รักษ์โลกแบบยั่งยืน ทำความรู้จัก พลังงานทางเลือก ที่วันนี้ต้องเลือกได้แล้ว !

พลังงานทางเลือก

เราจะสังเกตเห็นได้ว่าสภาวะแวดล้อมของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก เริ่มต้นจากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิความร้อนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนน่ากลัว อย่างประเทศไทยของเราหรือประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกเส้นศูนย์สูตรเดียวกัน ปีนี้ก็เจอความร้อนระอุระดับ 45-50 องศาเซลเซียสกันก็มีมาแล้ว และมีผลกระทบในวงกว้างไปจนถึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ หรือน้ำท่วม รวมไปถึงการสูญพันธุ์ของสัตว์ต่าง ๆ ที่ปรับตัวไม่ทัน ทำให้หลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญกับ พลังงานทดแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็น พลังงานทางเลือก กันเพิ่มมากขึ้น เพราะต่างมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่าจะสามารถช่วยทำให้โลกพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน และในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักพลังงานทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้แทนพลังงานหลักในปัจจุบันที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน เพื่อลดผลกระทบที่เริ่มรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ว่ามีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

พลังงานทางเลือก
Image by freepik

พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก ..ที่เราต้องเลือกกันได้แล้ว !!!

  1. พลังงานแสงอาทิตย์ : การใช้พลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน หรือภาคอุตสาหกรรม โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์เป็นตัวเปลี่ยนพลังงาน เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
  2. พลังงานลม : การใช้ลมเข้ามาช่วยในการผลิตไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาดอีกด้วย
  3. พลังงานน้ำ : น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานที่เราสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งจะอาศัยรูปแบบการเปลี่ยนแปลงพลังงาน โดยการนำน้ำจากในเขื่อนมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า
  4. พลังงาน BIOMASS (ชีวมวล) : เป็นพลังงานทางเลือกธรรมชาติ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากเศษจากกระบวนการผลิตทางการเกษตร หรือภาคอุตสาหกรรม เช่น ซากพืช ซากสัตว์ หรือก๊าซจากขยะต่าง ๆ จากนั้นนำมาผลิตเป็นพลังงานความร้อน หรือผลิตไฟฟ้า รวมไปถึงผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิงได้อีกด้วย
  5. พลังงานจากความร้อนใต้ดิน : การใช้ความร้อนจากใต้ดิน สามารถนำมาผลิตเพื่อทำประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นแหล่งความร้อนเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับชุมชน หรือนำมาใช้ประโยชน์กับภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น 
พลังงานทางเลือก
พลังงาน BIOMASS หรือชีวมวล Image by frimufilms on Freepik

การเลือกใช้ พลังงานทางเลือก มีความสำคัญต่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านมลพิษ หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็ตาม ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สามารถช่วยลดการเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสร้างสังคมที่ยั่งยืนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

พลังงานทางเลือก มีประโยชน์อย่างไร

นอกจากการนำพลังงานทางเลือกรูปแบบต่าง ๆ มาใช้เพื่อลดผลกระทบที่รุนแรงของสภาวะแวดล้อมแล้ว ก็ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ปัจจัยด้านสังคม ก็ตาม ดังนี้

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก : การใช้พลังงานทางเลือกสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งที่มีการสร้างมลพิษและปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เช่น น้ำมันหรือถ่านหิน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • ลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน : การใช้พลังงานทางเลือกสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงานลงได้ เนื่องจากแหล่งพลังงานทางเลือกจะมีต้นทุนในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาที่ต่ำกว่า
  • สร้างงานและเพิ่มการลงทุน : การลงทุนในพลังงานทางเลือกสามารถสร้างงานใหม่และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ หรือติดตั้งเครื่องกำเนิดพลังงานลม เป็นต้น
  • ลดความต้องการของพลังงานนิวเคลียร์ที่สูงขึ้น : การใช้พลังงานทางเลือกสามารถลดความต้องการในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ได้ดีขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเก็บรังสีนิวเคลียร์
  • สร้างความมั่นคงในการผลิตพลังงาน : การผลิตพลังงานจากแหล่งที่ไม่ใช่น้ำมัน หรือแก๊สธรรมชาติ สามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก อีกทั้งยังช่วยทำให้การจัดหาพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • สร้างเสถียรภาพเชิงเทคโนโลยี : การพัฒนาและใช้ พลังงานทางเลือก สามารถช่วยส่งเสริมการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น
พลังงานทางเลือก
Image by freepik

ข้อจำกัดของการใช้พลังงานทางเลือก มีอะไรบ้าง ?

แม้ว่าการใช้พลังงานทางเลือกจะมีประโยชน์มากมาย ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่างในการพิจารณาเลือกนำมาใช้งานด้วยเช่นกัน ดังนี้

  • ความเหมาะสมในบางพื้นที่ : พื้นที่ต่าง ๆ อาจจะมีความเหมาะสมที่จะใช้งานพลังงานทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น การใช้พลังงานลมในพื้นที่ ที่มีลมในปริมาณไม่มากพอ ก็อาจจะทำให้ไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควร เป็นต้น
  • ความเสี่ยงต่อสภาพอากาศ : พลังงานทางเลือกในบางแห่งจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นหลัก เช่น การใช้พลังงานน้ำ ที่อาจมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า หรือถ้าหากท้องฟ้ามืดครึ้ม ก็ทำให้มีแสงอาทิตย์ที่ไม่เพียงพอ เป็นต้น
  • ความผันผวนของการผลิต : บางแหล่งพลังงานทางเลือกมีความผันผวนต่อกระบวนการผลิตสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการจัดหาพลังงาน
  • ความต้องการของพื้นที่ : บางแหล่งพลังงานทางเลือกอาจต้องใช้พื้นที่มาก เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ หรือก่อสร้างเขื่อน เป็นต้น
  • ความยุ่งเหยิงในการบริหารจัดการ : บางรูปแบบของพลังงานทางเลือกอาจมีความซับซ้อนในการบริหารจัดการ เช่น การบริหารจัดการระบบจัดเก็บ หรือการจำหน่ายพลังงานที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์
  • ต้นทุนเริ่มต้นสูง : การลงทุนในพลังงานทางเลือกอาจมีต้นทุนเริ่มต้นที่สูงกว่าการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่มีการใช้งานมาแล้ว เช่น การสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานลม หรือแสงอาทิตย์
พลังงานทางเลือก
Image by HelloDavidPradoPerucha on Freepik

Keys Takeaway

แม้ว่าการเลือกใช้พลังงานทางเลือกจะมีประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมในหลายด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดอีกหลายประการที่ต้องคำนึงถึงอยู่ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ถ้าหากทุกหน่วยงาน ร่วมมือกันก็จะช่วยทำให้โลกของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือพลังงานทางเลือกจะเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยรักษ์โลกได้อย่างยั่งยืน และช่วยทำให้ในอนาคตมีพลังงานสะอาดในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

Cover Image : Image by freepik

รวมวิธี ประหยัดพลังงาน ในออฟฟิศ ทำได้ไม่ยาก คนละไม้ คนละมือ

ประหยัดพลังงาน

ออฟฟิศเป็นสถานที่รวมตัวของคนวัยทำงาน และแน่นอนว่าการทำงานในออฟฟิศย่อมมีการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้านานาชนิด ที่ส่งผลโดยตรงต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตามมาด้วยค่าไฟที่พุ่งสูงขึ้น หนีไม่พ้น.. ว่าผลที่ตามมาคือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในแง่ลบอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย ถ้าคุณที่เป็นเจ้าของโรงงาน โรงกลึง เจ้าของกิจการ หัวหน้างาน หรือแม้แต่พนักงานเองก็ตาม ซึ่งใครก็ได้ที่ตระหนักในเรื่องของการลดโลกร้อน การช่วยกัน ประหยัดพลังงาน มีใจสาณารณะที่อยากจะช่วยโลกให้น่าอยู่มากขึ้น การมาช่วยกันรณรงค์เพื่อการประหยัดพลังงานในออฟฟิศ หรือในที่ทำงาน นับเป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ ที่จะช่วยดูแลโลกของเราให้น่าอยู่มากขึ้น

และบทความนี้จะนำเสนอวิธีการประหยัดพลังงาน ซึ่งหากคุณเป็นเจ้าของกิจการหรือคนที่กำหนดนโยบายของบริษัทได้ คุณก็อาจจะนำไอเดียไปต่อยอดให้สอดคล้องกับนโยบายบริษัท แต่หากคุณเป็นพนักงาน คุณเองก็ช่วยเหลือได้ในจุดเล็ก ๆ คนละไม้คนละมือ เพื่อโลกของเรา

ประหยัดพลังงาน
Image by rawpixel.com on Freepik

7 วิธี ประหยัดพลังงาน ในออฟฟิศ เซฟค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

วิธีที่จะแนะนำเกี่ยวกับ ประหยัดพลังงาน จะเป็นวิธีที่เหมาะที่จะใช้ในออฟฟิศเป็นอย่างมาก และเชื่อเลยว่าหลาย ๆ คนอาจจะปล่อยปละละเลย หรือนึกไม่ถึงว่าสามารถทำตามวิธีเหล่านี้ได้ด้วย หรือหากใครที่ใช้กับที่บ้านเป็นประจำก็สามารถนำมาปรับใช้กับที่ออฟฟิศได้ เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาตามไปอ่านพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าว่า 7 วิธีในการประหยัดหลังงานหรือค่าไฟในออฟฟิศสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

1. ปิดสวิทซ์ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังการใช้งาน

การปิดสวิทซ์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังการใช้งานทุกประเภทจะเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถประหยัดพลังงานได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะการเปิดสวิทซ์หรือถอดปลั๊กไว้ตลอดเวลาก็เท่ากับว่าคุณกำลังใช้ไฟอยู่ ค่าไฟก็จะพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ที่ต่อให้แม้จะปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วก็ตาม ถึงจะ ประหยัดพลังงาน ได้บ้าง แต่ไม่สามารถปิดการใช้งานได้ทั้งหมดนั่นเอง

ประหยัดพลังงาน
Image by Freepik

2. ใช้หลอดไฟ LED ในการให้ความสว่าง

การเลือกใช้หลอดไฟ LED ที่มีความสว่างแบบแสงสีขาว จะสามารถให้ความสว่างได้มากกว่าปกติกว่าหลอดไฟชนิดอื่นๆ ที่สำคัญตัวหลอดไฟยังผลิตมาเพื่อประหยัดพลังงานโดยเฉพาะ ดังนั้นออฟฟิศของคุณหากต้องการประหยัดค่าไฟที่สามารถประหยัดได้มาก การเลือกใช้หลอดไฟชนิดนี้เป็นคำตอบที่ดีที่สุด ในส่วนของด้านความปลอดภัยหรือการพังเสียหายมีโอกาสน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับหลอดไฟชนิดอื่น ๆ

3. เดินขึ้น – ลงบันได้ 1-2 ชั้น แทนการใช้ลิฟต์

การขึ้นลงบันได 1 – 2 ชั้น แทนการใช้ลิฟต์ก็สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะลิฟต์จะมีฟังก์ชันการใช้งานส่วนใหญ่คือกดใช้งานหนึ่งครั้งก็ค่าไฟสามารถขึ้นได้ 1 ที และระหว่างที่ไม่มีใครใช้งานตัวลิฟต์ก็จะเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานได้ ดังนั้นการขึ้นลงเพียงชั้นเดียวและทำบ่อย ๆ จะทำให้ค่าไฟสูงขึ้นมาก ดังนั้นการเดินขึ้นลงบันไดแทนจึงเป็นทางออกที่ดี

4. ปรับแอร์ที่อุณหภูมิ 25 – 26 องศา 

การปรับแอร์ที่อุณหภูมิ 25 – 26 องศา ตามคำแนะนำของกรมไฟฟ้าจะสามารถประหยัดพลังงาน หรือประหยัดพลังงานได้จำนวนมหาศาล และถ้าออฟฟิศของคุณต้องการควบคุมอุณหภูมิที่สามารถเหมาะกับคนหลาย ๆ คนได้ คือไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป การเลือกปรับแอร์ที่อุณหภูมิที่ 25 – 26 องศา ถือว่าเป็นอะไรที่ดีที่สุด เพราะบางคนหากปรับแอร์ที่อุณหภูมิที่ 22 – 23 องศาก็จะเริ่มหนาวแล้วนั่นเอง

5. ทุกพักเที่ยง ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเสมอ

ทุกพักเที่ยงปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเสมอ เพื่อเป็นการพักการใช้งานไม่ให้ทำงานหนักเกินไป ไม่ว่ะจะเป็นไฟในที่ทำงาน แอร์ในที่ทำงาน คอมพิวเตอร์ในที่ทำงาน เป็นต้น เพราะถ้าหากเปิดต่อเนื่องจะยิ่งทำให้ค่าไฟสูงมากขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้อาจจะลดลงได้ ดังนั้นเมื่อพักเที่ยงอย่างน้อยก็ควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าสัก 1 ชั่วโมง ถือว่าเป็นเวลาที่กำลังดีในการพัก

6. เข้างานตรงเวลา – เลิกงานตรงเวลา

ใครหลายคนอาจจะสงสัยว่าการเข้างานตรงเวลา – เลิกงานตรงเวลาจะสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างไร ต้องบอกเลยว่าสามารถประหยัดพลังงานได้มหาศาล เพราะการเข้างานตรงเวลาเท่ากับว่าเราจะเปิดแอร์ เปิดไฟ เปิดคอมพิวเตอร์ในเวลาเริ่มงานพร้อม ๆ กัน ก็คือมีการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และเมื่อถึงเวลาเลิกงานก็ปิดพร้อม ๆ กัน ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟ ลองนึกภาพถ้าหากบริษัทมีการทำล่วงเวลาไฟก็ต้องเปิด แอร์ก็ต้องเปิดเพื่อคนไม่กี่คน ทำให้ค่าไฟสูงขึ้นมาได้นั่นเอง

ประหยัดพลังงาน
Image by Freepik

7. เคลียร์ของในตู้เย็นออกสม่ำเสมอ

บางออฟฟิศจะมีตู้เย็นให้พนักงานแช่ของไว้ทาน ซึ่งส่วนมากพนักงานก็มักจะเอาของมาแช่สุดท้ายแล้วลืมทานจนเน่าไปเลยก็มี และก็จะเอาของใหม่ ๆ เข้าแทรกเรื่อย ๆ ยิ่งของแน่นเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก จนส่งผลให้ค่าไฟพุ่งได้อย่างไม่รู้ตัว วิธีการแก้คือให้เขียนชื่อเจ้าของของในตู้เย็น พอถึงวันหมดอายุก็ให้เคลียร์ออก ทำแบบนี้เรื่อยๆ ตู้เย็นก็จะไม่แน่นจนเกินไป และจะสามารถ ประหยัดพลังงาน

เริ่มต้นวันนี้ ช่วยโลกวันหน้า ทำได้ง่าย ๆ ให้เป็นนิสัย

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หวังว่าทุก ๆ คนคงจะได้วิธีประหยัดพลังงานในออฟฟิศนำกลับไปใช้ ซึ่งบอกว่าทำได้ง่ายมาก ๆ เพียงแต่ต้องทำเป็นนิสัย ทำให้สม่ำเสมอ ก็จะสามารถเห็นผลลัพธ์ที่ดีในการประหยัดพลังงานได้อย่างแน่นอน ซึ่งในจุดนี้สามารถเริ่มต้นได้จากระดับองค์กรเป็นแกนหลัก นำส่งแนวคิดสู่ผู้นำมาตลอดพนักงานที่ทำงานอยู่ในองค์กร เพื่อสร้างให้เป็นกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำในทุกวันก็จะสามารถรักษ์โลกได้ในอนาคตไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

Cover Image : Image by Freepik

การแยกขยะ และการรีไซเคิล: เรื่องน่ารู้ในโรงกลึง และโรงงานอุตสาหกรรม

การแยกขยะ

การแยกขยะ และการรีไซเคิลเป็นเรื่องที่กำลังกลายเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมทั่วโลกในปัจจุบัน ไม่เพียงเพราะเราต้องดูแลสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะที่สิ่งมีมูลค่าถูกทิ้งไป แต่ยังเพราะมันเป็นวิธีที่สามารถสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจใหม่ในอุตสาหกรรม ในบทความนี้เราจะสำรวจแนวคิดพื้นฐานของการแยกขยะและการรีไซเคิลในอุตสาหกรรม พร้อมกับประโยชน์ที่มันเสนอและแนวทางในการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ในแวดวงนี้โดยใช้คีย์เวิร์ด “การแยกขยะ

การแยกขยะ คือขั้นตอนแรกสู่การรีไซเคิล

การแยกขยะคือกระบวนการที่ครบครันในการทำลายขยะอินทรีย์และอินทรีย์จากขยะสำหรับแปลงกล้วยอุตสาหกรรม ประสิทธิภาพของขั้นตอนนี้ส่งผลต่อการรีไซเคิลในภายหลัง เนื่องจากขยะที่ไม่ถูกแยกและทำลายอาจสร้างปัญหาและสร้างมลพิษสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่นเครื่องบดขยะและการแยกขยะอัตโนมัติมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้

การรีไซเคิล หรือ การนำขยะกลับมาใช้ใหม่

การรีไซเคิลเป็นกระบวนการที่ช่วยลดการใช้วัสดุใหม่ และลดปริมาณขยะที่เขามือทิ้งลงในบ่อขยะ การรีไซเคิลรวมถึงการใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตใหม่และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบอื่น เช่นการแปลงขยะพลาสติกให้กลายเป็นเศษสำหรับการผลิตเสื้อผ้าหรือสินค้าอื่น ๆ การรีไซเคิลช่วยลดการใช้วัสดุใหม่ที่มีค่าเพื่อสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่มุ่งเสริมการใช้งานสินค้ารีไซเคิล

ประโยชน์ของ การแยกขยะ และการรีไซเคิล

การแยกขยะและการรีไซเคิลมีประโยชน์มากมายทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมได้รับประโยชน์จากลดปริมาณขยะที่สิ่งมีมูลค่าถูกทิ้งลงในสิ่งแวดล้อมและลดการใช้วัสดุใหม่ ซึ่งมีผลทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการใช้พลาสติกใหม่ช่วยลดการสร้างมลพิษในมหาสมุทรและพื้นผิวที่ตายเนื่องจากขยะพลาสติก

ในด้านเศรษฐกิจ การแยกขยะและการรีไซเคิลสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ สร้างรายได้และงานทำให้กับผู้คน การขายวัสดุรีไซเคิล ช่วยสร้างความยั่งยืนในธุรกิจและส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น. นี่คือบางประโยชน์หลักของการแยกขยะและการรีไซเคิล

การแยกขยะ
Image by jcomp on Freepik

ลดปริมาณขยะ

การแยกขยะลดปริมาณขยะที่สิ่งมีมูลค่าถูกทิ้งไปในแหล่งกำบัติขยะ ทำให้ลดปริมาณขยะในบ่อขยะและลดการสิ้นสุดสิ่งมีมูลค่าทั้งกายภายในแวดวงรอบของเรา

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

การใช้วัสดุรีไซเคิลช่วยลดการใช้วัสดุใหม่ที่มีค่าเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดใช้กระบอกพลาสติกใหม่ลดการเปิดเผยสิ่งมีมูลค่าที่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

สร้างรายได้และงานทำ

การแยกขยะและการรีไซเคิลสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ในอุตสาหกรรม โรงงานการแยกขยะและโรงงานรีไซเคิลสร้างงานทำให้กับคนในชุมชนและสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น

ลดการมลพิษสิ่งแวดล้อม

การลดการใช้วัสดุใหม่และการรีไซเคิลช่วยลดการสร้างมลพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปลิงมลพิษจากการผลิตวัสดุใหม่ และลดปริมาณขยะที่สิ่งมีมูลค่าถูกทิ้งไปในแวดวงรอบขอบ

สร้างการรับรองจากผู้บริโภค

ผู้บริโภคกลับมาให้ความสำคัญกับสินค้ารีไซเคิลและสินค้าที่ผลิตด้วยวัสดุรีไซเคิล การสนับสนุนการรีไซเคิลช่วยสร้างตลาดสำหรับสินค้านี้และส่งเสริมความยั่งยืนในอุตสาหกรรม

โอกาสทางธุรกิจ

เปิดโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการแยกขยะและการรีไซเคิลมีหลายทางเลือกที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จ

  • สร้างโรงงานการแยกขยะ การลงทุนในการสร้างโรงงานการแยกขยะเป็นทางเลือกที่มีความศักยภาพในการสร้างรายได้และสร้างงานทำใหม่ โรงงานนี้สามารถแยกขยะและจำหน่ายวัสดุรีไซเคิลให้กับผู้ผลิต
  • สนับสนุนการรีไซเคิล การสนับสนุนการรีไซเคิลโดยการผลิตสินค้ารีไซเคิลหรือสินค้าที่ผลิตด้วยวัสดุรีไซเคิล เป็นทางเลือกที่ดีในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่
  • ใช้เทคโนโลยีในการแยกขยะ การใช้เทคโนโลยีในการแยกขยะอัตโนมัติช่วยนอกจากจะช่วย ลดโลกร้อน แล้วยังช่วยลดความขัดแย้ง และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการแยกขยะ การลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้อาจเป็นทางเลือกที่ดีในการเริ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้

การแยกขยะ ช่วยโลก ช่วยคนที่คุณรัก

การแยกขยะ และการรีไซเคิลเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการลดปริมาณขยะที่สิ่งมีมูลค่าถูกทิ้งและสนับสนุนความยั่งยืนในอุตสาหกรรม. การลงทุนในโรงงานการแยกขยะ, การสนับสนุนการรีไซเคิล, และการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการแยกขยะเป็นวิธีที่ดีในการเปิดโอกาสทางธุรกิจในแวดวงนี้. นอกจากนี้, การรีไซเคิลช่วยลดการใช้วัสดุใหม่ที่มีค่าเพื่อสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่มุ่งเสริมการใช้งานสินค้ารีไซเคิล

การแยกขยะและการรีไซเคิลไม่เพียงเพียงช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้และงานทำใหม่ในอุตสาหกรรม การรับรองจากผู้บริโภคสามารถสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมนี้และทำให้โลกของเรากลับมายั่งยืนมากขึ้น อุตสาหกรรมการแยกขยะและการรีไซเคิลเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างปีที่ผ่านมาและกำลังเป็นตัวกำหนดที่สำคัญสำหรับอนาคตของสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ. การร่วมมือเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้เป็นหน้าที่ของทุกคน เพื่อให้โลกของเรามีโอกาสในอนาคตที่ยั่งยืนและมั่งคั่งมากขึ้น

Cover Image : Image by Freepik

แนวทางส่งเสริมการกำจัดขยะอุตสาหกรรมให้ถูกวิธี

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

จากข้อมูลเมื่อปี 2016 มีรายงานว่าประเทศไทยนั้นผลิตกากอุตสาหกรรมอันตรายออกมามากถึง 2.8 ล้านตัน แต่ที่น่าตระหนกไปกว่านั้น มีเพียง 1.1 ล้านตัน ที่ถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการ กำจัดขยะอุตสาหกรรม แบบถูกต้องโดยหน่วยงานบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคิดเป็นเพียง 40 เปอร์เซนต์ของทั้งหมด เรียกว่าไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ และจากที่ได้ศึกษาข้อมูลผ่านเว็บสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย พบว่าสาเหตุคร่าว ๆ มาจากต้นทุนการกำจัดขยะอุตสาหกรรมนั้นมีมูลค่าที่สูงลิบ ขยะอันตราย 1 ตัน มีต้นทุนในการกำจัดตั้งแต่ 4,000 บาท ไปจนถึงระดับ 150,000 บาท ตามแต่ละประเภทกันเลยทีเดียว

แต่ก่อนจะตามหาสาเหตุที่ทำให้การกำจัดขยะอุตสาหกรรมหรือกากอุตสาหกรรม บทความนี้อาจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้คุณรู้จักกับสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น และน่าจะเป็นประโยชน์หากอุตสาหกรรมของคุณสามารถแยกประเภทของขยะอุตสาหกรรมแต่ละประเภทได้แบบจริงจัง ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายบนการเลือกใช้บริการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องได้แบบตรงโจทย์ต่อธุรกิจของคุณมากที่สุด โดยสิ่งต่าง ๆ นี้เป็นหนึ่งในกระบวนการรักษ์โลกอีกด้วย

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

ขยะอุตสาหกรรม คืออะไร?

ของเสียจากอุตสาหกรรมประกอบด้วยของเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในระหว่างกระบวนการผลิต ดังนั้น ของเสียอุตสาหกรรมอาจประกอบไปด้วยของเสียจากสารเคมี ของเสียอันตราย และของเสียที่เป็นพิษ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้ที่มีความสามารถมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการกำจัดของเสียจากอุตสาหกรรมของคุณ นอกจากจะเป็นการดำเนินตามมาตรการสากลแล้ว ยังเป็นการปกป้องสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายนั่นเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณต้องเข้าใจว่าอุตสาหกรรมของคุณกำลังสร้างของเสียจากอุตสาหกรรมประเภทใด เพื่อที่จะได้ทราบว่าของเสียเหล่านั้นจะต้องได้รับการจัดการอย่างไร รวมถึงการปฏิบัติตามข้อระเบียบบังคับใดซึ่งก็อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของเสียต่าง ๆ

ประเภทของขยะอุตสาหกรรม

จากขยะมากมายที่หลายประเภทองค์กรผลิตขึ้น โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ของเสียที่เป็นพิษ
  • ขยะเคมี
  • ขยะอุตสาหกรรม
  • ขยะมูลฝอยชุมชน
  • ผลิตภัณฑฺ์กระดาษ
  • กากกัมมันตภาพรังสี
  • โลหะ
  • เชื้อเพลิงสำรอง
  • น้ำมันหล่อลื่น
  • แบตเตอรี่
  • สารเคมีต่าง ๆ เช่น กรด ด่าง และฟีนอล
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปั๊มสำหรับกระบวนการผลิต และหม้อแปลงไฟฟ้า
  • ของเสียในห้องปฏิบัติการ
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งจากลิสต์ที่เราได้กล่าวไปจะเห็นได้ว่ามีขยะอุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่สามารถจำกัดได้ตามปกติ เช่น ของเสียที่เป็นสารพิษต่าง ๆ สารเคมี และกัมมันตภาพรังสี ซึ่งจำต้องมีบริษัทและผู้ชำนาญการที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกฝ่ายแน่ใจว่าของเสียอันตรายจะไม่ทำให้ใครหรือสิ่งใดต้องตกอยู่ในความเสี่ยง

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

แนวทางการกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่น่าสนใจของประเทศยักษ์ใหญ่

ประเทศสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีนั้นมีการสร้างและกำจัดขยะมูลฝอยทางอุตสาหกรรมประมาณ 7.8 พันล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนเยอะกว่าประเทศไทยแบบเทียบกันไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็มาจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศที่มีความเข้มงวดอย่างมาก ทำให้บริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับขยะอุตสาหกรรมที่คุณประกอบธุรกิจ โดยการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมจะมีการใช้เทคโนโลยีและบริการที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาการจัดการตามข้อกำหนดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

มีรายงานว่ามีโรงงานหลายแห่งในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ที่เปิดให้ทิ้งขยะอุตสาหกรรมได้ แต่ก็วนกลับมาที่มาตรการเบื้องต้น คือคุณจำเป็นต้องตรวจสอบและมีความแน่ใจแล้วว่าประเภทขยะของคุณนั้นตรงกับที่โรงงานเปิดให้บริการหรือไม่ โดยเฉพาะหากเป็นของเสียอันตราย มีน้อยมากที่จะเปิดให้บริการ แต่ก็เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ

เลือกใช้บริการกับผู้เชี่ยวชาญ ประหยัดต้นทุนได้มากกว่า

โดยส่วนใหญ่การจำกัดของเสียอันตรายจะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่เพียบร้อมรวมถึงผู้ชำนาญการที่ถูกอบรบมาอย่างดีเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามนั่นถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของคุณที่จะต้องรับผิดชอบทั้งทางกฎหมายและทางการเงินสำหรับของเสียเหล่านั้นที่อุตสาหกรรมของคุณสร้างขึ้นมา จนกว่าทุกอย่างจะได้รับการขนส่ง บำบัด หรือกำจัดอย่างเหมาะสมที่สุด

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ข้อสังเกตคือขนาดประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริการยังไม่มีโรงงานไหนเลยที่กำจัดขยะอุตสาหกรรมได้ด้วยตัวเอง การเลือกใช้บริการกำจัดของเสียโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะมั่นใจได้ว่าการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมนั้นดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง ยังมีบริการที่ช่วยคุณจำแนกของเสียต่าง ๆ ว่าเป็นประเภทใด แม้จะมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยแต่ก็ประหยัดต้นทุนได้มากกว่าการที่จะริเริ่มทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด

กำจัดขยะอุตสาหกรรม

ย้อนมองประเทศไทย แนวโน้มการจัดการขยะอุตสาหกรรมในอนาคต

จากที่ได้จั่วหัวเอาไว้ตั้งแต่ช่วงต้นของบทความ ปัญหาต้นทุนที่แพงหูฉี่ในการกำจัดขยะอุตสาหกรรมของประเทศไทย แรกเลยมาจากการที่โรงงานกำจัดขยะพิษมีน้อยเกินไป โดยปัจจุบันไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีมากขนาดไหน แต่จากข้อมูลปี 2016 พบว่ามีโรงงานที่สามารถกำจัดสารพิษได้ทุกประเภทเพียง 4 โรงงานเท่านั้น โดยมี 3 โรงงานที่เป็นประเภทฝังกลบ ส่วนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เตาเผาเฉพาะเพื่อกำจัดขยะอันตรายมีเพียงแค่ 1 โรงงานถ้วน ด้วยเหตุนี้เองจึงอาจทำให้เกิดการผูกขาดตลาด กำหนดราคาได้ตามใจชอบ เลยเถิดจนถึงปัญหาการลักลอบทิ้งและกำจัดแบบผิดกฎหมาย

แนวโน้มที่จะช่วยแก้ปัญหานี้เบื้องต้นได้ ทุกโรงงานหรือโรงกลึงควรต้องมีการศึกษาและรู้ว่าอุตสาหกรรมของตนเองนั้นผลิตขยะอุตสาหกรรมประเภทใด มีการแยกประเภทให้ถูกต้องอย่างที่ประเทศยักษ์ใหญ่ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่างน้อยถ้าช่วยลดกระบวนการก็อาจทำให้ต่อรองราคาได้เบาบางลงบ้าง รวมถึงการเพิ่มนโยบายจากส่วนกลางสร้างโรงงานจำกัดขยะพิษให้มีจำนวนมากขึ้น ตลอดจนถึงการผลักดันเพื่อแก้พระราชบัญญัตโรงงานที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ซึ่งฉบับนี้ค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 200,000 บาทเท่านั้น หากมองจากจุดนี้ การลักลอบทิ้งแล้วโดนจับได้หนึ่งครั้งแล้วต้องเสียค่ายปรับ ดูจะเบาบางกว่าการเลือกใช้บริการกำจัดขยะตลอดทั้งปีเสียอีก

ขอขอบคุณข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบบทความมา ณ ที่นี้

https://blog.idrenvironmental.com/how-industrial-waste-disposal-is-managed

https://www.businesswaste.co.uk/industrial-waste-disposal

https://tdri.or.th/2018/08/industrial-waste

เทรนด์ “รักษ์โลก” ส่องความเคลื่อนไหวบริษัทยักษ์ใหญ่ริเริ่มอะไรกันแล้วบ้าง

รักษ์โลก

จากที่เราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง “มลพิษทางอากาศ” เรื่อยจนมาถึง “พลังงานหมุนเวียน” ผ่านเนื้อหาล่าสุดที่นำเสนอให้ได้อัพเดตกันในช่วงก่อนหน้านี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะพอนึกภาพตามได้ว่ามีอะไรที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เรื่องของมลภาวะอันไม่พึงประสงค์ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ซึ่งที่กล่าวมานี้ นอกจากกรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทั้งหลายแหล่ เรื่องที่เราเคยพูดถึงไปอย่างระบบ AI ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเทรนด์ “รักษ์โลก” ซึ่งภายในเนื้อหาวันนี้ก็จะมีตัวอย่างยกให้เห็นกันแบบชัด ๆ เป็นโปรเจกต์ของแบรนด์ไอทีพี่เบิ้มระดับโลก อย่าง “ไมโครซอฟต์” ที่ปลุกปั้นกันมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า
มลพิษทางอากาศ… “ตัวร้าย” ที่อุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ควรมองข้าม

แต่ถ้าใครยังเห็นภาพไม่ชัดจริง ๆ ว่าเทรนด์นี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง จะมีการตื่นตัวมากน้อยแค่ไหนในระดับโลก รวมถึงมียักษ์ใหญ่แบรนด์ใดที่เริ่มทำบางสิ่งบางอย่างกับธุรกิจของพวกเขา ไปพร้อม ๆ กับการดูแลโลกของพวกเราทุกคน บางทีเนื้อหาด้านล่างนี้อาจจะช่วยให้คุณได้สิ่งต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ติดตามผ่านเนื้อหาทั้งหมดนี้ได้เลย..

รักษ์โลก

“พลังงานหมุนเวียน” กับ สองลูกรักของคนดัง “อีลอน มัสก์”

สำหรับใครที่เคยได้ยินข่าวของ อีลอน มัสก์ หนึ่งในสุดยอดนักธุรกิจที่เก่งกาจเรื่องวิศวกรรมเป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์ตัวยง 

เจ้าแห่งอาณาจักร “SpaceX” และ “Tesla Motors” ถือเป็นคนดังในวงการอุตสาหกรรมที่ตื่นตัวกับสิ่งเหล่านี้เป็นคนแรก ๆ จะเห็นได้จากการเลือกใช้วัสดุเพื่อผลิตจรวดของสเปซเอ็กซ์ก็ดี หรือจะเป็นชิ้นสวนยานยนต์ รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่บอกลาน้ำมันอันเป็นพลังงานสิ้นเปลืองของเทสล่า ทั้งสองสิ่งล้วนพิสูจน์ได้ดีว่าเทรนด์เหล่านี้ไม่ได้มาเล่น ๆ แน่นอน

เรื่องของความ “รักษ์โลก” พอจะมีแทรกซึมอยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้ยกอีกตัวอย่างยักษ์ใหญ่ที่เอาจริงเอาจังด้านสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนว่า “ไมโครซอฟต์” นั้นจะเด่นชัดสุด ซึ่งคุณสามารถพิจารณด้วยตัวเองได้จากเนื้อหานับแต่บรรทัดนี้เป็นต้นไป..

“AI for Earth” เกิดมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ จาก “ไมโครซอฟต์”

อย่างที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องของ AI (Artificial Intelligence) ไม่ได้มีส่วนแค่การเข้ามาช่วยให้การทำงานภายในอุตสาหกรรมง่ายและทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถใช้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนอย่างที่ ไมโครซอฟต์ ทำกับสุดยอดโปรเจกต์นี้

สำหรับ “AI for Earth” ถูกปลุกปั้นมาตั้งแต่ปี 2017 จุดมุ่งหมายนั้นเน้นไปที่เรื่องของการนำนวัตกรรม AI และคลาวด์ของพวกเขามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ

รักษ์โลก
ไมโครซอฟต์ จริงจังมากแค่ไหนเรื่องรักษ์โลก?

ความเอาจริงเอาจังของยักษ์ใหญ่ด้านไอที หากนับจนถึงปัจจุบันแล้ว กว่า 236 โครงการใน 63 ประเทศทั่วโลก โดยมีแพลตฟอร์มชื่อ “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” เป็นคีย์แมนในการรวบรวมข้อมูล พวกเขาได้มีการพิจารณาและมอบทุนให้กับโครงการวิจัยเชิงสิ่งแวดล้อม 4 ด้ายหลักใหญ่ ได้แก่

  • เกษตรกรรม
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
  • ทรัพยากรน้ำ

ด้วยพลังด้านเงินทุนและความตั้งใจริ่เริ่มของ ไมโครซอฟต์ ได้รับการสานต่อจากสถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยมีหนึ่งทีมวิจัยที่โดดเด่น คือ องค์กรการกุศลที่ชื่อว่า “Sustainable Coastlines”

Sustainable Coastlines คือใคร และบทบาทสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

Sustainable Coastlines คือ องค์กรไอดอลด้านรักษ์โลกจากประเทศนิวซีแลนด์ ที่สำคัญยังเป็นองค์กรการกุศลอีกด้วย พวกเขามีบทบาทเกี่ยวกับการทำงานเพื่อแก้ปัญหาขยะในท้องทะเลมากว่า 10 ปีแล้ว หากเป็นก่อนหน้านี้เรื่องดังกล่าวคงต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยการเข้ามาของ AI ทำให้พวกเขากำเนิดโซลูชั่นที่ช่วยให้หลายภาคส่วนเข้าถึงปริมาณที่ถูกต้อง รวมถึงเข้าใจสถานการณ์ที่เกิด ตลอดจนถึงแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขยะในอนาคต (โรงกลึงพี-วัฒน์ของเราก็พยายามศึกษาโปรเจกต์และกระบวนการทางวิศวกรรมต่าง ๆ ขององค์กรนี้อยู่เรื่อย ๆ เพื่อพยายามจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงกลึงของเราในพาร์ทของโซลูชั่นกำจัดของเสียเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม)

จากมันสมอง “นักคิดทั่วโลก” สู่ผลงานที่เป็นจริงด้วย “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์”

มาถึงตรงนี้ต้องขอประทานอภัยด้วยที่เปิดตัว “ไมโครซอฟต์ อาซัวร์” ช้าไปเสียหน่อย ซึ่งนี่ก็คือชื่อของบริการ “คลาวด์” ที่หลายคนน่าจะรู้จักและใช้ไปกับธุรกิจสตาร์ทอัพเสียมากกว่า แต่กับโปรเจกต์ “AI for Earth” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าสิ่งนี้ทำประโยชน์เพื่อโลกใบนี้ได้มากกว่าแค่เรื่องธุรกิจ

จากทีม Sustainable Coastlines ที่ดูแลเรื่องท้องทะเล หรือจะเป็น Wild Me องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ปกป้องติดตามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งบางชนิดมีผลต่อระบบนิเวศน์โดยตรง ก็สามารถใช้ AI และข้อมูลจากคลาวด์เพื่อติดตาม ระบุตัวตนได้อย่างแม่นยำ

รักษ์โลก

เรื่อยจนมาถึงเรื่องของการเกษตร ผลงานอันโดดเด่นเห็นชัดสุดเป็นของ FarmBeats ที่ปรับใช้ด้วยการเลือกเอาอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ ใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งความละเอียดนั้นบ่งบอกได้ครบถ้วนทุกกระบวนการ ไล่ตั้งแต่ การตรวจวัดความชื้น สาอาหารต่าง ๆ อุณหภูมิหน้าดิน ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลของสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ 

ก่อนจะนำทุกอย่างมาวิเคราะห์ สรุปออกมาได้เป็นคำแนะนำช่วยให้เกษตรกรสามาถวางแผนการเพาะปลูก ตลอดจนการกะระยะเวลาวางแผนเก็บเกี่ยวได้เหมาะสมเพื่อผลผลิตที่ดีที่สุดซึ่งล้วนได้มาความอัจฉริยะของการประมวลของระบบ AI อย่างแม่นยำ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งตอกย้ำว่าเทรนด์ “รักษ์โลก” ต้องควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมแขนงใดก็ตาม เพราะขนาดที่ว่าสองบริษัทที่มีมีมูลค่าสูงระดับท็อปของโลกยังให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากถึงเพียงนี้ ก็แทบจะไม่มีเหตุผลอะไรแล้วที่พวกเราจะไม่ดำเนินรอยตาม..

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า

พลังงานหมุนเวียน

มลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งผลเสียต่อโลกของเราหนักหน่วงกว่าที่คาดเอาไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในร้ายก็ยังมีดีอยู่เสมอ.. เมื่อสาเหตุดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญให้ประชากรทั่วโลกหันมาตระหนักในเรื่องของมลพิษ รวมถึงข้อจำกัดที่มีของพลังงานดั้งเดิม อย่างพลังงานฟอซซิล (Fossil Fuel) ทำให้อุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานโดยตรง ต่างมีจุดหมายใหม่ในเส้นทางของการใช้พลังงานในอนาคตที่ตรงกัน ซึ่ง “พลังงานหมุนเวียน” คือเรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้!

พลังงานหมุนเวียน คืออะไร ?

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานต่าง ๆ จากแหล่งที่เราสามารถนำมาใช้ได้แบบไม่มีวันหมด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะหากเทียบกับพลังงานแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานมนาน ข้อหลังนี้ถือเป็นข้อดีแสนสำคัญยิ่งกว่าความอมตะนิรันดร์กาลของพลังงานนี้ด้วยซ้ำ

พลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียน สำคัญอย่างไร ?

เอาเป็นว่าแค่การที่ใช้ได้แบบไม่มีวันหมดแค่อย่างเดียว ก็น่าจะบ่งบอกถึงความสำคัญในตัวเองของสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี และอย่างที่ได้บอกไปว่าทุกประเภทของพลังงานหมุนเวียนนั้นหากพูดถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม แทบจะส่งผลน้อยนิดมากเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าจะเข้ามาแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองในอนาคตอันใกล้นี้

หากมีการปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เห็นผลจากคุณภาพชีวิตขอประชากรโลกและสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นเทรนด์พลังงานหลักในไม่ช้า ชนิดที่ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมธุรกิจขนาดใด องค์กรต่าง ๆ หรือรัฐบาลไหนก็ไม่อาจปฏิเสธสิ่งนี้ได้เลย

อุตสาหกรรม “พลังงานหมุนเวียน” มีขนาดใหญ่มากแค่ไหน ?

อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกนั้นโตขึ้นอย่างมาย ในอัตราที่รวดเร็วในปีที่ผ่านมา คิดเป็นอัตราเฉลี่ยแล้วเร็วที่สุดนับแต่ปี 1999 กันเลยทีเดียว นำทัพด้วย “พลังงานลม” และ “พลังงานแสงอาทิตย์” โดยสองสิ่งนี้กระตุ้นอัตรากำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้นมากถึง 45% ตัวเลขนี้เป็นการเก็บสถิติรวมจากทวีปยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน

พลังงานหมุนเวียน

5 ประเภทหลักของ พลังงานหมุนเวียน

โดยทั่วไปพลังงานหมุนเวียนแต่ละอย่างนั้นมีหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย ทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนโดยตรง สำหรับพลังงานทางเลือกที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ โดยแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

1. พลังงานแสงอาทิตย์

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีหากเราพูดถึง “โซลาร์เซลล์” ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพลังงานธรรมชาติแรก ๆ ที่ทุกคนน่าจะนึกถึงจากแสงแดดอันเจิดจ้าที่พร้อมทักทายเราในทุกวัน และก็แน่นอนว่าพลังงานได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก

โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยี IoT เพื่อใช้ในกระบวนการที่สนับสนุนส่วนของการผลิต เป้าหมายคือเพื่อประหยัดพลังงาน สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่าที่ทำได้ ช่วยลดต้นทุน และที่สำคัญต้องยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้อยู่ในระดับเดิม

แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากนับเรื่องของอัตราการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงอันดับ 3 เท่านั้น

2. พลังงานลม

เรียกได้ว่าเก่าแก่และได้รับความนิยมไม่แพ้กับประเภทแรกกันเลย เป็นเวลาหลายศตวรรษที่พวกเราใช้พลังงานลมในรูปแบบของการแล่นเรือใบและกังหันลม โดยปัจจุบันแล้วส่วนใหญ่หันมาใช้ลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมนั่นเอง

เมื่อปี 2019 มีการเก็บสถิติกำลังการผลิตพลังงานลม มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 24% ซึ่งก็ทำได้สูงกว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำได้อยู่ 20% ของกำลังการผลิตพลังงานทั่วโลก

3. พลังงานความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นตัวอย่างของการใช้ในอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานหมุนเวียนอีกประเภทนึงที่ผลิตได้มาก 

พื้นดินใต้เท้าของเรามีพลังงานจำนวนไม่จำกัด เป็นผลมาจากพื้นผิวที่ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกลงไปในพื้นโลก ซึ่งความนิยมหลัก ๆ มาจากการเลือกใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

4. พลังงานน้ำ

“กังหันน้ำ” เป็นเทคโนโลยีที่มาก่อนกาลมาก ๆ เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้ในรูปแบบที่ยังคงมีพื้นฐานมาจากความคิดตั้งต้น โดยใช้พลังงานน้ำในการเคลื่อนที่เพื่อก่อให้เกิดพลังงาน ก่อนจะปรับใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

สามประเทศที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำมากที่สุดในโลก เป็นสถิติที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2018 ได้แก่ จีน (352,261 เมกะวัตต์), บราซิล (104,195 เมกะวัตต์) และสหรัฐอเมริกา (103,109 เมกะวัตต์)

5. พลังงานชีวภาพ

พลังงานชีวภาพ หรือ พลังงานชีวมวล คือการใช้อินทรียวัตถุเพื่อการใช้พลังงานที่หลากหลาย อาทิ ไม้, พืชผล, ขยะในสวน รวมถึง ของเสียจากสัตว์และมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่นการใช้ไม้หากต้องการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

แต่สำหรับพลังงานนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อย เนื่องจากยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายด้านที่อาจต้องนำมาประกอบการพิจารณาในอนาคต แต่หากพูดถึงประโยชน์ที่ได้รับในตอนนี้และเทียบกับพลังงานสิ้นเปลือง พลังงานชีวภาพ อยู่ในระดับที่จิ๊บจ๊อยกว่ามากทีเดียว

พลังงานหมุนเวียน

แนวโน้มพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย และการปรับใช้ในอุตสาหกรรม

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จับมือกับ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน จัดงานสัมนา AEDP (Alternative Energy Development Plan) ภาคประชาชน เพื่อนำเสนอปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนาพลังงานที่จะเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ยังดำเนินไปพร้อมกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้เชื่อเหลือเกินว่าพวกเรากำลังเดินทางเข้าใกล้กับยุคแห่งการใช้พลังงานหมุนเวียนขับเคลื่อนเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสม แม้จะดูเหมือนว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ หากเกิดเป็นเทรนด์ของโลกเมื่อไหร่จะสร้างประโยชน์มากมายให้แก่ “อุตสาหกรรมการผลิต” และ “สิ่งแวดล้อม” อย่างมากแน่นอน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลความรุ้ดี ๆ สำหรับเรื่องของ “พลังงานหมุนเวียน” 

https://www.clean-energy-ideas.com/energy/renewable-energy/the-5-main-types-of-renewable-energy/
https://www.nrdc.org/stories/renewable-energy-clean-facts