบสนองสิ่งไหนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

แนวโน้มตลาดยานยนต์บ้านเรา ณ ปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง สืบเนื่องจากประชากรมีกำลังซื้อมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าว่ากันตามตรงแล้วตลาดนี้ยังคงมีวัตถุดิบอีกหลายส่วนหลายมุมให้ผู้ประกอบการได้เลือกนำเสนอแก่ผู้บริโภค เพราะหากมีการใช้งานอยู่เสมอ การซ่อมบำรุง ปรับปรุง หรือจะปรับแต่งตามความต้องการนั้นเป็นสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว

ยุคเศรษฐกิจที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่กันตอนนี้ การพูดถึงอะไหล่แต่งหากเป็นเรื่องความสวยงามจากบอดี้พาร์ทต่าง ๆ อาจดูไกลตัวเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นเรื่องอะไหล่แต่งเพื่อสมรรถนะการใช้งาน อะไหล่ยนต์เพื่อทดแทนชิ้นส่วนเดิมด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐานผ่านการผลิตด้วยเครื่องมือระดับสูง ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่หากประชากรยังต้องใช้รถเป็นพาหนะโดยสาร ไม่ว่าคุณจะตกอยู่ในสถานการณ์แบบไหนก็ตาม

ฉะนั้น คุณสามารถเป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริโภคกับเราด้วยการศึกษารีเสิร์ชหาความต้องการว่าเทรนด์ตอนนี้มีอะไรบ้างที่ได้รับความนิยม สิ่งที่หลายคนมองหาในช่วงยุคเศรษฐกิจแบบนี้คืออะไร สิ่งไหนที่อาจเป็นทางออกซึ่งเรา โรงกลึงพี-วัฒน์นั้นพร้อมตอบสนองทุกความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนยานยนต์แบบใดก็ตาม ขอแค่เพียงกำหนดสเป็คมาเท่านั้น CNC Machining ของที่นี่จัดให้ได้ทุกแบบตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งานและความต้องการของผู้ประกอบการได้เต็มประสิทธิภาพแน่นอน

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลประกอบบทความจาก www.rapiddirect.com

ทำความรู้จัก เครื่องกลึง CNC ตัวช่วยยกระดับงานกลึง ให้กับโรงงานทั่วโลก

เครื่องกลึง CNC

แวดวงอุตสาหกรรมการผลิต เชื่อว่าหลายท่านอาจจะเคยได้ยิน ได้เห็น CNC Machining Center หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าเครื่อง CNC สิ่งนี้ถือเป็นเครื่องจักรหลักของอุตสาหกรรมโลหะการ เพื่อสร้างชิ้นงานต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ถ้าให้ยกตัวอย่างผ่านบริการของโรงกลึงพี-วัฒน์ของเรา ที่ใช้ เครื่องกลึง CNC ผลิตชิ้นงานในโปรเจคต่าง ๆ อย่างเช่น เครื่องจักรกลพิเศษเฉพาะทาง ชิ้นส่วนโรบอท อะไหล่แต่งรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น

สำหรับคำว่าเครื่องจักรระดับ “ไฮเอนด์” ที่เราเน้นย้ำมาตลอด เครื่องกลึง CNC จึงเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแม่ทัพหลักของโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์ของเรา และโรงงานชั้นนำที่ได้มาตรฐานระดับสากลทั่วไป

ส่วนในเรื่องของความสำคัญ หากถามว่าทำไมเครื่อง CNC จึงได้รับความนิยมและได้รับความไว้วางใจให้เป็นคีย์แมนของวงการผลิต รวมถึงความเชื่อมั่นของลูกค้าที่สามารถมั่นใจได้เลยว่าชิ้นงานของคุณทุกชิ้น ทุกแบบ จะถูกสร้างมาถูกต้องตามรูปทรงที่ต้องการ ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ครบทุกฟังก์ชั่น มาร่วมกันหาคำตอบความอัจฉริยะของ CNC Maching Center ผ่านเนื้อหาด้านล่างนี้ได้เลย

เครื่องกลึง CNC

CNC Machining Center คืออะไร?

คำว่า “CNC” นั้นมาจาก Computer Numerical Control ความหมายคือ เครื่องจักรกลที่ทำตามด้วยระบบคำสั่งคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ ความละเอียดของคำสั่งจะช่วยให้การผลิตนั้นได้ขนาดและรูปทรงถูกต้องตามที่ต้องการชนิดว่าหากมีความคาดเคลื่อนจริง ๆ มีเพียงแค่ 0.001 mm. เท่านั้น ซึ่งก็เป็นดีเทลในระดับที่แทบจะไม่มีผลต่อการนำไปใช้งานเลยด้วยซ้ำ

แถมอีกส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่อง CNC นั้นกลายเป็นพื้นฐานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม หลักเลยคือสิ่งนี้มี ATC อุปกรณ์เปลี่ยนทูลอัตโนมัติ (Automatic Tool Changer) ประกอบอยู่ด้วย การใช้งานจะลื่นไหลไม่จำเป็นต้องหยุดเพลา ใช้มือเปลี่ยนเครื่องมือเอง ช่วยประหยัดเวลาสำหรับการผลิตและกระบวนการอื่นได้มากเลยทีเดียว

นอกจากผู้ประกอบการที่เลือกใช้เครื่องนี้แล้ว ปัจจุบันยังมีภาคการเรียนการสอนที่เปิดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามาารถในการใช้ CNC Machining Center แบบครบวงจร

รู้จักกับโครงสร้างพื้นฐานเครื่องกลึง CNC

หากเคยเห็นหรือเคยใช้งานเครื่องกลึงมือมาก่อน จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของ เครื่องกลึง CNC นั้นมีความคล้ายคลึงกันมากอยู่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้เครื่อง CNC ยกระดับไปอีกขั้น ข้อแตกต่างหลัก ๆ คือ ระบบการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร และระบบตรวจวัด 

เพียงแค่สองส่วนนี้ก็ช่วยให้การผลิตนั้นมีความเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น  มั่นใจในคุณภาพของชิ้นงานได้มากขึ้น ตรงตามความต้องการมากขึ้นทั้งในเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งานและรูปทรง หากรวมกับโครงสร้างหลักแบบ Manual จะประกอบด้วย 5 โครงสร้างด้วยกัน ดังนี้

  1. ระบบขับเคลื่อน 
  2. ระบบจับยึด
  3. ระบบตรวจวัด
  4. ระบบไฟฟ้า
  5. ระบบควบคุม

จาก 5 ระบบที่ว่ามานี้ ที่เราได้กล่าวข้างต้นว่า 2 ระบบที่สร้างความแตกต่างทำให้ความเป็นเครื่อง CNC นั้นเหนือระดับกว่าเครื่องกลึงแบบทั่วไป เนื่องด้วยระบบการวัดของเครื่องจักรรุ่นใหม่ในยุคนี้มีความละเอียดที่สูงมาก ส่วนพระเอกอย่างระบบควบคุมนั้นก็สั่งได้ตามต้องการด้วยโค้ดที่คุณสามารถโปรแกรมเพิ่มเติมให้ตรงตามกับความเหมาะสมได้เสมอ

ซึ่งช่างเทคนิคและวิศวกรของโรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็ใช้ระบบนี้อย่างชำนาญและมีประสิทธิภาพ เสริมความมั่นใจในคุณภาพของชิ้นงานทุกชิ้นให้แก่ลูกค้า 🙂

ไม่ใช่แค่กับเครื่องกลึงแต่เพียงอย่างเดียว เครื่องจักรแบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอุตสาหกรรมการผลิตหลากหลายแบบ ทั้ง เครื่องเจียร เครื่องพิมพ์ และเครื่องตัด ก็ล้วนแล้วแต่ใช้ระบบนี้เพื่อประสานงานกัน เพื่อให้ชิ้นงานมีความละเอียด สวยงาม มีความซับซ้อนสูงแค่ไหน ก็ใช้ระบบควบคุมที่ว่านี้สั่งการได้ครอบคลุมทั้งหมด

สร้างชิ้นงานคุณภาพสูง ด้วย “เครื่องกลึง CNC”

ด้วยระบบของเครื่อง CNC ที่มาพร้อมกับความอัจฉริยะในด้านการควบคุมและสั่งการ ทำให้สิ่งนี้ก้าวข้ามขีดจำกัดในการผลิตเหนือเครื่องจักรแบบเดิม วัสดุที่ต้องการความละเอียดสูงแบบงานกลึง หากต้องการงานคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีแบบ CNC พร้อมเป็นคำตอบสุดท้ายให้กับทุกโรงกลึงและโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากความละเอียดที่เน้นย้ำอยู่ตลอด การเลือกใช้งานเครื่องจักรระดับไฮเอนด์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน จะช่วยให้ความเร็วในการผลิตชิ้นงานเพิ่มขึ้นได้หลายเท่าตัว เนื่องจากระบบ CNC สามารถควบคุมเครื่องกลึงหลายเครื่องได้ในเวลาเดียวกัน 

พูดได้ว่านอกจากจะละเอียดยิบระดับ 0.001 mm. แล้วยังมีความรวดเร็วสูง ตอบโจทย์ทุกความต้องการทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพ และทันต่อการใช้งานซึ่งกลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักของเทรนด์บริการในปัจจุบันอีกด้วย

เครื่องกลึง CNC

รู้โครงสร้างเพื่อ “สร้างความเชื่อมั่น” ให้กับทุกชิ้นงานของคุณผ่านบริการของโรงกลึงพี-วัฒน์

การจะเลือกรับบริการใดสักอย่างหนึ่ง ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทลายกำแพงต่าง ๆ ได้อย่างดี ไม่ใช่ในแง่ของอุตสาหกรรมการผลิตเพียงอย่างเดียว 

หากแต่ความเชื่อใจในการใช้บริการ หากได้รู้ว่าเครื่องมือของโรงงานที่เราได้เลือกเพื่อเป็นตัวแทนทำการผลิตสินค้าชิ้นงานนั้นเป็นอย่างไร ได้มาตรฐานสากลมากน้อยแค่ไหน 

สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้การประสานงานแต่ละกระบวนการเป็นไปอย่างลื่นไหล กอปรกับการมอบความไว้วางใจต่อทีมงานผลิตได้อย่างเต็มที่ จากนี้ก็ขึ้นอยู่กับเครื่อง CNC ที่จะ “เนรมิต” ทุกสิ่งที่อยู่ในแพลนกลายเป็น “ชิ้นงานจริง” ที่พร้อมส่งถืงมือคุณด้วยความรวดเร็วในทุกขั้นตอนบริการของเรา 

เครื่อง CNC ในแบบที่โรงกลึงพี-วัฒน์เลือกใช้นั้นมีความเหมาะสมกับงานกลึงทุกชนิด ความเชี่ยวชาญของเราพร้อมพิสูจน์คุณภาพผ่านทุกชิ้นงาน ผลิตได้ตามแบบ ไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ ด้วยโรงกลึงของบริษัทเอง มั่นใจได้เลยว่าเครื่องนี้สามารถผลิตชิ้นส่วนวัสดุตามขนาดรูปทรงที่คุณต้องการ ต่อให้เป็นงานกลึงที่มีความละเอียด ความซับซ้อนสูงระบบอัจฉริยะ CNC Machining Center เอาอยู่แน่นอน

เทรนด์อุตสาหกรรม 2021 จากยุคเดิมสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ผ่านมุมมองสื่อดัง Forbes

อุตสาหกรรม 5.0

ทุกการวิวัฒน์.. แม้มันต้องใช้เวลาในการปรับตัวเข้าหาสิ่งใหม่ที่จะกลายเป็นแนวทางในการอยู่รอดตามช่วงเวลานั้น ๆ แต่สิ่งที่ตามมาล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์มหาศาลหากว่าคุณก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดแห่งการพัฒนาเหล่านั้นได้ เหมือนกับที่อุตสาหกรรม 4.0 ที่เพิ่งจะถูกพูดถึงไม่นาน แต่กลับกลายเป็นว่าอาจโดนอัปเกรดไปสู่ยุค อุตสาหกรรม 5.0 อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้เป็นเพราะมีวิกฤตการณ์ โควิด – 19 เป็นตัวเร่งสิ่งต่าง ๆ ให้รุดหน้ายิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว จนเทรนด์โลกตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมชนิดใด “ปัญญาประดิษฐ์” (AI : Artificial Intelligence) เป็นสิ่งที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ “มนุษย์” อย่างเราต้องผนึกกำลังกับสิ่งนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจของตนเอง

ในขณะที่ “Forbes” จ้าวแห่งสื่อธุรกิจการเงินแห่งสหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์เทรนด์ใหม่ของโลกธุรกิจผ่านมุมมองของพวกเขา สิ่งที่น่าสนใจจากผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจมากว่า “ศตวรรษ” จะน่าสนใจขนาดไหน เราได้นำมาย่อยให้คุณได้อัปเดตไปพร้อม ๆ กัน ผ่านบทความนี้แล้ว..

อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร ยังมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนกับสถานการณ์ทุกวันนี้?

อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร.. ในช่วงรอบปีที่ผ่านมาคาดว่าหลายคนที่ข้องแวะเกี่ยวกับการทำธุรกิจน่าจะได้ยินคำนี้มากันพอสมควร ต่อให้ไม่รู้จักมักจี่อย่างถ่องแท้แต่เชื่อเหลือเกินว่าต้องเคยผ่านหูกันมาไม่บ้างก็น้อย 

อุตสาหกรรม 5.0

ซึ่งเจ้า “อุตสาหกรรม 4.0” นี้หลัก ๆ คือเรื่องของการปฏิวัตโลกแห่งการผลิต ที่หากคุณรู้จักกลไกลโครงสร้างของเขาจะทำให้เห็นภาพรวมต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน กระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณลดต้นทุน ทุ่นแรงจากการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูง กลายเป็นคีย์แมนแห่งอุตสาหกรรมการผลิตไปโดยปริยาย

และดังที่กล่าวไป เพียงแค่พารากราฟสั้น ๆ ก็น่าจะทำให้คุณพอเห็นความสำคัญของสิ่งนี้แบบที่เราไม่ต้องอธิบายอะไรให้ยืดยาว

มุมมองจากสื่อ “จ้าวแห่งธุรกิจการเงิน” ต่อเทรนด์โลกธุรกิจและอุตสาหกรรม 5.0 ในอนาคต

ส่วนที่เราได้พูดค้างเอาไว้ในช่วงต้นของบทความว่า “Forbes” ได้มองถึงเทรนด์ของการผลิตในปี 2021 ที่จะเข้ามาเป็นบทบาทสำคัญของธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท เพื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 โดยแท้จริง สรุปได้ว่ามี 6 ปัจจัยหลัก ดังนี้

  1. Glocalization เป็นการฟิวชั่นกันระหว่างคำว่า Globalization X Localization พูดแบบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือการผสมผสานแนวทางสากลสู่ความเป็นระบบท้องถิ่น เหตุผลหลักก็มาจาก โควิด – 19 อีกนั่นแหละ ที่ทำให้การขนส่งต่าง ๆ เป็นได้ยาก ทำให้หนทางอยู่รอดจำต้องหาซัพพลายเออร์ท้องถิ่นที่มีศักยภาพระดับสูงมาคัฟเวอร์สิ่งที่ขาดหายไปในช่วงนี้ 
  1. ปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี สิ่งที่ทุกองค์กรง่วนอยู่กับกระบวนการนี้ โลกแห่งธุรกิจถูกบังคับให้อัพเกรดในความ “คล่องตัว” หลายสิ่งหลายอย่าง การประสานงาน รวมถึงชุดข้อมูลหากเป็นแบบ “Real-Time” ได้ยิ่งนี้ สิ่งนี้จะทำให้ทุกธุรกิจ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลแน่นอน
  1. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อีกหนึ่งพระเอกของช่วงเวลาหลังโรคระบาด การแก้ปัญหาของความขาดแคลน “ซัพพลายเชน” ถูกสิ่งนี้เข้ามาทดแทนได้อย่างเฉียบขาด ตัวอย่างที่โลกประจักษ์เลยนั่นก็คือการเพิ่มผลผลิตอุปกรณ์การแพทย์แบบรวดเร็ว ซึ่งก็ได้คุณสมบัติพิเศษของสิ่งนี้เข้ามาเติมเต็มได้แบบไร้รอยต่อ
  1. ความสำคัญโครงสร้างพื้นฐาน IT ตรงจุดนี้เคยพูดถึงไปแล้วในบทความก่อน เป็นระบบแรก ๆ ที่จะถูกปรับปรุงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเทรนด์โลกอุตสาหกรรมสมัยใหม่ การปรับขนาดให้เหมาะสมต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูล บริการ วิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ขนไปถึงระบบภายในต่าง ๆ จำต้องตอบสนองต่อโครงสร้างนี้ได้เป็นอย่างดี
  1. การลงทุนที่เพิ่มขึ้นของ IIOT เนื้อหาจาก Forbes ได้นำเสนอสิ่งที่ Rockwell Automation ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดนี้จะเติบโตมากเกือบ 2 เท่าตัว ในปี 2020 – 2025 จากมูลค่า 77.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 110.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่น่าสนใจมากขึ้นเป็นตัวเลข 75% ที่ผู้ผลิดมีแพลนจะเพิ่มการลงทุนด้วยระบบอัฉริยะนี้ในปีต่อ ๆ ไป
  1. ปัญญาประดิษฐ์ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ที่ต้องบอกเช่นนี้ เนื่องจากแม้จะเป็นระบบอัฉริยะแต่ก็ยังมีจุดบอดให้เห็นกันอยู่ ดังนั้น ต่อให้เป็นมาตรฐานหลักที่ควรค่าแก่การพัฒนาก็ยังคงต้องทำงานร่วมกับมนุษย์ที่เป็นฝ่ายกำหนดความต้องการด้วยความเข้าใจต่อสถานการณ์โลกอย่างเราคอยควบคุมอีกที ทุกการประสานงานอันไหลลื่นจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่คาดไม่ถึง โดยเฉพาะความสุดยอดของเซนเซอร์ IIOT สามารถสร้างข้อมูลมากกว่า 1.44 พันล้านตำแหน่งต่อข้อมูลโรงงานในหนึ่งวัน โดยตัวเลขนี้ทำให้หลายอุตสาหกรรมตระหนักว่าการบูรณการสิ่งนี้นั้นดีอย่างไร นี่เป็นเหตุผลที่หลายองค์กรผู้ไม่เคยอิดออดต่อการวิวัฒน์ นั้นมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดอยู่เสมอ
อุตสาหกรรม 5.0

จาก 4.0 ถึง 5.0 “ช้าหรือเร็วไม่เกี่ยว” หากแต่พร้อมรับมือ “ผลลัพธ์ล้วนดีเสมอ”

ทางเรา โรงกลึงพี-วัฒน์ นั้นก็ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต รองรับทุกความต้องการของลูกค้ามาเสมอ มีการพัฒนาเกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม อย่างเครื่อง CNC Machining Center ที่เราได้นำให้บริการลูกค้ามาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก็สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ Forbes มองว่าจะเป็นเทรนด์ต่อ ๆ ไป เป็นสิ่งที่ตอกย้ำได้ว่าการบริหารงาน การดำเนินการของธุรกิจเราเป็นไปตามฉบับสากลมาโดยตลอด

ฉะนั้น มั่นใจได้เลยไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังถูกพูดถึง หรือจะก้าวสู่อุตสาหกรรม 5.0 ในเร็ววันนี้ จากการเชื่อต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และระบบอัฉริยะปัญญาประดิษฐ์ ที่นี่พร้อมปรับตัวก้าวทันทุกยุคเพื่อรับรองทุกความต้องการ ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกบริการแบบครบครัน 100 เปอร์เซนต์

แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรม มั่นใจได้มากน้อยแค่ไหน?

แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรม

ในยุคที่สถานการณ์ของโคโรน่าไวรัสส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการทำธุรกิจทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย หากว่ากันตามตรงต้องบอกว่า “หนักหน่วง” เหลือเกิน ไม่เว้นแม้แต่โรงกลึงหรือโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งต้องมีการปรับตัวภายใต้เงื่อนไขของการควบคุมต่าง ๆ และใช้กระบวนการทำงานภายใต้กรอบของ แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้ผลผลิตยังคงดำเนินการต่อไปได้ด้วยความปลอดภัยและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ลูกค้า

ท่ามกลางความไม่แน่นอนของแถลงการณ์ต่าง ๆ ที่ออกมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การที่มีหลักปฏิบัติออกมาเป็นมาตรการ “พื้นฐาน” เป็นดั่งแนวทางสำคัญที่เราสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็ต้องยึดถือความปลอดภัย สุขภาพของทีมงานเป็นอันดับแรก  โดยโรงกลึงพี-วัฒน์ นั้นพร้อมสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า ด้วยแนวทางปฏิบัติดังกล่าวบนมาตรฐานระดับสูงเหมือนเคย

หนักแค่ไหน.. อุตสาหกรรมไทยในสถานการณ์ โควิด-19

ตามที่เราได้รับข่าวสารผ่านหลายช่องทางในแต่ละวัน จากสถานการณ์ที่เคยดีขึ้นเป็นลำดับ กลับมาหนักหนาอีกครั้งเมื่อเจอพิษการระบาดของโควิด “ระลอกใหม่” ไม่ใช่ระลอกสอง ตามคำนิยามของ ศบค. เหมือนเมื่อช่วงส่งท้ายปี จนมาถึงช่วงสงกรานต์ปีใหม่ไทยที่กลับมาประทุอีกครั้ง โดยเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก ๆ ส่วนใหญ่แล้วแทบจะยังฟื้นตัวขึ้นมาก่อนหน้านั้นไม่ได้ด้วยซ้ำไป

และแน่นอน ธุรกิจที่โดนอัปเปอร์คัตปลายคางอีกครั้งหนีไม่พ้น “อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ” กรีฑาทัพโดย อุตสาหกรรมโรงแรม อุตสาหกรรมร้านอาหาร และอุตสาหกรรมการบิน แม้จะยังไม่ถึงกับน็อคแต่เรียกได้ว่าต้องเดินสะโหลสะเหลบนเวทีไปอีกพักใหญ่ นอกจากล่าสุดคนจะติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทำสถิติ “New High” ทุก ๆ วัน จำนวนผู้เสียชีวิตมากขึ้นตามลำดับจนเป็นที่น่าวิตกกังวล

แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรม
Image by Drazen Zigic on Freepik

คาดว่ากว่าที่วัคซีนจะเข้ามามีบทบาทจนกลายเป็นหมัดเด็ดช่วยพลิกสถานการณ์ก็น่าจะอีกพักใหญ่ ฉะนั้น สถานการณ์ตอนนี้ธุรกิจใดมีแผนสอดคล้องกับมาตรการไหนที่ออกมา ปรับใช้กับโครงสร้างธุรกิจตัวเองได้มากน้อยขนาดไหน ก็ต้องออกหมัดคอยแย็บไว้บ้างยังดีกว่าไม่ได้ออกอาวุธอะไรเลย

สำหรับอุตสาหกรรมโรงงานก็ต้องปรับตัวไม่ใช่น้อยเช่นกัน อาจจะไม่ถึงกับหลังพิงฝาเหมือนกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ แต่ถ้าจะบอกว่าไม่ได้รับผลกระทบเลย.. อันนี้ไม่ใช่แน่ ๆ อย่างมาตรการโควิด-19 ที่ออกมา มีหลายสิ่งหลายอย่างที่จำเป็นต้องทำเพิ่ม รายได้เป็นอย่างไรไม่รู้ แต่รายจ่ายเพิ่มเข้ามาเรียบร้อย เมื่อดูแล้วเป็นทางออกหลักที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ทั้งยังเป็นการรับผิดชอบต่ออุตสาหกรรมโรงงานและสังคมโดยรวม เชื่อว่าโรงงานทุกแห่งพร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว

แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไป

มาตรการนี้นั้นเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานที่มีร่างออกมาตั้งแต่การระบาดของไวรัสตั้งแต่ระลอกแรก มีการปรับปรุงเรื่อยมาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นถึงปัจจุบัน ฉะนั้น นี่ถือเป็นมาตรการสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปและไม่เว้นแม้แต่โรงกลึงซึ่งปฏิบัติกันมาโดยตลอด

แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรม
Image by aleksandarlittlewolf on Freepik

ความเข้นข้นของระดับการใช้มาตรการนี้นั้นเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงองค์รวมของโครงสร้างธุรกิจและกระบวนการของแต่ละโรงงานเอง แต่โดยหลักทั่วไปแล้วข้อสำคัญ ที่จำเป็นต้องทำเลย คือการแบ่งทีมงานออกเป็น 2 ส่วน สลับกันทำแบบ เวิร์คฟอร์มโฮม (Work from Home) คล้ายกับมี 2 บริษัท เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างปกติที่สุด

ในส่วนของกระบวนการผลิตนั้น ชุดอุปกรณ์ป้องกันพื้นฐานจำต้องมีการแจกจ่ายและตรวจอย่างเคร่งครัด นอกจากเป็นการป้องกันภายในโรงงานแล้ว การส่งสินค้าออกถือเป็นความเสี่ยงสูงสุดที่อาจทำให้เป็นคลัสเตอร์ระลอกใหม่ได้เลย แต่ก็ยังเป็นที่เรื่องที่น่ายินดีว่าที่ผ่านมานั้นยังไม่มีข่าวว่าอุตสาหกรรมในโรงงานนั้นมีการบกพร่องแต่อย่างใด

ด้วยมาตรฐานและปรัชญาของโรงกลึงพี-วัฒน์ กับแนวทางสากลพร้อมดำเนินควบคู่ไปด้วยกัน

ในส่วนของ โรงกลึงพี-วัฒน์ เรื่องมาตรฐานการบริการผ่านปรัชญาที่เรายึดมั่นมาตลอดนั้นพร้อมดำเนินการสอดคล้องไปกับข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรม ในทุกกระบวนการได้ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นภายในโรงงานผลิตก็ดี หรือทีมงานที่ต้องติดต่อโดยตรงกับลูกค้าก็ดี

โดยทางด้านของการผลิตเอง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อมีมาตรการปฎิบัติสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร บวกกับความมุ่งมั่นของเราที่เตรียมตัวอยู่เสมอเพื่อรักษามาตรฐาน พร้อมยกระดับความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อสินค้าและบริการของเรา 

ดังนั้น นอกเหนือจากความพึงพอใจในตัวของชิ้นงานแล้ว เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่เราเน้นย้ำทีมงานมาโดยตลอด นี่คือสิ่งเพิ่มเติมผสมผสานรวมกับปรัชญาหลักของเรา เป็นขั้นตอนที่พวกเราใส่ใจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อจำกัดที่อาจมาพร้อมกับสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม?

แนวทางป้องกันโควิด-19 โรงงานอุตสาหกรรมหรือแนวทางป้องกันโรคระบาดสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการโรงกลึง ไม่ได้เป็นเพียงแค่ข้อปฏิบัติสำหรับการทำงานภายใต้ขีดจำกัดของวิกฤติการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสเท่านั้น แต่หากเรามองเจาะลึกลงไปจากผลกระทบร่วมกับการปรับตัวเพื่อ New Normal ด้วย สิ่งเหล่านี้เองทำให้โรงงานต่าง ๆ หันกลับมาพัฒนาระบบของตนเองมากขึ้น เทคโนโลยีและดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทมากกว่าที่เคยแน่นอน 

ฉะนั้น นี่ไม่ใช่การจบแบบการมอง “โลกสวย” เพียงแต่ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ ข้อจำกัดมากมายขนาดนี้ การปรับตัวไม่ใช่การถอยหลัง 

หรือหากจะนิยามว่าเป็นการก้าวถอยหลังจริง ๆ นี่ก็คงเป็นการถอยกลับมาพัฒนาในสิ่งที่สามารถต่อยอดเพื่อให้เรากระโดดได้ไกลขึ้น เชื่อว่าหากสามารถรันธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมภายใต้มาตรการโควิดที่ออกมาได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด บางทีผลลัพธ์ที่ได้หลังจากนี้อาจทำให้เกิดระบบใหม่ที่ดีกว่าเดิมก็เป็นได้..

Image by aleksandarlittlewolf on Freepik