เทรนด์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง 2022

เทรนด์หุ่นยนต์

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการของหุ่นยนต์ได้แปรเปลี่ยนจากการเป็นแค่นิทรรศการอุตสาหกรรมราคาแพงที่เกินเอื้อม กลายมาเป็นตัวช่วยในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในรูปแบบอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ ตลอดจนเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน เมื่อได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

สาเหตุหลัก ๆ มาจากการพัฒนาที่รุดหน้าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีแมชชีนวิชั่นที่ดีกว่าแต่ก่อน รวมถึงด้านความพร้อมในการใช้หุ่นยนต์ที่กว้างขึ้น ซึ่งจากแหล่งข้อมูลที่เราได้หามา สิ่งที่พิสูจน์ความนิยมของเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี คือ สถิติจากสมาคมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (RIA) ที่ชี้ว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 นับเป็นครั้งแรกเลยที่คำสั่งของผู้จัดจำหน่ายต่าง ๆ เป็นของ “ชิ้นส่วนหุ่นยนต์” มากกว่าอุปกรณ์ยานยนต์

เทรนด์หุ่นยนต์

ส่องเทรนด์หุ่นยนต์ ปี 2022 อุตสาหกรรมแห่งโลกอนาคต

อย่างที่ได้กล่าวไปช่วงต้น ตลอด 2 ปีที่ผ่านมานี้วิทยาการต่าง ๆ ได้เร่งแนวโน้มของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง นั่นก็มาจากการออกแบบ AI ที่มีความคล่องตัวกว่าเดิม และการนำเรื่องของ IIoT ที่ตอนนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงความต้องการที่อยากจะปรับโครงสร้างให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานและหุ่นยนต์มากขึ้น ซึ่งหากทุกอย่างดำเนินไปข้างหน้าอย่างลงตัวจะส่งผลดีเยี่ยมต่อโลกอนาคตของอุตสาหกรรมแขนงนี้ และต่อไปนี้ที่คุณจะได้อ่านกันเป็นแนวโน้มของวิทยาการด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่รังสรรค์ผ่านประสบการณ์ของ Marla Keene นักเขียนเทคโนโลที่คร่ำหวอดในวงการมากกว่าทศวรรษ ซึ่งเขามั่นใจอย่างมากว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมในปี 2022 และปีต่อ ๆ ไป แน่นอน

เทรนด์หุ่นยนต์ซ่อมบำรุงที่มาแรง! (Maintenance Robots)

หนึ่งในงานที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรม คือ การซ่อมบำรุง โดยการคาดการณ์และป้องกันการเสียหายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในส่วนของปฏิบัติการก็ต้องบอกว่ามีความเหมาะอย่างมากที่จะใช้หุ่นยนต์สำหรับเรื่องนี้

งานบำรุงรักษามักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ดังนั้นไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะไม่ใช่หุ่นยนต์มาทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน นอกจากนี้เครื่องมือ AI ภายในเครื่องจักรระดับแอดวานซ์ยังสามารถช่วยให้คุณพัฒนาระดับการบำรุงรักษาให้สูงยิ่งขึ้นตามไปด้วย ไล่ตั้งแต่กระบวนการที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางไปจนถึงการปล่อยให้หุ่นยนต์ทำงานแบบอิสระ เมื่อเวลาผ่านไป AI และวิทยาการหุ่นยนต์สามารถเรียนรู้เพื่อปรับใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ซึ่งว่ากันว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เดินทางสู่การดำเนินการเชิงคาดการณ์เชิงรุก เรียกว่าเป็นการซ่อมแซมก่อนที่จะเกิดปัญหา ทั้งหมดนี้ทำได้จากการป้อนค่าเพื่อระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นผ่านข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

เทรนด์หุ่นยนต์

โมเดล Robots As A Service 

ช่วงวิกฤตด้านทักษะที่ใหญ่ที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ใช่ทุกบริษัทจะสามารถสนับสนุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ในการนำมาใช้ร่วมกันกับบุคลากรของพวกเขา แต่ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว เพราะคุณมีสิทธิ์เพลิดเพลินกับกระบวนการอัตโนมัติของหุ่นยนต์ผ่านโมเดล Raas หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Robots-as-a-Service แถมไม่ต้องมาปวดหัวกับการครอบครองแบบเดิม ๆ ที่ต้องเป็นเจ้าของอย่างเดียวด้วยการซื้อ โดยที่ไม่รู้ว่าจะคุ้มกับต้นทุนการผลิตหรือเปล่า

ด้วยบริการนี้ แทนที่จะมีค่าใช้จ่ายมหาศาลจากการที่ต้องซื้อหุ่นยนต์ทันที คุณสามารถเปลี่ยนเป็นการเช่าอุปกรณ์หุ่นยนต์ได้แล้ว พร้อมด้วยบริการที่พ่วงมา เช่น การตรวจสอบ การวิเคราะห์ และการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เลือกหยิบประโยชน์มาใช้ได้มากมาย และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านเงินทุนล่วงหน้า รวมถึงเรื่องของการปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

ความท้าทายใหม่ ๆ ของวิทยาการหุ่นยนต์

ต่อจากหัวข้อก่อนนี้ คือไม่ใช่แค่ Robots-as-a-Service อีกต่อ เพราะทุก ๆ อย่างก็ปรับเปลี่ยนเป็นโมเดลนี้ได้ทั้งนั้น เหมือนกับสิ่งที่เราจะพูดถึงเรื่องการผลิตแบบ 3 มิติ และ 4 มิติ

ตามรายงานเทรนด์หุ่นยนต์จาก McKinsey ปี 2021 ได้บอกว่าภายในปี 2030 เราจะได้เห็นการใช้หุ่นยนคาร์เทเชียน (Cartesian Robot) เป็นค่าเริ่มต้นของกระบวนการผลิต ซึ่งความสามารถของหุ่นยนต์ประเภทนี้นั้นช่วยในเรื่องของการออกแบบที่กว้างขึ้น ปรับแต่งได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยการลดของเสียและการใช้พลังงานให้เหลือน้อยที่สุด โดยการนำหุ่ยนต์ 3 มิติ มาใช้จะช่วยให้เกิดเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่เรียกว่า Printing-as-a-Service (PaaS)

ในสเกลที่ใหญ่กว่านี้ เมื่อหุ่นยนต์มีขนาดเล็กลงแต่แข็งแกร่งขึ้น มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น จะทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ค้นพบการใช้งานรูปแบบใหม่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ขนาดใดก็ตาม อย่างที่ Mecademics Robotics ได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ “หุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็กที่สุด กะทัดรัดที่สุด และแม่นยำที่สุดในโลก” โดยแขนกลเหล่านี้ของ MR สามารถรวมเข้ากับ PLC หรือ PC ได้แบบไม่ต้องใช้การเขียนโปรแกรมที่เป็นกรรมสิทธิ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยแขนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบหกแกนและสี่แกน ตลอดจนพวกกริปเปอร์ขนาดเล็ก 

ยังไม่รวมถึงบริษัทต่าง ๆ เช่น Astrobotic และ OffWorld ที่เล่นใหญ่ไปไกลขนาดถึงการสร้างหุ่นยนต์ขุดสำหรับ NASA กะว่าเจาะกลุ่มลูกค้านอกโลกกันเลย

เทรนด์หุ่นยนต์

หุ่นยนต์ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์ แต่พัฒนาเพื่อประโยชน์สูงสุดของอุตสาหกรรม

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือการใช้ Cobots แทนที่ Live Workers จริง ๆ แล้วจุดประสงค์ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพียงแต่การเข้ามาของ Cobots จะช่วยให้กระบวนการทำซ้ำ รวมถึงกระบวนที่เสี่ยงต่อชีวิต เอาแค่ 2 ตัวอย่างนี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์มาก ๆ แล้ว ซึ่งหุ่นยนต์นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า ทำงานได้รวดเร็วกว่า และไม่วันเหน็ดเหนื่อย

การคาดหวังที่จะนำหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่งานอันซ้ำซากจำเจและมีความอันตราย เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ในขณะเดียวกันเราสามารถย้ายทรัพยากรมนุษย์ไปทำงานที่มูลค่าสูงกว่าได้เช่นกัน ฉะนั้น การเข้ามาของหุ่นยนต์ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องกังวลมากจนเกินไป สิ่งที่ควรใส่ใจต่อจากนี้เป็นการวางแผนใช้เทคโนโลยีโลกอนาคตให้สอดคล้องไปกับมวลมนุษย์เสียมากกว่า..

ขอขอบคุณเนื้อหาจากต้นฉบับของคุณ Marla Keene มา ณ ที่นี้

Trends in Industrial Robotics to Watch in 2022 | RoboticsTomorrow

IIoT เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยโรงงานอุตสาหกรรมอัพเดทมาตรการป้องกันภัย

iiot

เลี่ยงเหตุร้ายได้มากน้อยแค่ไหน? หากพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยด้วย “IIoT”

ก่อนจะเริ่มพูดคุยถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT เราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสดุดีแด่ฮีโร่ผู้เสี่ยงชีวิต และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวทุกคน บนเหตุเพลิงใหม่โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันมานี้

เรื่องของสาเหตุการระเบิดและการเกิดเพลิงไหม้ คงไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึก และก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะได้รับรู้รายละเอียดผ่านข่าวสารจากช่องทางสื่อต่าง ๆ ที่ประโคมกันแบบเรียลไทม์ไม่ขาดสาย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เรานึกย้อนไปถึง “มาตรฐานใหม่” ที่มาพร้อมกับแนวคิดในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยมี IoT เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการผลิต

และแม้ว่าสิ่งที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับกับเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง แต่ก็เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่าหากเราพัฒนาต่อยอดแนวคิดเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เลยอย่าง “ชีวิต” ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซนต์สักกี่มาน้อย ก็ถือเป็นเรื่องดีงามทั้งสิ้น

iiot

“IIoT” Industrial Internet of Things คืออะไร ?

มาย้อนความกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ Internet of Things หรือที่เราคุ้นตากันใน AKA ว่า IoT เปรียบได้กับเป็นการประยุกต์ IoT กับธุรกิจในกลุ่ม Industrial จึงเป็นที่มาของ IIoT สิ่งนี้คือการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการนำเครื่องจักร ระบบวิเคราะห์ระดับสูง และมนุษย์มาทำงานร่วมกัน โดยมีการเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายอุปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เกิดขึ้นเป็นระบบที่สามารถส่งผลแก่การติดตาม เก็บข้อมูลแบบละเอียด แสดงผลข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมนั้น ๆ

IIoT จะช่วยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ?

ปัจจัยลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนมากเป็นเรื่องความผิดปกติของอุปกรณ์ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่ IIoT จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของความปลอดภัยหนีไม้พ้นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำได้รวดเร็วและรวบรวมจำนวนได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เราสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานแบบเรียลไทม์ รวมถึงสภาพของอุปกรณ์จากห้องควบคุมได้อยู่เสมอ

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ลิสต์เอาไว้ด้วยระบบ AI การตั้งค่าเพื่อให้มีการแจ้งเตือน หากตรวจสอบเจอสภาวะเข้าใกล้ “อันตราย” นอกจากสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันแล้ว ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ไม่น้อย

3 แน้วโน้มเพื่อความปลอดภัยในโรงานอุตสาหกรรมด้วย IIoT
1. การฟิวชั่นเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision

ส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า IoT จากโรงงานผลิตจะมีเซนเซอร์รวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวโน้มต่าง ๆ ทำให้พิจารณาได้ว่าจุดไหนทำงานเป็นอย่างไร ดีมากน้อยแค่ไหน และจุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุง

กับด้านความปลอดภัย การรวมเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับ Computer Vision ซึ่งส่วนหลังนั้นทำหน้าที่เปรียบเสมือนดวงตาของมนุษย์ คอยตรวจจับความสภาพแวดล้อมและสถานการณ์อยุ่ตลอด และด้วยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IIoT นี่เองที่จะช่วยให้ CV นั้นคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบก็จะสามารถหยุดอุปกรณ์ได้แบบอัตโมมัติก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้น

2. การติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารแบบครบวงจร

ความก้าวหน้าของสิ่งนี้ในปัจจุบันแผ่ขยายทำให้อาคารหลายแห่งมีเทคโนโลยีหลายประเภทในอาคาร โดยทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้แบบครบวงจรเท่าที่คุณต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น โครงการนำร่องในโรงเรียนเมืองฮิวส์ตัน มีการติดตั้งปุ่มแจ้งเตือนรวมเข้ากับระบบความปลอดภัย IoT ขั้นสูง หากเกิดสถานการณ์อันตรายใด ๆ หรือมีการคุมคาม ปุ่มนี้จะช่วยเรียกเจ้าหน้าที่ได้ทั้งภายในและนอกอาคารทันที จากกรณีแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำไปปรับใช้กับภาคการผลิตได้เช่นกัน

3. การใช้ Location Based Analytics และ Real-Time Location Systems เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

เป็นแนวคิดที่เจ๋งมาก ๆ ด้านการแจ้งเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม ยกตัวเช่น การใช้ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) เพื่อสุขภาพ โดยมีบริษัท Kontakti.io ที่นำมาต่อยอดด้วยแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Simn AI เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเซ็นเซฮร์ RTLS มาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความตั้งใจเริ่มต้นคือการกำหนดเวลาคน เข้า-ออก จากที่ทำงาน

สำหรับมุมมองด้านความปลอดภัย Simon AI นั้นทรงประสิทธิภาพมากกว่านั้น เช่น สามารถแจ้งเตือนหากมีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพื้นที่ หรือจะเป็นปุ่มเรียกที่ขอความช่วยเหลือได้จากการะบุตำแหน่งที่แม่นยำ จนไปถึงหากมีการอพยพ เทคโนโลยีนี้สามารถแสดงจำนวนที่มาถึงจุดปลอดภัยที่กำหนด และหากมีใครที่ขาดหายไปก็สามารถระบุตำแหน่งเพื่อติดตามได้อย่างรวดเร็ว

iiot

ประโยชน์ตรงนี้มากมายมหาศาล หากเรารับรู้ความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติภัยได้ล่วงหน้า เราก็เตรียมรับมือได้เร็ว โรงกลึงพี-วัฒน์เองก็ตอบสนองต่อเทคโนโลยีนี้เช่นกัน เรากำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการควบคุมไฟของเครื่องจักรทุกตัวในโรงกลึง ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี IoT, AI, Machine Learning และ Big Data ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่วิศวกรและทีมช่าง รวมถึงควบคุมคุณภาพของการผลิตไม่ให้บกพร่อง เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า

IIoT กับ อนาคตอันน่าตื่นเต้น ผ่านการตระหนักถึงความปลอดภัยของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด

จากแนวโน้วการวางระบบมาตรการความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีนี้ ข้อสุดท้ายชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องการะบุตำแหน่ง การเก็บข้อมูลในปริมาณมาก ๆ แบบเรียลไทม์ ซึ่งจุดเด่นของ RTLS นั้นก็ชัดเจนอยู่แล้วนอกจากจะช่วยเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน ทราบข้อมูลที่แน่นอนว่าใครอยู ณ จุดไหน เรื่องของความปลอดภัยก็ทำให้ตรวจสอบได้เสมอว่าพนักงานนั้นอยู่ในที่ปลอดภัย หรือหากอยู่ในจุดเกิดเหตุก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที

iiot

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายมีความสอดคล้องกับการเชื่อมต่อของ IIoT ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การแจ้งเตือนเรื่องภัยพิบัติ การแจ้งเตือนเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น การสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย IIoT สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดต่อเรื่องนี้ และอาจกลายเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อซัพพอร์ตการป้องกันอย่างเต็มประสิทธิภาพสู่ตลาดในเร็ววันนี้

ขอขอบคุณบทความสำหรับข้อมูลดี ๆ เรื่องแนวทางการพัฒนาด้านความปลอดภัยด้วย IIoT จาก https://www.ehstoday.com/safety-technology/article/21920259/6-iiot-trends-for-manufacturing-safety