เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดีหากเราเอ่ยถึง GPS แต่สำหรับ Beacon (บีคอน) อาจมีเลิ่กลั่กกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งเจ้าสิ่งนี้เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีบนหมวด IoT (Internet of Things) และเมื่อมีการกล่าวถึงจำพวกนี้ สิ่งที่คุณจะได้รับจากพวกเขาเหล่านี้คือการยกระดับธุรกิจในยุคของเทคโนโลยีแน่นอน
คำถามคือ.. ทำไมวันนี้เราถึงอยากจะนำเรื่องนี้มาบอกเล่าแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน เพราะอันที่จริงแล้วสถานะของ Beacon ในปัจจุบันนั้นมีอิทธิพลกับสองอุตสาหกรรมที่ได้รับคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้มากที่สุด คือ “การค้าปลีก” และ “การตลาด”
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ข้อมูลล่าสุดจาก Global Market Insights ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าตลาดของ “Beacon” จะเติบโตเกิน “สองหมื่นห้าพันล้าน” ในปี 2025 แล้วหน่วยเงินที่ว่านี่หมายถึง “ดอลลาร์สหรัฐ” มันทำให้เราไม่อาจจะมองข้ามได้จริง ๆ
ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักหรือเคยได้ยินแค่คร่าว ๆ อยากรู้แล้วว่าสิ่งนี้คืออะไร มีบทบาทอะไรต่อธุรกิจได้บ้าง.. เรามาเริ่มกันเลยนับแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป!
Beacon คืออะไร ?
อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้น Beacon นั้นเป็นหนึ่งในจำพวกเทคโนโลยี IoT ส่วนหลักการทำงานของสิ่งนี้นั้นจะมีความคล้ายเทคโนลียี RFID แต่จะแตกต่างกันตรงที่ RFID จะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ ส่วน Beacon นั้นสัญญาณหลักของตัวอุปกรณ์คือการใช้ บลูทูธ (Bluetooth) โดยทั้งสองสิ่งนี้นั้นมีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นก็เพื่อการใช้งานในที่ที่ GPS นั้นเข้าไม่ถึง หรือไม่สมารถระบุตำแหน่งได้อย่างแน่ชัด เช่น ห้างร้าน อาคารต่าง ๆ เป็นต้น
หลักการทำงานและประเภทของ Beacon
หลักของ Beacon หัวใจคือการกำหนดตำแหน่งพื้นที่ภายในและภายนอกในระยะใกล้ ร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ของ IoT กล่าวคือสิ่งนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด ใช้เพื่อตรวจจับการมีอยู่ของมนุษย์ในบริเวณใกล้เคียง หรือสิ่งของก็ได้เช่นกัน เช่น อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจติดไว้ที่เครื่อง CNC ภายในพื้นที่การผลิตของโรงกลึง เพื่อกำหนดตำแหน่งของ asset นั่นๆ จากนั้นเพื่อใช้ประโยชน์ต่อในด้านการส่งข้อมูลที่เราได้กำหนดเอาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อมอบสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของคุณ นั่นหมายถึง Beacon ต้องทำงานร่วมกับระบบหลังบ้านที่สามารถกำหนดตั้งค่าใด ๆ ได้ เสมือนแอพลิเคชั่นนึงนั่นเอง
แล้วเจ้า Beacon นี้ทำงานอย่างไร ?
Beacon ทำงานร่วมกับระบบแอพลิเคชั่นหลังบ้าน แต่เราจะขอข้ามในส่วนของการกำหนดค่าด้วยซอฟต์แวร์เอนจิเนียร์ไปก่อน เพราะมันจะลงลึกในเชิงของการพัฒนาโปรแกรมมิ่งจนเกินไป การตั้งค่าในส่วนนี้ต้องใช้ความชำนาญรวมถึงข้อมูลธุรกิจที่แตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรม แต่โดยหลักแล้วกระบวนการและปลายทางต่างต้องการผลลัพธ์จากสิ่งนี้เหมือนกันแทบทั้งหมด
ส่วนการทำงานจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ เพื่อให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ณ จุดดังกล่าวเป็นคนตัดสินใจขั้นตอนสุดท้ายว่าจะรับการแจ้งเตือนจากสิ่งนี้หรือไม่ แต่ปัญหาที่พบโดยมาก ยังมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่น้อยเลยที่ไม่ได้เปิดบลูทูธตลอดเวลา
ดังนั้น ชาเลนจน์ของผู้พัฒนาคือการบอกเล่าสิ่งที่น่าสนใจ รวมถึงประสบการณ์เต็มรูปแบบที่จะได้รับจากการเปิดใช้งานแจ้งเตือนของ Beacon ซึ่งก็เป็นด่านแรกที่จำเป็นต้องกระตุ้นเพื่อขอให้ผู้ใช้งานเปิดบลูทูธ และยังเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดหากต้องใช้สอยประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ
ประเภทของ Beacon ณ ปัจจุบัน
Beacon นั้นมีมากหมายหลายประเภท รวมถึงขนาดต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจ เลือกได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
- แบบมาตรฐาน เป็นแบบระยะใกล้ใช้สำหรับติดตามในตัวอาคาร โดยอุปกรณ์จะมีขนาดพอ ๆ กับ เราเตอร์ Wi-Fi อาจเล็กหรือใหญ่กว่านิดหน่อย
- แบบพกพา / ขนาดเล็ก ใช้สำหรับติดตามสิ่งของโดยส่วนใหญ่ รวมถึงใช้เป็นเซนเซอร์วัดระยะความใกล้ชิดของคนรวมถึงสิ่งของ มีขนาดประมาณบัตรเครดิต
- แบบ USB ขนาดเล็กลงไปอีก ใช้สำหรับการติดตามทรัพย์สินเช่นกัน แต่ด้วยขนาดและการออกแบบทำให้ปรับใช้ได้สะดวกขึ้น พกพาง่าย หยิบจับใช้งานได้เร็ว
- แบบวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เสียบด้านหลังหน้าจอ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพตามบริบทต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการจัดแสดงภาพ หรือ ข้อมูลสินค้าแบบภาพเคลื่อนไหว
- แบบสัญญาณ AI อุปกรณ์นี้มีความสามารถในการเรียนรู้สูงจะช่วยจับการเคลื่อนไหวท่าทางต่างของทุกสิ่งที่ต้องการได้
- แบบสติกเกอร์ อีกหนึ่งแบบที่ใช้สำหรับติดตามทรัพย์สิน สามารถออกแบบได้ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ต้องการ
- แบบเฉพาะ ออกแบบเฉพาะสำหรับสถานที่รวมถึงการใช้งานตามต้องการ มักใช้การติดตามภายนอก มีการใช้วัสดุที่มีความทนทานสูง เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อเทคโนโลยี
- Parent Beacon ใช้เพื่อติดตามอุปกรณ์ Beacon อื่น ๆ อีกที และสำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเก็บเอาไว้ในคลาวด์เซิฟเวอร์ รวมถึงปัจจัยอื่น
ทุกประเภทที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ มีการปรับ มีการประยุกต์อยู่เสมอ และคาดว่าจะมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายในอนาคตต่อไป เพื่อให้เข้ากับธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้มีทางเลือกการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ทิศทางของ Beacon เทคโนโลยี ในอนาคต
อย่างที่ย้ำอยู่เสมอว่า Beacon นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย IoT ในยุคที่ “สมาร์ทโฟน” เปรียบเสมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย นวัตกรรมที่ถูกเรียกว่า “Beacon เทคโนโลยี” ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้อย่างน่าตื่นเต้น จากที่เคยถูกคาดการณ์เอาไว้เมื่อปี 2015 ว่าสิ่งนี้จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สุดท้ายแล้วถูกพิสูจน์ด้วยกาลเวลาว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจได้จริง
รวมถึงความน่าสนใจที่เราได้กล่าวไว้ช่วงต้นว่าตลาดของ Beacon นั้นอาจสูงถึงระดับแตะหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 หากมองจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน อีกแค่ 4 ปี เท่านั้นก็จะได้รู้กันแล้วว่าเทคโนโลยีนี้จะมีมูลค่ามหาศาลอย่างที่กล่าวจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้ระหว่างทางทั้งกับผู้พัฒนาและผู้ใช้ เต็มไปด้วยประโยชน์นานัปการอย่างที่หลายธุรกิจ หลายอุตสาหกรรมคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้
สำหรับแวดวงอุตสาหกรรมโรงงานเองก็ต้องติดตามเทคโนโลยีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นประโยชน์มากกับการพัฒนากระบวนการทางวิศวกรรม เพื่อพัฒนาปรับปรุงจากกระบวนการเดิมให้ทันสมัย และช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าเดิม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคและสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้เช่นกัน นับว่าต้องจับตาดูกันเลยที่เดียวว่าจะมี Beacon อะไรใหม่ๆ ออกมาในตลาดบ้านเราและมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจ …เริ่มก่อน สำเร็จก่อน
ขอขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาดี ๆ จาก https://www.intellectsoft.net/blog/what-are-beacons-and-how-do-they-work