ส่องเทรนด์สำหรับผู้ผลิต เครื่องจักร CNC ปี 2023

เครื่องจักร CNC

ใกล้เวลาสิ้นปีแบบนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมพร้อมสำหรับก้าวเข้าสู่ปีใหม่ ในส่วนของการทำงานหรือการปรับเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาก็ดี ปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ก็ดี แต่ก่อนที่เราจะวางแผนเพื่อดำเนินไปยังเป้าหมายใหม่ ๆ ในปีหน้า สิ่งที่ต้องรู้เอาไว้นั้นคือเรื่องของ “เทรนด์” หรือแนวโน้มของสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการจะโฟกัส และแน่นอนว่าวงการ เครื่องจักร CNC หรือ CNC Machining นี้ก็เช่นกัน

CNC Machining เทคโนโลยี นับแต่ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในคีย์แมนในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงตลาดของพวกเขาเองที่แต่ละปีจะมีการสร้างมาตรฐานในวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อใช้ตรวจสอบปรับปรุงกระบวนการทั้งหลาย ด้วยขนาดตลาดมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่อไปนี้คือแนวโน้มที่บรรดาผู้สร้างนั้นพร้อมนำเสนอนวัตกรรมที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นต่อผู้ใช้งาน

เครื่องจักร CNC
Image by aleksandarlittlewolf on Freepik

เพิ่มประสิทธิภาพ เครื่องจักร CNC “การผลิตแบบไฮบริด” (Hybridization of CNC-Manufacturing with additive Technologies)

ความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 0.01 มม. คือตัวเลขที่เครื่องจักร CNC นั้นทำได้ ซึ่งก็อย่างที่รู้กันว่ามันเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง ส่วนความแม่นยำของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นอยู่ที่ 0.1 มม. โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้สำหรับการขึ้นแบบพิมพ์เสียมากกว่า สุดท้ายค่อยจบงานด้วยเครื่องจักร CNC แบบต่าง ๆ

การผลิตแบบไฮบริดที่ว่านี้นั้นรวมทุกอย่างที่ เครื่องจักร CNC นั้นทำได้ นั่นก็หมายความว่าทั้งการกัดและการกลึงก็ทำได้ด้วยเทคนิคการเติมแต่งด้วยแบบพิมพ์ 3 มิติ อยู่ที่แต่ละธุรกิจนั้นจำเป็นต้องหาจุดลงตัวว่าต้องทำอย่างไรสำหรับการจับคู่ของสองสิ่งนี้ให้ออกมาทรงอานุภาพต่อองค์กรมากที่สุด

เครื่องจักร CNC
Image by fabrikasimf on Freepik

จากรายงานนั้นบอกว่าผู้ผลิตเครื่องจักรหลายรายนั้นยอมรับ “การผลิตแบบไฮบริด” แม้ว่าการตัดเฉือนแบบ CNC กับ แบบพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติ จะมีกระบวนการที่แตกต่างกัน แต่ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาพบว่าการผนวกทั้งสองเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

ติดตามการเติบโตของ MaaS (Manufacturing as a Service) กับ เครื่องจักร CNC

MaaS (Manufacturing as a Service) นั้นเรียกได้ว่าเพิ่งจะเริ่มแง้มประตูเข้าสู่ตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องจักร CNC แต่จากคาดการณ์ของกูรูนั้นพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า MaaS จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีความคล่องตัว และประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยเรื่องของค่าแรงที่ลดลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ยกตัวอย่างเช่น InstaWerk บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมนี ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่น Manufacturing as a Service แม้ว่าตัวบริษัทนั้นจะอยู่ในประเทศเยอรมัน แต่ก็สามารถให้บริการทั่วโลกได้เป็นอย่างดี นอกจากความเชี่ยวชาญเรื่องการผลิตชิ้นส่วนด้วยเทคนิค CNC แล้ว เรื่องของการคำนวณต้นทุนส่วนประกอบแบบทันทีทันใดด้วย MaaS ทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากการผลิตตามความต้องการ ตอบโจทย์ของลูกค้าผ่านมาตรฐานระดับสูงของบริษัทได้อย่างรวดเร็ว

การผลิตตามความต้องการพร้อมเสนอราคาทันที (On-Demand Manufacturing)

จริง ๆ เทรนด์นี้เป็นการปรับตัวอย่างต่อเนื่องจากวิกฤติโควิด และรุดหน้ายิ่งขึ้นไปอีกด้วยสงความยูเครน โดยกลยุทธ์ในการผลิตที่เรียกว่า “การผลิตตามความต้องการ” หรืออีกคำที่เป็นสากลหน่อยก็ “การผลิตแบบคลาวด์ (Cloud Manufacturing)” พูดง่าย ๆ คือวิธีการผลิตตามความต้องการและจำเป็นเท่านั้น

เครื่องจักร CNC
Image by onlyyouqj on Freepik

คาดการณ์ว่าประโยชน์หลัก ๆ ที่บริษัทนั้นมองถึงความถึงแกร่งของธุรกิจแบบออนดีมานด์ และสามารถคาดหวังจากการผลิตได้มีดังนี้

  • ช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลง
  • เข้าถึงทรัพยากรทั่วโลกได้ง่ายกว่าเดิม
  • การดำเนินงานที่คล่องตัวเนื่องจากกระบวนการจัดซื้อนั้นมีความรวดเร็วมากขึ้นและความพร้อมของเครื่องจักรคุณภาพสูง ช่วยให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลาย

หากเปรียบเทียบกับการผลิตแบบดั้งเดิม โรงงานต้องมีเครื่องจักร CNC ราคาสูง ต้องผลิตจำนวนทีละมาก ๆ และอาจต้องพึ่งพาพาร์ทเนอร์การผลิตในท้องถิ่น แต่การผลิตแบบออนดีมานด์นั้นช่วยลดการลงทุน มีการยืดหยุ่นสูง แถมยังเพิ่มความเร็วในการจัดซื้อได้อีกด้วย

การพัฒนาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งนี้ปกติก็เข้มงวดด้วยกฎระเบียบและข้อบังคับของรัฐบาลในแต่ละประเทศอยู่แล้ว แต่ผู้สันทันกรณีเห็นพ้องตรงกันว่าการพยายามครั้งใหม่ในปีที่จะถึงนี้ควรมีมาตรการที่จริงจังกว่าเดิมในเรื่องลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากกระบวนการผลิตและซัพพลายเชนของคุณ

ยุคปัจจุบันมีลูกค้ามากมายที่นอกจากจะมีความต้องการสินค้าและการผลิตแล้ว ยังอยากได้บริการในลักษณะที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตด้วย ซึ่งนี่ก็ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายและเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดกันต่อไปตลอดระยะเวลาที่เหลือว่าจะทำอย่างไรให้ความต้องการนี้นั้นดำเนินควบคู่ไปกับมาตรฐานของการผลิตภายใต้เทคโนโลยีเครื่องจักร CNC ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเจอปัญหาเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนอยู่เสมอ

Image by Freepik

บริษัทผู้ผลิตจะต้องใช้ข้อมูลที่ได้จากซัพพลายเชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งนี้สูงสุด ต้องทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ก็เพื่อประเมินว่ามีคาร์บอนหลงเหลือจากการผลิตของตัวเองมากน้อยแค่ไหน และยังสามารถติดตามได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ที่สำคัญหากมีการสำรวจวิธีใหม่ ๆ เพื่อรองรับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตรวมถึงกระบวนการขนส่งสินค้า รับรองว่ามีหลายบริษที่พร้อมประเมินตรงจุดนี้การใช้บริการแน่นอน

จากทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ นำนวัตกรรมผสมผสานสู่การทำงานจริง

เทรนด์ทั้งหมดที่ได้นำเสนอผ่านเนื้อหาในวันนี้ ไม่ใช่แค่ภารกิจของผู้ผลิตเครื่องจักร CNC เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงอุตสาหกรรมที่ข้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ ตลอดจนโรงงานทั้งหลายแหล่ การทำให้นวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้อย่างถูกกระบวนการ สร้างแนวโน้มและโซลูชั่นใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าพร้อม “รักษ์โลก” ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการแบบผสม ความยั่งยืน หรือผลกระทบจากเครือข่ายระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม นอกจากตามเทรนด์ และอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการลงมือทำและเริ่มต้นได้เลยตั้งแต่วันนี้!

Credit : ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://linchpinseo.com/industry-4-trends/

https://explodingtopics.com/blog/manufacturing-trends

https://explodingtopics.com/blog/manufacturing-trends

Cover Image : Image by bedneyimages on Freepik