วิทยาการ หุ่นยนต์ ฉบับปี 2023 ยกระดับธุรกิจด้วย Robotics กันเถอะ !

หุ่นยนต์

มีมาต่อเนื่องจริง ๆ สำหรับ “คาดการณ์” ทั้งหลายแหล่เกี่ยวกับแวดวงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขอร้องขอวอนเลยว่าอย่างเพิ่งเบื่อกับเนื้อหาประเภทนี้ เพราะมันอาจจะช่วยอัพเดตข้อมูลที่จะทำให้คุณสามารถหยิบไปใช้พัฒนาธุรกิจองค์กรของคุณได้ โดยเฉพาะเรื่องของ “เทรนด์หุ่นยนต์” แม้เราจะเพิ่งพูดถึงไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่วิทยาการของเจ้า “หุ่นยนต์” ในอุตสาหกรรมนั้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่คอยช่วยงานอุตสาหการ โรงงาน สายพานการผลิต โรงกลึงต่าง ๆ และบอกเลยว่าหากคุณเป็นหนึ่งคนที่ข้องเกี่ยวกับกิจการประเภทนี้และหากไม่ได้ติดตามอยู่เสมอ บางทีอาจทำให้คุณพลาดสิ่งดี ๆ ที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณเลยก็ได้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน.. เทรนด์ “Robotics” ปี 2023 รู้ไว้.. ปรับใช้ ยกระดับธุรกิจคุณได้!

7 คาดการณ์เทรนด์ “อุตสาหกรรมหุ่นยนต์” สู่ธุรกิจ

ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มที่หุ่นยนต์ยังเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ มีความเทอะทะแถมยังกินพื้นที่อย่างมากภายในโรงงาน ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน หุ่นยนต์มีความหลากหลายและปรับเปลี่ยนได้มากกว่าที่เคยเป็นมา จนกลายเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินธุรกิจไปเสียแล้ว

โดยเฉพาะเมื่อเร็ว ๆ นี้ การเปลี่ยนแปลงมากมายของแวดวงธุรกิจ การหยุดชะงักของซัพพลายเชน การขาดแคลนแรงงาน แม้กระทั่งความไม่สงบที่เกิดขึ้นของปัญหาระหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ทำให้หลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการ ปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ สำหรับเครื่องมือหลักในการท้าทายสถานการณ์เหล่านี้นั้นก็คือเทคโนโลยี “หุ่นยนต์” ส่วนด้านล่างต่อไปนี้เป็น 7 การคาดการณ์ล่าสุดของวิทยาการนี้ในปี 2023…

1. ระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

หุ่นยนต์
Image by Freepik

แหล่งข้อมูลได้ชี้ถึงความสำคัญของการที่นักวิเคราะห์ได้กล่าวว่า 1 ใน 3 ขององค์กรยุโรปกำลังให้ความสำคัญกับระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ตอนนี้เรากำลังก้าวสู่ทศวรรษแห่งข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ก็ไม่ต่างกัน เทคโนโลยีการทำงานแบบอัตโนมัติกลายเป็นระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากขึ้น โดยเน้นที่การใช้โชลูชันตามเนื้อหาที่ได้รับจากการเก็บสถิติบนโลกแห่งความจริง ซึ่งระบบโลจิสติกส์เป็นที่เดียว ณ ตอนนี้ ที่จะทำให้คุณได้เห็นระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งหลายที่ก็ได้ใช้หุ่นยนต์เข้ามาเป็นส่วนในการตัดสินใจด้วยเหตุผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล

2. การเพิ่มความสามารถให้มนุษย์ด้วยหุ่นยนต์

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 35 เปอร์เซนต์ ขององค์กรจะรวบรวมหุ่นยนต์เชิงกายภาพผสมผสานกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ พัฒนาความสามารถของมนุษย์ และแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน บริษัทต่าง ๆ เริ่มตระหนักมากขึ้นว่าหุ่นยนต์ไม่ได้มาแทนที่งานของมนุษย์ แต่เป็นวิธีที่จะปรับปรุงสิ่งที่มนุษย์ทำได้อยู่แล้ว เนื่องจากหลายอุตสาหกรรมประสบปัญหาทักษะและการขาดแคลนแรงงาน หุ่นยนต์จึงเข้ามาเสริมในจุดนี้ เรียกว่าเป็นการเติมเต็มช่องว่างที่มีได้อย่างแนบเนียน

3. การใช้ Cobot เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หุ่นยนต์
Image by Lifestylememory on Freepik

เจ้า Cobot หรือในพากย์ไทยว่า “หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน” ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งคีย์แมนแนวหุ่นยนต์ในทศวรรษที่ผ่านมา และคาดว่าโคบอทจะคิดเป็น 30 เปอร์เซนต์ ของตลาดหุ่นยนต์ทั้งหมดภายในปี 2027 โคบอทนั้นได้รับการออกแบบมาให้ทำงานเคียงข้างมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยและใช้งานง่าย ทำให้เหมาะสำหรับบริษัทที่ไม่มีประสบการณ์ด้านวิทยาการหุ่นยนต์มาก่อน และไม่มีพื้นที่หรือทรัพยาเพียงพอจะรองรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยในระดับสูง

4. หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ “กำลังจะมา”

สถานการณ์ตอนนี้ดูเหมือนหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติกำลังย่างกรายเข้าสู่ธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในภาคส่วนของ “โลจิสติกส์” ณ งานแสดงสินค้าของ Automatica (งานจัดแสดงเทคโนโลยี Automation) ครั้งที่ผ่านมา มีหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้น เทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นตั้งแต่แรก เริ่มถูกใช้งานแพร่หลาย ส่วนที่พัฒนาใหม่ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งตอนนี้ก็มุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าใหญ่อย่างโลจิสติกส์ ก่อนที่จะขยายไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป

5. ระบบอัตโนมัติสำหรับประกอบชิ้นส่วน “อิเล็กทรอนิกส์” จะเติบโต

อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์คือการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการประกอบชิ้นส่วนนั้นกำลังมา! ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดตอนนี้ เช่น การขันสกรูด้วยหุ่นยนต์เป็นงานทำซ้ำที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ทำให้งานประกอบนั้นเสร็จเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก หุ่นยนต์สามารถประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์ได้อย่างสม่ำเสมอกว่าแรงงานมนุษย์ที่ทำงานลักษณะเดียวกัน สิ่งนี้สามารถประหยัดเวลาและงบของบริษัทในขณะที่ช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยมนุษย์ควบคู่กันไป

หุ่นยนต์
Image by Freepik

6. อุตสาหกรรมยานยนต์ “ตกบัลลังก์” ด้านหุ่นยนต์เป็นครั้งแรก

นับเป็นเวลานานมากแล้วที่อุตสาหกรรม “ยานยนต์” นั้นเป็นผู้นำของระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ แต่ล่าสุดก็เสียตำแหน่งนี้แล้วเรียบร้อย ในปี 2020 จำนวนการนำหุ่นยนต์ไปใช้ในงานยานยนต์นั้นมากกว่าประเภทอื่นเป็นปกติ แต่ปี 2021 มีจำนวนเท่ากับการใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นรวมกันเป็นครั้งแรก จากข้อมูลนี้ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่าอุตสาหกรรมอื่นนั้นเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้นแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน!

7. วิทยาการหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดและปรับตัวได้มากขึ้น

ขึ้นชื่อว่า “หุ่นยนต์” นอกจากจะพัฒนาเรื่องความฉลาดได้เรื่อย ๆ แล้ว ตอนนี้การปรับได้หลากหลายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้รับความนิยม เทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ของหุ่นยนต์สามารถรวบรวมข้อมูลตามเวลาจริงเข้ากับการปฏิบัติงานได้ ซึ่งนั่นจะทำให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตลอดจนการดำเนินงานทำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของอัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้งานได้จริง มีการคาดหวังว่าเร็ว ๆ นี้ ทุกคนจะได้เห็นหุ่นยนต์ชั้นสูงและมีความสามารถที่ซับซ้อนมากขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้า

เหนือสิ่งอื่นใด “หุ่นยนต์ต้องใช้งานง่าย”

กุญแจสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ นอกจากความอัจฉริยะ ความฉลาดของ AI สิ่งที่ทำให้ถูกเลือกใช้จนกลายมาเป็นเทรนด์ฮอตฮิต คือ การเพิ่มขึ้นของหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมร่วมสมัยผ่านการใช้งานด้วยแอพพลิเคชั่น ทำให้อุปสรรคในการก้าวเข้าสู่ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัตินั้นลดน้อยลง ซึ่งในปัจจุบัน หุ่นยนต์กลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกบริษัทที่จะใช้ ไม่ใช่แค่บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์เท่านั้น เพราะดูเหมือนว่าแนวโน้มไปสู่หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายจะดำเนินต่อไป นอกจากชุดแอพพลิเคชั่นแล้ว เราจะได้เห็นโมเดลธุรกิจที่ใช้หุ่นยนต์เป็นบริการเพิ่มมากขึ้นแน่นอน

แม้เราอาจยังไม่ทราบถึงสถานการณ์ที่แน่ชัดของสิ่งต่าง ๆ ว่าจะเปลี่ยนไปอย่างไรในปี 2023 นี้ แต่หวังว่าการคาดการณ์สำหรับเทรนด์ที่จะเข้ามายกระดับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ภายในเนื้อหาวันนี้ ช่วยให้คุณเกิดไอเดียมาปรับใช้กับธุรกิจคุณได้ และหากคุณยังไม่เคยลองศึกษาการใช้หุ่นยนต์ในธุรกิจ… ไม่มีอะไรเหมาะสมไปกว่าตอนนี้แล้ว!

Credit : ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลมา ณ ที่นี้

RPA คืออะไร ? ตัวช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพหลังบ้านกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงาน

RPA คืออะไร

ยุคของอุตสาหกรรม 4.0 แบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำถามที่ว่า RPA คืออะไร เป็นสิ่งที่ได้ยินอยู่เสมอในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ในภาคของการผลิตได้ยกระดับความก้าวหน้าให้อุตสาหกรรมโรงงาน ณ ปัจจุบันขณะอย่างเห็นได้ชัดเจน จากกระบวนการนี้ได้ใช้สอยประโยชน์จากหุ่นยนต์ ทั้งเพื่อการทดสอบก็ดี การใช้งานจริงก็ดี ซึ่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้ก็ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานสายการผลิตได้เป็นอย่างดี กลายเป็นมาตรฐานที่โรงงานทั่วโลกนั้นเลือกใช้

อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าข้อมูลยังมีบางภาคส่วนต้องเจอกับความยากลำบากในการจัดการปัญหา “หลังบ้าน” ปัญหาที่ว่านี้เป็นเรื่องของการเก็บข้อมูล รักษากระบวนการในการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบ ซึ่งหากจัดการได้ดีจะส่งผลดีอย่างมากต่อธุรกิจ

โดยส่วนใหญ่แล้วจุดสังเกตที่พบเห็นได้บ่อยมาจากขาดความชำนาญการ ระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ค่อนข้างล้าสมัย กระทบถึงกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลามากเกินความจำเป็น ณ จุดนี้ จึงเป็นที่มาของตัวเอกอย่าง เทคโนโลยี RPA

RPA คืออะไร

RPA คืออะไร ส่งผลต่อกระบวนการใดของโรงงานอุตสาหกรรม ?

RPA คืออะไร น่ะหรือ ??? RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลของฝั่ง IT ซึ่งระบบข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้กัน

หากรันวงการด้วย RPA ที่เปรียบเสมือนหุ่นยนต์ในระบบสายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรันแบบอัตโนมัติ การผลิตซ้ำชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้หากเป็นการทำ Rule-based โดยมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งของเรื่องความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม แต่จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับสิ่งนี้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากธุรกิจของคุณแน่นอน

แน่นอนว่าในสายการของการผลิต CNC ถือเป็นคีย์แมนของกระบวนการนั้น ส่วนทางด้านของ RPA ก็กล่าวได้ว่าเป็นจอมทัพด้านข้อมูลเมื่อถูกติดตั้งกับระบบหลังบ้านในธุรกิจของคุณ หากมีการประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะยกระดับให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของคุณได้แบบก้าวกระโดด

การใช้งาน RPA ในโรงงานอุตสาหกรรม

จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า RPA นั้นถึงจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า “หุ่นยนต์” แต่นิยามของสิ่งนี้เป็นในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ที่เที่ยงตรง ซึ่งอยู่ในกระบวนการของซอฟต์แวร์ ดูแลอยู่ในโลกของดิจิทัลเป็นหลักเสียมากกว่า พอพูดแบบนี้ก็น่าจะเห็นภาพแตกต่างกับเหล่าบรรดาหุ่นยนต์ในสายการผลิตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดทรัพยากรแรงงานรวมถึงความผิดพลาดต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นในมนุษย์ เพิ่มความสามารถด้านระบบการจัดการซัพพลายเชน ให้มีความทันโลกไม่หลงยุคสมัย และที่มั่นใจได้เลยแน่นอนคือ RPA จะเข้ามายกระดับขององค์กรในส่วนของพนักงานออฟฟิศ ตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมทุกข้อมูล 100%

NOTE: โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็กำลังจับตาดูกระแสทั้งในเรื่อง RPA และ iOT อย่างจริงจั งเพื่อลงทุนนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งานในออฟฟิศ ยิ่งในสถานการณ์ที่ออฟฟิศหลังบ้านยังคงต้อง WFH ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาด RPA ยิ่งจะช่วยตอบโจทย์ให้โรงกลึงของเรายังคงดำเนินการทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านได้อย่างมีเสถียรภาพ

ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ที่สามารถนำ RPA มาใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีดังนี้

RPA คืออะไร
ออกบิลสำหรับวัสดุ (BOM)

สำหรับการออกบิลสำหรับวัสดุ (Bill of Material) ถือเป็นเอกสารสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ ลองจินตนาการเปรียบเทียบดูว่า หากเราต้องนั่งคีย์ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวัสดุของโรงงาน ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน.. 

แต่สำหรับ RPA แล้ว นอกจากเรื่องของการทำซ้ำจะเป็นจุดเด่นแล้ว ความแม่นยำของข้อมูลก็เป็นเลิศ กลายเป็นว่าไม่เพียงแค่ลดความเสียหายขององค์กร ทั้งยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งผลก็มาจากการคาดคำนวนผ่านระบบของซอฟต์แวร์นั่นเอง

รายงานด้านข้อมูล (Administration)

การรายงานด้านข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเหมือนกันสำหรับกระบวนการทำธุรกิจ การหยิบใช้ RPA ในส่วนงานของ “แอดมิน” จะทำให้เข้าถึงทุกข้อมูล ทุกรายงาน ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่อยู่ในธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณบริหารธุรกิจได้สอดคล้องกับรายงาน ทำให้การตัดสินที่จะจัดการในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้น

ลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ทั้ง ๆ ที่คำนิยามในเรื่องของ “หุ่นยนต์” แต่กลับเกี่ยวเนื่องกับการทำ CRM (Customer Relationship Management) อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องขอบคุณในความแม่นยำของข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บได้อย่างครบถ้วนภายในธุรกิจของคุณโดยเทคโนโลยี RPA ไม่มีข้อแม้ทั้งในเรื่องของติดตามสินค้า การวิจารณ์เกี่ยวกับตัวโปรดักต์ จนไปถึงเรื่อง ๆ อื่น ที่ใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อสนับนุนลูกค้าของธุรกิจคุณ หรือจะเป็นในเรื่องของการแก้ไขสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง พร้อมให้คุณรับทราบได้อย่างทันท่วงที

บริหารระบบขนส่ง (Logistics)

การจัดการบริหารระบบขนส่งภายในธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งในงานหินของอุตสาหกรรมแขนงนี้ กระบวนการที่มีความหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลอันแสนซับซ้อน บอกเลยว่า RPA นั้นยินดีอย่างมากในการช่วยเหลือ การผสานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ตลอด ผสานเข้ากับเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่คุณจะได้คือศักยภาพในการส่งขนส่งที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

ทั้งในรายงานทางเลือกที่เหมาะสม ความคุ้มทุน การประกัน และสิ่งสำคัญอย่างระยะเวลาในการขนส่ง แถมยังสามารถติดตามการขนส่งได้แบบ Real-Time หลายขั้นตอน หลายประโยชน์ที่จะได้รับขนาดนี้ แล้วมันมีเหตุผลไหนที่จะทำให้คุณไม่เลือกใช้ RPA ล่ะ..

RPA คืออะไร

จัดการระบบข้อมูลด้วย RPA สู่ชิ้นงานคุณภาพในราคาที่เหมาะสม

การใช้งาน RPA เป็นซอฟต์แวร์ช่วยดำเนินธุรกิจ มีประโยชน์มากมายและช่วยยกระดับในทุกโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังที่กล่าวไปแล้ว ในส่วนของโรงกลึงพี-วัฒน์ เราก็ยังคงมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในเรื่องของความเอาใจใส่ในลูกค้า ความตรงต่อเวลา การมีระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงแบบนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในกระบวนการอื่นแล้ว ยังทำให้เราสามารถผลิตสินค้าด้วยวัสดุคุณภาพสูงภายใต้ราคาที่เหมาะสมได้อยู่เสมอตลอดระยะเวลาที่เปิดบริการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลคุณภาพ :

RPA Industry Reference (bluefishsolution.com)

How RPA can be utilized in Manufacturing Sector – PLM,ERP,IIoT – Neel SMARTEC Consulting

RPA for the Manufacturing Industry – Manufacturing Automation | UiPath