มาตรฐานอุตสาหกรรม ของไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
-1-
มาตรฐานบังคับ ประเภทที่ผู้ผลิตต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน เป็นเครื่องหมาย มอก. (สีน้ำแดง) ที่แสดงบน
ผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่
ผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดข้ึนแก่เศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิต ผู้นำ้เข้าและผู้
จำหน่ายจะต้องผลิต นำเข้าและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น ถ้าผลิต
ไม่ได้มาตรฐานจะผิดกฎหมาย เช่น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต และกระจก
นิรภัยรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องติดเครื่องหมาย มอก.
เครื่องหมาย มอก. แสดงถึงคุณภาพของมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ว่าผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองใน
ด้านความปลอดภัยรวมทั้งไดรับความเป็นธรรมจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เช่น มอก.
20-2527 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม เป็นต้น
-2-
มาตรฐานทั่วไป ประเภทที่ผู้ผลิตต้องผลิตให้ได้มาตรฐานหรือไม่ก็ได้เป็นเครื่องหมาย มอก. (สีน้ำเงิน) ที่แสดง
กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่บังคับ ผู้ผลิตสามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
ได้ด้วยความสมัครใจ แต่ถ้าผลิตได้มาตรฐานจะติดเครื่องหมาย เช่น มอก. 80-2550 ปูนซีเมนต์
ผสม เป็นต้น
ที่มา: เอกสารประกอบการเรียนการสอน นายโสฬส เกษวิริยะการณ์ ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร (cptc.ac.th)
สำหรับผู้ประกอบการ โรงงาน บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลึง ก็ต้องทำความเข้าใจและพยายามพัฒนาปรับปรุงกระบวนการและสินค้าของตนให้อยู่ในมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ เพื่อความมั่นใจของลูกค้าและผู้บริโภค
Image by aleksandarlittlewolf on Freepik