Metaverse โลกเสมือนจริง ที่อาจยกระดับต่ออุตสาหกรรมได้ในอนาคตอันใกล้!

Metaverse

กระแสอาจจะซาลงไปบ้างแล้วสำหรับ “Metaverse” ที่ก่อนหน้านี้ทำเอาหลายคนตื่นเต้นร่วมวิพากษ์วิจารณ์ไปกับการเปิดตัวสุดฮือฮาของ “Meta” ชื่อที่ทาง เฟซบุค นั้นประกาศกลางงาน Facebook Connect ว่าบริษัทได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อดังกล่าว โดยคอนเซปต์คร่าว ๆ ก็คือการวางรากฐานสู่การเป็นบริษัทเมตาเวิร์สแบบเต็มตัว ว่ากันว่านี่เป็นสุดยอดฝันของทาง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก CEO และผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุค

ว่ากันตามตรงแล้วผู้เขียนก็ยังไม่ได้รู้ลึกอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายนัก แต่พอศึกษาเรื่อย ๆ ก็เริ่มทึ่งเล็กน้อยเมื่อได้ไปค้นเจอหนึ่งบทความจากต่างประเทศ ซึ่งพูดถึงเรื่องของเมตาเวิร์สเกี่ยวกับการผลิตได้อย่างน่าสนใจ และอยากจะส่งต่อความเป็นไปได้เหล่านี้ให้เราได้ร่วมจินตนาการไปพร้อมกันว่า “หากเกิดขึ้นจริง” สิ่งนี้จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมนี้ยังไง แล้วจะหยิบใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้มากน้อยแค่ไหน เผื่อว่ามาในอนาคตอันใกล้จะได้เตรียมตัวปรับตัวได้ทันที เพราะในแต่ละกระบวนการที่ต้นทางได้หยิบยกมา ถ้าทำได้จริงก็น่าจะช่วยยกระดับการผลิตได้อย่างน่าพอใจเลยล่ะ

รู้จัก Metaverse ผ่าน Ready Player One นวนิยายขายดี / หนังฮอลลีวูด

Ready Player One จากนวนิยายชื่อก้องติดอันดับขายดีของ เออร์เนสต์ ไคลน์ (Ernest Cline) ก่อนจะกลายมาเป็นสารตั้งต้นออกสู่สายตาผู้ชมผ่านภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ โดยผู้สร้างระดับตำนานอย่าง สตีเว่น สปีลเบิร์ก (Steven Spielberg) ซึ่งเรื่องนี้ได้ใช้แนวคิดของ Metaverse ได้อย่างเหมาะสม มีการร้อยเรียงกับเนื้อหาหลักของเรื่องได้อย่างยอดเยี่ยม ว่ากันด้วยเรื่องของโลกอนาคตอันใกล้ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงานและภาวะโลกร้อน เต็มไปด้วยความวุ่นวายใกล้จะล่มสลายเต็มที แต่ The Oasis จักรวาลเสมือนจริง ได้เข้ามามอบประสบการณ์รูปแบบใหม่อันน่าตื่นเต้น ถูกจำลองขึ้นมาได้ครบทุกมิติจนเหมือนเป็นอีกโลกหนึ่งจริง ๆ

Metaverse


ที่ร่ายยาวมานี้ไม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมกาผลิตโดยตรง แต่สำหรับใครที่ยังนึกภาพไม่ออกว่าโลกเสมือนจริงนี้ทำงานยังไง ลองไปหาตัวอย่างหนังเรื่องนี้ หรือถ้ามีแบบเต็ม ๆ เรื่องก็ลองเสพย์ดูได้ เชื่อเลยว่าหลาย ๆ สิ่งในหนังจะทำให้คุณเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดที่บทความต้นทางพูดถึง Metaverse เกี่ยวกับการผลิตได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นไม่มากก็น้อย

คุณลักษณะ 6 ประการของ Metaverse ภาคธุรกิจ

  1. การซิงโครไนซ์ / ความคงอยู่
  2. เศรษฐกิจแบบเต็มประสิทธิภาพ
  3. ไม่จำกัดจำวนผู้ใช้
  4. การทำงานร่วมกันของสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อมูล และอื่น ๆ 
  5. เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น
  6. ครอบคลุมเครือข่ายส่วนตัว เครือข่ายสาธารณะ ทั้งแพลตฟอร์มแบบเปิด / ปิด ฯลฯ

ซึ่งตอนนี้ทาง Roshan Srinivasan ได้บอกว่าจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เขาได้ศึกษา ปัจจุบันที่เรามีอาจจะยังไม่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ที่จะนำไปสู่การเป็น Metavers อันสมบูรณ์แบบ แม้ว่าหลาย ๆ บริษัท อย่าง Facebook, Unity และ Nvdia ต่างเริ่มสร้างแบรนด์พร้อมจะเคลมตัวเองเป็นผู้นำในด้านนี้แล้วก็ตาม

ฟังก์ชั่นการทำงานของ เมตาเวิร์ส ณ ตอนนี้

ในแง่ฟังก์ชั่นการทใช้งาน เมตาเวิร์ส ปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาใช้กับอุตสาหกรรมเกมเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการสร้างประสบการณ์ร่วมที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น คอนเสิร์ต หรือ ภาพยนตร์ แต่ทิศทางหลังการประกาศของเฟซบุค ทำให้ผู้พัฒนาทั้งหลายต่างเริ่มเน้นที่ด้านของโซเชียลมีเดีย Metaverse มากยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากโซเชียลมีเดียแล้ว มีกรณีการใช้งานที่น่าสนใจของเมตาเวิร์ส สำหรับแอปพลิเคชั่นทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานระยะไกล จนไปถึงเรื่องของ “อีคอมเมิร์ซ” รวมถึงเรื่องของซอฟต์แวร์การออกแบบปรับขนาดเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การผลิตอีกด้วย

Metaverse

การใช้ประโยชน์ของ Metaverse เพื่อการผลิต?

จากที่บอกเล่ามาทั้งหมด ก็มาสู่จุดสังเกตสำคัญที่ว่า “เราจะใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์สได้อย่างไร” จากข้อมูลของ Roshan Srinivasan ได้อธิบายไว้ว่าแนวทางการผลิตที่ขับเคลื่อนด้วยอภิปรัชญานั้นคล้ายกับบริษัทต่าง ๆ เช่น Shopify ที่ทำให้อีคอมเมิร์ซมีความเป็นประชาธิปไตยและอำนวยความสะดวกในความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของธุรกิจและซัพพลายเออร์ ส่วนในบริบทของ Metaverse คุณจะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักสามรายในการผลิต ดังนี้

  • บริษัท / เจ้าของออกแบบ: บุคคลหรือบริษัทที่จะใช้การจำลองซอฟต์แวร์ที่เหมือน CAD เพื่อออกแบบเลย์เอาต์ของโรงงานรวมถึงส่วนประกอบการออกแบบที่จะผลิต (อยากบอกว่าทีมวิศวกรของโรงกลึงพี-วัฒน์สนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ ถึงกับค้นคว้าราคาต้นทุนของอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับมือในอนาคต)
  • ผู้ผลิตบุคคลที่ 3 (3rd Party Manufacturers) และ ผุ้ให้บริการด้านลอจิสติกส์: บุคคลหรือบริษัทในระบบซัพพลายเชน ที่จะสามารถตั้งศูนย์การผลิตและผลิตสินค้าที่แตกต่างกันได้โดยลดกระบวนการให้น้อยลง ส่งผลให้การระยะเวลาในการรอคอยสินค้าน้อยลงตามไปด้วย
  • ลูกค้า: ผู้ใช้ในกลุ่มนี้จะสามารถติดตามได้ทุกกระบวนการที่เปิดให้เข้าถึงได้ ได้รู้เห็นถึงระยะเวลาการส่งมอบสินค้าแบบชัดเจน
Metaverse

ในท้ายที่สุดแล้ว แง่มุมสำคัญของเมตาเวิร์สตามบริการที่จะเข้ามาเปลี่ยนแนวทางการผลิตสำหรับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไฮไลต์ที่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องการออกแบบกระบวนการผลิตที่รวดเร็ว ช่วยให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้จำนวนที่มากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันจะลื่นไหลและเป็นในทิศทางเดียวกันมากยิ่งขึ้น ด้วยระบบเฟรมเวิร์คและจุดเด่นในเรื่องของ “การแบ่งปันพื้นที่ส่วนกลาง” ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการควบคุมคุณภาพ โดยใช้การออกแบบอิงตามฟิสิกส์ที่มีรายละเอียดมากขึ้น ทำให้ข้อผิดพลาดสำหรับการผลิตน้อยลง ซึ่งเป็นส่วนกระทบสำคัญที่อาจมีต่อธุรกิจ

Metaverse

ส่วนหมัดเด็ดที่จะทำให้ทุกคนรู้สึก “ว้าว” เกี่ยวกับ Metaverse ร่วมกัน ก็ยังคงเป็นพาร์ทของ “ลูกค้า” ที่จะมาในรูปแบบของความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ความสบายใจที่ได้รับรู้ในหลาย ๆ กระบวนการ ซึ่งก็มาจากการปรับปรุงรูปแบบการมองเห็นในกระบวนการซัพพลายเชน ที่ถึงตอนนั้นแล้วอาจนำเสนอในรูปแบบ 3 มิติ หมายความว่านอกจากจะได้รู้ในหลายขั้นตอนแล้ว ลูกค้าจะได้ทราบระยะเวลาที่แน่นอนในการรอสินค้า การอัพเดตถึงปัญหาความล่าสช้าซึ่งก็อาจจะมีเกิดขึ้นบ้าง ตลอดจนการมองเห็นที่มากขึ้นส่วนของต้นทุนการจัดส่งแบบ “เรียลไทม์” สำหรับผู้จัดจำหน่ายที่แตกต่างกัน ทั้งการขนส่งสินค้าและการส่งมอบไมล์สุดท้าย

ขอขอบคุณบทความต้นทางเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของ Metaverse สู่การผลิต : https://www.iotforall.com/impact-of-the-metaverse-on-manufacturing 

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ

ความน่าสนใจเทคโนโลยีสมัยนี้นั้นรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ชนิดที่ว่าหากคุณไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการ ไม่ได้ต้องคลุกคลีกับเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านี้อยู่เป็นประจำ พลาดการอัพเดตข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ รู้ตัวอีกทีคุณอาจกลายเป็นคน “ไม่ทันโลก” ไปได้เลย และการใช้เวลาทำความเข้าใจบางอย่างตั้งแต่ต้นแบบที่ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด บอกเลยว่าเป็นงานหินมาก ๆ ฉะนั้น การมีแหล่งข้อมูลดี ๆ เพื่อติดตามความล้ำสมัยของเทคโนโลยีสำหรับนำมาปรับใช้กับธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญยิ่ง

และเช่นเคย.. เมื่อมาอยู่บนเนื้อหาของที่นี่ ก็ต้องมีความเกี่ยวโยงกับ “อุตสาหกรรม” เสมอ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งสิ่งน่าสนใจที่เราอยากจะนำเสนอวันนี้ เป็นตัวช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตแบบอัตโนมัติ นั่นก็คือ “แอพพลิเคชั่น”

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ

เราไปเจอบล็อกนึงที่พูดเรื่องของแอพพลิเคชั่น มีชื่อว่า “AppSheet” พวกเขาได้รวบรวมแอปการผลิตที่น่าสนใจติดท็อปลิสต์ที่ผ่านการลงความเห็นแล้วว่า “ใช้ได้จริง” คำว่าใช้ได้จริงในที่นี้หมายถึงทุกแอปที่จะพาคุณไปรู้จักนั้น จะช่วยให้คุณทราบกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น หากพร้อมแล้วลองไปติดตามดูกันได้เลย

5 แอพพลิเคชั่น ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต

ก่อนจะไปลุยทำความรู้จักกับแอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ ทั้งหมด ต้องกล่าวก่อนว่าตัวของ AppSheet เองก็ทำเรื่องเกี่ยวกับกับแอพพลิเคชั่นเหมือนกัน ฉะนั้น หากเห็นอันดับแรกสุดเลยก็อย่าแปลกใจไปที่จะชื่อคุ้น ๆ แต่เขาก็ได้ออกตัวไว้แล้วล่ะในบทความต้นทาง แต่ก็มีเคลมและอยากให้ลองเอาไปใช้ เรียกว่าขายของเก่งอยู่เหมือนกัน แต่ก่อนที่เราจะมามาตัดสินใจว่าดีจริงอย่างที่ได้ร่ายยาวเอาไว้หรือเปล่า เชิญพบกับทั้ง 5 อันดับแอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ ในวงการอุตสาหกรรมด้านล่างนี้ได้เลย!

1. AppSheet’s Equipment Inspection App แอปตรวจสอบอุปกรณ์ (สินค้าคงคลัง) AppSheet 

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ

ต้องบอกกันก่อนว่านี่ไม่ใช่แอปที่เป็นแบบสำเร็จรูป กล่าวคือไม่ใช่แอปที่สามารถใช้งานได้เลยทันที เสมือนเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาแอป เหมาะอย่างยิ่งหากคุณไม่ชอบเขียนโค้ด แอปนี้สามารถช่วยให้คุณกำหนดกระบวนการทำงานให้สอดคล้องเกี่ยวกับธุรกิจคุณได้ด้วยการจัดการต่าง ๆ เช่นกัน

อันดับแรกเลย คุณจำเป็นอัปโหลด สเปรดชีต, เอกสาร และแบบฟอร์มต่าง ๆ (ยกตัวอย่างเช่น Eco System ของ Google ทั้งหลาย) จากนั้น AppSheet ก็จัดการส่วนที่เหลือด้วยตัวแอพพลิเคชั่นเองทั้งหมด โดยคุณสามารถเลือกจากตัวอย่างที่มีในแอปได้ เช่น แอปตรวจสอบอุปกรณ์ หรือ แอปรายการตรวจสอบต่าง ๆ แล้วเดี๋ยว AppSheet จะแปลงข้อมูลที่มีทั้งหมดของคุณทั้งหมดเป็นรูปแบบเฉพาะตามรูปแบบนั้น ๆ

ฟังก์ชั่นหลักของที่มีอยู่ภายในแอพพลิเคชั่น

  • ระบุรายการตามตำแหน่ง
  • แบบฟอร์มการตรวจสอบแบบแท็บ พร้อมช่องบาร์โค้ด ลายเซ็น และรูปถ่าย
  • การตรวจสอบประวัติของรายการต่าง ๆ
  • ไดเรคทอรี่พนักงาน พร้อมสถานที่ที่เกี่ยวข้องและประวัติการตรวจสอบ
  • แผนภูมิพร้อมภาพรวมโดยย่อ แสดงแบบค่าเปอร์เซนต์ของการตรวจสอบที่ผ่าน และ ล้มเหลว

นอกจากนี้แอปยังให้คุณปรับแต่งคุณสมบัติต่าง ๆ ภายในได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นด้านของข้อมูล ลอจิก รวมถึง UI (หน้าตาของแอพพลิเคชั่น) เรียกได้ว่าคุณแทบจะสร้างแอปในแบบของคุณได้ในทันทีด้วยโครงสร้างที่ง่ายดายผ่านแพลตฟอร์มที่แอปชีตนำเสนอ

2. 5S Audit App (แอปตรวจสอบออดิต 5S)

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ

เป็นแอปที่ดูเรียบง่ายแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ นี่คือคำนิยามที่ทาง AppSheet ให้ไว้กับแอพพลิเคชั่นนี้

แอปนี้ใช้งายง่ายแต่มีประสิทธิภาพสูงอย่างมาก เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำเอกสารการตรวจสอบกิจกรรมและกระบวนการต่าง ๆ สิ่งที่คุณจะได้รับจากการใช้แอปนี้ ความความสะดวกต่อการดำเนินการและรายงานการตรวจสอบในบางพื้นที่

การตรวจสอบ 5S เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเปรียบเทียบโปรแกรมและระบบ 5S ของคุณ เหมาะสำหรับพื้นที่การผลิต สำนักงาน และไซต์งาน โดยภายในตัวแอปนั้นมาพร้อมกับเทมเพลตอันยอดเยี่ยม ซึ่งคุณสามารถโหลดไว้ล่วงหน้าเพื่อเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ ใช้สำหรับการปรับปรุงองค์กรของคุณได้ดีเยี่ยม

3. MRPeasy

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ

เป็นซอฟต์แวร์วางแผนพลิตภัณฑ์สำหรับผู้ผลิต ภูมิใจเสนอโดย Intuit Quickbooks แอปนี้จะช่วยในเรื่องของการสร้างใบสั่งการผลิต รวมถึงการกำหนดเวลาและมอบหมายงายภายในกำหนดการผลิต ตลอดจนถึงความสามารถเรื่อง ๆ อื่นในกระบวนการนี้

สิ่งที่ขึ้นชื่อของแอปนี้นอกจากความสามารถแล้ว ตัวอินเทอร์เฟซนั้นใช้งานง่ายช่วยให้การดูเมตริกหลักสำหรับกระบวนการผลิตและข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างครอบคลุม มีสถิติการจัดการ สถิติการขาย การควบคุมต้นทุน การรายงานปริมาณคงเหลือที่สำคัญ และการรายงานการใช้อุปกรณ์ทั้งหมด

หรือจะเรียกว่าเป็นแอปในการทำ task management ตัวนึงที่เหมาะเอามาประยุกต์ใช้ในโรงงานที่มีงานหลายส่วนต้องทำต่อเนื่องกัน และผู้บริหารคงต้องอยากทราบเป็นแน่แท้ว่าในขณะนั้น task งานๆ นึงมีสถานะเป็นอย่างไร และใครกำลังดำเนินการอยู่ หากพบปัญหาจะได้เข้าช่วยแก้ไขได้ทันถ่วงที โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังเล็งที่จะซื้อ license ของแอปนี้มาลองใช้งานดูเช่นกัน เพราะเมื่อมีงานมากขึ้น จำเป็นต้องมีระบบในการบริหารจัดการและติดตามงาน

4. Manufacturing 360

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ

เป็นแอปที่จะเปิดประสบการณ์เต็มรูปแบบเกี่ยวกับการผลิตดิจิทัลในสภาพแวดล้อมโรงงานแบบตอบโต้ได้ เรียกว่าครอบคลุมสุด ๆ ให้คุณได้สัมผัสเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวได้เต็มที่ สร้างขึ้นโดยยักษ์ใหญ่อย่าง Siemens ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็น “ชั้นอ๋อง” ของวงการนี้

แอปนี้จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้วิธีแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี “การผลิตยุคใหม่” รวมถึงการจำลองหุ่นยนต์และโลจิสติกส์ขั้นสูง ในแบบวงจรหมุนเวียนแบบปิดคุณภาพ รวมถึงซอฟต์แวร์ CAD/CAM ตัวล่าสุด


5. ManageTeamz Delivery Tracking

แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ

แอปนี้จะช่วยให้ทีมขนส่งของคุณไม่พลาดการติดตามแบบเรียลไทม์ ทำให้ง่ายต่อการจัดการพนักงาน คำสั่งซื้อ และไทม์ไลน์ตลอดกระบวนการ

ManageTeamz พร้อมนำเสนอระบบการติดตามการจัดส่งสุดแกร่งให้กับคุณ มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการติดตามการจัดส่งวัสดุและการรับคลังสินค้า ซอฟต์แวร์นี้สามารถใช้ได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและแอปมือถือ รองรับทุกระบบทั้ง iOS / Android

ตัวแอปจะติดตามแพ็คเกจตั้งแต่รับสินค้าจนถึงการจัดส่ง มีการติดตามพัสดุภัณฑ์โดยทำการอัพเดตบันทึกเมื่อได้รับของ จัดส่งที่ไซต์เมื่อใด กระทั่งจนคนขับกลับมายังที่ตั้ง

เลือกปรับใช้ให้ตรงกับธุรกิจ ยกระดับอุตสาหกรรมได้แน่

ทั้งหมดก็เป็น 5 แอพพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ ที่ทาง AppSheet ได้นำเสนอ รวมถึง “แอบขาย” ของพวกเขาเองด้วย! ซึ่งเราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้การยกระดับธุรกิจต่าง ๆ ยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโยโลยียุคใหม่ การใช้แอพพลิเคชั่นนั้นเข้ามามีส่วนอย่างมาก นอกเหนือจากการโปรแกรมซอฟต์แวร์ CRM แบบสากล โดยหลายธุรกิจการผลิต ธุรกิจจำนวนมากในอุตสาหกรรมให้เครดิตความสำเร็จในการใช้แอพพลิเคชั่นที่ล้ำสมัย และถ้าคุณอยากลองเริ่มต้นยกระดับธุรกิจของคุณ สิ่งที่ไม่ควรทำที่สุดเลยคือมองข้ามเทคโนโลยีเหล่านี้!

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จากต้นฉบับ จาก

https://blog.appsheet.com/top-5-manufacturing-apps-manufacturing-warehouse-management-tools-for-ios-android

เทรนด์โลจิสติกส์กับการขนส่งอุตสาหกรรมในปี 2022 ที่น่าสนใจ

โลจิสติกส์

ความเสียหายต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งอันที่จริงแล้วปี 2021 ณ ปัจจุบันที่กำลังจะผ่านพ้นไป เริ่มมีการวางโครงสร้าง มองหากลยุทธ์ใหม่ ๆ มาปรับใช้กับวงการ “โลจิสติกส์” อันเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญต่ออุตสาหกรรมแทบจะทุกประเภท หลาย ๆ โรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลก ทั่วประเทศ รวมถึงโรงกลึงพีวัฒน์ก็ต่างเจอปัญหาจากผลกระทบเรื่องการขนส่งที่มีต้นเหตุจากโรคระบาดไม่น้อยเช่นกัน

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากสิ่งที่เกิดขึ้นเสียมากกว่า แต่หลังจากที่ทั่วโลกได้ประเมินแล้วว่าต้องอยู่กับสถานการณ์แบบนี้ไปอีกพักใหญ่ การมองถึงเรื่องอนาคตโดยนำเอานวัตกรรมต่าง ๆ มาผูกกับระบบการขนส่งจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ กลายเป็นหัวข้อที่เราจะพูดคุยกันในวันนี้

โลจิสติกส์ กับ Covid-19

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เคยมีมูลค่าสูงถึง 7,641.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2017 แต่พอเจอกับพิษ Covid-19 เข้าไปทำเอาลดลงมาเหลือ 5,200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2019 ส่วนต่างขนาดนี้ต่อให้เราไม่ได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เห็นตัวเลขที่หายไปยังรู้สึกน่าตกใจไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะ..

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่เริ่มคลึ่คลายลงในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ข้อมูลล่าสุดที่เราได้สืบค้นมา ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังจะกลับมาเข้ารูปเข้ารอย อาจเติบโตไปถึงตัวเลขระดับ 12,975.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2027 ได้ไม่ยาก

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามายกระดับอุตสาหกรรมนี้ และในปี 2022 ที่กำลังจะถึง เราได้นำแนวโน้มที่จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพให้กับวงการโลจิสติกส์ โดยเนื้อหาทั้งหมดอยู่ด้านล่างแล้ว ตามไปเสพย์กันได้เลย

โลจิสติกส์

เทรนด์ โลจิสติกส์ ที่น่าสนใจในปี 2022

ต้องบอกกันแบบนี้ก่อนว่าในช่วงที่หลาย ๆ อุตสาหกรรมเจอกับผลกระทบอย่างหนักหน่วง แต่เรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นรุดหน้าอยู่เสมอ โดยเนื้อหาต่อไปนี้จะเทรนด์ที่น่าสใจเกี่ยวกับการยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่อาจจะเข้ามามีอิทธิพลในปี 2022 รวมถึงปีต่อ ๆ ไป

คลาวด์ คอมพิวติ้ง

แม้ว่าอาจมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในช่วงแรกที่มีการเริ่มใช้ แต่การนำระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง มาใช้นั้นถือเป็นโอกาสใหญ่ของบริษัทที่จะก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดเรื่องโลจิสติกส์จากโมเดล SaaS (Software-as-a-Service) ที่จะช่วยให้เข้าถึงผลกำไรที่สูงขึ้นเกินกว่าผลตอบแทนทั่วไปจากความสามารถขององค์กร

คลาวด์จะกลายเป็นข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับงานบริการโลจิสติกส์ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อดีมีมากมาย ทั้งช่วยลดค่ายใช้จ่ายด้านไอทีสำหรับการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและการตั้งค่าโซลูชั่น ช่วยให้ผู้บริการกำหนดเป้าหมายธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องกาาชำระค่าเทคโนโลยีตามการสมัครรับใช้ข้อมูล โดยเหล่านี้มีบริษัทซัพพลายเชนร่วมเป็น Third Party คอยตอบสนอง แก้ปัญหา เชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกัน

เทคโนโลยีบล็อคเชน

แอปพลิเคชั่นบล็อคเชนมีศักยภาพสูงในการเติมเต็มฟังก์ชั่นด้านโลจิสติกส์ เป็นตัวกำหนดทิศทางการกระจายสินค้าและการขนส่งในปี 2022 และปีต่อ ๆ ไป  มีความสามารถในการแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ได้โดยการสร้างบันทึกดิจิทัลที่เข้ารหัสซึ่งติดตามสินค้าในทุกขั้นตอนของซัพพลายเชน มองเห็นได้อย่างชัดเจนหากเกิดความผิดปกติที่ส่งผลต่อการขนส่ง ช่วยให้บริษัทเข้าถึงปัญหาหาและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญที่สุดสำหรับ บล็อคเชน สามารถทำให้กระบวนการโลจิสติกส์เป็นไปอย่างอัตโนมัติ แถมยังตรวจสอบ สนับสนุน แบ่งปันข้อมูลได้อย่างปลอดภัย และบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โลจิสติกส์

Internet of Things (IoT) 

ปัจจุบันสิ่งนี้อาจจะยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร แต่แนวคิดระบบการขนส่งอัจฉริยะ การวางแผนเส้นทาง อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้ผสานรวมโซลูชั่น AI เข้ากับการดำเนินงาน นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ได้รับการพูดถึงและจะเพิ่มศักยภาพได้อย่างมหาศาล

แบบสำรวจของการใช้ AI ทั่วโลก การนำสิ่งนี้มาใช้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการขนส่ง สามารถเพิ่มผลกำไรของบริษัทได้มากกว่า 40% ต่อปี และการที่บริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่งเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยี AI เพื่อประหยัดเงินและเวลาในอนาคต ก็น่าจะเป็นคำตอบได้อย่างดี

รถบรรทุกไร้คนขับ

น่าจะยังเร็วเกินไปนิด หากจะพูดเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรายังเห็นข่าวรถพลังงานไฟฟ้าของ Tesla ใช้ระบบ “ออโตไพลอต” แล้วยังเกิดอุบัติเหตุตามท้องถนนอยู่..

ซึ่งก็เป็นไปตามที่แหล่งข้อมูลได้กล่าวไว้ เทคโนโลยีการขับขี่ด้วยตนเองยังอยู่ในระหว่างพัฒนาและปรับปรุง ยังมีอุปสรรคอีกหลายอย่างที่ต้องเอาชนะ เช่น การปรับปรุงซอฟต์แวร์ไร้คนขับเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดบนถนนในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งถือเป็นงานหินพอสมควร แต่ก็เป็นหนึ่งในแนวโน้มอันสอดคล้องกับคมนาคมขนส่งในอนาคตที่ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์เอาไว้ หากทุกอย่างลงตัวพร้อมใช้งาน นี่น่าจะเป็นเทรนด์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดเทรนด์นึง ชนิดที่คนทั่วไปเห็นแล้วยังต้องอึ้งกันเลย

Last-Mile Delivery

ภาษาธุรกิจของอุตสาหกรรมของโลจิสติกส์ หากเรียกกันแบบให้เข้าใจง่ายที่สุดน่าจะเป็น “ไม้สุดท้าย” ของการขนส่งนั่นเอง

บริษัทต่าง ๆ ได้พัฒนาเรื่องนี้กันมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์การจัดสั่งอันราบรื่นที่สุด โดยในปี 2022 ที่จะถึงนี้ มีองค์กรจำนวนไม่น้อยพร้อมจะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นสูง เพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลอัพเดตแบบเรียลไทม์ ตลอดจนกระทั่งเหตุผลในการที่สินค้ายังไม่ถูกจัดส่ง รวมถึงแนวทงการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของการขนส่งเคสบายเคสแบบละเอียด

การส่งมอบไม้สุดท้ายเป็นส่วนสำคัญที่สุดของกานขนส่งเลยก็ว่าได้ เพราะมีความเกี่ยวข้อโดยตรงกับระดับความพึงพอใจของลูกค้า แต่สิ่งที่ทำให้เทรนด์นี้อยู่ในลำดับท้าย ๆ ที่จะนำมาพิจารณาทั้ง ๆ ที่หากทำได้ดีจะส่งผลดีกับบริษัทโดยตรง นั่นเป็นเพราะมีอีกหลายปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมขององค์กรนั่นเอง

โลจิสติกส์

อย่างที่เรารู้กันว่าหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคระบาดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ได้ก็มาในรูปแบบของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มารองรับ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาจากเรื่องดังกล่าว หรือการเพิ่มศักยภาพ เพิ่มหนทางใหม่ ๆ ในการผลักดันให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ เหมือนกับเทรนด์ของอุตสาหรรมโลจิสติกส์ที่เรานำมาพูดคุยกันผ่านเนื้องหาวันนี้ หากคุณรู้สึกสนใจหัวข้อไหน สามารถต่อยอดหาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดเชิงลึกเพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้เลย

ขอขอบคุณเนื้อหาสาระจากแหล่งข้อมูล และบทความดี ๆ จากต้นทางมา ณ ที่นี้

https://www.globaltrademag.com/what-does-2022-have-in-store-for-the-shipping-logistics-industry/

https://xtendedview.com/business/emerging-logistics-industry-trends/8813/

แนวทางป้องกันน้ำท่วม ฉบับโรงงานอุตสาหกรรม

ป้องกันน้ำท่วม

ตอนนี้กำลังจะเข้าสู่ “10 วัน อันตราย” เลยก็ว่าได้ จากที่เช็คข่าวเกี่ยวกับมวลน้ำล่าสุด มีรายงานโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ทำเรื่องแจ้งประสานงานเพื่อเตรียมจัดการเฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ระหว่างวันที่ 20-30 ตุลาคม โดยมี 11 จังหวัด เข้าข่ายสุ่มเสี่ยง ได้แก่ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร พระนครศรีอยุทธยา นนทบุรี ปทุมธาน รวมถึง กรุงเทพมหานคร

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น มีหลายจังหวัดเป็นจุดที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหลายต่อหลายแห่ง เชื่อว่าช่วงก่อนที่มีมวลระดับน้ำเข้ามาความตื่นตัวน่าจะทำให้หลายฝ่ายเริ่มดำเนินมาตรการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนแนวทางรับมือกับปัญหาที่จะตามมาที่อาจส่งผลต่อโรงงาน ซึ่งเนื้อหาที่เราจะนำเสนอก็เป็น แนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหกรรม จัดทำขึ้นโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556

บทความที่เคยได้พูดคุยกันไปในคราวก่อน เกี่ยวกับ แนวทางกอบกู้เครื่องจักร CNC ในเหตุอุทกภัย ซึ่งเป็น case study ของเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่รัฐเท็กซัส ส่วนของเนื้อหาด้านล่างนี้เป็นการรวบรวมแนวทางการป้องกันน้ำท่วม บรรเทาและกอบกู้ ทั้งจากของไทยเองเมื่อปี 2554 รวมถึงเคสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประปรายตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ

ป้องกันน้ำท่วม

ป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยได้ด้วยการทำ “เช็คลิสต์”

ก่อนอื่นเลย หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่คงจะมีการจัดการเป็นแบบแผนอยู่แล้ว แต่สำหรับโรงกลึงหรือโรงงานขนาดเล็กรวมถึงผู้ประกอบการทั่วไปที่มีเครื่องจักรอยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง จำเป็นต้องทำก่อนดำเนินการขั้นตอนทุกอย่าง ควรจะทำ “เช็คลิสต์ป้องกันน้ำท่วม” เพื่อที่หลายฝ่ายจะได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้

เตรียมพร้อมเมื่อเกิดอุทกภัยแบบฉับพลัน

  • มีการประชุมร่วมกันว่าหากเกิดเหตุจะอพยพไปที่ใด และเตรียมเครือข่ายเพื่อติดต่อกับทีมงานเพื่อร่วมงาน
  • ตรวจสอบความพร้อมศูนย์อพยพว่ารับรองคนได้มากน้อยแค่ไหน เพียงพอต่อทีมงานทุกคนหรือไม่
  • รีเช็คและเก็บรักษาข้อมูลการติดต่อบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในจุดที่มองเห็น หยิบใช้งานได้รวดเร็วที่สุด
  • ไม่ควรรอให้น้ำท่วมอุปกรณ์ต่าง ๆ สารเคมี โดยเฉพาะเครื่องจักร หากสามารถเคลื่อนย้ายได้ ให้นำไปอยู่ในจุดที่ระดับน้ำเข้าถึงยากที่สุด

ตรวจสอบเรื่องของประกัน และการปิดการใช้งานระบบต่าง ๆ ภายในโรงงาน

  • แบ่งทีมตรวจสอบอาคารและบริเวณโดยรอบ ประเมินหรือไล่เช็คดูความเสียหายเบื้องต้นว่าเข้าหลักเกณฑ์ประกันภัยของโรงงานมากน้อยแค่ไหน
  • ควรเช็คให้มั่นใจ ดีที่สุดคือติดต่อไปยังประกันภัยที่ถือครองอยู่โดยตรงว่ามีครอบคลุมเกี่ยวกับอุทกภัย
  • ไม่ควรประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีต่ำกว่าความเป็นจริง
  • ศึกษาเตรียมความพร้อมในการปิดระบบต่าง ๆ ภายในโรงงาน อาจสอบถามไปยังบริษัทคู่ค้าเพื่อให้ได้วิธีที่ถูกต้องและปลอดภัยต่ออุปกรณ์ที่สุด
  • เตรียมเก็บสิ่งของที่จำเป็นให้ปลอดภัย ให้จัดเป็นหมวดหมู่แยกสำหรับ “อุทกภัย” โดยเฉพาะ อาทิ เอกสารสำคัญ เครื่องปั่นไฟ วิทยุสื่อสารที่ใช้กระแสตรงได้ อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้อต้น น้ำและอาหารแห้ง
ป้องกันน้ำท่วม

การป้องกันอุทกภัยเบื้องต้นที่ควรรู้

ในเนื้อหาของกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เสนอแนะแนวทางการป้องกันนำ้ท่วมเบื้องต้นที่ผู้เกี่ยวข้องควรตระหนัก จำแนกเป็น 4 แบบด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  1. การเคลื่อนย้าย: ย้ายอาคาร (แบบน็อคดาวน์) อุปกรณ์ เครื่องจักร และการยกพื้นที่อาคารให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม หากทำได้
  2. การสร้างผนังกั้นน้ำ: สร้างกำแพงกั้นน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้ามาสู่อาคาร หรือหากมีก็ข้อให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. การป้องกันน้ำท่วมแบบแห้ง: เป็นการทำบริเวณผนังแบบปิดกั้นน้ำเต็มรูปแบบ ควรใช้วัตถุดิบที่สามารถกันน้ำซึมลอดเข้ามา และปิดทางที่น้ำจะเข้าสู่ตัวอาคารทั้งหมด
  4. การป้องกันน้ำท่วมแบบเปียก: สำหรับวิธีนี้ควรมีการตรวจสอบ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่ปล่อยให้น้ำท่วมได้ ก่อนที่จะเปิดตัวอาคารให้น้ำไหลเข้ามา เช็คเส้นทางที่น้ำจะไหลผ่าน ดูและตัวอาคารและเครื่องมือภายในให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

เรื่องของการแจ้งเตือนก็สำคัญ

เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เชื่อว่าหากเป็นองค์กรใหญ่น่าจะเน้นย้ำเรื่องการเช็คเกี่ยวกับการแจ้งเตือนเป็นอันดับต้น ๆ และควรรีเช็คอยู่เสมอเพราะอุทกภัยนั้นเป็นสิ่งที่คาดเดาสถานการณ์ได้ยาก เนื่องด้วยตัวแปรที่หลากหลาย ปัจจุบันประเทศไทยนั้นมีการแจ้งเตือนอุทกภัยผ่านทางเว็บไซต์ http://ews1.dwr.go.th/ews/index.php โดยจะแบ่งระดับความรุนแรงตามสี ดังนี้

  • สีเขียว (เฝ้าระวัง): มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความน้ำท่วม ควรเตรียมความพร้อมตามที่ได้ให้คำแนะนำไปในเช็คลิสต์แนวทางด้านบน และตรวจสอบสภาพอากาศบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันที่มีความน่าเชื่อถืออยู่เป็นระยะ
  • สีเหลือง (เตือนภัย): กำลังจะเกิดน้ำท่วม จำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมชนิดเร่งด่วน เช็คบริเวณโดยรอบ จัดการตามเช็คลิสต์ที่แนะนำให้เรียบร้อย
  • สีแดง (อันตราย): เกิดน้ำท่วมสูง มีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ณ จุดนี้ควรอยู่สถานที่ปลอดภัย และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการอพยมอยู่เสมอ เช็คเครื่องมือสื่อสารให้พร้อมต่อการช่วยเหลืออยู่ตลอด
ป้องกันน้ำท่วม

อัพเดตมาตรการป้องกันอยู่เสมอ เตรียมตัวให้พร้อม ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

เรื่องของภัยพิบัติ สาธารณภัยต่าง ๆ ส่วนมากมักเป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม แนวทางปฏิบัติในการป้องกันที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญอยู่เสมอ ฉะนั้น หากเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ควรมีการอัพเดตมาตรการอยู่ตลอด ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องยังคงทำได้ในส่วนของการแจ้งเตือนเท่านั้น 

โรงงานบางแห่งอาจมีการซ้อมรับมือการเคลื่อนย้าย ตลอดจนการปฏิบัติตามแนวทางที่กรมโรงงานได้จัดทำขึ้น ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ควรทำเต็มที่อยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดเหตุแล้วเราสามารถจัดการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ความเสียหายที่เกิดนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกว่าเราพร้อมขนาดไหน อย่าปล่อยให้เป็นเพื่อเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ ไฟล์ต่าง ๆ หรือหน้ากระดาษ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจช่วยคุณได้มากกว่าที่คิด..

ขอขอบคุณข้อมูลเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ และ แนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหรกรรม, กรมโรงงานอุตสาหกรรม

https://www.abi.org.uk/globalassets/files/publications/public/flooding/abi-guide-to-resistant-and-resilient-repair-after-a-flood-2019.pdf

http://www.knowyourfloodrisk.co.uk/sites/default/files/FloodGuide_ForCouncils.pdf

แนวทางกอบกู้เครื่องจักร CNC ในเหตุอุทกภัย

อุทกภัย

หลังจากประเทศไทยเจอฤทธิ์ของพายุ “เตี้ยนหมู่” ทำให้เกิดเหตุอุทกภัยขึ้นในหลายจังหวะ แถมคราวนี้ยังหนักข้อจนถึงขั้นที่ว่า “ภาพหลอน” ของมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ฉายขึ้นในหัวหลายต่อหลายคน ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาที่เราจะพูดถึงในวันนี้ โรงกลึงพีวัฒน์ขอร่วมแสดงความเสียใจและเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยกับเหตุการณ์ดังกล่าวมา ณ ที่นี่ด้วย

ถึงตอนนี้มีหลายจังหวัดที่โดนเหตุน้ำท่วมเล่นงานแบบหนักหน่วง ส่วนในรายของพื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่จำนวนไม่น้อย อย่างอยุทธยา ล่าสุดสภาอุตสาหกรรมได้มีการเตรียมแผนสำรองฉุกเฉินเอาไว้ สำหรับ 3 จุดเสี่ยงใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก ประกอบด้วย “บางหว้า-นครหลวง-บางปะอิน” โดยผู้เกี่ยวข้องมั่นใจว่ากำแพงกั้นน้ำความสูง 5-7 เมตร ที่สร้างเอาไว้จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและคาดว่าจะเกิดในเร็ว ๆ นี้ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า “ฮอนด้า” ที่เคยโดนเหตุลักษณะนี้เล่นงานสุดอ่วม ได้จัดตั้งมอนิเตอร์ด้วยทีมเฉพาะกิจวัดระดับน้ำกันวันต่อวันเลยทีเดียว

รู้หรือไม่.. หากจัดการทันท่วงที ลดความเสียหายของอุปกรณ์ CNC จากเหตุ “น้ำท่วม” ได้?

หากอุปกรณ์ CNC รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยหรือการถูกน้ำท่วม และได้รับการจัดการอย่างถูกต้องอย่างทันท่วงที ก็จะสามารถกู้คืน ลดความเสียหายได้ไม่มากก็น้อย บางอย่างก็เป็นขั้นตอนปฏิบัติพื้นฐานที่ถูกละเลย ซึ่งเนื้อหาต่อไปนี้เป็นวิธีการบางส่วนเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญที่เคยได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ปัจจุบันตลอดจนอนาคต หากศึกษาไว้รับรองได้เลยว่าเป็นประโยชน์แน่นอน

คำแนะนำการกู้คืนอุปกรณ์ CNC หลังน้ำท่วมลดลง

ก่อนอื่นเลย กรณีที่ถูกน้ำท่วมไปแล้วเรียบร้อย ไม่ควรเปิดอุปกรณ์เผื่อให้น้ำระบายทันที การปล่อยให้น้ำท่วมขังนั้นเป็นการดีกว่า จากนั้นจะมีลำดับขั้นตอนต่อไปนี้

  • ถอดแบตเตอรี่และสายเคเบิล
  • ล้างเครื่อง
  • ทำให้เครื่องแห้ง
  • ตรวจสอบความต้านทานของฉนวน
  • ตรวจสอบการทำงาน (จำเป็นต้องดำเนินการโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ)

ถอดแบตเตอรี่และสายเคเบิล

ทำการถอดสายแบตเตอรี่ออกจากเครื่องและ PCB (แผงวงจร) ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แบตเตอรี่ที่ถูกน้ำท่วมอาจทำให้วงจร PCB เสียหายจากสนิม อาจส่งผลร้ายแรงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ภายหลัง แม้ว่าการถอดแบตเตอรี่จะทำให้ข้อมูล CNC สูญหาย แต่อย่างแรกที่ต้องคำนึงคือการปกป้องฮาร์ดแวร์ที่จะทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างมากกว่า

คำแนะนำเพิ่มเติมเล็กน้อยก่อนปฏิบัตข้อนี้ ควรจะติดแท็กหรือทำเครื่องหมายเอาไว้สักหน่อย เพื่อที่ว่าตอนประกอบคืนจะได้รวดเร็วและถูกต้องเหมือนเดิม

ล้างเครื่อง

ข้อนี้จำเป็นต้องทำอย่างรวดเร็วที่สุด ความเสียหายจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ สามารถทำตามคำแนะนำขั้นตอนด้านล่าง ดังนี้

  1. เครื่อง – น้ำที่ท่วมนั้นมักจะมีสิ่งสกปรกปนเปื้อน รวมถึงคราบน้ำมันต่าง ๆ แนะนำให้ใช้ผงซักฟอกที่หาได้ทั่วไป เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างอเนกประสงค์ ผสมกับน้ำสะอาดแล้วใช้แปรงไนลอนขัด (ไม่ควรใช้แปรงลวด) ทำความสะอาดส่วนนี้ให้ได้มากที่สุด ส่วนตามซอกเล็ก ๆ ของเครื่องใช้แปรงสีฟันได้ และควรใส่ใจกับพวกข้อต่อซ็อกเก็ตต่าง ๆ
  2. รีเลย์ – หากรีเลย์มีน้ำอยู่ภายใน ให้เปิดเคสออกมาแล้วทำความสะอาด ถ้าเปิดเคสไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนสถานเดียว
  3. หม้อแปลงไฟฟ้า – ภายในขดลวดหม้อแปลงเป็นนั้นไม่สามารถทำความสะอาดได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตัวหม้อแปลงด้านนอกและขั้วไฟฟ้าควรเน้นในส่วนนั้นให้มากที่สุด
  4. สายเคเบิล – ตัวเชื่อมต่อของเฮาส์ซิ่งมักจะมีน้ำท่วมขัง ควรถอดขั้วต่อออกเพื่อระบายให้หมด จากนั้นทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง
  5. Servo Motor และ Spindle Motor – ในส่วนนี้ควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นคนจัดการในส่วนของการถอดประกอบและทำความสะอาด สิ่งที่คุณทำได้คือหากเห็นน้ำเข้าไปในฝาครอบของมอเตอร์ สามารถเปิดฝาเพื่อปล่อยน้ำออก ทำความสะอาดรอบ ๆ เช็ดให้แห้งก่อนปิดไว้ตามเดิม
  6. Motor Drive – ใช้วิธีเปิดน้ำไหลผ่านเพื่อทำความสะอาดในจุดนี้ ไม่ควรจุ่มตัวเครื่องเอาไว้ในน้ำระหว่างทำความสะอาดเด็ดขาด

ทำให้เครื่องแห้ง

เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ หากใครที่คลุกคลีอยู่กับอุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่มีแผงวงจร การจะเปิดใช้งานนั้นจำเป็นต้อง “แห้งสนิท” เท่านั้น 

ซึ่งการปล่อยให้เครื่องแห้งเองด้วยอุณหภูมิห้องจะใช้เวลานานมาก รวมถึงเรื่องความชื้นต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงในการระเหยภายในหม้อแปลงไฟฟ้า “เครื่องอบแห้ง” จะเป็นคีย์แมนสำหรับขั้นตอนนี้หากคุณใช้ความร้อนที่สูงเพียงพอ กล่าวคือจำเป็นต้องรู้และควบคุมอุณหภูมิได้อยู่เสมอ หากมีเครื่องอบแห้งแบบ “สุญญากาศ” จะมีประโยชน์มากเลยทีเดียว ส่วนชิ้นส่วนไหนควรใช้อุณหภูมิเท่าไหร่เป็นสิ่งที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งก่อนดำเนินการ

กรณีที่ไม่มีเครื่องอบแห้ง สามารถใช้เครื่องเป่าต่าง ๆ ทดแทนได้เช่นกัน อาจกินเวลาเป็นจำนวนวันหรือหลายวัน แต่สามารถทำให้แห้งสนิทได้เช่นกัน

ตรวจสอบความต้านทานของฉนวน

อุปกรณ์สามารถพังได้ทันทีหากละเลยขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะติดตั้งเครื่อง ก่อนจะมีการจ่ายไฟ ข้อควรปฏิบัตินี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสามารถเช็คค่าต่าง ๆ ก่อนวัดความต้านทานของแต่ละส่วนที่ต้องมีการจ่ายไฟจากผู้จำหน่ายหรือช่างผู้ชำนาญการเครื่องเหล่านี้

ตรวจสอบการทำงาน

ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ และช่างผู้เกี่ยวข้องการเครื่องจักรเหล่านี้โดยตรงในการทำงานร่วมกัน เนื่องจากอาจมีการซ่อมซอมปรับแต่งด้วย

หากความต้านทานของฉนวนที่วัดในข้อก่อนหน้านี้เพียงพอก็สามารถติดตั้งเครื่อง ยืนยันการเชื่อต่อสายเคเบิลและเดินสายทั้งหมดได้ จากนั้นจ่ายไฟเพื่อยืนยันการทำงาน ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องมีความระมัดระวังอย่างสูง เพราหากมีความชื้นอยู่อาจเกิดการลัดวงจร สิ่งที่ต้องสังเกตให้ดีคือควันทั้งหลาย รวมถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ตัดไฟทันที

จากการแนะนำในแต่ละขั้นตอนนั้นจะเห็นว่าเราพูดถึงการมี “วิศวกรผู้ชำนาญการ” อยู่เสมอ ซึ่งจริง ๆ แล้วหากจะเริ่มดำเนินการกู้คืนอุปกรณ์ CNC จากปัญหาอุทกภัยแล้วละก็ แนะนำอย่างยิ่งเลยว่าควรจะมีบุคลากรเหล่านี้ประจำไซต์งานก่อนลงมือในทุกกระบวนการ เพื่อที่ว่าเครื่องจักรของคุณจะสามารถกลับคืนมาอย่างรวดเร็วและปลอดภัยได้มากที่สุดนั่นเอง

กรณีศึกษา “เหตุน้ำท่วม” เตรียมการรับมืออย่างเหมาะสม ลดความเสียหายของอุปกรณ์ CNC ได้จริง?

สำหรับพื้นที่ไหนที่โดนอุทกภัยหนนี้เล่นงานแบบไม่ทันตั้งตัว มวลน้ำมหาศาลจากพายุเตี้ยนหมู่ช่วง 24-26 กันยายนที่ผ่านมาเข้าเยี่ยมเยือนโรงงานอุตสาหกรรมของคุณเป็นที่เรียบร้อย คุณสามารถใช้เนื้อหาวันนี้เพื่อเตรียมตัวสำหรับการ “กอบกู้” บรรดา “ อุปกรณ์ CNC” เบื้องต้น หลังจากเหตุการณ์นี้เบาบางลด น้ำลดระดับอยู่ในจุดที่คุณสามารถดำเนินการได้ เป็นกรณีศึกษาโดยตรงจากรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งเมื่อโดนพายุเฮอริเคน “เฮอร์วีย์” และ “เออร์มา” กระหน่ำเข้าใส่เป็นบ่อเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ จนเกิดเป็นแนวทางการกู้คืนอุปกรณ์เครื่องจักร CNC ที่เราได้นำแนวทางมาแบ่งปันผ่านเนื้อหาในวันนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://absolutemachine.com/replace-or-recover-your-cnc-equipment-after-flooding/

CNC เครื่องจักรอัจฉริยะ ผู้เนรมิต เคส หรือ คีย์แคป ให้ Mechanical Keyboard

คีย์แคป

หากพูดเรื่อง “คีย์บอร์ด” .. ณ เวลานี้เชื่อว่าหลายต่อหลายคนน่าจะได้ยินชื่อของ “แมคคานิคอล คีย์บอร์ด” (Mechanical Keyboard) กันมากขึ้นกว่าเดิมมากมายหลายเท่า จากอุปกรณ์ที่ถือเป็นของ “เฉพาะกลุ่ม” ซึ่งก็เริ่มได้รับความนิยมมเรื่อย ๆ ตามความต้องการของบรรดาผู้ใช้งานที่อยากจะเพิ่มสุนทรียภาพในการทำงาน หรือกิจกรรมอะไรก็ตามที่มีคีย์บอร์ดเป็นตัวเชื่อม 

ซึ่งจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่นั้นถ้าจะบอกว่าเกิดขึ้นจากกลุ่มเฟซบุค “จัดโต๊ะคอม” การกล่าวอ้างเช่นนี้เห็นทีจะไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยแต่อย่างใด เพราะใครที่สิงสถิตย์อยู่ในกลุ่มนั้น ส่วนใหญ่แล้วล้วนมี แมคคานิคอล คีย์บอร์ด เป็นไอเทมหลักฃองส่วนประกอบทั้งหมดบนโต๊ะทำงาน ตั้งเด่นเป็นสง่าน่าหลงไหล ทำเอาหลายคนที่อาจจะไม่เคยใช้ รู้จักแต่ไม่เคยได้เห็นจริง ๆ เกิดกิเลสอยากหามาลองบ้างเต็มไปหมด

ส่วนอะไรที่ทำให้ แมคคานิคอล คีย์บอร์ด นั้นกลายเป็นของสุดฮิตในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา… อ่ะ?!.. แต่พอเริ่มอ่านมาเรื่อย ๆ น่าจะมีหลายคนเหมือนกันที่เริ่มเอะใจแล้วว่า “มันเกี่ยวอะไรกับสาระอุตสาหกรรม???” 

ยังจำเรื่องของ CNC Machining Center กันได้รึเปล่า.. หากใครไม่อยากย้อนกลับไปอ่าน นิยามสั้น ๆ คือ CNC คือเครื่องจักรจอมทัพแห่งอุตสาหกรรมการผลิต และการสร้างส่วนประกอบของ แมคคานิคอล คีย์บอร์ด นั้นก็มีการใช้เครื่อง CNC ในการเนรมิตขึ้นมา เอาที่เด่น ๆ สองส่วนหลักที่บอกไปแล้วต้องอ๋อแน่นอน นั่นก็คือ “เคส” กับ “คีย์แคป” นั่นเอง

คีย์แคบ cnc

แมคคานิคอล คีย์บอร์ด หลัก ๆ มีแบบไหนบ้าง?

แมคคานิคอล คีย์บอร์ด แบ่งออกเป็นแบบหลักได้ 3 แบบด้วยกัน อย่างแรกจะเป็นแบบสำเร็จรูปมาแล้วแต่สามารถนำไปปรับทำเพิ่มเองได้ โดยในภาษาของกลุ่มจะเรียกว่า “ม็อด” (Mod) อาทิ Keychron, Iquinox, Royal Kludge, Anne Pro และ Leopold

ส่วนอีกแบบที่เรียกว่า “คัสตอม” (Custom) จะเป็นการบิวท์ขึ้นเองทั้งหมด หมายความว่าคุณสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ทุกชิ้นเพื่อสร้างขึ้นมาให้เป็นคีย์บอร์ดในสไตล์คุณ ซึ่งในแบบหลังนี้ก็อาจจะใช้เวลาศึกษาพอสมควรหากต้องการทำด้วยตัวเอง รายละเอียดของแบบนี้นั้นมีเยอะมากจริง ๆ หากเป็นผู้เริ่มเล่นส่วนตัวไม่ค่อยแนะนำสักเท่าไหร่

แบบสุดท้ายก็ยังอยู่ในหมวดคัสตอมเช่นกัน แต่จะเป็นการคัสตอม “โดยผู้ผลิต” ซึ่งในแดนสนธยานี้จะเรียกว่าเป็นการซื้อแบบ GB (Group Buy) แต่ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายกว่านั้นมันก็คือการพรีออเดอร์นั่นแหละ

ความเจ๋งของการซื้อคีย์บอร์ดคัสตอมแบบ GB คือทางผู้ผลิตจะมีการทำ Intersets Check (IC) ก่อนเพื่อดูผลตอบรับว่าสิ่งที่เค้าได้ดีไซน์ออกมานั้นมีคนให้ความสนใจมากน้อยเพียงใด และหากมีความต้องการเพียงพอ ก็จะต้องมีการรวบรวมเงินเพื่อผลิตออกมา โดยระยะเวลาจะอยู่ในช่วง 3-12 เดือน แล้วแต่แบรนด์ ฟังดูต้องรอนานกันเลยทีเดียว แต่เพื่อแลกกับการเป็นเจ้าของคีย์บอร์ดที่เพียงหลักร้อยบนโลกใบนี้ มันก็ดูน่าสนใจไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะ..

ก่อนจะมาเป็น แมคคานิคอล คีย์บอร์ด ต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง?

เคส คีย์บอร์ด (Keyboard Case)

ง่าย ๆ ตรงตัวเลย เป็นส่วนประกอบที่เป็นหน้าตาแถมยังส่งผลสำคัญต่อเสียงโดยตรง วัสดุที่นำมาใช้มีให้เลือกหลากหลาย ทั้ง สแตนเลส, อะครีลิค, โพลี-คาร์บอเนต, ทองเหลือง และ อลูมิเนียม ซึ่งแบบหลังได้รับความนิยมมากสุด

แผงวงจร (PCB)

หัวใจของคีย์บอร์ด ขึ้นชื่อว่าเป็นแผงวงจรแล้วหน้าที่ของเขาก็คือควบคุมทุกอย่าง ปัจจุบันนั้นควบคุมโดยโปรแกรม QMK ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับตั้งค่าคีย์บอร์ดแบบ Open Source ที่รองรับฟังก์ชันและมีความหลากหลายที่สุดตอนนี้

เพลท (Plate)

เป็นตัวเชื่อมระหว่าง “เคส” และ “แผงวงจร” ใช้สำหรับยึดทั้งสองสิ่งที่ว่า รวมถึงความสามารถในการจับสวิตช์ให้ตรงตามช่องอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมดตามแถว ส่วนวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้มีให้เลือกหลากหลายคล้ายกับเคส

สแตบ (Stabilizers)

เป็นตัวประคองปุ่มที่ยาวตั้งแต่ 2U ขึ้นไป เช่น Spacebar, Backspace, Shift และ Enter หน้าที่ของ สแตบ จะช่วยให้เวลาเรากดคีย์บอร์ดแล้วจะลงไปพร้อมกันทั้งหมด ไม่เอียงไม่ข้างใดข้างหนึ่ง

สวิตช์ (Switch)

อีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อสัมผัสฟีลลิงต่าง ๆ ในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแรงต้านต่าง ๆ ในวงการจะแบ่งออกเป็น 3 แบบหลัก ได้แก่ Clicky, Tactile และ Linear ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีคาแรคเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองทั้งหมด

คีย์แคป (Keycap)

หากมีเคสเป็นกรอบแล้ว “คีย์แคป” เสมือนหน้าตาของคีย์บอร์ดคุณเลยล่ะ จะหล่อไม่หล่อ ชอบไม่ชอบ สวยไม่สวย ขึ้นอยู่กับสิ่งนี้พอสมควร นอกจากจะเป็นเรื่องของดีไซน์ความสวยงามแล้ว ยังมีหลายแบบหลายทรงให้เลือกอีกด้วย

คีย์แคบ cnc

จริง ๆ แล้วยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นตัวช่วยเสริมอีกเพียบเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้งานก็ดี ความสวยงามก็ดี แต่ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนับเป็นส่วนประกอบหลักที่เพียงพอแล้วต่อการบิวท์คีย์บอร์ด หากต้องการไปลึกกว่านี้บอกเลยว่าถอนตัวยากแน่นอน

แมคคานิคอล คีย์บอร์ด กับ CNC Machining บนอุตสาหกรรมการผลิต

จากที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่าคีย์บอร์ดนั้นแบ่งแยกเป็น 3 แบบหลัก แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตามแต่หากต้องการสร้างอุปกรณ์ของคีย์บอร์ด เครื่อง CNC Machining Center เนี่ยแหละที่จะเข้ามาเป็นจอมทัพสำหรับเนรมิตสิ่งที่ผู้สร้างต้องการ ตามหลักง่าย ๆ ยังไม่ต้องเจาะลึกถึงรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น “เคส” คุณสามารถออกแบบผ่านเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แล้วจากนั้นก็ส่งต่อให้กับเครื่อง CNC ที่เกี่ยวข้องจัดการทำตามแบบที่คุณได้ดีไซน์เอาไว้ รวมไปถึง “คีย์แคป” และ “เพลต” ต่างก็ใช้ CNC Machining Center ทำขึ้นมาแบบจบ ครบวงจร ในที่เดียว

คีย์แคบ cnc

ที่น่าสนใจก็คือ ถ้าคุณอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมในวงการนี้ การเป็นผู้สร้างในแบบ “Group Buy” การรู้จักกับบริษัทที่ทำเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่มีเครื่องมีประเภทนี้เอาไว้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่ว่าการรังสรรค์ผ่านแบบจำลอง 3 มิติ ของคีย์บอร์ดแบรนด์คุณ จะได้คลอดออกมาตรงตามสเป็คที่คาดหวังโดนใจเหล่าบรรดาผู้ใช้ที่เชื่อในการดีไซน์ เชื่อในสเป็ค เชื่อในการนำเสนอของคุณ หากคุณมีไอเดียเจ๋ง ๆ บางทีอาจสร้างแบรนด์และกลายเป็นหนึ่งธุรกิจใหม่ของคุณได้เลย

สุดท้ายฝากทิ้งท้ายไว้นิดนึงว่า เร็วนี้โรงกลึงพี-วัฒน์กำลังมีเเผนจะรับบริการทำคีย์แคปผ่านกระบวนการของเครื่อง CNC ขอแค่คุณมีแบบให้เรา แล้วยังไงคอยติดตามกันได้เลย ชาว Keyboard Mechanicalian!!!

กรณีศึกษา IoT เพื่อเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรม

กรณีศึกษา iot

จากบทความก่อนหน้านี้ ที่พวกเราโรงกลึงพีวัฒน์สาธยายเกี่ยวกับความดีงามของ Internet of Things ว่าดีอย่างไร มีบทบาทกับอุตสาหกรรมมากแค่ไหน รวมถึงมูลค่าการตลาดที่ได้เห็นแล้วต้องอ้าปากค้าง แถมจากการคาดการณ์ผ่านสื่อดังและองค์กรทั้งหลายแหล่ ต่างมองเหมือนกันว่าศักยภาพของสิ่งนี้คงไม่หยุดอยู่เท่านี้แน่ ๆ มีแต่จะพัฒนาต่อขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปทุกวัน ซึ่งเราก็เชื่อว่าใครที่ได้อ่าน อาจจะยังนึกภาพตามได้ไม่ชัดนัก หากมีตัวอย่างที่สามารถหยิบใช้ IoT ได้อย่างชัดเจน คงจะทำให้ถึงบางอ้อและอินกับนวัตกรรมนี้ได้ไม่ยาก

ย้อนกับไปอ่าน “5 เทรนด์ยอดนิยม ประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) กับอุตสาหกรรมการผลิต” คลิก

ด้วยเหตุนี้เอง เนื้อหาที่เราจะนำมาเสนอวันนี้ เป็นกรณีศึกษา IoT ของ Seeed ที่ได้ออกมาเล่าเรื่องรางการผสมผสาน IoT เข้ากับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมผ่านทางเว็บไซต์หลัก เป็นเนื้อหาที่มีความน่าสนใจมากและน่าจะทำให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มองเห็นประสิทธิภาพของ Internet of Things ได้เป็นรูปธรรมขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว

กรณีศึกษา iot

Seeed Studio คือใคร ?

อันดับแรกเลย.. อยากให้เรามาทำความรู้จักกับ “Seeed Studio” กันก่อนที่จะเริ่มไปติดตามกรณีศึกษา IoT ผ่านการใช้งานในอุตสาหกรรมของพวกเขา โดยบริษัทนี้เป็นสตาร์ทอัพที่ออกแบบเกี่ยวโครงสร้างของอุตสาหกรรมผลิตทางการเกษตร เรียกว่าเป็นการวางแผนเกี่ยวกับธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นจนเกิดเป็นโปรเจกต์ จบครบในที่เดียว เปรียบเสมือน “เมล็ดพันธุ์” ดังชื่อแบรนด์ของพวกเขา และให้บริการทางด้านนี้มานนับทศวรรษ 

จากสตาร์ทอัพ ณ เมืองเสินเจิ้น สู่การเป็นที่ยอมรับของหลากหลายบริษัท ทำให้พวกเขาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆ โปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ IoT ซึ่งก็ด้วยแนวคิดการพัฒนาธุรกิจของพวกเขาที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอนั่นเอง โรงกลึงพีวัฒน์เองก็ศึกษาโมเดลธุรกิจของ Seeed Studio ในด้านการทำดิจิตัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางการนำมาปรับใช้ในโรงงานของเราอีกด้วย

Seeed กับอุตสาหกรรมการผลิต

ที่ผ่านมานั้นพวกเขาได้มีการศึกษาเรื่องของการปรับใช้ IoT สู่อุตสาหกรรมการผลิตมาโดยตลอด เนื่องด้วยการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่สุดจากมุมมองของการหยิบใช้ IoT ซึ่งสามารถนำการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไปสู่การดำเนินงานด้านการผลิตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดการและบำรุงรักษา สินทรัพย์การผลิต รวมถึงบริการภาคสนาม นอกเหนือจากการอนุญาตให้ตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินเงินด้วยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว IIoT บนอุตสาหกรรมในการผลิตยังสามารถใช้เพื่อให้บริการจากระยะไกลได้อย่างเป็นอิสระที่สุด จนนำมาสู่การเกิดโปรเจกต์ของพวกเขาดังต่อไปนี้

กรณีศึกษา iot

การผลิตภาคสนามด้วย Odyssey x86J4105

Odyssey x86J4105 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) ที่ทรงพลังมาพร้อมกับอินเตอร์เฟซการสื่อสารที่หลากหลาย ซึ่งทำให้กลายเป็นตัวเลือกในอุดมคติสำหรับการใช้แอปพลิเคชั่นที่หลากหลายของระบบการประมวลผลขนาดเล็ก (Edge Computing) และสิ่งนี้แหละที่ Seeed ได้ช่วยลูกค้าของพวกเขาสร้างเครื่องทำน้ำผลไม้อัจฉริยะ

เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติอัจฉริยะที่พวกเขาได้เนรมิตขึ้น สามารถทำผลไม้คั้นสดให้กับลูกค้าแบบออโต้ได้ทันทีเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นตัวอย่างที่ดีของการผลิตภาคสนามที่เปิดใช้งาน IoT ทางอุตสาหกรรม โดยเครื่องจะมีแกนประมวลผลของตัวเองสำหรับใช้ควบคุมอินเตอร์เฟซและแอคทูเอเตอร์ (Actuators) ของเครื่องผลิต ทั้งหมดนี้เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์เพื่อให้ตรวจสอบและบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย

อุตสาหกรรมทางการเกษตร ร่วมกับ BeagleBone® Green

โปรเจกต์นี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Seeed กับ BeagleBoard.org ได้รับสิทธิพิเศษโดยมอบหมายให้ใช้งานตัวควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ IoT สำหรับอุตสาหรรมสัตว์ปีกและฟาร์มของลูกค้าของพวกเขาด้วย BeagleBone® Green สิ่งนี้เป็นการอิงจากการออกแบบโอเพนซอร์สของ BeagleBone Black มีตัวเชื่อมต่อกับ Grove สองตัวเพื่อการปรับใช้บนโมดูลเซ็นเซอร์และการเชื่อต่ออินเตอร์เนตผ่านอีเธอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย

ซึ่งโซลูชั่นที่ว่านี้ให้การเชื่อมต่อระหว่างระบบการเกษตรกับคลาวด์ ทำให้ตรวจสอบข้อมูลระยะไกลแบบเรียลไทม์ได้อยู่เสมอ ทั้งการวัดสภาพแวดล้อมที่ทำได้ดีและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ส่งผลด้านเทคนิคช่วยให้เงื่อนไขการปรับใช้ทางการเกษตรทำได้อย่างเหมาะสมเมื่อมีการใช้งานอยู่เรื่อย ๆ ตลอดจนการประมวลผลเพื่อปรับปรุงผลผลิต

ยกระดับการขนส่งด้วย BeagleBone® Green x IIoT

อย่างที่เคยกล่าวไว้เมื่อบทความก่อนว่า IoT นั้นสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี คาดการณ์ได้เกือบจะทุกสิ่งอย่างที่คุณต้องการให้ประเมิน และสิ่งนี้เองที่ Seeed นำมาปรับใช้เข้ากับ BeagleBone® Green ด้วยการปรับแต่งเล็กน้อยเพื่อใส่ฟังก์ชั่นการจ่ายพลังงานผ่านอีเธอร์เน็ต (PoE) และอินเตอร์เฟซ I/O เพิ่มเติม ทำให้พวกเขาสร้างโซลูชั่น IIoT แบบกำหนดเอง สำหรับรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นระหว่างการขนส่งผลิตภัณฑ์สด ทำให้สามารถติดตามเส้นทาง ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงคุณภาพของสินค้าได้ตลอดกระบวนการ

การทำงานของโซลูชั่นนี้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกอัพโหลดไปยังระบบคลาวด์เช่นเคย ทั้งนี้ก็เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ การทำเช่นนี้จะช่วยให้สามารถระบบช่องโหว่งในการขนส่งได้อย่างตรงจุด โดยรวมแล้วการประยุกต์ใช้ IoT เชิงอุตสาหกรรมด้านลอจิสติกส์นี้ นอกจากป้องกันค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้ว สิ่งสำคัญที่เพิ่มขึ้นมาคือประสิทธิภามรวมในการกระจายผลิตภัณฑ์ที่เทคโนโลยีเข้ามายกระดับได้แบบมากโขเลยทีเดียว

นับว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกรณีศึกษา IoT บนอุตสาหกรรมการผลิตที่น่าสนใจอย่างมาก และนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของบริษัทสตาร์ทอัพที่ใช้ Internet of Things เข้ามายกระดับธุรกิจของพวกเขา ซึ่งแต่ละอย่างที่กล่าวมาไม่ใช่แค่เพียงการช่วยเซฟต้นทุนเพื่อที่จะทำให้คุณมีกำไรได้มากขึ้น แต่ยังลดเวลาอันเป็นทรัพยากรที่มีค่ามหาศาล ทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ ก่อนวิเคราะห์ออกมาอย่างชาญฉลาด และเชื่อเราเถอะว่าในอนาคต IoT จะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และมีเรื่องมาให้เราประหลาดใจแบบไม่พักแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับเนื้อหาต่าง ๆ มา ณ ที่นี้

https://www.seeedstudio.com/blog/2021/02/24/what-is-industrial-iot-case-studies/

5 เทรนด์ยอดนิยม ประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) กับอุตสาหกรรมการผลิต

Internet of Things

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราพูดถึง IoT (Internet of Things) แต่ที่ผ่านมานั้นเราพาเลี้ยวไปรู้จักกับสิ่งนี้แค่ผิวเผิน หากว่ากันตามตรง.. ก็ไม่ค่อยจะสมกับฐานะของเจ้าสิ่งนี้เท่าไหร่นัก เพราะถือเป็นสิ่งที่มีศักยภาพอย่างมาก เรียกได้ว่าสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ ตลอดจนโลกอุตสาหกรรมทุกแขนง แต่ก็ตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า.. ถ้าคุณนำมาปรับใช้ได้ตรงกับธุรกิจของคุณ สิ่งนี้สร้างประโยชน์และยกระดับทุกอย่างได้ชนิดที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดในการฝังเซ็นเซอร์และชิปลงในวัตถุทางกายภาพ อาจฟังดูไร้สาระจนแทบจะเป็นไปไม่ได้..

อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องขอบคุณ Internet of Things ที่เนรมิตรให้แนวคิดสุดเครซี่นี้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้เติบโตขึ้นเป็นแนวคิดหลักสำหรับการทำธุรกิจจำนวนมากภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ยังได้เปลี่ยนแปลงบางแง่มุมในชีวิตประจำวันของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็น การขับรถ การทำอาหาร การจัดซื้อ รวมถึงการผลิตต่าง ๆ ซึ่งก็วนเข้าเรื่องของอุตสาหกรรมที่เราอยากจะนำมาขยายในวันนี้ เกี่ยวกับแนวโน้ม 5 กรณีที่จะทำให้การใช้งาน IoT ได้ดีที่สุด เต็มประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง

Internet of Things

อุตสาหกรรมการผลิตได้ประโยชน์อย่างไรจาก IoT ?

องค์การทั่วโลกหลายแห่งประสบความสำเร็จในการผสานรวมเครื่องมือ IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาเอง สิ่งนี้ช่วยให้พวกเขาเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดเวลาการส่งมอบ และยังลดค่าใช้จ่าย ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาด Internet of Things เพิ่มเป็นทวีคูณในปัจจุบันรวมถึงอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ก็อย่าได้หาแปลกใจแต่อย่างใดที่ IoT นั้นจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตเองและลูกค้าเป้าหมาย สิ่งนี้ในทางอุตสาหกรรมช่วยให้ผู้ผลิตสามารถขยายขนาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในที่สังเกตการณ์และให้บริการจากระยะไกลได้แบบสบาย ๆ ดั้งนั้น บริษัทต่าง ๆ จึงสามารถประเมินความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกว่าที่เคย

ทางด้านของการผลิต หนึ่งในฐานะของอุตสาหกรรม กำลังได้รับโอกาสจากสิ่งนี้อย่างมหาศาล โรงงานหลายแห่งใช้ระบบคอนโทรลที่เชื่อมต่อกันสำหรับขบวนการและควบคุมดูแลอยู่แล้ว ซึ่งประโยชน์หลักของโซลูชัน IoT ดังนี้ :

  • ช่วยตรวจจับและหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความล่าช้า
  • สามารถเพิ่มคุณภาพการผลิตและดึงประโยชน์จากวัตถุดิบ รวมถึงส่วนประกอบที่ผลิตออกมาด้วยการดำเนินการจาก AI
  • ช่วยให้ผู้จัดการสามารถจัดสรรทรัพยาการได้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงทักษะของพนักงาน และทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยได้มากกว่าเดิม

“70% ของบริษัทต่าง ๆ มั่นใจว่าการนำ IoT ไปใช้สามารถลดต้นทุนและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้ดีเยี่ยม”

นี่เป็นหนึ่งในคำกล่าวของผู้สันทัดกรณีที่ติดตามศึกษาของการพัฒนาสิ่งนี้อย่างใกล้ชิด ส่วนประโยคข้างต้นนี้นั้นเกินเลยความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ลองอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ประกอบการตัดสินใจดูกันหน่อยดีกว่า

Internet of Things

เจาะลึกตัวอย่าง IoT ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิต

ณ ปัจจุบัน โครงการ IoT จำนวนมากเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกและสินทรัพย์ การรักษาความปลอดภัยและการดำเนินงาน การขนส่งการบริการลูกค้า ด้วยเหตุนี้ Internet of Things จึงเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นปัจจัยหลักสำหรับธุรกิจในปี 2021 และต่อ ๆ ไป และนี่คือ 5 ตัวอย่างการใช้ IoT ที่ดีที่สุดในการผลิตที่เราจะนำมาบอกเล่าผ่านเนื้อหาด้านล่างนี้ต่อไป

1. การซ่อมแซมเชิงคาดการณ์

ด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ขับเคลื่อนด้วย IoT ที่มีจุดเซ็นเซอร์ต่างกัน (อุณหภูมิ การสั่นสะเทือน แรงดันไฟ้า กระแสสัญญาณ ฯลฯ) เข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ เราจะได้รับข้อมูลการบำรุงรักษาที่จำเป็นได้ ข้อมูลประเภทนี้จะช่วยในการประเมินสภาพปัจจุบันของเครื่องจักร กำหนดสัญญาณเตือน และเปิดใช้งานกระบวนการซ่อมที่เกี่ยวข้องได้ทันทีทันใด

2. การควบคุมการผลิตระยะไกล

คุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของการควบคุมการผลิตระยะไกลในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม คือการกำกับดูแลเครื่องจักรในกระบวนการผลิตแบบรวมศูนย์ข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงพื้นที่การผลิตจริงได้ชัดเจน รวดเร็ว และมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือพนักงานในการวิเคราะห์ข้อมูลองค์กร ทั้งหมดนี้ทำให้เทคโนโลยี IoT เป็นเครื่องมือหลัก สร้างความมั่นใจต่อการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติที่ปลอดภัย ทั้งยังช่วยเรื่องการตรวจสอบพนักงาน และตำแหน่งของบุคลากรได้แบบเรียลไทม์ (IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย)

3. การติดตามทรัพย์สิน

ถ้าพูดคุณสมบัติที่สำคัญไป เชื่อว่าใครที่ติดตามเรามาโดยตลอดจะคุ้นหูกับ “Beacon”  (ทำความรู้จัก Beacon หนึ่งใน IoT น่าสนใจ ที่มูลค่าตลาดอาจสูงระดับหมื่นล้าน!) อันเป็นหนึ่งใน IoT ที่น่าสนใจ ทำให้หลายคนรู้จักสิ่งนี้เป็นวงกว้าง 

ซึ่งงานหลักของการติดตามอยู่ในการค้นหาและดูแลสินทรัพย์สำคัญ สามารถนำมาใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตได้ เช่น ส่วนประกอบของซัพพลายเชน (วัตถุดิบ คอนเทนเนอร์ และสินค้าสำเร็จรูป) โดยแอปพลิเคชั่นดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งได้อย่างมาก รักษาสต็อคของงานที่กำลังดำเนินการ และเปิดเผยการถูกจารกรรมและการละเมิดได้อีกด้วย

4. การจัดการโลจิสติกส์

“IoT สามารถเปิดเผยความไร้ประสิทธิภาพของซัพพลายเชนโดยกำจัดจุดบอดออกจากกระบวนการโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างดี” กล่าวโดย ฟอร์บส์ สื่อยักษ์ใหญ่ด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

การจัดการกลุ่มยานยนต์ผ่านอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ช่วยให้ผู้ผลิตกำจัดหรือลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ พนักงาน และการขนส่ง โซลูชันกลุ่มยานยนต์อัตโนมัติจะช่วยให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้จัดการด้านโลจิสติกส์สามารถดึงศักยภาพของ IoT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็น ด้านการซ่อมแซมและค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง การส่งมอบอันชาญฉลาด การวินิจฉัยที่แม่นยำตลอดจนถึงผู้ขับรถขนส่ง

5. Digital Twins

การใช้แนวทาง IoT ที่เรียกว่า Digital Twins ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างแบบจำลองดิจิทัลที่แข็งแกร่ง เมื่อเสริมศักยภาพด้วย IoT, POC (การพิสูจน์แนวคิด), MVP (ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ขั้นต่ำ) ต้นแบบรูปลักษณ์นี้แม่นยำมากจนเราสามารถทดลองและคาดการณ์ฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ได้เสมือนจริง

พื้นที่แอปพลิเคชั่น IoT ประเภทนี้จะช่วยให้คุณจำลองอายุการใช้งานของเครื่องจักร ตรวจสอบการอัพเดต รวมไปถึงการคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น แม้กระทั่งเรื่องของคอขวด ทุกอย่างนี้ผู้ผลิตสามารถรับแบบจำลองของอุปกรณ์และสินค้าสำหรับการตรวจสอบในสภาพแวดล้อมเหมือนจริงที่สุด ก่อนที่สุดท้ายจะออกสู่ตลาดจริงได้อย่างมั่นใจ

เทคโนโลยีนี้ก็เป็นอีกเทคโนโลยีนึงที่โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เราได้ประเมินความคุ้มทุนและหาแนวทางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องจักร CNC ในโรงกลึงของเรา ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของวิศวกร และคุณภาพในงานกลึงที่ผลิต

Internet of Things

IoT ได้รับความสนใจมากขนาดไหนในปัจจุบัน ?

อุปกรณ์ IoT จำนวนมากผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในปัจจุบัน ดังนั้น จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้งานบน Internet of Things ที่ไม่รวมสมาร์ทโฟน แท็บเลต แลปท็อป เพิ่มขึ้นเป็น 8.3 พันล้านเครื่องเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (2019) นอกจากนี้ จำนวนหน่อยของ IoT ของอุตสหกรรมต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ภายในปี 2025 จะอยู่ที่ 29.7 ล้านเครื่อง ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมาก เพราะเป็นการนับแค่ตลาดของอุตสาหกรรมแบบเพียว ๆ

และอย่างที่ได้กล่าวไป มีองค์กรมากมายประสบความสำเร็จในการใช้ฟิวชั่นเครื่องมือ IoT เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของตน ทั้งหมดทั้งมวลจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของสิ่งนี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในไม่กี่ปีข้างหน้า 

ตามรายงานของ IDC ระบุว่ามูลค่าของ IoT จะเพิ่มขึ้นมากถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 มิหนำซ้ำ Statista ยังออกมาตอกย้ำความมั่นใจโดยกระชุ่นถึงตัวเลขระดับ 3.9 – 11.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 

เห็นตัวเลขมหาศาลขนาดนี้ แล้วคุณล่ะ.. ได้คำตอบหรือยังว่า IoT นั้นมีความน่าสนใจมากน้อยขนาดไหน ?

ขอขอบคุณบทความคุณภาพที่นำมาใช้ประกอบบทความ มา ณ ที่นี้

https://www.byteant.com/blog/5-best-use-cases-of-iot-in-manufacturing/

https://www.record-evolution.de/en/use-cases-utilizing-iot-and-the-artificial-intelligence-of-things-aiot-in-manufacturing/

https://tulip.co/blog/industrial-iot-use-cases-and-applications/

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ อัจฉริยะแห่งการทำซ้ำ คีย์แมนแห่งวงการ mass production

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์สำคัญอย่างไร ? ความหมาย ประเภท และการใช้งาน

เรื่องราวของ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” (Jigs and Fixtures) เราเคยนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง (รู้ไว้เป็นประโยชน์ ข้อดีของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ฮีโร่แห่งการทำซ้ำ) ถึงแม้จะยังไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียดมากมายนัก แต่ก็มีการแนะนำให้คนอุตสาหกรรมได้ทำความรู้จักกับสองเครื่องมือสำคัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่พอสมควร โดยคีย์หลักของฟังก์ชั่นสองสิ่งนี้ บอร์นทูบีเพื่อการผลิตที่แม่นยำ อันเป็นที่มาของการรักษาประสิทธิภาพในการ “ทำซ้ำ” และเน้นย้ำในเรื่องของควอลิตี้ที่ต้องเดินทางควบคู่กันกับการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน ซึ่งสองเครื่องมือนี้ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ถูกเรียกแบบรวมกันอยู่บ่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยก็คือความสับสนระหว่างเครื่องมือทั้งสองอย่างนี้ แม้จะมีลักษณะการทำงาน การใช้งานที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่เป็นจุดสำคัญ

หากคุณเป็นคนอุตสาหกรรมหรืออยากจะเลือกใช้งานสิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลองเลื่อนลงไปติดตามเนื้อหาด้านล่างนี้ รับรองได้เลยว่าคุณจะได้รู้จักกับสิ่งนี้มากกว่าที่เคยแน่นอน

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ทำไมต้องใช้ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ?

ในยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้การจัดหาเพื่อผลิตชิ้นส่วนด้วยความรวดเร็วแม่นยำมีความต้องการสูงมากในตลาด และสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่คอยตามหลอกหลอนผู้ผลิตมาโดยตลอด วนกลับมาที่หน้าที่สำคัญของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องการจับวางตำแหน่งและรองรับชิ้นงาน แต่หากบอกว่าสาเหตุมีเพียงเท่าก็นี้คงไม่สาแก่ใจต่อคำตอบที่ว่า “ทำไมเราถึงต้องใช้จิ๊กและฟิกซ์เจอร์”

เรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่งในสายงานผลิต คือ “การรักษาคุณภาพ” โดยเฉพาะกับชิ้นงานที่ต้องทำทีละจำนวนมาก ๆ (mass production) ซึ่งโรงกลึงพีวัฒน์ของเรายืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีจากการทำงานด้าน mass มาอย่างยาวนาน และสิ่งนี้เองคือต้นตอสำคัญที่เครื่องมือทั้งสองอย่างจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เมื่อใดก็ตามที่มีความจำเป็นใจการทำซ้ำ ตลอดจนการเปลี่ยนชิ้นส่วนในระบบการผลิตจำนวนมาก อุปกรณ์ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” นอกจากจะรับประกันได้ว่าชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพมีความแม่นยำสูง นี่ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่ประหยัดที่สุดด้วยหากเทียบกับวิธีอื่น

ความหมายของ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์”

สำหรับท่านไหนที่ไม่อยากจะกดลิงค์เพื่อย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้า เราจะมาบอกถึงความหมาย ความสำคัญคร่าว ๆ ของสองอุปกรณ์นี้ก่อนที่จะพาไปลงลึกถึงประเภทต่าง ๆ การใช้งาน รวมถึงความแตกต่างที่สามารถเป็นจุดสังเกตในการแยก เพื่อนำไปใช้งานให้ถูกต้องตามความสามารถของอุปกรณ์และชิ้นสวนงานที่คุณต้องการผลิต

จิ๊กนั้นมีความสามารถในการจับตำแหน่ง นำทาง และรองรับชิ้นงานในการดำเนินการบางอย่าง รวมถึงการเคลื่อนย้ายด้วย ส่วนฟิกซ์เจอร์นั้นก็มีความสามารถที่คล้ายกันแต่จะไม่สามารถนำทางเครื่องมือได้ ส่วนความแตกต่างอื่น ๆ เดี๋ยวเราจะลิสต์เป็นข้อเพื่อที่จะสามารถแยกแยะและนึกภาพตามได้อย่างชัดเจน ในหัวข้อต่อไป

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ความแตกต่างระหว่างจิ๊กและฟิกซ์เจอร์

ความแตกต่างพื้นฐานระหว่างจิ๊กซ์และฟิกซ์เจอร์ คือจิ๊กจะนำทางเครื่องมือ แต่ฟิกซ์เจอร์นั้นไม่ช่วยในสิ่งนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอย่างสามารถเป็นไกด์ช่วยซัพพอร์ตและค้นหาตำแหน่งของชิ้นงานได้เป็นอย่างดีเหมือนกัน

จิ๊กจะมีส่วนที่สัมผัสกับเครื่องมือ แต่ในกรณีของฟิกซ์เจอร์นั้นไม่สัมผัสกับเครื่องมือโดยตรง ซึ่งทั้งสองอุปกรณ์นี้จะใช้กฎ 3-2-1 เพื่อจำการชิ้นงานอย่างเหมาะสม ความหมายโดยย่อของกฎ 3-2-1 ทั่วไปจะเป็นการล็อคองศาอิสระทุกระดับเพื่อให้ชิ้นงานไม่สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เราไมต้องการนั่นเอง

จุดสังเกตที่แตกต่างของสองอุปกรณ์

จิ๊ก (Jigs) / ฟิกซ์เจอร์ (Fixtures)
  • นำทางเครื่องมือ / ไม่นำทางเครื่องมือ
  • สัมผัสกับเครื่องมือ / ไม่มีการสัมผัสกับเครื่องมือ
  • อุปกรณ์จับยึดมีน้ำหนักเบา / อุปกรณ์จำยึดมีนำหนักมาก
  • การออกแบบซับซ้อน / การออกแบบเรียบง่าย
  • ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อคเกจ / อาจจำเป็นต้องใช้บล็อคเกจ
  • ไม่จำเป็นต้องยึดกับโต๊ะ / ต้องมีตัวช่วยยึดเนื่องจากมีน้ำหนักมาก
  • อุปกรณ์จำยึดราคาสูง (หากมีความเป็นต้องยึด) / อุปกกรณ์จำยึดราคาย่อมเยาว์
จิ๊กและฟิกซ์เจอร์
ข้อพิจารณาการออกแบบของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์
  • ศึกษาชิ้นงานอย่างเหมาะสม
  • ศึกษารายละเอียดของเครื่องมือ
  • วิธีการการจัดการแคลมป์ (Clamping arrangement)
  • เส้นทางการขนถ่ายชิ้นงาน
  • กำหนดขอบเขตความคลาดเคลื่อนและความแม่นยำในชิ้นงาน
  • แมชชีนเบดไซส์
  • ความจุของเครื่องจักร
  • ความต้องการแหล่งพลังงาน
  • ช่องว่างระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ
  • ค่าใช้จ่าย

ยกระดับการใช้ “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ”

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

เมื่อได้รับรู้ถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ กันไปแล้ว อีกหนึ่งเทคโนลีใหม่ที่เข้ามาเติมเต็มประสิทธิภาพให้กับทั้งสองอุปกรณ์ การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติออกแบบจะสามารถช่วยให้คุณเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมใด ๆ ในจิ๊กหรือฟิกซ์เจอร์ได้ในขณะที่อยู่ในขั้นตอนดังกล่าว ประโยชน์ของการออกแบบของ AM (Additive Manufacturing) จะขช่วยยกระดับการเข้าถึงคุณสมบัติขนาดเล็กที่ยากต่อการตัดเฉือนและรูปทรงที่เป็นไปได้ยากในการกัดหรือกลึง ทั้งหมดนี้สามารทำได้ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3D เข้ากับสองอุปกรณ์พระเอกของเรา

สิ่งที่น่าตื่นเต้นตอนนี้ จากแหล่งข้อมูลได้ระบุว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ AM กำลังเดินหน้าพัฒนาโซลูชั่นอัตโนมัติอย่างแข็งขัน ทั้งหมดก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการออกแบบ และช่วยให้วิศวกรผู้ดูแลสามารถประเมินตัวเลือกในการดีไซน์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกที่สุด

ในแหล่งข้อมูลนั้นยังยกตัวอย่างบริษัทยานยนต์ยักษใหญ์อย่าง “ฟอร์ด” ที่แสดงความพึงพอใจออกสื่อว่าระบบอัตโนมัติสามารถลดเวลาในการออกแบบเครื่องมือจากหลักชั่วโมงเหลือเป็นหน่วยนาที ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลมาจากการออกแบบด้วย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ก่อนที่จะกำหนดค่าของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ได้ตรงความต้องการ ดึงศักยพภาพสูงสุดของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตออกมาใช้ประโยชน์ได้สูงที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลประกอบบทความ รวมถึงเนื้อหาสาระประโยชน์ดี ๆ จาก

Jigs And Fixtures: Definition, Types And Applications | RiansClub

Jigs and Fixtures: 6 Ways to Improve Production Efficiency with 3D Printing – AMFG

แมชชีนทูล 4 อันดับแรกที่จะเติบโตในอนาคต จากมุมมองของบริษัทการเงิน การลงทุน

แมชชีนทูล

สถานการณ์ ณ ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเรื่องของเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับโลกยุค “New Normal” หลายประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ที่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับ โควิด-19 ต่างมองยาวไปถึงเรื่องของการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่าง ๆ ตลอดจนถึงมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศ ให้มีความพร้อมต่อการทำธุรกิจ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ประกอบการเองแล้ว ยังส่งผลกลับมาต่อประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นในการลงทุน และอื่น ๆ อีกมากมาย

และเช่นเคย.. เมื่อเราพบกันส่วนใหญ่ก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมมาอัพเดตกันอยู่เสมอ ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องราวดี ๆ ที่ผู้เขียนได้เจอมาในระหว่างค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับเทรนด์ “แมชชีนทูล” ที่สื่อการเงินเจ้าใหญ่อย่าง DLL Finance แห่งดินแดนเสรีภาพ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาวิเคราะห์เกี่ยวกับแน้วโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ได้อย่างน่าสนใจ

แมชชีนทูล

คือต้องกล่าวก่อนว่า DLL นั้นได้นิยามตัวเองว่าเป็น “เพื่อนคู่คิดด้านการเงินการลงทุน” พร้อมสนับสนุนทุกธุรกิจใหม่อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหากอุตสาหกรรมนั้นมีแนวทางปฏิบัติที่พร้อมจะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามายกระดับธุรกิจในภาคส่วนของตน ส่วนใหญ่เป็นการปรับแนวคิดตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ล้วนมีผลกระทบเกี่ยวกับผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายแมชชีนทูลอย่างยิ่ง จากสาเหตุดังกล่าวทำให้พวกเขาได้รวบรวมเทรนด์ “แมชชีนทูล” 4 อันดับแรกที่จะสร้างโอกาสเติบโตในอนาคต คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในระยะกลางถึงระยะยาวเนื่องจากแพร่หลายมากขึ้นทั่วทั้งเศรษฐกิจ ส่วนจะมีเทรนด์ใดบ้าง.. เชิญติดตามเนื้อหาด้านล่างต่อจากนี้ได้เลย

“แมชชีนทูล” ที่มีแน้วโน้มไปได้ไกลในโลกยุคใหม่ ช่วยอะไรได้บ้าง

มีรายงานว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการเงินการลงทุนเจ้านี้ มีการส่งผู้เชี่ยวชาญลงไปคลุกคลีเพื่อติดตามแน้วโน้มความเป็นไปของเทคโนโลยีเครื่องมือ เครื่องจักรกลแบบใกล้ชิด ซึ่งคำกล่าวข้างต้นที่ได้โปรยเอาไว้ ว่าพวกเขานั้นพร้อมสนับสนุนทุกธุรกิจที่มีการวางแผนให้เข้ากับเครื่องมือสมัยใหม่ มาจากปากของ สตีฟ โฮป ผู้จัดการ DLL CT&I ที่ดูแลเรื่องนี้ โดยโปรแกรมนี้นั้นจะมีทั้งคำแนะนำ แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจของผู้ประกอบการที่ไม่กลัวในการเปลี่ยนแปลงได้ยกระดับ สร้างการเติบโตของยอดขายและประสิทธิภาพในการดำเนินงานรูปแบบใหม่อยู่เสมอ

แมชชีนทูล

4 เทรนด์ แมชชีนทูล ในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ

  1. ยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicles)

เป็นสิ่งที่อุตสาหรกรรมการผลิตต้องมองให้ขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชิ้นส่วนตลอดจนถึงกระบวนการผลิต ยุคแห่งการเปลี่ยนถ่ายจากเครื่องยนต์สันดาปทั่วไปมาสู่แบบไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้เอาแค่ในไลน์ของ “รถยนต์” ยังมีให้เลือกทุกประเภทเกือบจะครอบคลุมทั้งหมดแล้ว 

ในขณะเวลาที่เดินหน้าไม่ถอย เทคโนโลยีก็ต่างล้ำขึ้นไปทุกขณะ เรื่องนี้จะส่งผลกระทบมากแน่นอนหากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องยังไม่ปรับตัวมาสนใจระบบพลังงานนี้

  1. ระบบอัตโนมัติ – อุตสาหกรรม 4.0 (Automation – Industry 4.0)

เรื่องนี้เราเคยเขียนแบบแยกชำแหละให้เห็นภาพกันแบบชัด ซึ่งคุณสามารถย้อนกลับไปอ่านได้แบบเต็ม ๆ เลย เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความจำเป็นอย่างมากในการเดินหน้าเพื่อแข่งขันสำหรับตลาดการผลิตแบบอัตโนมัติ เรื่องของเครื่องจักรต่าง ๆ และหุ่นยนต์จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น (เทรนด์อุตสาหกรรม 2021 จากยุคเดิมสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ผ่านมุมมองสื่อดัง Forbes)

สิ่งนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในสายงานผลิตแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทรัพยากรมนุษย์ ที่เราสามารถโยกบุคลากรเหล่านี้ไปทำงานที่เกิดประโยชน์ได้มากกว่า เช่น การควมคุมระบบต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ ทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ แถมยังไม่ต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นในโรงงานอีกด้วย

  1. การผสมผสานของการพิมพ์ 3 มิติ (Integration of 3D printing)

สิ่งนี้แม้จะได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมานี้ แต่ยังคงเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากในการเข้าสู่ตลาด แต่คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าการพิมพ์แบบ 3 มิติ จะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมของคุณไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่นอน ความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้เทคโนโลยีนี้ หากให้นึกแบบเร็ว ๆ ก็คือสายงานการผลิตที่ต้องการให้แมชชีนทูลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสร้างผลผลิตออกมาในจำนวนที่มากขึ้นนั่นเอง

ภาคการผลิตในศตวรรษที่ 21 บาง OEM ที่เชี่ยวชาญในเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ต่างอัพเกรดเครื่องจักรให้ทรงอานุภาพมากกว่าเดิม สำหรับรองรับความต้องการของลูกค้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันนี้เครื่องจักรหลายแขนงต่างมีเทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งแทบจะเกือบทั้งหมดแล้ว

  1. แมชชีนทูล ความแม่นยำสูง (Higher precision machine tools)

นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โครงสร้างและส่วนประกอบชิ้นงานที่ปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ การที่มี “เครื่องมือกล” ที่มีความเที่ยงตรงสูง สามารถตัดเฉือนชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยความแม่นยำ มีความละเอียดมายิ่งขึ้น 

จริงอยู่ว่าเรื่องของต้นทุนนั้นก็มีความสำคัญ แต่โลกกำลังเปลี่ยนไปในแง่ของประสิทธิภาพ หากตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า แม้จะมีราคาที่สูงกว่าแลกกับคุณภาพที่ดีขึ้น ทำได้ตามกำหนดครบทุกกระเบียดนิ้ว สเป็คนี้ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าตามความเห็นของ DLL ที่ได้เก็บข้อมูลมาเป็นเวลาพอสมควร

แมชชีนทูล

สุดท้ายแล้วทั้งหมดนี้เป็นเพียงมุมมองของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเงินการลงทุนเท่านั้น อาจจะเป็นคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังมองเห็นทิศทางของเทรนด์อุตสาหกรรมซึ่งรุดหน้าอย่างรวดเร็วได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร หากมีข้อไหนที่สามารถปรับใช้กับธุรกิจของคุณ โรงกลึงหรือโรงงานขนาดเล็ก-กลาง ลองนำไปวิเคราะห์ดู อาจจะค้นพบแนวทางใหม่ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น การปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ไม่มีคำว่าเสียเวลาแน่นอน อยู่ที่มุมมองของคุณแล้วล่ะว่าจะเลือกใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคาดการณ์นี้อย่างไร หากมองแบบมักน้อยที่สุด คือได้เรียนรู้ผ่านมุมมองของผู้ลงทุนที่คลุกคลีกับหลายธุรกิจ ก็น่าจะพอมีอะไรให้ปรับใช้บ้างไม่มากก็น้อย