Augmented Reality เทคโนโลยีชั้นเซียน บูสเตอร์ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต

Augmented Reality

หากมีการพูดถึง AR (Augmented Reality) เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะนึกถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับสินค้าของพวกเขาเอง ถ้ายังนึกภาพตามไม่ออก ให้นึกถึงช่วงนึงเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่หลายคนตื่นเต้นกับการเลือกช้อปเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ผ่านแอพพลิเคชั่น 

ซึ่งทางตัวแอพฯ นั้นสามารถให้คุณจำลองสินค้าต่าง ๆ ด้วยโมเดลจำลองที่มีความเสมือนจริง ปฏิวัติวงการตกแต่งบ้านให้ล้ำหน้าขึ้นไปอีกขั้น แม้จะไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100 เปอร์เซนต์ แต่ก็ช่วยให้คุณได้สัมผัสถึงความจริงเสมือน ซึ่งมันน่าจะโอเคกว่าการจินตนาการภาพเหล่านั้นขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอน

แล้วเทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีส่วนช่วยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร? นี่เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัวของผู้เขียนเหมือนกันก่อนที่จะค้นคว้าหาข้อมูล แต่พอได้สืบค้นจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ รวมถึงกรณีศึกษาของบริษัทต่างประเทศ ที่เริ่มนำร่องในการนำความสามารถของสิ่งนี้มาใช้ประโยชน์กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของอุตสาหกรรมการผลิต ก็พอจะนึกภาพตามออกได้เป็นฉาก ๆ พร้อมกับความเชื่อมั่นว่าหากพัฒนาจนถึงขีดสุด เทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว

Augmented Reality

สั้น ๆ กับ Augmented Reality ก่อนลุยภาคอุตสาหกรรมการผลิต

AR (Augmented Reality) คือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การนำโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงมาผสมผสานกัน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการใช้ระบบซอฟต์แวร์ประกอบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรองรับเทคโนโลยีนี้ และสำหรับวัตถุเสมือนที่กล่าวไปนั้นอาจมาในรูปแบบ ภาพ วิดีโอ เสียง จนไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มาจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์สวมใส่เฉพาะทาง ซึ่งก็เป็นสะพานเชื่อมโยงให้เราได้ตอบสนองกับสิ่งจำลองนั้นได้แบบเสมือนจริงที่สุด

อุตสาหกรรมการผลิต x AR

ความเจ๋งของ AR แน่นอนล่ะ.. หากเราพูดถึงความสามารถในการนำเสนอคาแรคเตอร์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพดิจิตอล วิดีโอ และอื่น ๆ ที่ดึงเอาความงดงามของความเสมือนจริงรวมกับความเป็นจริงได้อย่างน่าทึ่ง

สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะได้รับประโยชน์สูงสุดคือการแทรกเอาข้อมูล สถิติ จนไปถึงคำแนะนำการใช้งานต่ออุปกรณ์นั้น ๆ ยังไม่นับเรื่องของการใส่ชุดข้อมูลเหล่านี้ไปกับ Headset ที่จะช่วยให้การผลิต การซ่อมบำรุง นั้นทำได้ถูกต้องและง่ายกว่าที่เคย

ตัวอย่างเช่น การใช้ Microsoft HoloLens ซึ่งเป็น Headset ที่ออกแบบด้วยการผสานระหว่างเทคโนโลยีของ Augmented Reality และ Virtual Reality เข้าด้วยกัน ใช้ในการดูชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่รองรับ AR เพื่อแสดงข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนั้น ๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงาน เอาต์พุต และอุณหภูมิปัจจุบัน เรียกว่าเป็นการทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นสำหรับการนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้เข้ากับโรงงานผลิต

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com, vrfocus.com

AR จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร ?

ณ ปัจจุบัน ประโยชน์หลัก ๆ ของการใช้ AR กับโรงงานผลิต จะเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างให้จินตนาการตามหัวข้อก่อนหน้านี้ เช่น หากชิ้นส่วนของอุปกรณ์การผลิตเสียหาย ช่างเทคนิคสามารถใช้ Headset ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องไปพร้อมกันกับการดูข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม คำแนะนำ รวมถึงอาจมีรูปภาพประกอบแสดง เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

นอกจากการใส่ชุดข้อมูลที่จำเป็นแล้ว เรายังสามารถวางแผน เรียงลำดับ รวมถึงคาดการณ์ระยะเวลาแต่ละขั้นตอน และนี่ไม่ใช่แค่การลดความจำเป็นในการดูแผนภูมิ คู่มือการใช้งาน รวมถึงบุคลาการ สิ่งนี้จะช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

โดยทั้งหมดทั้งมวล การออกแบบตั้งค่าเทคโนโลยีนี้ในเบื้องต้นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ แต่หากทุ่มเทในตอนต้นเพียงครั้งเดียวจนเสร็จสิ้น หลังจากนี้ต่อให้เป็นพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบก็สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้เหมือนกับช่างชำนาญการผ่านการใช้ Headset

เจ๋งไม่เบาเลยทีเดียว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็มีเป้าหมายในอนาคตเพื่อนำเทรนด์กลุ่มธุรกิจโรงกลึงด้วยการเล็งเทคโนโลยี AR นี้มาเป็นส่วนหนึ่งใน Roadmap เช่นกัน

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

คุณค่าสูงสุดของ AR ต่อสายงานผลิต ?

จากข้อมูลได้เราได้รวบรวมมา มีการกล่าวถึงความสำคัญและพื้นที่ที่จะให้ AR นั้นได้แสดงศักยภาพได้เต็มที่อีกหนึ่งจุด นั่นคือการฝึกอบรมพนักงานใหม่ในสายการผลิต เมื่อแต่ละโรงงานมีการรับพนักงานเข้ามาใหม่ การอบรมและการตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานจะสามารถทำตามขั้นตอนของการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ยาก และความไม่แน่นอนนี้สิ่งที่ตามมาคือปัญหาด้านความปลอดภัย 

จะเป็นเรื่องดีแค่ไหนหากพนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามคำแนะของ AR ด้วยเทคโนโลยนี้สามารถให้ข้อมูลเครื่องจักรโดยอัตโนมัติแบบครบถ้วน แม้ไม่เคยใช้งานมาก่อนก็จะช่วยให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

Augmented Reality

อีกหนึ่งกรณีศึกษา ความล้ำหน้าของ AR ต่ออุตสาหกรรม

Augmented Reality
Credit image: microsoft.com

ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก หากคุณต้องเจอกับอุปกรณ์เฉพาะที่มีความซับซ้อนซึ่งอาจต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์เพียงอย่างเดียวสำหรับใช้งานสิ่งนั้น ในกรณีนี้เองที่ AR จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้คนที่อยู่หน้างานสามารถดำเนินการได้ทันที โดยมีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเรื่องนี้

ลองนึกภาพตามว่าหากหุ่นยนต์หกแกนทำงานผิดปกติ แต่ ณ จุดนั้นไม่มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไข การใช้ Headset จะช่วยพนักงานได้อย่างมาก เพราะนอกเหนือจากข้อมูลที่มี คุณยังสามารถรับคำแนะนจากผู้เชี่ยวชาญได้แบบเรียลไทม์ ตลอดจนถึงการใช้เพื่อเป็นแบบฝึกอบรมบุคลากร ดึงศักยภาพของพวกเขาด้วยเทคโนโลยีนี้ได้อีกด้วย

และหากคิดว่าการใช้อุปกรณ์ Headset ดังกล่าวนั้นจะเป็นการสร้างต้นทุนมากจนเกินไป หรือไม่เหมาะกับขนาดของธุรกิจของคุณ การออกแบบเพื่อใช้ในอุปกรณ์ที่มีอยู่ในตลาดอย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเลต หรือแว่นตาระบบดิจิตอล ก็เป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก : https://www.reliableplant.com/Read/31709/ar-improve-manufacturing

กลไกอันน่าทึ่งของ AI และ Machine Learning “คลื่นลูกใหม่” ของอุตสาหกรรมการผลิต

machine learning

คำว่า “Smart Manufacturing” หรือที่พากย์ไทยได้ว่า “ระบบการผลิตอัจฉริยะ” หลายคนอาจจะผ่านหูผ่านตามาบ้างเมื่อตกอยู่ในแดนสนธยาของ “IoT” กับ “IIoT” 

และที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกันของ “ปัญญาประดิษฐ์” (AI) เมื่อถูกนำไปฟิวชั่นกับสิ่งที่เรียกว่า Machine Learning (ML) ซึ่งได้รับการซูฮกว่าเป็นเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ที่คอยขับเคลื่อนนวัตกรรม จนได้รับคำนิยามว่าเป็นหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์เชิงอุตสาหกรรมอันแสนโดดเด่น ที่จะช่วยให้คุณนั้นสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

เมื่อเราเดินทางมาถึงวันที่ “ข้อมูล” กลายเป็นทรัพยาการอันมีค่า แถมยังมีราคาถูกกว่าที่เคย หากเราเลือกใช้เทคโนโลยีได้ถูกต้องในการตักตวงประโยชน์จากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ และดึงศักยภาพสูงสุดของสิ่งนั้น อันเป็นที่มาของบทบาทความสำคัญการใช้ AI ประสานงานเข้ากับ ML ที่เราจะพาทุกคนไปดื่มด่ำกันในวันนี้

machine learning

AI และ ML คืออะไร ในวงการผลิต

มีกรณีมากมายที่ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยหลากหลายวิธีสำหรับช่วยเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรม ซึ่งนั่นก็ทำให้ AI มีบทบาทสำคัญในวงการผลิต เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกับ IoT (IIoT) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง และหนึ่งในชุดย่อยที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของ AI คือ ML (Machine Learning)

และอย่างที่รู้กันว่าการผลิตตามกระบวนการเป็นภาคส่วนที่มีการแข่งขันสูง ด้วยตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบอันซับซ้อนซึ่งก็เต็มไปด้วยหลายชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีการเคลื่อนไหว การขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้รวมถึงการปรับปรุงความสามารถตลอดจนถึงการเริ่มต้นทำกำไรตั้งแต่กระบวนการผลิต ถือเป็นข้อได้เปรียบทั้งหมด และนี่เป็นสิ่งที่ AI กับ ML สามารถมอบให้คุณได้

machine learning

ความสำคัญของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต

การมีอยู่ของ AI มีส่วนทำให้โรงงานในกระบวนการผลิตสามารถบูรณาการข้อมูล วิเคราะห์ และสร้างข้อมูลเชิงลึกรวมถึงคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ช่วยทำให้เห็นภาพรวมก่อนตัดสินใจได้แบบครอบคลุมทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับ ML ก็เป็นประเภทของ AI ที่บีบอัดชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อระบุรูปแบบและแนวโน้ม ก่อนสร้างเป็นแบบจำลองเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังช่วยให้โรงงานรู้ความผันผวนของอุปสงค์อุปทาน ต่อเนื่องด้วยการประเมินช่วงเวลาดีที่สุดสำหรับกำหนดการบำรุงรักษา ตลอดจนการระบุสัญญาณเริ่มต้นของความผิดปกติ

ทั้งนี้นั้น ML ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Machine Learning ก็ต้องมีกระบวนการในการเรียนรู้ก่อนที่จะสามารถวิเคราะห์สิ่งใดก็ตามได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นที่มาของการได้มาของข้อมูล การเก็บรวบรวมให้ถูกต้อง และคัดสรรเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อให้ ML เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ ยิ่งชุดข้อมูลมีมากเท่าไหร่ ML ก็จะฉลาดและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น

ในฐานะโรงกลึงสมัยใหม่ที่เฝ้ามองกระแสความเป็นไปของเทคโนโลยี เราโรงกลึงพี-วัฒน์ก็กำลังปรับตัว และพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมถึงความคิดเห็นต่าง ๆ จากลูกค้า เพื่อนำมาปรับใช้ในจุดที่เหมาะสมที่จะใช้ ML ในอนาคตมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

ความช่วยเหลือของ AI และ ML ต่อโรงงานผลิต
  • ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นเพื่อลดต้นทุนได้
  • มีความเข้าใจแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแบบเรียลไทม์
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของอุตสาหกรรม ปรับปรุงความปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มคุณภาพของสินค้า
  • ค้นหาและกำจัดกระบวนการผลิตที่ต่ำที่สุดของอุตสาหกรรม (กระบวนการคอขวด)
  • ปรับปรุงการมองเห็นของซัพพลายเชน และช่องทางการจัดจำหน่าย
  • ตรวจจับสัญญาณความปกติแรกสุด สาเหตุของการล้มเหลว ลดเวลาการหยุดทำงาน และดำเนินการซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็ว
  • วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงเพื่อปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้ละเอียดมากขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพของวงจรชีวิตอุปกรณ์ทั้งหมดของอุตสาหกรรม (อายุการใช้งาน)

ใช้ AI/ML อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการผลิต

1. ปรับปรุงการจัดการข้อมูล

ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ AI หรือ ML ประเภทใด ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการคุณต้องแน่ใจแล้วว่าได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น และเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อการสร้างแบบจำลองเพื่อเริ่มโครงการนั้น ๆ ตลอดจนการเลือกใช้แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม

2. กำหนดเป้าหมาย

มีหลายกรณีในการใช้งาน ML และ AI ในการผลิต ซึ่งทุกกรณีนั้นก็มีศักภาพต่อการสร้างมูลค่าและปรับปรุงผลกำไร

เพื่อให้คุณสามารถใช้ AI/ML ได้อย่างเป็นระบบแล้ว ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตที่สามารถตอบสนองได้เร็วที่สุด หรือมีชุดข้อมูลที่จำเป็นอยู่แล้ว และจัดลำดับความสำคัญว่าควรตั้งเป้าหมายใดเป็นอันดับแรก

3. ใช้กับทั้งองค์กร

อาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้งาน AI สำหรับงานที่จำกัดเฉพาะในบางแผนกก่อน หรือใช้การคาดคะเนของ ML กับกรณีการใช้งานแบบเฉพาะ แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณจะเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนี้ เมื่อเชื่อมต่อการใช้งานด้วยความสามารถแบบอัตโนมัติของ AI ประกอบกับการคาดการณ์ของ ML ทั่วทั้งองค์กร

4. ประเมินทักษะ

ตรวจสอบชุดทักษะที่จำเป็นเพื่อมองหาบุคลากรที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และอื่น ๆ 

5. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

สร้างความไว้วางใจโดยการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คนในองค์กรใช้งานได้จริงและสำเร็จภารกิจด้วยสิ่งนี้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลก่อนเปิดใช้โมเดล ML ด้วยอัลกอริธึมของ AI 

และเมื่อพวกเขาเห็นประโยชน์ของสิ่งนี้ด้วยการสัมผัสด้วยตัวเอง การนำ AI และ ML มาใช้ในการผลิตก็จะได้การตอบรับที่ดีและประสบผลสำเร็จในที่สุด

machine learning

ร่วมพิสูจน์ความสามารถของ AI และ ML ด้วยบริการของโรงกลึงพี-วัฒน์

ด้วยการยอมรับกรณีการใช้งานของ AI ด้วย Machine Learning ของหลายโรงงานผลิตทั่วโลก เพื่อนำมาปรับเข้ากับงานผลิตของโรงกลึงพี-วัฒน์ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ความผันผวนของความต้องการของตลาด ตลอดจนการปรับปรุง หาข้อบกพร่อง  และดึงศักยภาพการผลิตออกมาได้สูงสุด พร้อมส่งมอบสินค้าคุณภาพในทุกชิ้นงาน และอีกไม่นานคุณจะสามารถร่วมพิสูจน์ความน่าทึ่งของ AI และ ML ผ่านการใช้บริการจากเรา

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก

https://www.seebo.com/machine-learning-ai-manufacturing

https://www.precog.co/glossary/ai-ml-in-manufacturing

“พลังงานหมุนเวียน” เทรนด์พลังงานหลักของโลกอุตสาหกรรมในอีกไม่ช้า

พลังงานหมุนเวียน

มลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งผลเสียต่อโลกของเราหนักหน่วงกว่าที่คาดเอาไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในร้ายก็ยังมีดีอยู่เสมอ.. เมื่อสาเหตุดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญให้ประชากรทั่วโลกหันมาตระหนักในเรื่องของมลพิษ รวมถึงข้อจำกัดที่มีของพลังงานดั้งเดิม อย่างพลังงานฟอซซิล (Fossil Fuel) ทำให้อุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานโดยตรง ต่างมีจุดหมายใหม่ในเส้นทางของการใช้พลังงานในอนาคตที่ตรงกัน ซึ่ง “พลังงานหมุนเวียน” คือเรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้!

พลังงานหมุนเวียน คืออะไร ?

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานต่าง ๆ จากแหล่งที่เราสามารถนำมาใช้ได้แบบไม่มีวันหมด และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะหากเทียบกับพลังงานแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานมนาน ข้อหลังนี้ถือเป็นข้อดีแสนสำคัญยิ่งกว่าความอมตะนิรันดร์กาลของพลังงานนี้ด้วยซ้ำ

พลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียน สำคัญอย่างไร ?

เอาเป็นว่าแค่การที่ใช้ได้แบบไม่มีวันหมดแค่อย่างเดียว ก็น่าจะบ่งบอกถึงความสำคัญในตัวเองของสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดี และอย่างที่ได้บอกไปว่าทุกประเภทของพลังงานหมุนเวียนนั้นหากพูดถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม แทบจะส่งผลน้อยนิดมากเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าจะเข้ามาแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองในอนาคตอันใกล้นี้

หากมีการปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เห็นผลจากคุณภาพชีวิตขอประชากรโลกและสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นเทรนด์พลังงานหลักในไม่ช้า ชนิดที่ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมธุรกิจขนาดใด องค์กรต่าง ๆ หรือรัฐบาลไหนก็ไม่อาจปฏิเสธสิ่งนี้ได้เลย

อุตสาหกรรม “พลังงานหมุนเวียน” มีขนาดใหญ่มากแค่ไหน ?

อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกนั้นโตขึ้นอย่างมาย ในอัตราที่รวดเร็วในปีที่ผ่านมา คิดเป็นอัตราเฉลี่ยแล้วเร็วที่สุดนับแต่ปี 1999 กันเลยทีเดียว นำทัพด้วย “พลังงานลม” และ “พลังงานแสงอาทิตย์” โดยสองสิ่งนี้กระตุ้นอัตรากำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้นมากถึง 45% ตัวเลขนี้เป็นการเก็บสถิติรวมจากทวีปยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน

พลังงานหมุนเวียน

5 ประเภทหลักของ พลังงานหมุนเวียน

โดยทั่วไปพลังงานหมุนเวียนแต่ละอย่างนั้นมีหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย ทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนโดยตรง สำหรับพลังงานทางเลือกที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ โดยแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

1. พลังงานแสงอาทิตย์

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีหากเราพูดถึง “โซลาร์เซลล์” ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพลังงานธรรมชาติแรก ๆ ที่ทุกคนน่าจะนึกถึงจากแสงแดดอันเจิดจ้าที่พร้อมทักทายเราในทุกวัน และก็แน่นอนว่าพลังงานได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก

โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยี IoT เพื่อใช้ในกระบวนการที่สนับสนุนส่วนของการผลิต เป้าหมายคือเพื่อประหยัดพลังงาน สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่าที่ทำได้ ช่วยลดต้นทุน และที่สำคัญต้องยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้อยู่ในระดับเดิม

แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากนับเรื่องของอัตราการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงอันดับ 3 เท่านั้น

2. พลังงานลม

เรียกได้ว่าเก่าแก่และได้รับความนิยมไม่แพ้กับประเภทแรกกันเลย เป็นเวลาหลายศตวรรษที่พวกเราใช้พลังงานลมในรูปแบบของการแล่นเรือใบและกังหันลม โดยปัจจุบันแล้วส่วนใหญ่หันมาใช้ลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมนั่นเอง

เมื่อปี 2019 มีการเก็บสถิติกำลังการผลิตพลังงานลม มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 24% ซึ่งก็ทำได้สูงกว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำได้อยู่ 20% ของกำลังการผลิตพลังงานทั่วโลก

3. พลังงานความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นตัวอย่างของการใช้ในอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานหมุนเวียนอีกประเภทนึงที่ผลิตได้มาก 

พื้นดินใต้เท้าของเรามีพลังงานจำนวนไม่จำกัด เป็นผลมาจากพื้นผิวที่ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ลึกลงไปในพื้นโลก ซึ่งความนิยมหลัก ๆ มาจากการเลือกใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

4. พลังงานน้ำ

“กังหันน้ำ” เป็นเทคโนโลยีที่มาก่อนกาลมาก ๆ เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้ในรูปแบบที่ยังคงมีพื้นฐานมาจากความคิดตั้งต้น โดยใช้พลังงานน้ำในการเคลื่อนที่เพื่อก่อให้เกิดพลังงาน ก่อนจะปรับใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

สามประเทศที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำมากที่สุดในโลก เป็นสถิติที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2018 ได้แก่ จีน (352,261 เมกะวัตต์), บราซิล (104,195 เมกะวัตต์) และสหรัฐอเมริกา (103,109 เมกะวัตต์)

5. พลังงานชีวภาพ

พลังงานชีวภาพ หรือ พลังงานชีวมวล คือการใช้อินทรียวัตถุเพื่อการใช้พลังงานที่หลากหลาย อาทิ ไม้, พืชผล, ขยะในสวน รวมถึง ของเสียจากสัตว์และมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่นการใช้ไม้หากต้องการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

แต่สำหรับพลังงานนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อย เนื่องจากยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายด้านที่อาจต้องนำมาประกอบการพิจารณาในอนาคต แต่หากพูดถึงประโยชน์ที่ได้รับในตอนนี้และเทียบกับพลังงานสิ้นเปลือง พลังงานชีวภาพ อยู่ในระดับที่จิ๊บจ๊อยกว่ามากทีเดียว

พลังงานหมุนเวียน

แนวโน้มพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย และการปรับใช้ในอุตสาหกรรม

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จับมือกับ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน จัดงานสัมนา AEDP (Alternative Energy Development Plan) ภาคประชาชน เพื่อนำเสนอปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนาพลังงานที่จะเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ยังดำเนินไปพร้อมกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้เชื่อเหลือเกินว่าพวกเรากำลังเดินทางเข้าใกล้กับยุคแห่งการใช้พลังงานหมุนเวียนขับเคลื่อนเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสม แม้จะดูเหมือนว่าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ หากเกิดเป็นเทรนด์ของโลกเมื่อไหร่จะสร้างประโยชน์มากมายให้แก่ “อุตสาหกรรมการผลิต” และ “สิ่งแวดล้อม” อย่างมากแน่นอน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลความรุ้ดี ๆ สำหรับเรื่องของ “พลังงานหมุนเวียน” 

https://www.clean-energy-ideas.com/energy/renewable-energy/the-5-main-types-of-renewable-energy/
https://www.nrdc.org/stories/renewable-energy-clean-facts