รู้ไว้เป็นประโยชน์ ข้อดีของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ ฮีโร่แห่งการทำซ้ำ

ต่อเนื่องจากบทความสาระอุตสาหกรรมครั้งก่อนของโรงกลึงพี-วัฒน์ เรื่อง คนทำงานอุตสาหกรรม ทำไมต้องรู้จัก “จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” (ใครยังไม่ได้อ่านคลิกที่ลิงก์นี้ได้เลยครับ https://pwat.co.th/why-know-jigs-fixtures) เราได้แชร์เนื้อหาความหมายของจิ๊กและฟิกเจอร์ รวมถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเครื่องมือดังกล่าวไปแล้ว หลายๆ คนในแวดวงอุตสาหกรรมโดยเฉพาะวงการงานกลึงโลหะ งานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับจิ๊กและฟิกซ์เจอร์เป็นหลักน่าจะได้ประโยชน์จากตรงนี้มากขึ้น ในวันนี้โรงกลึงพี-วัฒน์จะนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมที่ยังคงเป็นประโยชน์เช่นเดิม เกี่ยวกับ ข้อดีของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของเครื่องมือนี้มากขึ้น

อ้างอิงเนื้อหาทางวิชาการของ National Institute of Technology Calicut (NITC) ได้จำแนกข้อดีของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ออกแบบ 4 ด้านสำคัญๆ ดังนี้

ผลผลิต:
จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ช่วยเพิ่มผลผลิตโดยช่วยเรื่องการจัดการการมาร์กตำแหน่งของชิ้นงาน เมื่องานในโรงกลึงต้องการผลผลิตจำนวนมาก จิ๊กและฟิกซ์เจอร์จะช่วยลดเวลาในการทำงานได้อย่างมาก เนื่องจากความเร็วการป้อนและความลึกของการตัดเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีความแข็งแกร่งในการจับยึดสูง

ความสามารถในการแลกเปลี่ยนและคุณภาพ:
จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตชิ้นงานในปริมาณมากอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่เสริมคือมีความแม่นยำระดับสูง และให้คุณภาพที่สม่ำเสมอ รวมถึงคุณสมบัติหลักที่ขาดไม่ได้คือความสามารถในการแลกเปลี่ยนแทนกันได้ (interchangeability) กล่าวคือสามารถผลิตชิ้นงานจำนวนมากที่ซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ คือมีขนาด มีสเปค เท่ากันเป๊ะ ส่งผลให้ช่วยผู้ประกอบโรงกลึงสามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

ใช้งานง่าย:
ช่างเทคนิคหรือผู้ใช้งานจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ในโรงกลึงไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญมากนักก็สามารถใช้งานได้คล่องแคล่ว เพราะใช้งานง่าย ช่วยให้ผู้ประกอบการโรงกลึงสามารถจ้างพนักงานควบคุมเครื่องจักรที่ไม่ต้องมีทักษะมากนัก เพื่อช่วยอประหยัดค่าแรงงาน

ลดต้นทุน:
การผลิตที่สูงขึ้น การลดเศษวัสดุ ประกอบง่ายและประหยัดต้นทุนแรงงาน ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงสูงสุด

ขอบคุณบทเรียนด้านเครื่องมืออุตสาหกรรมจาก nitc.ac.in

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ คืออะไร ? ทำไมคนทำงานอุตสาหกรรมต้องรู้จัก

การดำเนินการผลิตชิ้นงานหรือชิ้นส่วนอุตสาหกรรมจำนวนมาก (mass production) ให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับ “interchangeability” หรือความสามารถในการแลกเปลี่ยนกันได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบให้ง่ายขึ้น ไวขึ้น (เพราะต้องผลิตเป็นจำนวนมาก) และช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยนั่นเอง สิ่งสำคัญคือต้องมีวิธีการจัดวางตำแหน่งที่ง่ายและรวดเร็ว วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมานั้น อุปกรณ์ชนิดนี้มีชื่อว่า จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ คืออะไร

“จิ๊กและฟิกซ์เจอร์” หรือ อุปกรณ์จับยึด เป็นเครื่องมือในการผลิตที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่เหมือนๆ กันหรือซ้ำๆ กัน และใช้แทนกันได้อย่างแม่นยำ กล่าวคือเป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติ interchangeability ดังที่ได้กล่าวไป ที่สำคัญในแต่ละโรงกลึง ส่วนใหญ่แล้วจิ๊กและฟิกซ์เจอร์จะได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถกลึงหรือประกอบชิ้นส่วนจำนวนมากให้ออกมามีสเปค รูปร่างและขนาดได้เหมือนกัน และเพื่อให้แน่ใจว่าส่วนประกอบสามารถเปลี่ยนกันได้ (หมายถึงมีคุณสมบัติ interchangeability แลกเปลี่ยนกันได้ ใช้แทนกันได้ในแต่ละชิ้นงาน เพราะมีรูปร่าง ขนาด สเปค เหมือนกันเป๊ะๆ นั่นเอง)

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ คืออะไร

Jigs (จิ๊ก)

เป็นอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน ตามตำแหน่งที่ถูกระบุไว้ เพื่อนำทางให้เครื่องมือตัด สำหรับการผลิตชิ้นงานแบบเฉพาะทาง เช่น อะไหล่แต่งรถ อะไหล่ชิ้นส่วนเครื่องจักรเฉพาะทาง เป็นต้น

โดยปกติจิ๊กจะติดตั้งบูชเหล็กชุบชนิดแข็ง เพื่อความแข็งแรง แน่นหนา เพื่อจับยึดไม่ให้ชิ้นงานไม่ขยับไปไหน ในขณะที่เครื่องมือตัดกำลังทำงาน ซึ่งก็ถือว่าเป็นการแนะแนวทางการเดินของเครื่องตัดไปในตัว เพราะเครื่องตัดก็จะต้องตัดตามแนวทางที่จิ๊กยึดไว้ตามตำแหน่ง ดังที่กล่าวอีกนัยนึงคือจิ๊กถือเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่ใช้ควบคุมตำแหน่งและ/หรือการเคลื่อนไหวของเครื่องมืออื่นๆ ในการผลิต

จุดประสงค์หลักของจิ๊กคือการให้ความสามารถในการทำซ้ำ ความแม่นยำและ ความสามารถในการใช้แทนกันได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ดังที่กล่าวไปเรื่องคุณสมบัติ interchangeability

สรุป: อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ทั้งสองอย่าง จับงานและชี้แนะเครื่องมือในการผลิต เรียกว่า “จิ๊ก”

จิ๊กและฟิกซ์เจอร์ คืออะไร

ฟิกซ์เจอร์ (Fixtures)

เป็นอุปกรณ์จับชิ้นงานที่ยึดรองรับและระบุตำแหน่งชิ้นงานสำหรับการใช้งานเฉพาะ แต่ไม่ได้แนะนำทางเดินให้กับเครื่องมือตัดเหมือนอย่างจิ๊ก

สิ่งที่ทำให้ฟิกซ์เจอร์ไม่เหมือนใคร คือแต่ละชิ้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เข้ากับชิ้นส่วนหรือรูปร่างเฉพาะ โรงกลึงแต่ละที่ส่วนใหญ่ก็จะมีฟิกซ์เจอร์ของตัวเองก็ว่าได้

จุดประสงค์หลักของการติดตั้งฟิกซ์เจอร์คือ เพื่อค้นหาและในบางกรณีถือชิ้นงานระหว่างการตัดเฉือนหรือกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่นๆ จิ๊กแตกต่างจากฟิกซ์เจอร์ตรงที่มันนำเครื่องมือไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องนอกเหนือจากการระบุตำแหน่งและรองรับชิ้นงาน

ตัวอย่าง: แท่นจับชิ้นงาน

สำหรับในบทความนี้คิดว่าทุกคนคงได้รู้จักจิ๊กและฟิกซ์เจอร์กันมากขึ้น เข้าใจประโยชน์ของเครื่องมือชนิดนี้กันบ้างแล้ว สำหรับครั้งหน้าบทความดีๆ จากโรงกลึงพี-วัฒน์จะของนำเสนอข้อดีของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ แล้วรอติดตามกันได้เลยครับ

ขอขอบคุณบทเรียนด้านเครื่องมืออุตสาหกรรมจาก nitc.ac.in

มาตรฐานอุตสาหกรรม ในประเทศไทยมีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

มาตรฐานอุตสาหกรรม

มาตรฐานอุตสาหกรรม ของไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

-1-

มาตรฐานอุตสาหกรรม

มาตรฐานบังคับ ประเภทที่ผู้ผลิตต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน เป็นเครื่องหมาย มอก. (สีน้ำแดง) ที่แสดงบน
ผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่
ผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดข้ึนแก่เศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิต ผู้นำ้เข้าและผู้
จำหน่ายจะต้องผลิต นำเข้าและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น ถ้าผลิต
ไม่ได้มาตรฐานจะผิดกฎหมาย เช่น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต และกระจก
นิรภัยรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องติดเครื่องหมาย มอก.


เครื่องหมาย มอก. แสดงถึงคุณภาพของมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ว่าผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองใน
ด้านความปลอดภัยรวมทั้งไดรับความเป็นธรรมจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เช่น มอก.
20-2527 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม เป็นต้น

-2-

มาตรฐานอุตสาหกรรม

มาตรฐานทั่วไป ประเภทที่ผู้ผลิตต้องผลิตให้ได้มาตรฐานหรือไม่ก็ได้เป็นเครื่องหมาย มอก. (สีน้ำเงิน) ที่แสดง
กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่บังคับ ผู้ผลิตสามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
ได้ด้วยความสมัครใจ แต่ถ้าผลิตได้มาตรฐานจะติดเครื่องหมาย เช่น มอก. 80-2550 ปูนซีเมนต์
ผสม เป็นต้น

ที่มา: เอกสารประกอบการเรียนการสอน นายโสฬส เกษวิริยะการณ์ ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร (cptc.ac.th)

สำหรับผู้ประกอบการ โรงงาน บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลึง ก็ต้องทำความเข้าใจและพยายามพัฒนาปรับปรุงกระบวนการและสินค้าของตนให้อยู่ในมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ เพื่อความมั่นใจของลูกค้าและผู้บริโภค

Image by aleksandarlittlewolf on Freepik

อะไรคือ “อุตสาหกรรมครัวเรือน” และ “อุตสาหกรรมโรงงาน” ?

อุตสาหกรรมโรงงาน

อุตสาหกรรม (Industry) เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของหรือจัดให้มีบริการ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ อุตสาหกรรมในครัวเรือน และ อุตสาหกรรมโรงงาน

โดยมีที่มาในคำจำกัดความเหล่านี้จากในสมัยยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่างๆ มากมาย และทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังเกี่ยวของกับลัทธิสังคมนิยมของ คาร์ล มาร์กซ (ลัทธิมาร์กซ) อีกด้วย

อุตสาหกรรมโรงงาน
Image by senivpetro on Freepik

ประเภทของอุตสาหกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. อุตสาหกรรมครัวเรือน อุตสาหกรรมการผลิตง่ายๆ เล็กๆ มักทำกันในครอบครัวหรือหมู่บ้าน ไม่ใช้แรงงาน ทุนและปัจจัยมาก แต่มักได้กำไรต่ำ อุตสาหกรรมจำพวกนี้มีตัวอย่าง เช่น หัตถกรรมจักสาน เซรามิก ถ้วยโถโอชามต่างๆ รวมไปถึงสินค้าประเภทอาหารบรรจถุงหรือหีบห่อที่มียี่ห่อบางชนิด เป็นตันด้วย และสินค้าโอทอป  (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัทฑ์) บางชนิดเองก็ถือเป็นอุตสาหกรรมอีกด้วย
  2. อุตสาหกรรมโรงงาน คือ อุตสาหกรรมที่ผลิตในโรงงาน สินค้ามักมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่เเตกต่างกันมากนัก พบมากในเขตเมือง หรือเขตที่มีความเจริญต่างๆ สินค้าพวกนี้มักเป็นสิ่งอุปโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เช่น กระดาษทิชชู บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง เครื่องนุ่งห่ม สุรา บุหรี่ เป็นต้น และสินค้าบางประเภทมีการโฆษณาส่งเสริมการขายด้วย

โรงกลึงของบริษัทพี-วัฒน์ ถือเป็นอุตสาหกรรมโรงงาน เนื่องจากชิ้นงานของเราผลิตในโรงงาน มีบริษัทจดทะเบียนถูกต้องและมีมาตรฐานในกระบวนการการผลิตและการทำงาน มีพนักงานขึ้นทะเบียนเสียภาษีถูกต้อง ลูกค้าจึงมั่นใจได้ในการผลิตงาน มั่นใจได้ในคุณภาพ และความซื่อสัตย์ใส่ใจที่เราให้ความสำคัญมาเสมอ

ที่มา: sites.google.com/site/nganchang1112