ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทำความรู้จัก “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ตัวไหนฮิตสุดในปัจจุบัน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

หากย้อนหลังไปกว่านี้สัก 7-10 ปี การพูดถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ดูจะเป็นเรื่องที่ถูกจำแนกไว้เพียงแค่โรงงานขนาดใหญ่เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยมายด์เซตก็ดี หรือด้วยข้อเท็จจริงก็ดี การที่โรงงานนึงจะใช้เทคโนโลยีนี้ได้ ถูกมองว่าต้องมีทุนที่หนาไม่น้อย นอกจากจะเป็นเรื่องที่ใหม่แล้ว เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ก็ดูเหมือนจะยังไม่มีความพร้อมรอบด้านเหมือนกับอย่างทุกวันนี้ ทำให้ผู้คนมากมายต่างมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวอยู่พอสมควร

ณ ปัจจุบัน มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก หากเราจะบอกว่า โควิด-19 นั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เข้ามาบูสเตอร์กับหลายโรงงานให้ได้รู้จักกับเทคโนโลยี และเลือกใช้กับประเภทที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของพวกเขามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็วนกลับไปที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาอย่างรุดหน้าในช่วงที่หลายองค์กร นักพัฒนา ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ พร้อมใจกันฝ่าวิกฤตการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ผลพลอยได้ต่าง ๆ นั้นก็ส่งต่อมาถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ในจังหวะที่พอเหมาะพอเจาะ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเภทของ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่ใช้งานทั่วไปมีอะไรบ้าง ?

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) ถ้าให้พูดกันแบบเร็ว ๆ สิ่งนี้ก็คือหนึ่งในชนิดของเครื่องจักรกลที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานสำหรับกระบวนการต่าง ๆ โดยมีทั้งแบบควบคุมโดยมนุษย์ หรือควบคุมโดยระบบอัตโนมัติ ผ่านการป้อนโปรแกรม มีทุกขนาดตั้งแต่เล็กสุดจนถึงใหญ่สุด ซึ่งในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้น จะแบ่งออกเป็นไทป์คร่าว ๆ ก่อนถูกประยุกต์ตามรูปแบบอีกที เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ

ประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

Cartesian Robot

มีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ Linear Robot ซึ่งลักษณะการทำงานนั้นก็แปลตรงตัวกับความหมายเลย หุ่นยนต์ชนิดนี้จะเน้นการคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหมดทั้ง 3 แกน เป็นหนึ่งในประเภทที่มีความแข็งแรงเหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ประสิทธิภาพในการับน้ำหนักสูง แต่ก็ต้องแลกด้วยกับการที่ไม่สามารถใช้งานแบบละเอียดอ่อนได้ รวมถึงใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากตามขนาดของหุ่นยนต์

ในอุตสาหกรรม การใช้งาน Cartesian Robot ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรอีกทีนั่นเอง

Cylindrical Robot

ลักษณะการทำงานนั้นจะคล้ายคลึงกับประเภทก่อนหน้าเลยทีเดียว เพียงแต่ Cylindrical Robot จะเป็นการทำงานแบบหมุนรอบแกน ไม่ได้เป็นแบบเลื่อนเข้าออกเส้นตรงอย่าง Linear Robot

สำหรับหุ่นยนต์ประเภทนี้มักถูกนำไปใช้งานขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ จับยก งานเชื่อม ตลอดจนถึงงานประกอบแบบอื่น ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์ที่เน้นการทำงานแบบรวดเร็วเป็นหลัก (ตัวอย่างงานเชื่อมในโรงกลึงพี-วัฒน์ ก็สามารถนำ Cylindrical Robot มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน)

SCARA Robot

หุ่นยนต์ประเภทนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Selective Compliance Assembly Robot Arm และน่าจะเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย ลักษณะการทำงานจะเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด ในส่วนของบริเวณมือจับนั้นเป็นส่วนที่สามารถเคลื่อนที่ในแนวตั้งได้เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน

SCARA Robot ถูกใช้งานส่วนใหญ่กับอุตสาหกรรมงานประกอบชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ขนาดเล็ก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีความแม่นยำสูง อาจประยุกต์ใช้กับงานบรรจุภัณฑ์เล็ก ๆ ได้เช่นกัน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
Polar Robot

ลักษณะการทำงานของหุ่นยนต์ประเภทนี้ที่มีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า Spherical Robot เป็นการทำงานแบบหมุน 2 จุด ในส่วนของตัวฐานและไหล่ของตัวหุ่นยนต์ สำหรับส่วนของมือจับของประเภทนี้สามารถยืดหดได้ จะต่างกับ SCARA ที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบแนวดิ่ง

Polar จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับงานประเภทหยิบจับ รวมถึงงานเชื่อมต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วการยืดหดของแขนจับอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่านี้ แต่ด้วยความซับซ้อนดังกล่าวเช่นกันที่ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก

Articulated Robot (Jointed Arm)

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมประเภทนี้ถูกเรียกแบบเข้าใจตรงกันง่าย ๆ ว่า “Jointed Arm” ลักษณะการใช้งานก็จะเหมือนกับการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์ แม้จะไม่มีความอิสระเท่า แต่ด้วยข้อทั้งหมดที่เคลื่อนไหวแบบจุดหมุน (Revolute) 3 จุดขึ้นไป ซึ่งก็แล้วแต่การออกแบบอาจมีได้มากสูงสุดเป็น 10 จุด หรือตามต้องการความอิสระของลักษณะการใช้งานนั้น ๆ

ด้วยความอิสระดังกล่าวนี้เอง ทำให้ Articulated Robot ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานโรงงานอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบ หลายประเภท ทำได้แทบจะทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นยกของทั่วไป งานตัด งานเชื่อม แม้กระทั่งงานพ่นสี สิ่งนี้ก็ให้คุณได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการด้านการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้ เพื่อให้เข้าถึงประสิทธิภาพได้สูงสุด

นอกเหนือจากที่เราได้แนะนำไปแต่ละประเภท ยังมีหุ่นยนต์แบบ Custom ที่สามารถออกแบบได้ตามต้องการเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ตอบโจทย์ที่สุด ซึ่งก็ต้องแลกมากับต้นทุนที่สูงสุดขึ้น นั่นก็เป็นเรื่องที่แต่ละโรงงานต้องมาคำนวณให้ดีว่าการเข้ามาของสิ่งดังกล่าวจะสามารถพัฒนาสิ่ง ๆ ได้คุ้มกับที่เสียไปหรือไม่

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

แนวโน้มหุ่นยนต์อุสาหกรรมในประเทศไทยและทั่วโลก

แม้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดูเหมือนว่าแนวโน้มของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะได้รับการยอมรับและเริ่มถูกใช้งานมากขึ้นนับแต่เกิดวิกฤต โควิด-19 แต่ก็ยังมีจุดสังเกตหลายประการที่ทำให้สิ่งนี้น่าจะยังเป็นที่แพร่หลายในเร็ววัน ทั้งเรื่องต้นทุนที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการใช้งานจำเป็นต้องมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเป็นผู้ควบคุมดูแล ทำใหั “Cobot” กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมของโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่เข้าถึงได้ง่ายหากเทียบกับหุ่นยนต์ การตั้งค่าต่าง ๆ ในปัจจุบันก็พร้อมตอบโจทย์ความต้องการได้ไม่แพ้กัน

ส่วนในเรื่องของ Robot กับ Cobot นั้นมีความเหมือน หรือ แตกต่างกันในด้านไหนบ้าง ไว้เราจะพาไปเจาะลึกกันในโอกาสต่อไป 

แต่สำหรับท่านไหนที่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอยู่แล้ว มีความต้องการในเรื่องของอะไหล่ต่าง ๆ การผลิตชิ้นส่วนเฉพาะ เราโรงกลึงพี-วัฒน์พร้อมดูแลเดินร่วมทางไปด้วยกันกับคุณเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Robot หรือ Cobot มั่นใจในงานบริการของเราได้แบบ 100 เปอร์เซนต์

Augmented Reality เทคโนโลยีชั้นเซียน บูสเตอร์ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต

Augmented Reality

หากมีการพูดถึง AR (Augmented Reality) เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะนึกถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับสินค้าของพวกเขาเอง ถ้ายังนึกภาพตามไม่ออก ให้นึกถึงช่วงนึงเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่หลายคนตื่นเต้นกับการเลือกช้อปเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ผ่านแอพพลิเคชั่น 

ซึ่งทางตัวแอพฯ นั้นสามารถให้คุณจำลองสินค้าต่าง ๆ ด้วยโมเดลจำลองที่มีความเสมือนจริง ปฏิวัติวงการตกแต่งบ้านให้ล้ำหน้าขึ้นไปอีกขั้น แม้จะไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100 เปอร์เซนต์ แต่ก็ช่วยให้คุณได้สัมผัสถึงความจริงเสมือน ซึ่งมันน่าจะโอเคกว่าการจินตนาการภาพเหล่านั้นขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอน

แล้วเทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีส่วนช่วยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร? นี่เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัวของผู้เขียนเหมือนกันก่อนที่จะค้นคว้าหาข้อมูล แต่พอได้สืบค้นจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ รวมถึงกรณีศึกษาของบริษัทต่างประเทศ ที่เริ่มนำร่องในการนำความสามารถของสิ่งนี้มาใช้ประโยชน์กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของอุตสาหกรรมการผลิต ก็พอจะนึกภาพตามออกได้เป็นฉาก ๆ พร้อมกับความเชื่อมั่นว่าหากพัฒนาจนถึงขีดสุด เทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว

Augmented Reality

สั้น ๆ กับ Augmented Reality ก่อนลุยภาคอุตสาหกรรมการผลิต

AR (Augmented Reality) คือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การนำโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงมาผสมผสานกัน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการใช้ระบบซอฟต์แวร์ประกอบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรองรับเทคโนโลยีนี้ และสำหรับวัตถุเสมือนที่กล่าวไปนั้นอาจมาในรูปแบบ ภาพ วิดีโอ เสียง จนไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มาจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์สวมใส่เฉพาะทาง ซึ่งก็เป็นสะพานเชื่อมโยงให้เราได้ตอบสนองกับสิ่งจำลองนั้นได้แบบเสมือนจริงที่สุด

อุตสาหกรรมการผลิต x AR

ความเจ๋งของ AR แน่นอนล่ะ.. หากเราพูดถึงความสามารถในการนำเสนอคาแรคเตอร์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพดิจิตอล วิดีโอ และอื่น ๆ ที่ดึงเอาความงดงามของความเสมือนจริงรวมกับความเป็นจริงได้อย่างน่าทึ่ง

สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะได้รับประโยชน์สูงสุดคือการแทรกเอาข้อมูล สถิติ จนไปถึงคำแนะนำการใช้งานต่ออุปกรณ์นั้น ๆ ยังไม่นับเรื่องของการใส่ชุดข้อมูลเหล่านี้ไปกับ Headset ที่จะช่วยให้การผลิต การซ่อมบำรุง นั้นทำได้ถูกต้องและง่ายกว่าที่เคย

ตัวอย่างเช่น การใช้ Microsoft HoloLens ซึ่งเป็น Headset ที่ออกแบบด้วยการผสานระหว่างเทคโนโลยีของ Augmented Reality และ Virtual Reality เข้าด้วยกัน ใช้ในการดูชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่รองรับ AR เพื่อแสดงข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนั้น ๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงาน เอาต์พุต และอุณหภูมิปัจจุบัน เรียกว่าเป็นการทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นสำหรับการนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้เข้ากับโรงงานผลิต

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com, vrfocus.com

AR จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร ?

ณ ปัจจุบัน ประโยชน์หลัก ๆ ของการใช้ AR กับโรงงานผลิต จะเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างให้จินตนาการตามหัวข้อก่อนหน้านี้ เช่น หากชิ้นส่วนของอุปกรณ์การผลิตเสียหาย ช่างเทคนิคสามารถใช้ Headset ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องไปพร้อมกันกับการดูข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม คำแนะนำ รวมถึงอาจมีรูปภาพประกอบแสดง เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

นอกจากการใส่ชุดข้อมูลที่จำเป็นแล้ว เรายังสามารถวางแผน เรียงลำดับ รวมถึงคาดการณ์ระยะเวลาแต่ละขั้นตอน และนี่ไม่ใช่แค่การลดความจำเป็นในการดูแผนภูมิ คู่มือการใช้งาน รวมถึงบุคลาการ สิ่งนี้จะช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

โดยทั้งหมดทั้งมวล การออกแบบตั้งค่าเทคโนโลยีนี้ในเบื้องต้นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ แต่หากทุ่มเทในตอนต้นเพียงครั้งเดียวจนเสร็จสิ้น หลังจากนี้ต่อให้เป็นพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบก็สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้เหมือนกับช่างชำนาญการผ่านการใช้ Headset

เจ๋งไม่เบาเลยทีเดียว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็มีเป้าหมายในอนาคตเพื่อนำเทรนด์กลุ่มธุรกิจโรงกลึงด้วยการเล็งเทคโนโลยี AR นี้มาเป็นส่วนหนึ่งใน Roadmap เช่นกัน

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

คุณค่าสูงสุดของ AR ต่อสายงานผลิต ?

จากข้อมูลได้เราได้รวบรวมมา มีการกล่าวถึงความสำคัญและพื้นที่ที่จะให้ AR นั้นได้แสดงศักยภาพได้เต็มที่อีกหนึ่งจุด นั่นคือการฝึกอบรมพนักงานใหม่ในสายการผลิต เมื่อแต่ละโรงงานมีการรับพนักงานเข้ามาใหม่ การอบรมและการตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานจะสามารถทำตามขั้นตอนของการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ยาก และความไม่แน่นอนนี้สิ่งที่ตามมาคือปัญหาด้านความปลอดภัย 

จะเป็นเรื่องดีแค่ไหนหากพนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามคำแนะของ AR ด้วยเทคโนโลยนี้สามารถให้ข้อมูลเครื่องจักรโดยอัตโนมัติแบบครบถ้วน แม้ไม่เคยใช้งานมาก่อนก็จะช่วยให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

Augmented Reality

อีกหนึ่งกรณีศึกษา ความล้ำหน้าของ AR ต่ออุตสาหกรรม

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก หากคุณต้องเจอกับอุปกรณ์เฉพาะที่มีความซับซ้อนซึ่งอาจต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์เพียงอย่างเดียวสำหรับใช้งานสิ่งนั้น ในกรณีนี้เองที่ AR จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้คนที่อยู่หน้างานสามารถดำเนินการได้ทันที โดยมีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเรื่องนี้

ลองนึกภาพตามว่าหากหุ่นยนต์หกแกนทำงานผิดปกติ แต่ ณ จุดนั้นไม่มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไข การใช้ Headset จะช่วยพนักงานได้อย่างมาก เพราะนอกเหนือจากข้อมูลที่มี คุณยังสามารถรับคำแนะนจากผู้เชี่ยวชาญได้แบบเรียลไทม์ ตลอดจนถึงการใช้เพื่อเป็นแบบฝึกอบรมบุคลากร ดึงศักยภาพของพวกเขาด้วยเทคโนโลยีนี้ได้อีกด้วย

และหากคิดว่าการใช้อุปกรณ์ Headset ดังกล่าวนั้นจะเป็นการสร้างต้นทุนมากจนเกินไป หรือไม่เหมาะกับขนาดของธุรกิจของคุณ การออกแบบเพื่อใช้ในอุปกรณ์ที่มีอยู่ในตลาดอย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเลต หรือแว่นตาระบบดิจิตอล ก็เป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก : https://www.reliableplant.com/Read/31709/ar-improve-manufacturing

กลไกอันน่าทึ่งของ AI และ Machine Learning “คลื่นลูกใหม่” ของอุตสาหกรรมการผลิต

machine learning

คำว่า “Smart Manufacturing” หรือที่พากย์ไทยได้ว่า “ระบบการผลิตอัจฉริยะ” หลายคนอาจจะผ่านหูผ่านตามาบ้างเมื่อตกอยู่ในแดนสนธยาของ “IoT” กับ “IIoT” 

และที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกันของ “ปัญญาประดิษฐ์” (AI) เมื่อถูกนำไปฟิวชั่นกับสิ่งที่เรียกว่า Machine Learning (ML) ซึ่งได้รับการซูฮกว่าเป็นเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ที่คอยขับเคลื่อนนวัตกรรม จนได้รับคำนิยามว่าเป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์เชิงอุตสาหกรรมอันแสนโดดเด่น ที่จะช่วยให้คุณนั้นสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

เมื่อเราเดินทางมาถึงวันที่ “ข้อมูล” กลายเป็นทรัพยาการอันมีค่า แถมยังมีราคาถูกกว่าที่เคย หากเราเลือกใช้เทคโนโลยีได้ถูกต้องในการตักตวงประโยชน์จากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ และดึงศักยภาพสูงสุดของสิ่งนั้น อันเป็นที่มาของบทบาทความสำคัญการใช้ AI ประสานงานเข้ากับ ML ที่เราจะพาทุกคนไปดื่มด่ำกันในวันนี้

machine learning

AI และ ML คืออะไร ในวงการผลิต

มีกรณีมากมายที่ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยหลากหลายวิธีสำหรับช่วยเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรม ซึ่งนั่นก็ทำให้ AI มีบทบาทสำคัญในวงการผลิต เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับ IoT (IIoT) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง และหนึ่งในชุดย่อยที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของ AI คือ ML (Machine Learning)

และอย่างที่รู้กันว่าการผลิตตามกระบวนการเป็นภาคส่วนที่มีการแข่งขันสูง ด้วยตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบอันซับซ้อนซึ่งก็เต็มไปด้วยหลายชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีการเคลื่อนไหว การขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้รวมถึงการปรับปรุงความสามารถตลอดจนถึงการเริ่มต้นทำกำไรตั้งแต่กระบวนการผลิต ถือเป็นข้อได้เปรียบทั้งหมด และนี่เป็นสิ่งที่ AI กับ ML สามารถมอบให้คุณได้

machine learning

ความสำคัญของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต

การมีอยู่ของ AI มีส่วนทำให้โรงงานในกระบวนการผลิตสามารถบูรณาการข้อมูล วิเคราะห์ และสร้างข้อมูลเชิงลึกรวมถึงคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ช่วยทำให้เห็นภาพรวมก่อนตัดสินใจได้แบบครอบคลุมทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับ ML ก็เป็นประเภทของ AI ที่บีบอัดชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อระบุรูปแบบและแนวโน้ม ก่อนสร้างเป็นแบบจำลองเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังช่วยให้โรงงานรู้ความผันผวนของอุปสงค์อุปทาน ต่อเนื่องด้วยการประเมินช่วงเวลาดีที่สุดสำหรับกำหนดการบำรุงรักษา ตลอดจนการระบุสัญญาณเริ่มต้นของความผิดปกติ

ทั้งนี้นั้น ML ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Machine Learning ก็ต้องมีกระบวนการในการเรียนรู้ก่อนที่จะสามารถวิเคราะห์สิ่งใดก็ตามได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นที่มาของการได้มาของข้อมูล การเก็บรวบรวมให้ถูกต้อง และคัดสรรเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อให้ ML เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ ยิ่งชุดข้อมูลมีมากเท่าไหร่ ML ก็จะฉลาดและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น

ในฐานะโรงกลึงสมัยใหม่ที่เฝ้ามองกระแสความเป็นไปของเทคโนโลยี เราโรงกลึงพี-วัฒน์ก็กำลังปรับตัว และพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมถึงความคิดเห็นต่าง ๆ จากลูกค้า เพื่อนำมาปรับใช้ในจุดที่เหมาะสมที่จะใช้ ML ในอนาคตมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

ความช่วยเหลือของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต
  • ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นเพื่อลดต้นทุนได้
  • มีความเข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแบบเรียลไทม์
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของอุตสาหกรรม ปรับปรุงความปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มคุณภาพของสินค้า
  • ค้นหาและกำจัดกระบวนการผลิตที่ต่ำที่สุดของอุตสาหกรรม (กระบวนการคอขวด)
  • ปรับปรุงการมองเห็นของซัพพลายเชน และช่องทางการจัดจำหน่าย
  • ตรวจจับสัญญาณความปกติแรกสุด สาเหตุของการล้มเหลว ลดเวลาการหยุดทำงาน และดำเนินการซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็ว
  • วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงเพื่อปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้ละเอียดมากขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพของวงจรชีวิตอุปกรณ์ทั้งหมดของอุตสาหกรรม (อายุการใช้งาน)

ใช้ AI/ML อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการผลิต

1. ปรับปรุงการจัดการข้อมูล

ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ AI หรือ ML ประเภทใด ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการคุณต้องแน่ใจแล้วว่าได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น และเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อการสร้างแบบจำลองเพื่อเริ่มโครงการนั้น ๆ ตลอดจนการเลือกใช้แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม

2. กำหนดเป้าหมาย

มีหลายกรณีในการใช้งาน ML และ AI ในการผลิต ซึ่งทุกกรณีนั้นก็มีศักภาพต่อการสร้างมูลค่าและปรับปรุงผลกำไร

เพื่อให้คุณสามารถใช้ AI/ML ได้อย่างเป็นระบบแล้ว ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตที่สามารถตอบสนองได้เร็วที่สุด หรือมีชุดข้อมูลที่จำเป็นอยู่แล้ว และจัดลำดับความสำคัญว่าควรตั้งเป้าหมายใดเป็นอันดับแรก

3. ใช้กับทั้งองค์กร

อาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้งาน AI สำหรับงานที่จำกัดเฉพาะในบางแผนกก่อน หรือใช้การคาดคะเนของ ML กับกรณีการใช้งานแบบเฉพาะ แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณจะเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนี้ เมื่อเชื่อมต่อการใช้งานด้วยความสามารถแบบอัตโนมัติของ AI ประกอบกับการคาดการณ์ของ ML ทั่วทั้งองค์กร

4. ประเมินทักษะ

ตรวจสอบชุดทักษะที่จำเป็นเพื่อมองหาบุคลากรที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และอื่น ๆ 

5. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

สร้างความไว้วางใจโดยการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คนในองค์กรใช้งานได้จริงและสำเร็จภารกิจด้วยสิ่งนี้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลก่อนเปิดใช้โมเดล ML ด้วยอัลกอริธึมของ AI 

และเมื่อพวกเขาเห็นประโยชน์ของสิ่งนี้ด้วยการสัมผัสด้วยตัวเอง การนำ AI และ ML มาใช้ในการผลิตก็จะได้การตอบรับที่ดีและประสบผลสำเร็จในที่สุด

machine learning

ร่วมพิสูจน์ความสามารถของ AI และ ML ด้วยบริการของโรงกลึงพี-วัฒน์

ด้วยการยอมรับกรณีการใช้งานของ AI ด้วย Machine Learning ของหลายโรงงานผลิตทั่วโลก เพื่อนำมาปรับเข้ากับงานผลิตของโรงกลึงพี-วัฒน์ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ความผันผวนของความต้องการของตลาด ตลอดจนการปรับปรุง หาข้อบกพร่อง  และดึงศักยภาพการผลิตออกมาได้สูงสุด พร้อมส่งมอบสินค้าคุณภาพในทุกชิ้นงาน และอีกไม่นานคุณจะสามารถร่วมพิสูจน์ความน่าทึ่งของ AI และ ML ผ่านการใช้บริการจากเรา

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก

https://www.seebo.com/machine-learning-ai-manufacturing

https://www.precog.co/glossary/ai-ml-in-manufacturing

IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย

iiot

เลี่ยงเหตุร้ายได้มากน้อยแค่ไหน? หากพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยด้วย “IIoT”

ก่อนจะเริ่มพูดคุยถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT เราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสดุดีแด่ฮีโร่ผู้เสี่ยงชีวิต และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวทุกคน บนเหตุเพลิงใหม่โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันมานี้

เรื่องของสาเหตุการระเบิดและการเกิดเพลิงไหม้ คงไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึก และก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะได้รับรู้รายละเอียดผ่านข่าวสารจากช่องทางสื่อต่าง ๆ ที่ประโคมกันแบบเรียลไทม์ไม่ขาดสาย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึง “มาตรฐานใหม่” ที่มาพร้อมกับแนวคิดในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยมี IoT เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการผลิต

และแม้ว่าสิ่งที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับกับเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง แต่ก็เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่าหากเราพัฒนาต่อยอดแนวคิดเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เลยอย่าง “ชีวิต” ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซนต์สักกี่มาน้อย ก็ถือเป็นเรื่องดีงามทั้งสิ้น

iiot

“IIoT” Industrial Internet of Things คืออะไร ?

มาย้อนความกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ Internet of Things หรือที่เราคุ้นตากันใน AKA ว่า IoT เปรียบได้กับเป็นการประยุกต์ IoT กับธุรกิจในกลุ่ม Industrial จึงเป็นที่มาของ IIoT สิ่งนี้คือการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการนำเครื่องจักร ระบบวิเคราะห์ระดับสูง และมนุษย์มาทำงานร่วมกัน โดยมีการเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายอุปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เกิดขึ้นเป็นระบบที่สามารถส่งผลแก่การติดตาม เก็บข้อมูลแบบละเอียด แสดงผลข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมนั้น ๆ

IIoT จะช่วยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ?

ปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากเป็นเรื่องความผิดปกติของอุปกรณ์ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่ IIoT จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของความปลอดภัยหนีไม้พ้นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำได้รวดเร็วและรวบรวมจำนวนได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เราสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์ รวมถึงสภาพของอุปกรณ์จากห้องควบคุมได้อยู่เสมอ

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ลิสต์เอาไว้ด้วยระบบ AI การตั้งค่าเพื่อให้มีการแจ้งเตือน หากตรวจสอบเจอสภาวะเข้าใกล้ “อันตราย” นอกจากสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ไม่น้อย

3 แน้วโน้มเพื่อความปลอดภัยในโรงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT
1. การฟิวชั่นเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision

ส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า IoT จากโรงงานผลิตจะมีเซนเซอร์รวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวโน้มต่าง ๆ ทำให้พิจารณาได้ว่าจุดไหนทำงานเป็นอย่างไร ดีมากน้อยแค่ไหน และจุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุง

กับด้านความปลอดภัย การรวมเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision ซึ่งส่วนหลังนั้นทำหน้าที่เปรียบเสมือนดวงตาของมนุษย์ คอยตรวจจับความสภาพแวดล้อมและสถานการณ์อยุ่ตลอด และด้วยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IIoT นี่เองที่จะช่วยให้ CV นั้นคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบก็จะสามารถหยุดอุปกรณ์ได้แบบอัตโมมัติก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้น

2. การติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารแบบครบวงจร

ความก้าวหน้าของสิ่งนี้ในปัจจุบันแผ่ขยายทำให้อาคารหลายแห่งมีเทคโนโลยีหลายประเภทในอาคาร โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้แบบครบวงจรเท่าที่คุณต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น โครงการนำร่องในโรงเรียนเมืองฮิวส์ตัน มีการติดตั้งปุ่มแจ้งเตือนรวมเข้ากับระบบความปลอดภัย IoT ขั้นสูง หากเกิดสถานการณ์อันตรายใด ๆ หรือมีการคุมคาม ปุ่มนี้จะช่วยเรียกเจ้าหน้าที่ได้ทั้งภายในและนอกอาคารทันที จากกรณีแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำไปปรับใช้กับภาคการผลิตได้เช่นกัน

3. การใช้ Location Based Analytics และ Real-Time Location Systems เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

เป็นแนวคิดที่เจ๋งมาก ๆ ด้านการแจ้งเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม ยกตัวเช่น การใช้ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) เพื่อสุขภาพ โดยมีบริษัท Kontakti.io ที่นำมาต่อยอดด้วยแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Simn AI เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเซ็นเซฮร์ RTLS มาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความตั้งใจเริ่มต้นคือการกำหนดเวลาคน เข้า-ออก จากที่ทำงาน

สำหรับมุมมองด้านความปลอดภัย Simon AI นั้นทรงประสิทธิภาพมากกว่านั้น เช่น สามารถแจ้งเตือนหากมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพื้นที่ หรือจะเป็นปุ่มเรียกที่ขอความช่วยเหลือได้จากการะบุตำแหน่งที่แม่นยำ จนไปถึงหากมีการอพยพ เทคโนโลยีนี้สามารถแสดงจำนวนที่มาถึงจุดปลอดภัยที่กำหนด และหากมีใครที่ขาดหายไปก็สามารถระบุตำแหน่งเพื่อติดตามได้อย่างรวดเร็ว

iiot

ประโยชน์ตรงนี้มากมายมหาศาล หากเรารับรู้ความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติภัยได้ล่วงหน้า เราก็เตรียมรับมือได้เร็ว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็ตอบสนองต่อเทคโนโลยีนี้เช่นกัน เรากำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการควบคุมไฟของเครื่องจักรทุกตัวในโรงกลึง ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT, AI, Machine Learning และ Big Data ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่วิศวกรและทีมช่าง รวมถึงควบคุมคุณภาพของการผลิตไม่ให้บกพร่อง เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า

IIoT กับ อนาคตอันน่าตื่นเต้น ผ่านการตระหนักถึงความปลอดภัยของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด

จากแนวโน้วการวางระบบมาตรการความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีนี้ ข้อสุดท้ายชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องการะบุตำแหน่ง การเก็บข้อมูลในปริมาณมาก ๆ แบบเรียลไทม์ ซึ่งจุดเด่นของ RTLS นั้นก็ชัดเจนอยู่แล้วนอกจากจะช่วยเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ทราบข้อมูลที่แน่นอนว่าใครอยู ณ จุดไหน เรื่องของความปลอดภัยก็ทำให้ตรวจสอบได้เสมอว่าพนักงานนั้นอยู่ในที่ปลอดภัย หรือหากอยู่ในจุดเกิดเหตุก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที

iiot

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายมีความสอดคล้องกับการเชื่อมต่อของ IIoT ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ การแจ้งเตือนเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น การสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย IIoT สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดต่อเรื่องนี้ และอาจกลายเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อซัพพอร์ตการป้องกันอย่างเต็มประสิทธิภาพสู่ตลาดในเร็ววันนี้

ขอขอบคุณบทความสำหรับข้อมูลดี ๆ เรื่องแนวทางการพัฒนาด้านความปลอดภัยด้วย IIoT จาก https://www.ehstoday.com/safety-technology/article/21920259/6-iiot-trends-for-manufacturing-safety

📢 ประกาศ ! ช่องทางติดต่อหลักโรงกลึงพี-วัฒน์💡

สอบถามบริการ พูดคุยรายละเอียด ผ่านช่องทางหลัก

📱LINE Official Account โรงกลึงพี-วัฒน์

แอดไลน์ @939turrw

หรือคลิก https://lin.ee/LHG3beE

หรือ Scan QR


ขอใบเสนอราคา

กรอกแบบฟอร์มออนไลน์ได้ที่ https://pwat.co.th/#req-quote-online

ส่งไฟล์รูป ไฟล์งาน

อีเมล p2016wat@gmail.com

ส่งเอกสาร ไปรษณีย์ พัสดุ

ที่อยู่ บริษัท พี-วัฒน์ 2016 จำกัด เลขที่ 889 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 20220

สอบถามอื่นๆ

📞 086-359-1411

หรือ 086-328-7916


โรงกลึงพี-วัฒน์ให้บริการด้านนวัตกรรมและโซลูชันอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน

✔ ผลิตชิ้นงานตามแบบ ชิ้นส่วนอะไหล่อุตสาหกรรม

✔ เครื่องจักรกลและชิ้นส่วนโรบอท

✔ ชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่แต่งรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค

✔ งานเชื่อมตามแบบ

✔ จิ๊กและฟิกซ์เจอร์

เทรนด์ “รักษ์โลก” ส่องความเคลื่อนไหวบริษัทยักษ์ใหญ่ริเริ่มอะไรกันแล้วบ้าง

รักษ์โลก

จากที่เราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง “มลพิษทางอากาศ” เรื่อยจนมาถึง “พลังงานหมุนเวียน” ผ่านเนื้อหาล่าสุดที่นำเสนอให้ได้อัพเดตกันในช่วงก่อนหน้านี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะพอนึกภาพตามได้ว่ามีอะไรที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เรื่องของมลภาวะอันไม่พึงประสงค์ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ซึ่งที่กล่าวมานี้ นอกจากกรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทั้งหลายแหล่ เรื่องที่เราเคยพูดถึงไปอย่างระบบ AI ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเทรนด์ “รักษ์โลก” ซึ่งภายในเนื้อหาวันนี้ก็จะมีตัวอย่างยกให้เห็นกันแบบชัด ๆ เป็นโปรเจกต์ของแบรนด์ไอทีพี่เบิ้มระดับโลก อย่าง “ไมโครซอฟต์” ที่ปลุกปั้นกันมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า
มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

แต่ถ้าใครยังเห็นภาพไม่ชัดจริง ๆ ว่าเทรนด์นี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง จะมีการตื่นตัวมากน้อยแค่ไหนในระดับโลก รวมถึงมียักษ์ใหญ่แบรนด์ใดที่เริ่มทำบางสิ่งบางอย่างกับธุรกิจของพวกเขา ไปพร้อม ๆ กับการดูแลโลกของพวกเราทุกคน บางทีเนื้อหาด้านล่างนี้อาจจะช่วยให้คุณได้สิ่งต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ติดตามผ่านเนื้อหาทั้งหมดนี้ได้เลย..

รักษ์โลก

“พลังงานหมุนเวียน” กับ สองลูกรักของคนดัง “อีลอน มัสก์”

สำหรับใครที่เคยได้ยินข่าวของ อีลอน มัสก์ หนึ่งในสุดยอดนักธุรกิจที่เก่งกาจเรื่องวิศวกรรมเป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์ตัวยง 

เจ้าแห่งอาณาจักร “SpaceX” และ “Tesla Motors” ถือเป็นคนดังในวงการอุตสาหกรรมที่ตื่นตัวกับสิ่งเหล่านี้เป็นคนแรก ๆ จะเห็นได้จากการเลือกใช้วัสดุเพื่อผลิตจรวดของสเปซเอ็กซ์ก็ดี หรือจะเป็นชิ้นสวนยานยนต์ รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่บอกลาน้ำมันอันเป็นพลังงานสิ้นเปลืองของเทสล่า ทั้งสองสิ่งล้วนพิสูจน์ได้ดีว่าเทรนด์เหล่านี้ไม่ได้มาเล่น ๆ แน่นอน

เรื่องของความ “รักษ์โลก” พอจะมีแทรกซึมอยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้ยกอีกตัวอย่างยักษ์ใหญ่ที่เอาจริงเอาจังด้านสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่า “ไมโครซอฟต์” นั้นจะเด่นชัดสุด ซึ่งคุณสามารถพิจารณด้วยตัวเองได้จากเนื้อหานับแต่บรรทัดนี้เป็นต้นไป..

“AI for Earth” เกิดมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ จาก “ไมโครซอฟต์”

อย่างที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องของ AI (Artificial Intelligence) ไม่ได้มีส่วนแค่การเข้ามาช่วยให้การทำงานภายในอุตสาหกรรมง่ายและทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถใช้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนอย่างที่ ไมโครซอฟต์ ทำกับสุดยอดโปรเจกต์นี้

สำหรับ “AI for Earth” ถูกปลุกปั้นมาตั้งแต่ปี 2017 จุดมุ่งหมายนั้นเน้นไปที่เรื่องของการนำนวัตกรรม AI และคลาวด์ของพวกเขามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ

รักษ์โลก
ไมโครซอฟต์ จริงจังมากแค่ไหนเรื่องรักษ์โลก?

ความเอาจริงเอาจังของยักษ์ใหญ่ด้านไอที หากนับจนถึงปัจจุบันแล้ว กว่า 236 โครงการใน 63 ประเทศทั่วโลก โดยมีแพลตฟอร์มชื่อ “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” เป็นคีย์แมนในการรวบรวมข้อมูล พวกเขาได้มีการพิจารณาและมอบทุนให้กับโครงการวิจัยเชิงสิ่งแวดล้อม 4 ด้ายหลักใหญ่ ได้แก่

  • เกษตรกรรม
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
  • ทรัพยากรน้ำ

ด้วยพลังด้านเงินทุนและความตั้งใจริ่เริ่มของ ไมโครซอฟต์ ได้รับการสานต่อจากสถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยมีหนึ่งทีมวิจัยที่โดดเด่น คือ องค์กรการกุศลที่ชื่อว่า “Sustainable Coastlines”

Sustainable Coastlines คือใคร และบทบาทสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

Sustainable Coastlines คือ องค์กรไอดอลด้านรักษ์โลกจากประเทศนิวซีแลนด์ ที่สำคัญยังเป็นองค์กรการกุศลอีกด้วย พวกเขามีบทบาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในท้องทะเลมากว่า 10 ปีแล้ว หากเป็นก่อนหน้านี้เรื่องดังกล่าวคงต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยการเข้ามาของ AI ทำให้พวกเขากำเนิดโซลูชั่นที่ช่วยให้หลายภาคส่วนเข้าถึงปริมาณที่ถูกต้อง รวมถึงเข้าใจสถานการณ์ที่เกิด ตลอดจนถึงแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขยะในอนาคต (โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็พยายามศึกษาโปรเจกต์และกระบวนการทางวิศวกรรมต่าง ๆ ขององค์กรนี้อยู่เรื่อย ๆ เพื่อพยายามจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงกลึงของเราในพาร์ทของโซลูชั่นกำจัดของเสียเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม)

จากมันสมอง “นักคิดทั่วโลก” สู่ผลงานที่เป็นจริงด้วย “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์”

มาถึงตรงนี้ต้องขอประทานอภัยด้วยที่เปิดตัว “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” ช้าไปเสียหน่อย ซึ่งนี่ก็คือชื่อของบริการ “คลาวด์” ที่หลายคนน่าจะรู้จักและใช้ไปกับธุรกิจสตาร์ทอัพเสียมากกว่า แต่กับโปรเจกต์ “AI for Earth” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าสิ่งนี้ทำประโยชน์เพื่อโลกใบนี้ได้มากกว่าแค่เรื่องธุรกิจ

จากทีม Sustainable Coastlines ที่ดูแลเรื่องท้องทะเล หรือจะเป็น Wild Me องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ปกป้องติดตามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งบางชนิดมีผลต่อระบบนิเวศน์โดยตรง ก็สามารถใช้ AI และข้อมูลจากคลาวด์เพื่อติดตาม ระบุตัวตนได้อย่างแม่นยำ

รักษ์โลก

เรื่อยจนมาถึงเรื่องของการเกษตร ผลงานอันโดดเด่นเห็นชัดสุดเป็นของ FarmBeats ที่ปรับใช้ด้วยการเลือกเอาอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ ใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งความละเอียดนั้นบ่งบอกได้ครบถ้วนทุกกระบวนการ ไล่ตั้งแต่ การตรวจวัดความชื้น สาอาหารต่าง ๆ อุณหภูมิหน้าดิน ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลของสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ 

ก่อนจะนำทุกอย่างมาวิเคราะห์ สรุปออกมาได้เป็นคำแนะนำช่วยให้เกษตรกรสามาถวางแผนการเพาะปลูก ตลอดจนการกะระยะเวลาวางแผนเก็บเกี่ยวได้เหมาะสมเพื่อผลผลิตที่ดีที่สุดซึ่งล้วนได้มาความอัจฉริยะของการประมวลของระบบ AI อย่างแม่นยำ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งตอกย้ำว่าเทรนด์ “รักษ์โลก” ต้องควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมแขนงใดก็ตาม เพราะขนาดที่ว่าสองบริษัทที่มีมีมูลค่าสูงระดับท็อปของโลกยังให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากถึงเพียงนี้ ก็แทบจะไม่มีเหตุผลอะไรแล้วที่พวกเราจะไม่ดำเนินรอยตาม..

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า

พลังงานหมุนเวียน

มลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งผลเสียต่อโลกของเราหนักหน่วงกว่าที่คาดเอาไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในร้ายก็ยังมีดีอยู่เสมอ.. เมื่อสาเหตุดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญให้ประชากรทั่วโลกหันมาตระหนักในเรื่องของมลพิษ รวมถึงข้อจำกัดที่มีของพลังงานดั้งเดิม อย่างพลังงานฟอซซิล (Fossil Fuel) ทำให้อุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานโดยตรง ต่างมีจุดหมายใหม่ในเส้นทางของการใช้พลังงานในอนาคตที่ตรงกัน ซึ่ง “พลังงานหมุนเวียน” คือเรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้!

พลังงานหมุนเวียน คืออะไร ?

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานต่าง ๆ จากแหล่งที่เราสามารถนำมาใช้ได้แบบไม่มีวันหมด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะหากเทียบกับพลังงานแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานมนาน ข้อหลังนี้ถือเป็นข้อดีแสนสำคัญยิ่งกว่าความอมตะนิรันดร์กาลของพลังงานนี้ด้วยซ้ำ

พลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียน สำคัญอย่างไร ?

เอาเป็นว่าแค่การที่ใช้ได้แบบไม่มีวันหมดแค่อย่างเดียว ก็น่าจะบ่งบอกถึงความสำคัญในตัวเองของสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี และอย่างที่ได้บอกไปว่าทุกประเภทของพลังงานหมุนเวียนนั้นหากพูดถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม แทบจะส่งผลน้อยนิดมากเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าจะเข้ามาแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองในอนาคตอันใกล้นี้

หากมีการปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เห็นผลจากคุณภาพชีวิตขอประชากรโลกและสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นเทรนด์พลังงานหลักในไม่ช้า ชนิดที่ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมธุรกิจขนาดใด องค์กรต่าง ๆ หรือรัฐบาลไหนก็ไม่อาจปฏิเสธสิ่งนี้ได้เลย

อุตสาหกรรม “พลังงานหมุนเวียน” มีขนาดใหญ่มากแค่ไหน ?

อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกนั้นโตขึ้นอย่างมาย ในอัตราที่รวดเร็วในปีที่ผ่านมา คิดเป็นอัตราเฉลี่ยแล้วเร็วที่สุดนับแต่ปี 1999 กันเลยทีเดียว นำทัพด้วย “พลังงานลม” และ “พลังงานแสงอาทิตย์” โดยสองสิ่งนี้กระตุ้นอัตรากำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้นมากถึง 45% ตัวเลขนี้เป็นการเก็บสถิติรวมจากทวีปยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน

พลังงานหมุนเวียน

5 ประเภทหลักของ พลังงานหมุนเวียน

โดยทั่วไปพลังงานหมุนเวียนแต่ละอย่างนั้นมีหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย ทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนโดยตรง สำหรับพลังงานทางเลือกที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ โดยแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

1. พลังงานแสงอาทิตย์

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีหากเราพูดถึง “โซลาร์เซลล์” ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพลังงานธรรมชาติแรก ๆ ที่ทุกคนน่าจะนึกถึงจากแสงแดดอันเจิดจ้าที่พร้อมทักทายเราในทุกวัน และก็แน่นอนว่าพลังงานได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก

โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยี IoT เพื่อใช้ในกระบวนการที่สนับสนุนส่วนของการผลิต เป้าหมายคือเพื่อประหยัดพลังงาน สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่าที่ทำได้ ช่วยลดต้นทุน และที่สำคัญต้องยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้อยู่ในระดับเดิม

แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากนับเรื่องของอัตราการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงอันดับ 3 เท่านั้น

2. พลังงานลม

เรียกได้ว่าเก่าแก่และได้รับความนิยมไม่แพ้กับประเภทแรกกันเลย เป็นเวลาหลายศตวรรษที่พวกเราใช้พลังงานลมในรูปแบบของการแล่นเรือใบและกังหันลม โดยปัจจุบันแล้วส่วนใหญ่หันมาใช้ลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมนั่นเอง

เมื่อปี 2019 มีการเก็บสถิติกำลังการผลิตพลังงานลม มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 24% ซึ่งก็ทำได้สูงกว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำได้อยู่ 20% ของกำลังการผลิตพลังงานทั่วโลก

3. พลังงานความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นตัวอย่างของการใช้ในอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานหมุนเวียนอีกประเภทนึงที่ผลิตได้มาก 

พื้นดินใต้เท้าของเรามีพลังงานจำนวนไม่จำกัด เป็นผลมาจากพื้นผิวที่ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกลงไปในพื้นโลก ซึ่งความนิยมหลัก ๆ มาจากการเลือกใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

4. พลังงานน้ำ

“กังหันน้ำ” เป็นเทคโนโลยีที่มาก่อนกาลมาก ๆ เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้ในรูปแบบที่ยังคงมีพื้นฐานมาจากความคิดตั้งต้น โดยใช้พลังงานน้ำในการเคลื่อนที่เพื่อก่อให้เกิดพลังงาน ก่อนจะปรับใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

สามประเทศที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำมากที่สุดในโลก เป็นสถิติที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2018 ได้แก่ จีน (352,261 เมกะวัตต์), บราซิล (104,195 เมกะวัตต์) และสหรัฐอเมริกา (103,109 เมกะวัตต์)

5. พลังงานชีวภาพ

พลังงานชีวภาพ หรือ พลังงานชีวมวล คือการใช้อินทรียวัตถุเพื่อการใช้พลังงานที่หลากหลาย อาทิ ไม้, พืชผล, ขยะในสวน รวมถึง ของเสียจากสัตว์และมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่นการใช้ไม้หากต้องการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

แต่สำหรับพลังงานนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อย เนื่องจากยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายด้านที่อาจต้องนำมาประกอบการพิจารณาในอนาคต แต่หากพูดถึงประโยชน์ที่ได้รับในตอนนี้และเทียบกับพลังงานสิ้นเปลือง พลังงานชีวภาพ อยู่ในระดับที่จิ๊บจ๊อยกว่ามากทีเดียว

พลังงานหมุนเวียน

แนวโน้มพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย และการปรับใช้ในอุตสาหกรรม

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จับมือกับ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน จัดงานสัมนา AEDP (Alternative Energy Development Plan) ภาคประชาชน เพื่อนำเสนอปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนาพลังงานที่จะเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ยังดำเนินไปพร้อมกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้เชื่อเหลือเกินว่าพวกเรากำลังเดินทางเข้าใกล้กับยุคแห่งการใช้พลังงานหมุนเวียนขับเคลื่อนเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสม แม้จะดูเหมือนว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ หากเกิดเป็นเทรนด์ของโลกเมื่อไหร่จะสร้างประโยชน์มากมายให้แก่ “อุตสาหกรรมการผลิต” และ “สิ่งแวดล้อม” อย่างมากแน่นอน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลความรุ้ดี ๆ สำหรับเรื่องของ “พลังงานหมุนเวียน” 

https://www.clean-energy-ideas.com/energy/renewable-energy/the-5-main-types-of-renewable-energy/
https://www.nrdc.org/stories/renewable-energy-clean-facts

มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

มลพิษทางอากาศ

ยังฟังแล้วรู้สึกคุ้น ๆ กันอยู่บ้างมั้ย.. กับคำว่า “PM 2.5”

เผื่อใครที่อาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง เนื่องจากช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาโดนพิษการระบาดของ โควิด-19 ที่ทำตัวหิวแสงกว่าใคร แย่งสปอตไลท์ไปส่องที่ตัวมันเองเสียหมด จนกดเรื่องของ “มลพิษทางอากาศ” ให้ตกลงไปเล็กน้อย 

ทั้งที่ก่อนการมาของโคโรน่าไวรัสนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่แผ่ไกลไปทั่วโลก โดยมีประเทศตัวอย่าง อาทิ จีน นำทัพโดย เซี่ยงไฮ้ นิวเดลี ของ อินเดีย แย่ที่สุดเป็น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีค่าเฉลี่ยอาการเป็นพิษมากที่สุดในโลก ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ส่ง กรุงเทพฯ และ เชียงใหม่ สองเมืองใหญ่เข้าประกวด

เรียกได้ว่าประเทศไทย การใส่หน้ากากใช้ชีวิตประจำวันนั้นมาก่อนกาล หน้ากากที่ไม่ได้มีแค่เพียงหน้ากากอนามัย มีอีกหลายแบบที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะถ้ามีคุณสมบัติป้องกัน PM 2.5 ก็จะขายดีเป็นพิเศษ 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้นมาจากปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมีเรื่องของ “อุตสาหกรรม” ที่หลายแขนงหลายแห่งก่อนหน้านี้มุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจ จนลืมฉุกคิดไปว่าวันแย่ ๆ ที่หลายสถานที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่นี้จะเดินทางมาถึง และกลายเป็นหนึ่งวาระที่ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องเดินหน้าศึกษาค้นคว้า สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดสิ่งนี้น้อยที่สุดแล้วด้วยซ้ำ

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ เลวร้ายแค่ไหนในปัจจุบัน ?

คุณเชื่อมั้ยว่า อัตราการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่มีผลมาจากมลพิษทางอากาศทั้งทางตรง ทางอ้อมมีมากถึง 4.2 ล้านคนต่อปี! และยังไม่หมดแค่นั้น.. มีผู้คนอีกมากมายเกินกว่า 91% ของประชากรโลกต้องอาศัยอยู่ในสถานที่ที่คุณภาพอากาศนั้นเกินขีดจำกัดมาตรฐานบนแนวทางของ WHO ที่ไม่ได้แปลว่าใคร.. แต่หมายถึงองค์กรอนามัยโลก ผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติอันสุดจัดของความเลวร้ายของมลพิษทางอากาศที่คนทั่วโลกต้องทนอยู่กับมันในเวลานี้

จากที่ได้เกริ่นเอาไว้ช่วงต้น ที่เราได้บอกว่าตอนนี้ผลแห่งการกระทำจากภาคอุตสาหกรรมทั้งหลาย ที่แม้จะรังสรรค์คุณงามความดีเอาไว้มากมาย ช่วยเปลี่ยนโลกด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับเครื่องจักรที่เนรมิตหลายสิ่งอย่างที่เป็นไปได้ยากในยุคก่อน แต่ก็ต้องไม่ลืมว่านี่ก็เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเกินคนานับเช่นกัน

แนวทางการแก้ปัญหา มลพิษทางอากาศ..

ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้คนมากมายเริ่มตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ รวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์เช่นกันที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังมาโดยตลอด และนับว่าเป็นความโชคดีต่อมวลมนุษยชาติที่มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ทำงานเพื่อปกป้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แถมองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ริเริ่มที่จะทำงานภายใต้ข้อจำกัดด้านสุขภาพและการควบคุมมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตหลัก ๆ ก็คือมนุษย์อย่างเรา ๆ จนเกิดเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ได้พัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อปัญหามลพิษทางอากาศและด้านอื่น ๆ เรียกว่าเป็นแสงสว่างแห่งปลายทางของเรื่องนี้เลยก็ว่าได้

มลพิษทางอากาศ

โครงการด้านสิ่งแวดล้อม “มลพิษทางอากาศ” ที่น่าสนใจ

1. เครื่องดูดฝุ่นมลพิษ (Pollution Vacuum Cleaner)

แนวคิดเครื่องดูดฝุ่นมลพิษ คือ การดูดสิ่งปนเปื้อนออกจากอากาศ พัฒนาโดยวิศวกรเครื่องกลชาวอินเดีย โดยหลักการทำงานของเจ้าเครื่องนี้จะดูดเอาสารมลพิษไปพร้อม ๆ กับอากาศก่อนที่จะปล่อยอากาศบริสุทธิ์แบบเพียว ๆ หลังจากผ่านทุกขั้นตอนการกรองโดยสมบูรณ์ ซึ่งเครื่องนี้สามารถใช้ติดตั้งใกล้กล่องปล่องไฟและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อลดควันในอากาศที่จะก่อตัวไปเป็นมลพิษ

2. เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากมลพิษ (Hydrogen Fuel from pollutants)

เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากอากาศ โดยในโครงการนี้นักเรียนนักศึกษาได้พัฒนาอุปกรณ์ฟอกอากาศจากการเจือปนของสารอินทรีย์ อุปกรณ์นี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะมีเมมเบรนบาง ๆ เพื่อดึงดูดสารปนเปื้อนและเอาอากาศบริสุทธิ์ออกมา ที่สำคัญไฮโดรเจนที่สกัดออกมาสามารถเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนในภายหลังอีกด้วย

3. AI สำหรับ มลพิษทางอากาศ (Air Pollution AI Framework)

เจ้าเครื่องนี้สามารถใช้เพื่อเป็นการคาดคะเนระดับหมอกควันเพื่อหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะเผชิญกับกรณีที่อาจมีการปนเปื้อนมากยิ่งขึ้น รังสรรค์โดยนักเรียนระดับไฮสคูลจากนิวยอร์ค โครงสร้างของอุปกรณ์นี้เป็นโครงการที่คาดการณ์จากระดับมลพิษทางอากาศ โดยใช้โครงข่ายปราสาทเทียม ความเจ๋งคือเครื่องมือที่ติดตั้ง AI ตัวนี้คาดการณ์ได้แม่นยำถึง 92%

4. ปืนป้องกันหมอกควัน (Anti-smog gun)

อันนี้เป็นคนละหลักกับการปล่อยรถฉีดน้ำเพื่อลดระดับฝุ่น PM 2.5 ของบางประเทศแถบนี้.. เจ้าปืนป้องกันหมอกควันถือเป็นหนึ่งวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหมอกควันหนาแน่น หลักการทำงานคือปืนจะพ่นไอระเหยขึ้นไปในอากาศเพื่อดูดซับสารพิษ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ก็ต้องบอกว่าตรงจุดและชะลออันตรายจากสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นช้าลงอีกหน่อย

5. แอร์อิงค์ (Air-Ink)

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์อันดับต้น ๆ ของโครงการเลย เราสามารถเชื่อมต่อ KAALINK (ชื่ออุปกรณ์) กับท่อไอเสียรถยนต์ เพื่อดึงหมึกออกจากควันเชื้อเพลิง ซึ่งเจ้าเครื่องนี้เคลมว่าดึงหมึก 30 มล. ภายใน 45 นาที ภายในระยะเวลาที่คุณขับรถ ส่วนหมึกที่ได้จากเครื่องนี้ก็ต้องถูกนำไปทำให้บริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อจะได้นำไปใช้งานต่อไป

สานต่อสิ่งดี ๆ เพื่อโลก สู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยื่น

มลพิษทางอากาศ

ในวันที่เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเต็มไปด้วยหมอกควันมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ยังมีสิ่งดี  ๆ ที่เกิดขึ้นจากการฟิวชั่นของความชาญฉลาดและรักษ์โลกของคนยุคปัจจบัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมากจากเว็บไซต์ EcoMENA โดยเป็นโครงการที่น่าสนใจเพื่อช่วยขจัดอันตรายของมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และหวังว่าหากนำมาใช้งานจริงจะช่วยลดมลพิษทางกาศให้เบาบางลงได้ตามที่คาดหวัง

อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อวงจรนี้ และแน่นอนรวมถึงโรงกลึงพี-วัฒน์ของเราด้วย เราจึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อส่งต่อปรัชญาด้านธุรกิจที่นอกจากจะเน้นย้ำเรื่องความเป็นมืออาชีพ นำเสนอชิ้นงาน การบริการด้วยมาตรฐานระดับสากล เรื่องความการ “รักษ์โลก” เป็นอีกสิ่งนึงที่ทำควบคู่มาโดยตลอดอยู่เสมอ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ มา ณ ที่นี้ :

https://www.ecomena.org/environmental-impacts-of-industrialization

https://www.plt.org/educator-tips/science-projects-pollution

https://www.weforum.org/agenda/2017/02/the-best-and-worst-countries-for-air-pollution-and-electricity-use

ทำความรู้จัก Beacon หนึ่งใน IoT น่าสนใจ ที่มูลค่าตลาดอาจสูงระดับหมื่นล้าน!

Beacon

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดีหากเราเอ่ยถึง GPS แต่สำหรับ Beacon (บีคอน) อาจมีเลิ่กลั่กกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีบนหมวด IoT (Internet of Things) และเมื่อมีการกล่าวถึงจำพวกนี้ สิ่งที่คุณจะได้รับจากพวกเขาเหล่านี้คือการยกระดับธุรกิจในยุคของเทคโนโลยีแน่นอน

คำถามคือ.. ทำไมวันนี้เราถึงอยากจะนำเรื่องนี้มาบอกเล่าแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน เพราะอันที่จริงแล้วสถานะของ Beacon ในปัจจุบันนั้นมีอิทธิพลกับสองอุตสาหกรรมที่ได้รับคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้มากที่สุด คือ “การค้าปลีก” และ “การตลาด”

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ข้อมูลล่าสุดจาก Global Market Insights ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดของ “Beacon” จะเติบโตเกิน “สองหมื่นห้าพันล้าน” ในปี 2025 แล้วหน่วยเงินที่ว่านี่หมายถึง “ดอลลาร์สหรัฐ” มันทำให้เราไม่อาจจะมองข้ามได้จริง ๆ 

ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักหรือเคยได้ยินแค่คร่าว ๆ อยากรู้แล้วว่าสิ่งนี้คืออะไร มีบทบาทอะไรต่อธุรกิจได้บ้าง.. เรามาเริ่มกันเลยนับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป!

Beacon คืออะไร ?

อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้น Beacon นั้นเป็นหนึ่งในจำพวกเทคโนโลยี IoT ส่วนหลักการทำงานของสิ่งนี้นั้นจะมีความคล้ายเทคโนลียี RFID แต่จะแตกต่างกันตรงที่ RFID จะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ ส่วน Beacon นั้นสัญญาณหลักของตัวอุปกรณ์คือการใช้ บลูทูธ (Bluetooth) โดยทั้งสองสิ่งนี้นั้นมีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นก็เพื่อการใช้งานในที่ที่ GPS นั้นเข้าไม่ถึง หรือไม่สมารถระบุตำแหน่งได้อย่างแน่ชัด เช่น ห้างร้าน อาคารต่าง ๆ เป็นต้น

Beacon

หลักการทำงานและประเภทของ Beacon

หลักของ Beacon หัวใจคือการกำหนดตำแหน่งพื้นที่ภายในและภายนอกในระยะใกล้ ร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ของ IoT กล่าวคือสิ่งนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด ใช้เพื่อตรวจจับการมีอยู่ของมนุษย์ในบริเวณใกล้เคียง หรือสิ่งของก็ได้เช่นกัน เช่น อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจติดไว้ที่เครื่อง CNC ภายในพื้นที่การผลิตของโรงกลึง เพื่อกำหนดตำแหน่งของ asset นั่นๆ จากนั้นเพื่อใช้ประโยชน์ต่อในด้านการส่งข้อมูลที่เราได้กำหนดเอาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อมอบสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของคุณ นั่นหมายถึง Beacon ต้องทำงานร่วมกับระบบหลังบ้านที่สามารถกำหนดตั้งค่าใด ๆ ได้ เสมือนแอพลิเคชั่นนึงนั่นเอง

แล้วเจ้า Beacon นี้ทำงานอย่างไร ?

Beacon ทำงานร่วมกับระบบแอพลิเคชั่นหลังบ้าน แต่เราจะขอข้ามในส่วนของการกำหนดค่าด้วยซอฟต์แวร์เอนจิเนียร์ไปก่อน เพราะมันจะลงลึกในเชิงของการพัฒนาโปรแกรมมิ่งจนเกินไป การตั้งค่าในส่วนนี้ต้องใช้ความชำนาญรวมถึงข้อมูลธุรกิจที่แตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรม แต่โดยหลักแล้วกระบวนการและปลายทางต่างต้องการผลลัพธ์จากสิ่งนี้เหมือนกันแทบทั้งหมด

ส่วนการทำงานจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ เพื่อให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ณ จุดดังกล่าวเป็นคนตัดสินใจขั้นตอนสุดท้ายว่าจะรับการแจ้งเตือนจากสิ่งนี้หรือไม่ แต่ปัญหาที่พบโดยมาก ยังมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่น้อยเลยที่ไม่ได้เปิดบลูทูธตลอดเวลา 

ดังนั้น ชาเลนจน์ของผู้พัฒนาคือการบอกเล่าสิ่งที่น่าสนใจ รวมถึงประสบการณ์เต็มรูปแบบที่จะได้รับจากการเปิดใช้งานแจ้งเตือนของ Beacon ซึ่งก็เป็นด่านแรกที่จำเป็นต้องกระตุ้นเพื่อขอให้ผู้ใช้งานเปิดบลูทูธ และยังเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดหากต้องใช้สอยประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ

Beacon

ประเภทของ Beacon ณ ปัจจุบัน

Beacon นั้นมีมากหมายหลายประเภท รวมถึงขนาดต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจ เลือกได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

  • แบบมาตรฐาน เป็นแบบระยะใกล้ใช้สำหรับติดตามในตัวอาคาร โดยอุปกรณ์จะมีขนาดพอ ๆ กับ เราเตอร์ Wi-Fi อาจเล็กหรือใหญ่กว่านิดหน่อย
  • แบบพกพา / ขนาดเล็ก ใช้สำหรับติดตามสิ่งของโดยส่วนใหญ่ รวมถึงใช้เป็นเซนเซอร์วัดระยะความใกล้ชิดของคนรวมถึงสิ่งของ มีขนาดประมาณบัตรเครดิต
  • แบบ USB ขนาดเล็กลงไปอีก ใช้สำหรับการติดตามทรัพย์สินเช่นกัน แต่ด้วยขนาดและการออกแบบทำให้ปรับใช้ได้สะดวกขึ้น พกพาง่าย หยิบจับใช้งานได้เร็ว
  • แบบวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เสียบด้านหลังหน้าจอ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพตามบริบทต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการจัดแสดงภาพ หรือ ข้อมูลสินค้าแบบภาพเคลื่อนไหว
  • แบบสัญญาณ AI อุปกรณ์นี้มีความสามารถในการเรียนรู้สูงจะช่วยจับการเคลื่อนไหวท่าทางต่างของทุกสิ่งที่ต้องการได้
  • แบบสติกเกอร์ อีกหนึ่งแบบที่ใช้สำหรับติดตามทรัพย์สิน สามารถออกแบบได้ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ต้องการ
  • แบบเฉพาะ ออกแบบเฉพาะสำหรับสถานที่รวมถึงการใช้งานตามต้องการ มักใช้การติดตามภายนอก มีการใช้วัสดุที่มีความทนทานสูง เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อเทคโนโลยี
  • Parent Beacon ใช้เพื่อติดตามอุปกรณ์ Beacon อื่น ๆ อีกที และสำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเก็บเอาไว้ในคลาวด์เซิฟเวอร์ รวมถึงปัจจัยอื่น

ทุกประเภทที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ มีการปรับ มีการประยุกต์อยู่เสมอ และคาดว่าจะมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคตต่อไป เพื่อให้เข้ากับธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้มีทางเลือกการใช้งานมากยิ่งขึ้น

Beacon

ทิศทางของ Beacon เทคโนโลยี ในอนาคต

อย่างที่ย้ำอยู่เสมอว่า Beacon นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย IoT ในยุคที่ “สมาร์ทโฟน” เปรียบเสมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย นวัตกรรมที่ถูกเรียกว่า “Beacon เทคโนโลยี” ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้อย่างน่าตื่นเต้น จากที่เคยถูกคาดการณ์เอาไว้เมื่อปี 2015 ว่าสิ่งนี้จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สุดท้ายแล้วถูกพิสูจน์ด้วยกาลเวลาว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจได้จริง 

รวมถึงความน่าสนใจที่เราได้กล่าวไว้ช่วงต้นว่าตลาดของ Beacon นั้นอาจสูงถึงระดับแตะหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 หากมองจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน อีกแค่ 4 ปี เท่านั้นก็จะได้รู้กันแล้วว่าเทคโนโลยีนี้จะมีมูลค่ามหาศาลอย่างที่กล่าวจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้ระหว่างทางทั้งกับผู้พัฒนาและผู้ใช้ เต็มไปด้วยประโยชน์นานัปการอย่างที่หลายธุรกิจ หลายอุตสาหกรรมคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้

สำหรับแวดวงอุตสาหกรรมโรงงานเองก็ต้องติดตามเทคโนโลยีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นประโยชน์มากกับการพัฒนากระบวนการทางวิศวกรรม เพื่อพัฒนาปรับปรุงจากกระบวนการเดิมให้ทันสมัย และช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าเดิม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคและสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้เช่นกัน นับว่าต้องจับตาดูกันเลยที่เดียวว่าจะมี Beacon อะไรใหม่ๆ ออกมาในตลาดบ้านเราและมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจ …เริ่มก่อน สำเร็จก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาดี ๆ จาก https://www.intellectsoft.net/blog/what-are-beacons-and-how-do-they-work 

RPA คืออะไร ? ตัวช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพหลังบ้านกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน

RPA คืออะไร

ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 แบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำถามที่ว่า RPA คืออะไร เป็นสิ่งที่ได้ยินอยู่เสมอในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ในภาคของการผลิตได้ยกระดับความก้าวหน้าให้อุตสาหกรรมโรงงาน ณ ปัจจุบันขณะอย่างเห็นได้ชัดเจน จากกระบวนการนี้ได้ใช้สอยประโยชน์จากหุ่นยนต์ ทั้งเพื่อการทดสอบก็ดี การใช้งานจริงก็ดี ซึ่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้ก็ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานสายการผลิตได้เป็นอย่างดี กลายเป็นมาตรฐานที่โรงงานทั่วโลกนั้นเลือกใช้

อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าข้อมูลยังมีบางภาคส่วนต้องเจอกับความยากลำบากในการจัดการปัญหา “หลังบ้าน” ปัญหาที่ว่านี้เป็นเรื่องของการเก็บข้อมูล รักษากระบวนการในการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบ ซึ่งหากจัดการได้ดีจะส่งผลดีอย่างมากต่อธุรกิจ

โดยส่วนใหญ่แล้วจุดสังเกตที่พบเห็นได้บ่อยมาจากขาดความชำนาญการ ระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ค่อนข้างล้าสมัย กระทบถึงกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลามากเกินความจำเป็น ณ จุดนี้ จึงเป็นที่มาของตัวเอกอย่าง เทคโนโลยี RPA

RPA คืออะไร

RPA คืออะไร ส่งผลต่อกระบวนการใดของโรงงานอุตสาหกรรม ?

RPA คืออะไร น่ะหรือ ??? RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลของฝั่ง IT ซึ่งระบบข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้กัน

หากรันวงการด้วย RPA ที่เปรียบเสมือนหุ่นยนต์ในระบบสายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรันแบบอัตโนมัติ การผลิตซ้ำชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้หากเป็นการทำ Rule-based โดยมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งของเรื่องความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม แต่จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับสิ่งนี้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากธุรกิจของคุณแน่นอน

แน่นอนว่าในสายการของการผลิต CNC ถือเป็นคีย์แมนของกระบวนการนั้น ส่วนทางด้านของ RPA ก็กล่าวได้ว่าเป็นจอมทัพด้านข้อมูลเมื่อถูกติดตั้งกับระบบหลังบ้านในธุรกิจของคุณ หากมีการประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะยกระดับให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของคุณได้แบบก้าวกระโดด

การใช้งาน RPA ในโรงงานอุตสาหกรรม

จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า RPA นั้นถึงจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า “หุ่นยนต์” แต่นิยามของสิ่งนี้เป็นในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ที่เที่ยงตรง ซึ่งอยู่ในกระบวนการของซอฟต์แวร์ ดูแลอยู่ในโลกของดิจิทัลเป็นหลักเสียมากกว่า พอพูดแบบนี้ก็น่าจะเห็นภาพแตกต่างกับเหล่าบรรดาหุ่นยนต์ในสายการผลิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดทรัพยากรแรงงานรวมถึงความผิดพลาดต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นในมนุษย์ เพิ่มความสามารถด้านระบบการจัดการซัพพลายเชน ให้มีความทันโลกไม่หลงยุคสมัย และที่มั่นใจได้เลยแน่นอนคือ RPA จะเข้ามายกระดับขององค์กรในส่วนของพนักงานออฟฟิศ ตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมทุกข้อมูล 100%

NOTE: โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังจับตาดูกระแสทั้งในเรื่อง RPA และ iOT อย่างจริงจั งเพื่อลงทุนนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งานในออฟฟิศ ยิ่งในสถานการณ์ที่ออฟฟิศหลังบ้านยังคงต้อง WFH ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาด RPA ยิ่งจะช่วยตอบโจทย์ให้โรงกลึงของเรายังคงดำเนินการทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านได้อย่างมีเสถียรภาพ

ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ที่สามารถนำ RPA มาใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้

RPA คืออะไร
ออกบิลสำหรับวัสดุ (BOM)

สำหรับการออกบิลสำหรับวัสดุ (Bill of Material) ถือเป็นเอกสารสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ ลองจินตนาการเปรียบเทียบดูว่า หากเราต้องนั่งคีย์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวัสดุของโรงงาน ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน.. 

แต่สำหรับ RPA แล้ว นอกจากเรื่องของการทำซ้ำจะเป็นจุดเด่นแล้ว ความแม่นยำของข้อมูลก็เป็นเลิศ กลายเป็นว่าไม่เพียงแค่ลดความเสียหายขององค์กร ทั้งยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งผลก็มาจากการคาดคำนวนผ่านระบบของซอฟต์แวร์นั่นเอง

รายงานด้านข้อมูล (Administration)

การรายงานด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเหมือนกันสำหรับกระบวนการทำธุรกิจ การหยิบใช้ RPA ในส่วนงานของ “แอดมิน” จะทำให้เข้าถึงทุกข้อมูล ทุกรายงาน ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่อยู่ในธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณบริหารธุรกิจได้สอดคล้องกับรายงาน ทำให้การตัดสินที่จะจัดการในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้น

ลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ทั้ง ๆ ที่คำนิยามในเรื่องของ “หุ่นยนต์” แต่กลับเกี่ยวเนื่องกับการทำ CRM (Customer Relationship Management) อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องขอบคุณในความแม่นยำของข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้อย่างครบถ้วนภายในธุรกิจของคุณโดยเทคโนโลยี RPA ไม่มีข้อแม้ทั้งในเรื่องของติดตามสินค้า การวิจารณ์เกี่ยวกับตัวโปรดักต์ จนไปถึงเรื่อง ๆ อื่น ที่ใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อสนับนุนลูกค้าของธุรกิจคุณ หรือจะเป็นในเรื่องของการแก้ไขสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง พร้อมให้คุณรับทราบได้อย่างทันท่วงที

บริหารระบบขนส่ง (Logistics)

การจัดการบริหารระบบขนส่งภายในธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งในงานหินของอุตสาหกรรมแขนงนี้ กระบวนการที่มีความหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลอันแสนซับซ้อน บอกเลยว่า RPA นั้นยินดีอย่างมากในการช่วยเหลือ การผสานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ตลอด ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่คุณจะได้คือศักยภาพในการส่งขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

ทั้งในรายงานทางเลือกที่เหมาะสม ความคุ้มทุน การประกัน และสิ่งสำคัญอย่างระยะเวลาในการขนส่ง แถมยังสามารถติดตามการขนส่งได้แบบ Real-Time หลายขั้นตอน หลายประโยชน์ที่จะได้รับขนาดนี้ แล้วมันมีเหตุผลไหนที่จะทำให้คุณไม่เลือกใช้ RPA ล่ะ..

RPA คืออะไร

จัดการระบบข้อมูลด้วย RPA สู่ชิ้นงานคุณภาพในราคาที่เหมาะสม

การใช้งาน RPA เป็นซอฟต์แวร์ช่วยดำเนินธุรกิจ มีประโยชน์มากมายและช่วยยกระดับในทุกโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังที่กล่าวไปแล้ว ในส่วนของโรงกลึงพี-วัฒน์ เราก็ยังคงมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในเรื่องของความเอาใจใส่ในลูกค้า ความตรงต่อเวลา การมีระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงแบบนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในกระบวนการอื่นแล้ว ยังทำให้เราสามารถผลิตสินค้าด้วยวัสดุคุณภาพสูงภายใต้ราคาที่เหมาะสมได้อยู่เสมอตลอดระยะเวลาที่เปิดบริการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลคุณภาพ :

RPA Industry Reference (bluefishsolution.com)

How RPA can be utilized in Manufacturing Sector – PLM,ERP,IIoT – Neel SMARTEC Consulting

RPA for the Manufacturing Industry – Manufacturing Automation | UiPath